'เพื่อไทย' ชี้ 'ประยุทธ์' ทำหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงสุดเข้าขั้นฉุกเฉิน
https://voicetv.co.th/read/T-v9J01lB
'เพื่อไทย' ชี้หนี้ครัวเรือนเข้าภาวะฉุกเฉิน ทั้งหนัก เน่า นอกระบบ จี้พักชำระหนี้ธุรกิจบริการ รายย่อย กระจายสินเชื่อ ลดรายจ่ายครัวเรือน
วันที่ 11 ก.ย. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานจากที่ทำการพรรคเพื่อไทยว่า ดร.
เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์นโยบาย พท. แถลงข่าวถึงภาวะฉุกเฉินหนี้ครัวเรือนไทย โดยระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยทั้งหนัก เน่า และนอกระบบ โดย ดร.เผ่าภูมิ ระบุดังนี้
1.
“หนัก” : หนี้ครัวเรือนสิ้นไตรมาส 1/64 อยู่ที่ 14.128 ล้านล้านบาท (90.5% ของ GDP) ตัวเลขนี้ยังไม่ได้สะท้อนผลจากการระบาดระลอก 2,3,4 รวมถึงระลอก 5 (ถ้ามี) ศูนย์นโยบาย พท. ประเมินหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ Q4/64 จะอยู่ที่ 92-93% ในกรณีที่ไม่มีระลอก 5 และอยู่ที่ 93-94% ในกรณีที่มีระลอก 5 นี่คือตัวเลขที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่มีการรายงาน รัฐบาลทำลายสถิติตนเองทุกปี สูงสุดในประเทศกำลังพัฒนา สูงกว่าอินโดนีเซียราว 5 เท่าตัว กัมพูชาราว 3 เท่าตัว และเป็นกว่า 2 เท่าตัวของรัฐบาล ดร.
ทักษิณ ซึ่งอยู่ที่ราว 43% เท่านั้น และแนวโน้มสูงขึ้นแบบไม่มีที่สิ้นสุด เข้าสู่ภาวะฉุกเฉินของหนี้ครัวเรือน เรียกได้ว่า
“คนไทยจนทุกที่ มีหนี้ทุกหย่อมหญ้า”
2.
“เน่า” : ไส้ในของหนี้ครัวเรือนก็เข้าขั้นฉุกเฉิน ในยอดรวมหนี้กว่า 14 ล้านล้านบาท เป็นหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลถึงกว่า 10.8 ล้านล้านบาท นั่นคือ เกือบ 80% ของหนี้ไม่สร้างรายได้ คุณภาพของสินเชื่อภาคครัวเรือนจึงต่ำ มีโอกาสเป็นหนี้เสียจึงสูง โครงสร้างแบบนี้อันตราย อีกทั้งไทยประสบภาวะหนี้ครัวเรือนสูงกว่าหนี้ธุรกิจซึ่งอยู่ที่ 9.5 ล้านล้านบาทอยู่มาก การอุปโภคบริโภคมากกว่าการลงทุนภาคเอกชน เท่ากับประเทศไทยถอยหลังลงคลองในมิติของการพัฒนา
3. “
นอกระบบ” : หนี้ครัวเรือนนั้นไม่รวมหนี้นอกระบบ เมื่อเศรษฐกิจแย่ คนตกงาน ไม่มีรายได้ ความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น แต่การให้สินเชื่อถูกจำกัด กอปรกับภาคบริการมีลักษณะเป็นธุรกิจนอกระบบสูง ทำให้ไทยประสบปัญหาที่ใหญ่กว่า นั่นคือ
“หนี้ในระบบไหลสู่หนี้นอกระบบ” โดยหนี้นอกระบบต้องแก้ด้วยกลไกดึงหนี้เข้าสู่ระบบ ไม่ใช่ใช้กฎหมายแก้ที่ปลายเหตุเหมือนที่รัฐบาลทำ
4. ในภาวะฉุกเฉิน ในระยะสั้นรัฐบาลต้อง
4.1. ยืดและพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งระบบขนาดใหญ่ในวงกว้างในธุรกิจภาคบริการ และรายย่อย ตลอดช่วงเวลาฉุกเฉินทันที โดยรัฐบาลต้องชดเชยส่วนต่างและรายจ่ายดอกเบี้ยไปที่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อทำให้การพักหนี้ในวงกว้างเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่พักหนี้แบบนามธรรมเหมือนที่ผ่านมา
