นสพ.รัสเซียตีข่าว ไทยรับคนฉีด "สปุตนิค วี" เข้าภูเก็ต จ๊ากค่าตรวจโควิด 8 พันบาท
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6588252
นสพ.รัสเซียตีข่าว – วันที่ 28 ส.ค. หนังสือพิมพ์
คอมเมียร์ซันต์ ของรัสเซียรายงานข่าวที่ทางการไทยผ่อนปรนเงื่อนไขการเดินทางเข้าประเทศของชาวรัสเซียที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผ่านโครงการแซนด์บ็อกซ์ในจังหวัดภูเก็ตและบนเกาะสมุยโดยไม่ต้องกักตัว ซึ่งปรากฏบนหน้า 1 ของฉบับพิมพ์วันนี้ด้วยพาดหัว “เรียกนักท่องเที่ยวมาทัวร์ทั่วภูเก็ต” (Туристов зовут на всё пхукетовое)
รายงานระบุว่า การผ่อนปรนดังกล่าวจะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวอิสระบางส่วนเดินทางเข้าเมืองไทยมากขึ้น แต่จะไม่เป็นที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ที่จะเบือนหนีกับข้อจำกัดที่รอนานและการบังคับตรวจโควิด-19 ด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (PCR) 2 ครั้ง เมื่อเข้าเมืองไทย ด้วยราคามากกว่า 18,000 รูเบิล หรือเกือบ 8,000 บาท
ขณะเดียวกัน บรรดาผู้ประกอบการนำเที่ยวในรัสเซียเดิมพันในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว โปรโมตทัวร์อียิปต์ และคาดหวังการยกเลิกการจำกัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปอียิปต์ทั้งหมด
รายงานระบุข้อมูลของสถานทูตไทยในกรุงมอสโกว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ทางการไทยจะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีน “สปุตนิค วี” ของรัสเซียเข้าประเทศผ่านโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์และสมุยพลัส ซึ่งไม่มีการกักตัว
นักท่องเที่ยวต้องขอหนังสือรับรองการเดินทางเข้าเมือง (COE) ซื้อประกันสุขภาพ จองโรงแรมที่มีใบรับรอง SHA+ (พนักงานในสถานประกอบการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบโดสอย่างน้อย 70% ของทั้งหมด) และมีผลตรวจโควิด-19 เป็นลบด้วยวิธี PCR ในรัสเซีย และต้องชำระเงินล่วงหน้าเพื่อตรวจอีก 2 ครั้งในไทย
นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปภูเก็ตได้ผ่านสนามบินของจังหวัดเท่านั้น และสามารถเดินทางไปเกาะสมุยได้โดยเปลี่ยนเที่ยวบินไปเที่ยวบินที่กำหนดในกรุงเทพฯ หลังจากนั้น 14 วัน จึงสามารถเดินทางไปจังหวัดอื่นได้ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมในแต่ละจังหวัด
รายงานระบุว่า ก่อนการระบาดของโควิด-19 ไทยถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางต่างประเทศที่มีความต้องการมากที่สุด โดยเฉพาะในฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว และข้อมูลของสำนักงานชายแดนของหน่วยความมั่นคงกลางรัสเซีย (FSB) ระบุว่า ในปี 2562 มีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเยือนไทย 822,700 คน หรือ 4.6% จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด
นาย
ดมีตรี โกริน รองประธานสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวของรัสเซีย (ATORUS) กล่าวว่า การผ่อนปรนเงื่อนไขการเดินทางเข้าไทยสำหรับชาวรัสเซียจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจของผู้ประกอบการนำเที่ยว
“
สมาคมไม่ได้ตัดสินใจกลับมาเปิดเที่ยวบินใหม่ ดังนั้น การขายทัวร์ในรัสเซียจึงไม่สามารถทำได้” นาย
โกรินระบุ แต่กล่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าวโดยรวมถือเป็นสัญญาณบวกถึงการยอมรับวัคซีนของรัสเซียและการเริ่มต้นกระบวนการฟื้นกระแสนักท่องเที่ยวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
นาย
โกรินประเมินว่า นักท่องเที่ยวอิสระบางส่วน และนักท่องเที่ยวที่ต้องการ “หนีหนาว” จะใช้โอกาสนี้เดินทางมาไทย ข้อมูลของ ATORUS ระบุว่า ก่อนการระบาดของโควิด-19 มีนักท่องเที่ยว 200,000 คน เดินทางออกจากรัสเซียในฤดูหนาวเยือนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก แต่ ATORUS ไม่ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการฟื้นฟูเที่ยวบินกับไทย
ขณะที่เว็บไซต์แอเวียเซลส์ (Aviasales) มีข้อมูลว่า ตอนนี้การจองตั๋วมาไทยไม่ได้มีมากมายนัก โดยตั๋วเครื่องบินเดินทางออกจากกรุงมอสโกต้องการไปจังหวัดภูเก็ต 0.01% เกาะสมุย 0.02% และกรุงเทพฯ 0.03% ส่วนราคาตั๋วเครื่องบินพร้อมเที่ยวบินไป-กลับ ภูเก็ต-รัสเซีย อยู่ที่ 30,100 รูเบิล หรือราว 13,300 บาท ต่ำกว่าราคาของปี 2562 จำนวน 11.6% ส่วนเที่ยวบินไปเกาะสมุยมีราคา 20,100 รูเบิล หรือราว 8,900 บาท ถูกกว่าราคาของปีที่แล้ว 2 เท่า
