สภาพัฒน์ แจง ครม.ไตรมาส 2 ว่างงานพุ่ง 7.3 แสนคน หนี้ครัวเรือนทะลุ 14.13 ล้านล้าน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6633358
ครม.รับทราบ สภาพัฒน์ แจงภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2 คนว่างงาน 7.3 แสนคน หนี้ครัวเรือนทะลุ 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.5 ต่อจีดีพี
เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครม. เมื่อวันที่ 21 ก.ย. รับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2564 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสอง ปี 2564 ประกอบด้วย
1. สถานการณ์แรงงาน ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยหากเทียบกับช่วงเวลาปกติ การจ้างงานเพิ่มขึ้นทั้งในภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม แต่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง โดยการจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ส่วนจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรม ภัตตาคาร และสาขาการขนส่ง เก็บสินค้า
แต่การว่างงานจากผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยังสูง อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.89 คิดเป็น 7.3 แสนคน โดยผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานสูงขึ้นร้อยละ 3.18 และ 3.44 ตามลำดับ สะท้อนว่าการว่างงานอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะสูง โดยผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีจำนวน 3.1 แสนคน ขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยมีจำนวน 32,920 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวนเพียง 7,964 คน
ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบและมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การมีงานทำ และรายได้ โดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ การปรับตัวของแรงงานที่ได้รับผลกระทบในกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน และผู้จบการศึกษาใหม่
ขณะที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น และต้องเฝ้าระวังคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลง โดยไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2564 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.5 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(จีดีพี) ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเลื่อนและพักชำระหนี้ ที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างไม่ลดลง รวมทั้งครัวเรือนที่ไม่ได้รับผลกระทบมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น หนี้เสียของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.92 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.84 ในไตรมาสก่อน ยกเว้นสินเชื่อที่อยู่อาศัย
สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนเริ่มมีปัญหาในการหารายได้หรือสถานะทางการเงินเปราะบางมากขึ้น ส่วน ภาวะทางสังคมอื่น ยังเฝ้าติดตาม เช่น การเจ็บป่วยโดยรวม ผลกระทบด้านสุขภาพจิตของประชาชนจากโควิด-19 ความรุนแรงในครอบครัว จากการดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งคดีอาญาจากคดียาเสพติด ประทุษร้ายต่อทรัพย์ การค้ามนุษย์ และการร้องเรียนต่างๆ
สำหรับสถานการณ์ทางสังคมพบว่า การพัฒนาคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ปี 2564 ไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 28 จาก 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะด้านการศึกษาอยู่ในอันดับที่ 56
จึงต้องเร่งพัฒนาคุณภาพคน เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างกลไกให้เกิดการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้คนทุกกลุ่มสามารถพัฒนาทักษะของตนได้ง่ายขึ้น และนำเทคโนโลยีมาพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อเพิ่มคุณภาพของเนื้อหาและการเรียนการสอน การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา รวมถึงการช่วยเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงการเรียนรู้ในช่วงโควิด-19 ควรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา
ขณะที่บทบาทสื่อกับบริบทสังคมไทย สื่อมีส่วนสำคัญในการกำหนดการรับรู้ให้ประชาชนทั่วไป จึงจำเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมของบทบาทสื่อรูปแบบต่างๆโดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่มีการส่งต่อข่าวปลอมได้ง่าย และกระจายไปได้รวดเร็ว จึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัลแก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบทความเรื่อง “