4.2. ผ่อนคลายและกระจายสินเชื่อในระบบทันที เพื่อป้องกันภาวะหนี้ในระบบไหลสู่นอกระบบ
4.3. หยุดเลือดการตกงานด้วยมาตรการคงการจ้างงานทันที และหยุดเลือดธุรกิจล้มโดยยกเลิกมาตรการพักทรัพย์พักหนี้และโอนวงเงินสู่ Soft Loan ผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทันที
4.4. ลดภาระรายจ่ายครัวเรือนรายเดือนอย่างต่อเนื่องตลอดภาวะฉุกฉินทันที
4.5. ขยายกลไกสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดของกระทรวงการคลังทันที เพื่อดึงหนี้นอกระบบกลับสู่ในระบบ สนับสนุนและอุดหนุนกลไก Non-Bank ป้องกันการเกิดหนี้นอกระบบใหม่ทันที
'โกวิทย์' ชี้พปชร.คิดผิด แก้บัตร 2 ใบ พท.ชนะแน่ เชื่อก้าวไกล ถ้านโยบายดี ยังสู้ได้
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2934108
เมื่อวันที่ 11 กันยายน นาย
โกวิทย์ พวงงาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไท ให้สัมภาษณ์ถึงการยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า
เราตั้งใจ แต่ตามรัฐธรรมนูญต้องใช้เสียง 1 ใน 10 ของจำนวนส.ส.และส.ว. หรือประมาณ 75 เสียง ซึ่งเสียงของพรรคเล็กไม่ถึงอยู่แล้ว เต็มที่ก็ประมาณ 30 เสียง ต้องไปขอเสียงของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) และพรรคก้าวไกล (ก.ก.) หรือส.ว. อีกประมาณ 40 กว่าเสียง ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่า ส.ว. จะเล่นด้วยหรือไม่ ฉะนั้น กระบวนการการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ จึงอยู่ที่ 50-50 และตนดูท่าทีของพรรคภูมิใจไทยที่ออกมาแถลงว่าจะไม่ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงพรรคก้าวไกลที่จะไม่ร่วมยื่นด้วย จึงมีความกังวลเรื่องเสียง ทั้งนี้ ยังไม่ได้มีการพูดคุยเจรจากันอย่างเป็นทางการ ซึ่งตนคิดว่า อาจจะต้องมีการพูดคุยและเจรจากัน แต่จะต้องเป็นการเจรจาทั้งพรรค เพราะหากเจรจาระดับสมาชิกก็อาจจะไม่ยุติ
เมื่อถามว่า ได้มีการพูดคุยกับทางส.ว.แล้วหรือไม่ นาย
โกวิทย์ กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดคุย เพราะยังมีเวลาระหว่างนี้อีก 15 วัน ตอนนี้ยังตอบอะไรไม่ได้เนื่องจากเพิ่งผ่านการลงมติไปแค่ 1 วัน ซึ่งหากพรรคภูมิใจไทยที่มีเสียงประมาณ 60 เสียงมาร่วมด้วยประมาณ 50 เสียง และไปรวมกับส.ว.อีกประมาณ 10 เสียงก็เพียงพอแล้ว เพราะจะต้องมีน้ำหนักในการเข้าชื่อ
