Computer Vision Syndrome
การดูแลสุขภาพดวงตาในท่านที่ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ส่วนมากมักจะมีปัญหา เช่นการใช้สายตาอ่านหนังสือ หรือใช้งานอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ หรือแท๊บเล็กต่อเนื่องกันเป็นเวลาสัก 2-3 ชั่วโมง อาจมีอาการปวดตา บางครั้งอาจมีอาการตามัวร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Computer Vision Syndrome เป็นอาการที่เกิดชึ้นกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ จะเป็นแบบนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเกิดได้มากถึง 75% เลยทีเดียว แต่เมื่อท่านหยุดพักสายตาสักครู่อาการก็จะหายไป แล้วกลับมาเป็นอีก นพ.สรรพัฒน์ รัตนิน ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ถึงวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการสายตาล้า สายตาเพลีย ไว้ดังนี้
การที่เรารู้สึกไม่สบายตาเท่าไหร่ ตอนที่ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เกิดจากองค์ประกอบ 3 อย่างที่ค่อนข้างจะใหญ่ นั่นก็คือ
1.
ใช้สายตามองใกล้
การใช้สายตาใกล้ๆ ทำให้ตาของเราต้องโฟกัสให้ภาพที่ใกล้ชัดขึ้นมา จึงต้องใช้กล้ามเนื้อในตา ถ้าเราใช้ตรงนี้นานๆก็อาจจะเกิดอาการเมื่อย หรือเมื่อยกระบอกตา หรือเมื่อยตาได้
2.
เรื่องของแสงจากคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะผู้ที่เปิดคอมพิวเตอร์และเปิดไฟหรี่ๆในห้อง ทำให้แสงสว่างไม่เพียงพอ และแสงที่สว่างมากจากจอคอมพิวเตอร์ จึงเป็นส่เหตุ ทำให้รู้สึกว่าเมื่อยตา ทำให้เรารู้สึกเกร็งดวงตา
3.
เกิดจากที่ตาแห้ง
ผิวตาของเราที่สบายอยู่ได้ตลอดเวลา เกิดขึ้นจากการที่เรามีต่อมน้ำตาเข้ามาเคลือบตาของเราทีละนิด ทีละนิด ทุกๆวินาที แต่การที่เราใช้สายตาทำงานอย่างตั้งใจจดจ่อ หรือการจ้องอะไรนาน การกะพริบตาจากทุกๆ 5-10วินาที หรืออาจจะน้อยกว่านั้น เพราะเรามัวแต่ตั้งใจจดจ่อ ทำให้น้ำตาที่เคลือบอยู่บนกระจกตาของเราก็อาจจะระเหยไป ทำให้เกิดอาการตาแห้ง
การที่จะดูแลตรงนี้ให้อาการเหล่านี้น้อยลงไป ก็อาจจะเป็นการที่เวลาเราทำงานไปสัก 15-20 นาที อาจจะพักสายตาบ้างเล็กน้อย อาจจะหลับตาสักครู่นึง หรือจ้องโฟกัสออกไปไกลๆมองออกไปไกลๆ ปรับระยะภาพบ้าง ทำให้กล้ามเนื้อตาผ่อนคลาย อาการตาแห้ง อาการตาล้า หรือสายตาเพลีย ที่เกิดขึ้น ในองค์ประกอบที่ 3 นี่คือ จากจอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์มือถือ หรือ จอแท็บเล็ตของเรา แนะนำว่าแสงควรจะไม่จ้าจนเกินไป ปรับแสงให้อยู่ในระดับที่เรารู้สึกว่าสบายตา แล้วการปรับจอก็ควรให้ห่างจากเราอย่างน้อยสัก 20-30 นิ้ว นะ เราจะได้ไม่ต้องเกร็ง สายตาโฟกัสกับจอจนใกล้จนเกินไป และหากมีอาการแสบเคืองตา ตามัว หรือน้ำตาไหล แนะนำให้มาพบจักษุแพทย์ เพราะอาจมีอาการของโรคตาแห้ง ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลต่อสุขภาพของกระจกตา ในปัจจุบันโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน มีเทคโนโลยีและวิวัฒนาการในการรักษาโรคตาแห้ง เพราะการใช้ชีวิตของเราในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยที่จะไม่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม จักษุแพทย์ขอแนะนำให้มาตรวจสุขภาพดวงตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
บทความโดย : นพ. สรรพัฒน์ รัตนิน
1. ควรจะอยู่ในท่าทางที่เหมาะสมในการอ่าน และแนะนำให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ก้มคออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป
2. พักสายตาเป็นระยะทุกครึ่งชั่วโมง ด้วยการทอดสายตาไปไกลๆ มองสิ่งของที่ห่างไปไม่น้อยกว่า 20ฟุต หรือหลับตานิ่งๆ ประมาณห้านาที ก่อนกลับมาใช้งานหน้าจอต่อ
3. ไม่ฝืนอ่านตัวอักษรที่มีขนาดเล็กเกินไป ซึ่งทำให้ต้องเพ่ง ควรปรับขนาดตัวอักษรให้อ่านง่าย สบายตา
4. หลีกเลี่ยงการใช้งานหน้าจอในขณะอยู่บนยานพาหนะที่มีการสั่นสะเทือนซึ่งจะทำให้ภาพหรือตัวอักษรสั่นไปด้วย
5. ปรับความสว่างของหน้าจอให้สบายตา ไม่สว่างจ้าเกินไป
6. ผู้ที่มีปัญหาสายตาผิดปกติควรมีแว่นสำหรับอ่านหนังสือที่เข้ากับค่าสายตาและเหมาะสมกับระยะในการมองหน้าจอ
7. ควรหาตำแหน่งในห้อง หรือสถานที่ที่เรากำลังใช้งานหน้าจอ ให้แสงตกกระทบเฉียงๆ กับหน้าจอ เพื่อลดแสงสะท้อนรบกวน
8. อย่าใช้งานหน้าจอติดต่อกันนานเกินไปในแต่ละวัน ควรสังเกตว่าการใช้งานหน้าจอนานเท่าใด ที่ทำให้รู้สึกตาล้า และมีตาพร่า
9. กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการตาแห้ง และหลีกเลี่ยงการใช้สายตานานๆ ในที่ที่มีอากาศแห้ง หรือลมพัดเข้าสู่ดวงตา
10. ผู้ที่ทราบอยู่แล้วว่าตาแห้งหรือผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เมื่อต้องใช้งานหน้าจอ สมาร์ทโฟนหรือเเท็บเล็ตเป็นเวลานานๆ จะช่วยลดปัญหาตาแห้งได้
แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า การใช้งานหน้าจอสมาร์ทโฟน หรือเเท็บเล็ตทำให้เกิดโรคตาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นต้อกระจก ต้อหิน หรือจอประสาทตาเสื่อม แต่ในอนาคตหากเราติดตามและเฝ้าระวังการเกิดโรคเป็นระยะเวลานานหลายๆ ปี อาจพบข้อมูลว่าการใช้งานหน้าจออุปกรณ์ดิจิตอลเหล่านี้ทำให้เกิดโรคตาก็เป็นได้ ดังนั้นการใช้งานหน้าจอสมาร์ทโฟน หรือเเท็บเล็ตอย่างเหมาะสมดูจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน ไม่เพียงแต่เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางตาที่ยังไม่ทราบข้อมูลแน่ชัดในขณะนี้ แต่ยังช่วยถนอมรักษาสายตาของเราไว้ใช้ได้นานๆ อีกด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.rutnin.com/th/eye_knowledge/detail.239.5.html
https://www.rutnin.com/th/moommong/detail.102.1.html?fbclid=IwAR0ZSVRVvM01A_j1e1VJRnOldhtGv-Dzw5M4Zq7E4LQ92ta9iwblLzMghug
จ้องจอนานๆ ระวังอาการ Computer Vision Syndrome
การที่เรารู้สึกไม่สบายตาเท่าไหร่ ตอนที่ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เกิดจากองค์ประกอบ 3 อย่างที่ค่อนข้างจะใหญ่ นั่นก็คือ
1. ใช้สายตามองใกล้
การใช้สายตาใกล้ๆ ทำให้ตาของเราต้องโฟกัสให้ภาพที่ใกล้ชัดขึ้นมา จึงต้องใช้กล้ามเนื้อในตา ถ้าเราใช้ตรงนี้นานๆก็อาจจะเกิดอาการเมื่อย หรือเมื่อยกระบอกตา หรือเมื่อยตาได้
2. เรื่องของแสงจากคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะผู้ที่เปิดคอมพิวเตอร์และเปิดไฟหรี่ๆในห้อง ทำให้แสงสว่างไม่เพียงพอ และแสงที่สว่างมากจากจอคอมพิวเตอร์ จึงเป็นส่เหตุ ทำให้รู้สึกว่าเมื่อยตา ทำให้เรารู้สึกเกร็งดวงตา
3. เกิดจากที่ตาแห้ง
ผิวตาของเราที่สบายอยู่ได้ตลอดเวลา เกิดขึ้นจากการที่เรามีต่อมน้ำตาเข้ามาเคลือบตาของเราทีละนิด ทีละนิด ทุกๆวินาที แต่การที่เราใช้สายตาทำงานอย่างตั้งใจจดจ่อ หรือการจ้องอะไรนาน การกะพริบตาจากทุกๆ 5-10วินาที หรืออาจจะน้อยกว่านั้น เพราะเรามัวแต่ตั้งใจจดจ่อ ทำให้น้ำตาที่เคลือบอยู่บนกระจกตาของเราก็อาจจะระเหยไป ทำให้เกิดอาการตาแห้ง