ประเทศไทยกับความพร้อมของรูปแบบการทำงานที่บ้าน” จากผลสำรวจของสวนดุสิตโพลเรื่อง พฤติกรรมของคนไทยกับการทำงานที่บ้าน ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 พบว่า คนไทยมีการทำงานที่บ้านร้อยละ 43 และทำงานทั้งที่บ้านและที่ทำงานร้อยละ 34 โดยมีข้อดี ได้แก่ ช่วยลดการแพร่ระบาดของโรค ประหยัดค่าเดินทาง และเป็นการให้ความร่วมมือกับภาครัฐ
ส่วนข้อเสีย ได้แก่ มีค่าใช้จ่ายที่บ้านเพิ่มขึ้น อุปกรณ์เครื่องมือไม่สะดวก และการสื่อสาร ติดต่อล่าช้า ในส่วนของผู้ประกอบการ มีการประเมินว่า ร้อยละ 20 ของบริษัทในปัจจุบันมีนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้าน
ดังนั้น ควรเตรียมให้ไทยพร้อมรับกับรูปแบบการทำงานที่บ้าน โดยเตรียมความพร้อมขององค์กรสำหรับการทำงานรูปแบบใหม่ และยกระดับความพร้อมด้านเทคโนโลยีสำหรับองค์กร และพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลแก่พนักงาน พิจารณาให้การทำงานนอกสถานที่ทำงานเป็นนโยบายขององค์กร และการพิจารณาการปรับรูปแบบการทำงานสู่การทำงานที่บ้านให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดยสนับสนุนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้มีความเสถียรและครอบคลุม
หลุดขนาดนี้ ใครจะกล้ามาเที่ยว? ข้อมูลนักท่องเที่ยวที่เคยมาไทยรั่วไหล 106 ล้านราย
https://brandinside.asia/personal-details-of-106-million-international-travelers-to-thailand-exposed/
รายงานจาก Comparitech ระบุว่า ข้อมูลส่วนตัวของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาไทย รั่วไหล 106 ล้านราย เป็นข้อมูลที่รั่วไหลจากเว็บไซต์ที่ปราศจากการเข้ารหัสด้วย ข้อมูลส่วนตัวดังกล่าวของนักท่องเที่ยวจำนวน 106 ล้านรายประกอบด้วย ชื่อสกุล, หมายเลขพาสปอร์ต, วันที่เดินทางมาถึงไทย และอื่นๆ
Bob Diachenko ผู้ที่เป็นหัวหน้าทีมวิจัยความมั่นคงไซเบอร์จาก Comparitech พบข้อมูลดังกล่าวเมื่อ 22 สิงหาคม 2021 นี่เองและได้แจ้งเตือนกับทางการไทยทันที จากนั้นข้อมูลจึงถูกปิดช่องโหว่ให้เข้าถึงไม่ได้ในวันถัดมา เรื่องนี้
Diachenko สรุปว่า ข้อมูลส่วนตัวของชาวต่างชาติที่เดินทางมายังไทยเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาอาจจะรั่วไหลได้ เขายืนยันว่า ฐานข้อมูลก็ปรากฏชื่อของเขาเองด้วยเหมือนกันเมื่อครั้งที่เคยเดินทางเยือนไทยมาก่อน
รายละเอียดข้อมูลของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติราว 106 ล้านรายประกอบด้วย วันที่ที่เดินทางมาถึงไทย, ชื่อสกุล, เพศ, เลขพาสปอร์ต, สถานะในการเข้าพัก, ประเภทของวีซ่าและหมายเลขบัตรขาเข้าประเทศไทย
ที่มา –
Comparitech
เอสเอ็มอีหนี้ท่วมหลังโควิด เตรียมรับมือปัญหากฎหมาย-การระงับข้อพิพาท
https://www.prachachat.net/economy/news-766273
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จับมือ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ช่วยเหลือเอสเอ็มอีรับมือปัญหาด้านกฎหมาย ระงับข้อพิพาทเร่งด่วนหลังโควิด
วันที่ 22 กันยายน 2564 นาย
แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า หลังจากโควิด-19 ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเผชิญกับปัญหาหนี้สิน ต้องมีการเจรจาประนอมหนี้ ไกล่เกลี่ยหนี้ การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหนี้ และการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับเอสเอ็มอี
โดยนับจากสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาด COVID-19 ถึงไตรมาส 2 ปี 2564 พบว่าสินเชื่อทั้งหมด 16,680,588 ล้านบาท เป็นสินเชื่อชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special mention) 1,059,343 ล้านบาท หรือ 6.35% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ และสินเชื่อทั้งหมดที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 541,081 ล้านบาท หรือ 3.24% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ รวม SM และ NPL สูงถึง 1,600,424 ล้านบาท หรือ 9.59% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
และหากจำแนกสินเชื่อแก่ธุรกิจเอสเอ็มอีจะพบว่าสินเชื่อเอสเอ็มอีทั้งหมด 3,368,125 ล้านบาท หรือคิดเป็น 20.19% ของสินเชื่อทั้งหมด โดยสินเชื่อเอสเอ็มอีเป็นสินเชื่อชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special mention) 416,002 ล้านบาท หรือ 12.35%% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ และสินเชื่อทั้งหมดที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 246,108 ล้านบาท หรือ 7.31% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ รวม SM และ NPL สูงถึง 662,110 ล้านบาท หรือ 19.66% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