นายโกวิทย์ กล่าวด้วยว่า หากพูดว่าพรรคเล็กจะสูญพันธ์หรือไม่ ตนยังไม่ค่อยเห็นด้วย เหมือนเมื่อก่อนที่เรามองว่าพรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคเล็ก แต่เวลาเลือกตั้งเขาก็ได้เสียงมาก รวมถึงอีกหลายพรรคเช่นกันที่เขาได้เสียงมา ตนมองว่ามันอยู่ที่นโยบายการทำงานของพรรคนั้นๆ และตนคิดว่าการทำให้พรรคการเมืองมีอัตลักษณ์ของตัวเองในพรรคเล็กเป็นทางออกของสังคมที่ดี ไม่ใช่การไปมองพรรคใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทย (พท.) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หรือพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่เขาเป็นพรรคเก่าแก่ ซึ่งพรรคเล็กอย่าเพิ่งไปน้อยใจว่าจะสูญพันธ์ุ แต่หากเราเสนอนโยบายที่ดีต่อประชาชน ประเทศชาติ ตนคิดว่าจะเป็นทางเลือกใหม่ได้
นาย
โกวิทย์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การยื่นศาลรัฐธรรมนูญเป็นกระบวนการปกติของรัฐสภาที่ต้องตรวจสอบกันละกัน ซึ่งเราสงสัยว่าการเพิ่มเติมมาตราขึ้นมาใหม่ทำได้หรือไม่ กระบวนการที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) แก้ไขวันนั้นแล้วใช้เสียงของรัฐสภาถูกต้องหรือไม่ เพราะบางครั้งเสียงข้างมากก็ลากไป ซึ่งก็สมคบคิดไว้แล้วว่าจะออกมาเช่นนี้ ซึ่งตนคิดว่ามีแต่จะสร้างความถูกต้องให้ปรากฏในการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เพราะยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของ กมธ.
นาย
โกวิทย์ กล่าวอีกว่า ส่วนการเมืองข้างหน้า ประชาชนรุ่นใหม่ในโลกยุคใหม่ เขาก็คิดได้ในเชิงการสร้างนโยบายของพรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก เพียงแต่ข้อกังวล คือ ต่อไปการซื้อเสียงจะมีความรุนแรงมากขึ้นในพรรคที่มีทุนที่จะมีความได้เปรียบ เมื่อแบ่ง ส.ส.เขต 400 คน จะทำให้แคบ และทำให้ใช้เงินซื้อง่าย นอกจากนี้การไปเพิ่ม ส.ส.เขต และลดจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ เท่ากับปิดกั้นโอกาสวิชาชีพของสาขาต่างๆ ที่จะเข้าสู่การเมือง ตนมองว่าประเทศไทยทิ้งน้ำหนักการคัดคนเข้าสู่การเมืองในระบบ ส.ส.เขตมากเกินไป ซึ่ง ส.ส.มักจะอ้างว่าต้องเข้าถึงและดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง ตนขอถามว่าแล้วจะมีสมาชิกสภาเทศบาล สก. ไปทำไม ซึ่งเป็นการทำงานซ้อนกับท้องถิ่น ฉะนั้น ตนมองว่ายังไม่มีพัฒนาการทางการเมืองที่ทำให้ก้าวหน้า โดยเฉพาะระบบที่พิจารณาเรื่องจำนวน ส.ส.และที่มายังมีปัญหา
“ผมคิดว่าการเมืองหลังเลือกตั้งครั้งหน้าเป็นโอกาสของพรรคเพื่อไทย เพราะมีส.ส.เขตจำนวนมาก และก็จะได้บัญชีรายชื่ออีก เพราะอย่างน้อยเขาก็ยังศรัทธาเรื่องกองทุนหมู่บ้าน นโยบายรักษาทุกโรค ซึ่งผมคิดว่าพรรคพลังประชารัฐคิดผิดว่าจะได้เสียงข้างมากแทนพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้ พรรคพลังประชารัฐอาจได้เสียงรองจากพรรคเพื่อไทย เพราะมีโครงการคนละครึ่งหรือโครงการเยียวยาต่างๆ ส่วนพรรคที่เป็นจุดอ่อนอาจจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็อาจจะได้คนเก่าคนแก่มา หลายคนมองว่าบัตรเลือกตั้ง 2 ใบสกัดพรรคก้าวไกล ผมว่าไม่ใช่ เพราะอาจจะได้ประโยชน์ในแง่นโยบายที่โดดเด่นได้เหมือนกัน” นาย
โกวิทย์ กล่าว