การที่จะดูแลตรงนี้ให้อาการเหล่านี้น้อยลงไป ก็อาจจะเป็นการที่เวลาเราทำงานไปสัก 15-20 นาที อาจจะพักสายตาบ้างเล็กน้อย อาจจะหลับตาสักครู่นึง หรือจ้องโฟกัสออกไปไกลๆมองออกไปไกลๆ ปรับระยะภาพบ้าง ทำให้กล้ามเนื้อตาผ่อนคลาย อาการตาแห้ง อาการตาล้า หรือสายตาเพลีย ที่เกิดขึ้น ในองค์ประกอบที่ 3 นี่คือ จากจอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์มือถือ หรือ จอแท็บเล็ตของเรา แนะนำว่าแสงควรจะไม่จ้าจนเกินไป ปรับแสงให้อยู่ในระดับที่เรารู้สึกว่าสบายตา แล้วการปรับจอก็ควรให้ห่างจากเราอย่างน้อยสัก 20-30 นิ้ว นะ เราจะได้ไม่ต้องเกร็ง สายตาโฟกัสกับจอจนใกล้จนเกินไป และหากมีอาการแสบเคืองตา ตามัว หรือน้ำตาไหล แนะนำให้มาพบจักษุแพทย์ เพราะอาจมีอาการของโรคตาแห้ง ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลต่อสุขภาพของกระจกตา ในปัจจุบันโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน มีเทคโนโลยีและวิวัฒนาการในการรักษาโรคตาแห้ง เพราะการใช้ชีวิตของเราในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยที่จะไม่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม จักษุแพทย์ขอแนะนำให้มาตรวจสุขภาพดวงตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
บทความโดย : นพ. สรรพัฒน์ รัตนิน
1. ควรจะอยู่ในท่าทางที่เหมาะสมในการอ่าน และแนะนำให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ก้มคออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป
2. พักสายตาเป็นระยะทุกครึ่งชั่วโมง ด้วยการทอดสายตาไปไกลๆ มองสิ่งของที่ห่างไปไม่น้อยกว่า 20ฟุต หรือหลับตานิ่งๆ ประมาณห้านาที ก่อนกลับมาใช้งานหน้าจอต่อ
3. ไม่ฝืนอ่านตัวอักษรที่มีขนาดเล็กเกินไป ซึ่งทำให้ต้องเพ่ง ควรปรับขนาดตัวอักษรให้อ่านง่าย สบายตา
4. หลีกเลี่ยงการใช้งานหน้าจอในขณะอยู่บนยานพาหนะที่มีการสั่นสะเทือนซึ่งจะทำให้ภาพหรือตัวอักษรสั่นไปด้วย
5. ปรับความสว่างของหน้าจอให้สบายตา ไม่สว่างจ้าเกินไป
6. ผู้ที่มีปัญหาสายตาผิดปกติควรมีแว่นสำหรับอ่านหนังสือที่เข้ากับค่าสายตาและเหมาะสมกับระยะในการมองหน้าจอ
7. ควรหาตำแหน่งในห้อง หรือสถานที่ที่เรากำลังใช้งานหน้าจอ ให้แสงตกกระทบเฉียงๆ กับหน้าจอ เพื่อลดแสงสะท้อนรบกวน
8. อย่าใช้งานหน้าจอติดต่อกันนานเกินไปในแต่ละวัน ควรสังเกตว่าการใช้งานหน้าจอนานเท่าใด ที่ทำให้รู้สึกตาล้า และมีตาพร่า
9. กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการตาแห้ง และหลีกเลี่ยงการใช้สายตานานๆ ในที่ที่มีอากาศแห้ง หรือลมพัดเข้าสู่ดวงตา
10. ผู้ที่ทราบอยู่แล้วว่าตาแห้งหรือผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เมื่อต้องใช้งานหน้าจอ สมาร์ทโฟนหรือเเท็บเล็ตเป็นเวลานานๆ จะช่วยลดปัญหาตาแห้งได้
แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า การใช้งานหน้าจอสมาร์ทโฟน หรือเเท็บเล็ตทำให้เกิดโรคตาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นต้อกระจก ต้อหิน หรือจอประสาทตาเสื่อม แต่ในอนาคตหากเราติดตามและเฝ้าระวังการเกิดโรคเป็นระยะเวลานานหลายๆ ปี อาจพบข้อมูลว่าการใช้งานหน้าจออุปกรณ์ดิจิตอลเหล่านี้ทำให้เกิดโรคตาก็เป็นได้ ดังนั้นการใช้งานหน้าจอสมาร์ทโฟน หรือเเท็บเล็ตอย่างเหมาะสมดูจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน ไม่เพียงแต่เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางตาที่ยังไม่ทราบข้อมูลแน่ชัดในขณะนี้ แต่ยังช่วยถนอมรักษาสายตาของเราไว้ใช้ได้นานๆ อีกด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้