ล่าสุดทางสมาพันธ์ จึงได้ลงนาม MOUร่วมกับ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม โดย ดร.วรวงศ์ อัจฉราวงศ์ชัย ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอนุญาโตตุลาการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการที่เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจและการระงับข้อพิพาททางเลือกทั้งการไกล่เกลี่ยและการอนุญาโตตุลาการ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย งเสริมให้การประกอบธุรกิจโดยทั่วไปมีการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม เป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคมในองค์รวม
ทั้งนี้ หลักการในการให้ความร่วมมือ ประกอบด้วย
1. สถาบันอนุญาโตตุลาการ กับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางเลือก ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยหรือการอนุญาโตตุลาการ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในการพัฒนา ปรับปรุง กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติเกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้งสอง
2. สถาบันอนุญาโตตุลาการ กับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมกันสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ด้านการอนุญาโตตุลาการ การระงับข้อพิพาททางเลือกด้านอื่น ๆ กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ โดยวิธีการบรรยาย การประชุม การสัมมนาหรือทางอื่นใด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอี และประชาชนทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจและสามาระเลือกใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทที่เหมาะสมกับข้อพิพาทของตน
3. สถาบันอนุญาโตตุลาการ กับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมกันพัฒนาและขึ้นทะเบียน อนุญาโตตุลาการที่มีความเชี่ยวชาญในข้อพิพาทเกี่ยวกับธุรกิจและการค้าการลงทุน รวมทั้งให้ข้อมูลให้คำปรึกษา และความเห็น เพื่อพัฒนาหน่วยงานทั้งสอง และสนับสนุนกระบวนการด้านการอนุญาโตตุลาการและการระงับข้อพิพาททางเลือกด้านอื่น ๆ
JJNY : ไตรมาส2 ว่างงาน7.3แสน หนี้ครัวเรือน14.13ล.ล.│ข้อมูลนทท.เคยมาไทยรั่ว106ล.ราย│SMEsหนี้ท่วมหลังโควิด│เจ้าหนี้พังร้าน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6633358
ครม.รับทราบ สภาพัฒน์ แจงภาวะสังคมไทย ไตรมาส 2 คนว่างงาน 7.3 แสนคน หนี้ครัวเรือนทะลุ 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.5 ต่อจีดีพี
เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครม. เมื่อวันที่ 21 ก.ย. รับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2564 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสอง ปี 2564 ประกอบด้วย
1. สถานการณ์แรงงาน ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยหากเทียบกับช่วงเวลาปกติ การจ้างงานเพิ่มขึ้นทั้งในภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม แต่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง โดยการจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ส่วนจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรม ภัตตาคาร และสาขาการขนส่ง เก็บสินค้า
แต่การว่างงานจากผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยังสูง อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.89 คิดเป็น 7.3 แสนคน โดยผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานสูงขึ้นร้อยละ 3.18 และ 3.44 ตามลำดับ สะท้อนว่าการว่างงานอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะสูง โดยผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีจำนวน 3.1 แสนคน ขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยมีจำนวน 32,920 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวนเพียง 7,964 คน
ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบและมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การมีงานทำ และรายได้ โดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ การปรับตัวของแรงงานที่ได้รับผลกระทบในกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน และผู้จบการศึกษาใหม่