JJNY : พท.ชี้ประยุทธ์ทำหนี้ครัวเรือนพุ่ง│โกวิทย์ชี้พปชร.คิดผิด พท.ชนะแน่│เทพไทวิเคราะห์บัตรลต.│ย่านประตูน้ำโอดยอดขายวูบ
https://voicetv.co.th/read/T-v9J01lB
'เพื่อไทย' ชี้หนี้ครัวเรือนเข้าภาวะฉุกเฉิน ทั้งหนัก เน่า นอกระบบ จี้พักชำระหนี้ธุรกิจบริการ รายย่อย กระจายสินเชื่อ ลดรายจ่ายครัวเรือน
วันที่ 11 ก.ย. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานจากที่ทำการพรรคเพื่อไทยว่า ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์นโยบาย พท. แถลงข่าวถึงภาวะฉุกเฉินหนี้ครัวเรือนไทย โดยระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยทั้งหนัก เน่า และนอกระบบ โดย ดร.เผ่าภูมิ ระบุดังนี้
1. “หนัก” : หนี้ครัวเรือนสิ้นไตรมาส 1/64 อยู่ที่ 14.128 ล้านล้านบาท (90.5% ของ GDP) ตัวเลขนี้ยังไม่ได้สะท้อนผลจากการระบาดระลอก 2,3,4 รวมถึงระลอก 5 (ถ้ามี) ศูนย์นโยบาย พท. ประเมินหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ Q4/64 จะอยู่ที่ 92-93% ในกรณีที่ไม่มีระลอก 5 และอยู่ที่ 93-94% ในกรณีที่มีระลอก 5 นี่คือตัวเลขที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่มีการรายงาน รัฐบาลทำลายสถิติตนเองทุกปี สูงสุดในประเทศกำลังพัฒนา สูงกว่าอินโดนีเซียราว 5 เท่าตัว กัมพูชาราว 3 เท่าตัว และเป็นกว่า 2 เท่าตัวของรัฐบาล ดร.ทักษิณ ซึ่งอยู่ที่ราว 43% เท่านั้น และแนวโน้มสูงขึ้นแบบไม่มีที่สิ้นสุด เข้าสู่ภาวะฉุกเฉินของหนี้ครัวเรือน เรียกได้ว่า “คนไทยจนทุกที่ มีหนี้ทุกหย่อมหญ้า”
2. “เน่า” : ไส้ในของหนี้ครัวเรือนก็เข้าขั้นฉุกเฉิน ในยอดรวมหนี้กว่า 14 ล้านล้านบาท เป็นหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลถึงกว่า 10.8 ล้านล้านบาท นั่นคือ เกือบ 80% ของหนี้ไม่สร้างรายได้ คุณภาพของสินเชื่อภาคครัวเรือนจึงต่ำ มีโอกาสเป็นหนี้เสียจึงสูง โครงสร้างแบบนี้อันตราย อีกทั้งไทยประสบภาวะหนี้ครัวเรือนสูงกว่าหนี้ธุรกิจซึ่งอยู่ที่ 9.5 ล้านล้านบาทอยู่มาก การอุปโภคบริโภคมากกว่าการลงทุนภาคเอกชน เท่ากับประเทศไทยถอยหลังลงคลองในมิติของการพัฒนา
3. “นอกระบบ” : หนี้ครัวเรือนนั้นไม่รวมหนี้นอกระบบ เมื่อเศรษฐกิจแย่ คนตกงาน ไม่มีรายได้ ความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น แต่การให้สินเชื่อถูกจำกัด กอปรกับภาคบริการมีลักษณะเป็นธุรกิจนอกระบบสูง ทำให้ไทยประสบปัญหาที่ใหญ่กว่า นั่นคือ “หนี้ในระบบไหลสู่หนี้นอกระบบ” โดยหนี้นอกระบบต้องแก้ด้วยกลไกดึงหนี้เข้าสู่ระบบ ไม่ใช่ใช้กฎหมายแก้ที่ปลายเหตุเหมือนที่รัฐบาลทำ
4. ในภาวะฉุกเฉิน ในระยะสั้นรัฐบาลต้อง
4.1. ยืดและพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งระบบขนาดใหญ่ในวงกว้างในธุรกิจภาคบริการ และรายย่อย ตลอดช่วงเวลาฉุกเฉินทันที โดยรัฐบาลต้องชดเชยส่วนต่างและรายจ่ายดอกเบี้ยไปที่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อทำให้การพักหนี้ในวงกว้างเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่พักหนี้แบบนามธรรมเหมือนที่ผ่านมา
4.2. ผ่อนคลายและกระจายสินเชื่อในระบบทันที เพื่อป้องกันภาวะหนี้ในระบบไหลสู่นอกระบบ
4.3. หยุดเลือดการตกงานด้วยมาตรการคงการจ้างงานทันที และหยุดเลือดธุรกิจล้มโดยยกเลิกมาตรการพักทรัพย์พักหนี้และโอนวงเงินสู่ Soft Loan ผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทันที
4.4. ลดภาระรายจ่ายครัวเรือนรายเดือนอย่างต่อเนื่องตลอดภาวะฉุกฉินทันที
4.5. ขยายกลไกสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดของกระทรวงการคลังทันที เพื่อดึงหนี้นอกระบบกลับสู่ในระบบ สนับสนุนและอุดหนุนกลไก Non-Bank ป้องกันการเกิดหนี้นอกระบบใหม่ทันที
'โกวิทย์' ชี้พปชร.คิดผิด แก้บัตร 2 ใบ พท.ชนะแน่ เชื่อก้าวไกล ถ้านโยบายดี ยังสู้ได้
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2934108
เมื่อวันที่ 11 กันยายน นายโกวิทย์ พวงงาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไท ให้สัมภาษณ์ถึงการยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า
เราตั้งใจ แต่ตามรัฐธรรมนูญต้องใช้เสียง 1 ใน 10 ของจำนวนส.ส.และส.ว. หรือประมาณ 75 เสียง ซึ่งเสียงของพรรคเล็กไม่ถึงอยู่แล้ว เต็มที่ก็ประมาณ 30 เสียง ต้องไปขอเสียงของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) และพรรคก้าวไกล (ก.ก.) หรือส.ว. อีกประมาณ 40 กว่าเสียง ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่า ส.ว. จะเล่นด้วยหรือไม่ ฉะนั้น กระบวนการการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ จึงอยู่ที่ 50-50 และตนดูท่าทีของพรรคภูมิใจไทยที่ออกมาแถลงว่าจะไม่ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงพรรคก้าวไกลที่จะไม่ร่วมยื่นด้วย จึงมีความกังวลเรื่องเสียง ทั้งนี้ ยังไม่ได้มีการพูดคุยเจรจากันอย่างเป็นทางการ ซึ่งตนคิดว่า อาจจะต้องมีการพูดคุยและเจรจากัน แต่จะต้องเป็นการเจรจาทั้งพรรค เพราะหากเจรจาระดับสมาชิกก็อาจจะไม่ยุติ
เมื่อถามว่า ได้มีการพูดคุยกับทางส.ว.แล้วหรือไม่ นายโกวิทย์ กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดคุย เพราะยังมีเวลาระหว่างนี้อีก 15 วัน ตอนนี้ยังตอบอะไรไม่ได้เนื่องจากเพิ่งผ่านการลงมติไปแค่ 1 วัน ซึ่งหากพรรคภูมิใจไทยที่มีเสียงประมาณ 60 เสียงมาร่วมด้วยประมาณ 50 เสียง และไปรวมกับส.ว.อีกประมาณ 10 เสียงก็เพียงพอแล้ว เพราะจะต้องมีน้ำหนักในการเข้าชื่อ