ขณะที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น และต้องเฝ้าระวังคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลง โดยไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2564 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.5 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(จีดีพี) ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเลื่อนและพักชำระหนี้ ที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างไม่ลดลง รวมทั้งครัวเรือนที่ไม่ได้รับผลกระทบมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น หนี้เสียของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.92 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.84 ในไตรมาสก่อน ยกเว้นสินเชื่อที่อยู่อาศัย
สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนเริ่มมีปัญหาในการหารายได้หรือสถานะทางการเงินเปราะบางมากขึ้น ส่วน ภาวะทางสังคมอื่น ยังเฝ้าติดตาม เช่น การเจ็บป่วยโดยรวม ผลกระทบด้านสุขภาพจิตของประชาชนจากโควิด-19 ความรุนแรงในครอบครัว จากการดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งคดีอาญาจากคดียาเสพติด ประทุษร้ายต่อทรัพย์ การค้ามนุษย์ และการร้องเรียนต่างๆ
สำหรับสถานการณ์ทางสังคมพบว่า การพัฒนาคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน ปี 2564 ไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 28 จาก 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะด้านการศึกษาอยู่ในอันดับที่ 56
จึงต้องเร่งพัฒนาคุณภาพคน เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างกลไกให้เกิดการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้คนทุกกลุ่มสามารถพัฒนาทักษะของตนได้ง่ายขึ้น และนำเทคโนโลยีมาพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อเพิ่มคุณภาพของเนื้อหาและการเรียนการสอน การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา รวมถึงการช่วยเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงการเรียนรู้ในช่วงโควิด-19 ควรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา
ขณะที่บทบาทสื่อกับบริบทสังคมไทย สื่อมีส่วนสำคัญในการกำหนดการรับรู้ให้ประชาชนทั่วไป จึงจำเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมของบทบาทสื่อรูปแบบต่างๆโดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่มีการส่งต่อข่าวปลอมได้ง่าย และกระจายไปได้รวดเร็ว จึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัลแก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบทความเรื่อง “ประเทศไทยกับความพร้อมของรูปแบบการทำงานที่บ้าน” จากผลสำรวจของสวนดุสิตโพลเรื่อง พฤติกรรมของคนไทยกับการทำงานที่บ้าน ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 พบว่า คนไทยมีการทำงานที่บ้านร้อยละ 43 และทำงานทั้งที่บ้านและที่ทำงานร้อยละ 34 โดยมีข้อดี ได้แก่ ช่วยลดการแพร่ระบาดของโรค ประหยัดค่าเดินทาง และเป็นการให้ความร่วมมือกับภาครัฐ
ส่วนข้อเสีย ได้แก่ มีค่าใช้จ่ายที่บ้านเพิ่มขึ้น อุปกรณ์เครื่องมือไม่สะดวก และการสื่อสาร ติดต่อล่าช้า ในส่วนของผู้ประกอบการ มีการประเมินว่า ร้อยละ 20 ของบริษัทในปัจจุบันมีนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้าน
ดังนั้น ควรเตรียมให้ไทยพร้อมรับกับรูปแบบการทำงานที่บ้าน โดยเตรียมความพร้อมขององค์กรสำหรับการทำงานรูปแบบใหม่ และยกระดับความพร้อมด้านเทคโนโลยีสำหรับองค์กร และพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลแก่พนักงาน พิจารณาให้การทำงานนอกสถานที่ทำงานเป็นนโยบายขององค์กร และการพิจารณาการปรับรูปแบบการทำงานสู่การทำงานที่บ้านให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดยสนับสนุนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้มีความเสถียรและครอบคลุม
หลุดขนาดนี้ ใครจะกล้ามาเที่ยว? ข้อมูลนักท่องเที่ยวที่เคยมาไทยรั่วไหล 106 ล้านราย
https://brandinside.asia/personal-details-of-106-million-international-travelers-to-thailand-exposed/
รายงานจาก Comparitech ระบุว่า ข้อมูลส่วนตัวของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาไทย รั่วไหล 106 ล้านราย เป็นข้อมูลที่รั่วไหลจากเว็บไซต์ที่ปราศจากการเข้ารหัสด้วย ข้อมูลส่วนตัวดังกล่าวของนักท่องเที่ยวจำนวน 106 ล้านรายประกอบด้วย ชื่อสกุล, หมายเลขพาสปอร์ต, วันที่เดินทางมาถึงไทย และอื่นๆ
Bob Diachenko ผู้ที่เป็นหัวหน้าทีมวิจัยความมั่นคงไซเบอร์จาก Comparitech พบข้อมูลดังกล่าวเมื่อ 22 สิงหาคม 2021 นี่เองและได้แจ้งเตือนกับทางการไทยทันที จากนั้นข้อมูลจึงถูกปิดช่องโหว่ให้เข้าถึงไม่ได้ในวันถัดมา เรื่องนี้ Diachenko สรุปว่า ข้อมูลส่วนตัวของชาวต่างชาติที่เดินทางมายังไทยเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาอาจจะรั่วไหลได้ เขายืนยันว่า ฐานข้อมูลก็ปรากฏชื่อของเขาเองด้วยเหมือนกันเมื่อครั้งที่เคยเดินทางเยือนไทยมาก่อน
รายละเอียดข้อมูลของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติราว 106 ล้านรายประกอบด้วย วันที่ที่เดินทางมาถึงไทย, ชื่อสกุล, เพศ, เลขพาสปอร์ต, สถานะในการเข้าพัก, ประเภทของวีซ่าและหมายเลขบัตรขาเข้าประเทศไทย
ที่มา – Comparitech
เอสเอ็มอีหนี้ท่วมหลังโควิด เตรียมรับมือปัญหากฎหมาย-การระงับข้อพิพาท
https://www.prachachat.net/economy/news-766273
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จับมือ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ช่วยเหลือเอสเอ็มอีรับมือปัญหาด้านกฎหมาย ระงับข้อพิพาทเร่งด่วนหลังโควิด
วันที่ 22 กันยายน 2564 นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า หลังจากโควิด-19 ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเผชิญกับปัญหาหนี้สิน ต้องมีการเจรจาประนอมหนี้ ไกล่เกลี่ยหนี้ การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหนี้ และการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับเอสเอ็มอี
โดยนับจากสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาด COVID-19 ถึงไตรมาส 2 ปี 2564 พบว่าสินเชื่อทั้งหมด 16,680,588 ล้านบาท เป็นสินเชื่อชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special mention) 1,059,343 ล้านบาท หรือ 6.35% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ และสินเชื่อทั้งหมดที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 541,081 ล้านบาท หรือ 3.24% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ รวม SM และ NPL สูงถึง 1,600,424 ล้านบาท หรือ 9.59% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
และหากจำแนกสินเชื่อแก่ธุรกิจเอสเอ็มอีจะพบว่าสินเชื่อเอสเอ็มอีทั้งหมด 3,368,125 ล้านบาท หรือคิดเป็น 20.19% ของสินเชื่อทั้งหมด โดยสินเชื่อเอสเอ็มอีเป็นสินเชื่อชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special mention) 416,002 ล้านบาท หรือ 12.35%% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ และสินเชื่อทั้งหมดที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 246,108 ล้านบาท หรือ 7.31% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ รวม SM และ NPL สูงถึง 662,110 ล้านบาท หรือ 19.66% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
ล่าสุดทางสมาพันธ์ จึงได้ลงนาม MOUร่วมกับ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม โดย ดร.วรวงศ์ อัจฉราวงศ์ชัย ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอนุญาโตตุลาการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการที่เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจและการระงับข้อพิพาททางเลือกทั้งการไกล่เกลี่ยและการอนุญาโตตุลาการ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย งเสริมให้การประกอบธุรกิจโดยทั่วไปมีการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม เป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคมในองค์รวม
ทั้งนี้ หลักการในการให้ความร่วมมือ ประกอบด้วย
1. สถาบันอนุญาโตตุลาการ กับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางเลือก ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยหรือการอนุญาโตตุลาการ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในการพัฒนา ปรับปรุง กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติเกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้งสอง
2. สถาบันอนุญาโตตุลาการ กับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมกันสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ด้านการอนุญาโตตุลาการ การระงับข้อพิพาททางเลือกด้านอื่น ๆ กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ โดยวิธีการบรรยาย การประชุม การสัมมนาหรือทางอื่นใด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอี และประชาชนทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจและสามาระเลือกใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทที่เหมาะสมกับข้อพิพาทของตน
3. สถาบันอนุญาโตตุลาการ กับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมกันพัฒนาและขึ้นทะเบียน อนุญาโตตุลาการที่มีความเชี่ยวชาญในข้อพิพาทเกี่ยวกับธุรกิจและการค้าการลงทุน รวมทั้งให้ข้อมูลให้คำปรึกษา และความเห็น เพื่อพัฒนาหน่วยงานทั้งสอง และสนับสนุนกระบวนการด้านการอนุญาโตตุลาการและการระงับข้อพิพาททางเลือกด้านอื่น ๆ