นายโกวิทย์ กล่าวด้วยว่า หากพูดว่าพรรคเล็กจะสูญพันธ์หรือไม่ ตนยังไม่ค่อยเห็นด้วย เหมือนเมื่อก่อนที่เรามองว่าพรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคเล็ก แต่เวลาเลือกตั้งเขาก็ได้เสียงมาก รวมถึงอีกหลายพรรคเช่นกันที่เขาได้เสียงมา ตนมองว่ามันอยู่ที่นโยบายการทำงานของพรรคนั้นๆ และตนคิดว่าการทำให้พรรคการเมืองมีอัตลักษณ์ของตัวเองในพรรคเล็กเป็นทางออกของสังคมที่ดี ไม่ใช่การไปมองพรรคใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทย (พท.) พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หรือพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่เขาเป็นพรรคเก่าแก่ ซึ่งพรรคเล็กอย่าเพิ่งไปน้อยใจว่าจะสูญพันธ์ุ แต่หากเราเสนอนโยบายที่ดีต่อประชาชน ประเทศชาติ ตนคิดว่าจะเป็นทางเลือกใหม่ได้
นายโกวิทย์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การยื่นศาลรัฐธรรมนูญเป็นกระบวนการปกติของรัฐสภาที่ต้องตรวจสอบกันละกัน ซึ่งเราสงสัยว่าการเพิ่มเติมมาตราขึ้นมาใหม่ทำได้หรือไม่ กระบวนการที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) แก้ไขวันนั้นแล้วใช้เสียงของรัฐสภาถูกต้องหรือไม่ เพราะบางครั้งเสียงข้างมากก็ลากไป ซึ่งก็สมคบคิดไว้แล้วว่าจะออกมาเช่นนี้ ซึ่งตนคิดว่ามีแต่จะสร้างความถูกต้องให้ปรากฏในการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เพราะยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของ กมธ.
นายโกวิทย์ กล่าวอีกว่า ส่วนการเมืองข้างหน้า ประชาชนรุ่นใหม่ในโลกยุคใหม่ เขาก็คิดได้ในเชิงการสร้างนโยบายของพรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก เพียงแต่ข้อกังวล คือ ต่อไปการซื้อเสียงจะมีความรุนแรงมากขึ้นในพรรคที่มีทุนที่จะมีความได้เปรียบ เมื่อแบ่ง ส.ส.เขต 400 คน จะทำให้แคบ และทำให้ใช้เงินซื้อง่าย นอกจากนี้การไปเพิ่ม ส.ส.เขต และลดจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ เท่ากับปิดกั้นโอกาสวิชาชีพของสาขาต่างๆ ที่จะเข้าสู่การเมือง ตนมองว่าประเทศไทยทิ้งน้ำหนักการคัดคนเข้าสู่การเมืองในระบบ ส.ส.เขตมากเกินไป ซึ่ง ส.ส.มักจะอ้างว่าต้องเข้าถึงและดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง ตนขอถามว่าแล้วจะมีสมาชิกสภาเทศบาล สก. ไปทำไม ซึ่งเป็นการทำงานซ้อนกับท้องถิ่น ฉะนั้น ตนมองว่ายังไม่มีพัฒนาการทางการเมืองที่ทำให้ก้าวหน้า โดยเฉพาะระบบที่พิจารณาเรื่องจำนวน ส.ส.และที่มายังมีปัญหา
“ผมคิดว่าการเมืองหลังเลือกตั้งครั้งหน้าเป็นโอกาสของพรรคเพื่อไทย เพราะมีส.ส.เขตจำนวนมาก และก็จะได้บัญชีรายชื่ออีก เพราะอย่างน้อยเขาก็ยังศรัทธาเรื่องกองทุนหมู่บ้าน นโยบายรักษาทุกโรค ซึ่งผมคิดว่าพรรคพลังประชารัฐคิดผิดว่าจะได้เสียงข้างมากแทนพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้ พรรคพลังประชารัฐอาจได้เสียงรองจากพรรคเพื่อไทย เพราะมีโครงการคนละครึ่งหรือโครงการเยียวยาต่างๆ ส่วนพรรคที่เป็นจุดอ่อนอาจจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็อาจจะได้คนเก่าคนแก่มา หลายคนมองว่าบัตรเลือกตั้ง 2 ใบสกัดพรรคก้าวไกล ผมว่าไม่ใช่ เพราะอาจจะได้ประโยชน์ในแง่นโยบายที่โดดเด่นได้เหมือนกัน” นายโกวิทย์ กล่าว