ด้าน เทซ ทัวร์ (Tez Tour) ผู้จัดทัวร์ในเมืองพัทยา ระบุว่า ความต้องการเยือนไทยมีการสะสมอยู่มาก และการกลับมาอย่างเต็มที่ของความต้องการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อตลาดการท่องเที่ยวโดยรวม แต่ชี้ด้วยว่า นอกจากทางการรัสเซียไม่ได้ตัดสินใจเปิดเส้นทางการบินแล้ว ผลกระทบเชิงลบอีกอย่างตอนนี้มาจากการบังคับตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี PRC 2 ครั้ง เมื่อเข้าไทย ซึ่งราคาทั้งหมดเกิน 18,000 รูเบิล เข้าไปแล้ว
นาย
โกรินกล่าวถึงธุรกิจทัวร์ของรัสเซียในฤดูใบไม้ร่วงว่ากำลังเดิมพันจัดโปรแกรมไปอียิปต์ และสายการบินเพิ่งได้รับสิทธิ์เพิ่มเติมในการจัดโปรแกรมบินไปเมืองชาร์ม-เอล-เชค และเมืองฮูร์กาดา จาก 41 เมืองของอียิปต์ โดยรวมแล้วจะมีเที่ยวบิน 9 สายการบินจาก 49 ภูมิภาค
ATORUS คาดว่า อาจทำให้ราคาทัวร์ลดลง 20-25% แต่แหล่งข่าวตลาดการท่องเที่ยวชี้ว่า เมืองต่างๆ ของอียิปต์และความถี่ของเที่ยวบินได้รับการอนุมัติโดยไม่มีการตกลงกับผู้ประกอบการนำเที่ยว และหลายเจ้าไม่ได้ให้ความสนใจ แหล่งข่าวระบุต่อว่า ตลาดการท่องเที่ยวคาดว่าจะรอการยกเลิกการจำกัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปอียิปต์ในเวลาอันใกล้นี้
สมาคมทนายฯแถลงการณ์ซัดบิ๊กตร. ทำผิดกฎหมายเสียเอง ปมแถลงข่าวผกก.โจ้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6588364
สมาคมทนายฯแถลงการณ์ซัดบิ๊กตร. ทำผิดกฎหมายเสียเอง ปมแถลงข่าวผกก.โจ้ ชี้ไม่เหมาะสม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แนะควรให้กองปราบฯรับผิดชอบคดีนี้
เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ระบุว่า
มูลกรณีสืบเนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดให้มีการแถลงข่าวการจับกุม พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล (ผู้กำกับโจ้) ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดนครสวรรค์ ที่ จ.187/2564 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2564 ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย เมื่อคืนวันที่ 26 สิงหาคม
2564 เวลาประมาณ 21.30 นาฬิกา นั้น
สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเห็นว่าการแถลงข่าวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การให้สัมภาษณ์ของผู้ร่วมแถลงข่าว และการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน สภ. เมืองนครสวรรค์มีความไม่เหมาะสม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายเสียเอง กล่าวคือ
1.ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรกและให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปด้วย คือ (1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้ในชั้นสอบสวน
(3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
และ (4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย ดังนั้น การยินยอมให้ผู้ต้องหาแถลงข่าวด้วยการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนจึงเป็นการให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
2. แม้ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 465/2550 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 ข้อ 2.3 ที่ห้ามอนุญาตหรือจัดให้สื่อมวลชนทุกแขนงสัมภาษณ์ผู้ต้องหาในระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีข้อยกเว้นให้กระทำได้หากได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหาก็ตาม แต่การให้สิทธิตามข้อยกเว้นดังกล่าวเกินไปกว่าสิทธิตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7/1 บัญญัติไว้คำสั่งดังกล่าวจึงขัดต่อกฎหมาย
ประกอบกับการให้สัมภาษณ์ของผู้ต้องหายังไม่เป็นประโยชน์แก่คดี เพราะย่อมจะมีลักษณะเป็นการแก้ตัว หรือชักจูงสังคมให้เห็นใจหรือคล้อยตามคำแก้ตัวของตน หรือสร้างความชอบธรรมให้กับกระทำความผิด หรือให้สัมภาษณ์ผิดไปจากข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์แห่งคดีของตน คำให้สัมภาษณ์ดังกล่าวอาจจะมีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน เหนือพนักงานสอบสวนหรือผู้เสียหายหรือพยานซึ่งจะถูกกดดันจากกระแสสังคมอันจะทำให้การดำเนินคดีเสียความยุติธรรม
3. การที่รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 (พลตำรวจตรีเอกลักษณ์ ลิ้มสังกาจ) แถลงว่าผู้ต้องหารายนี้นัดให้มารับตัวที่หน้า สภ. แสนสุข จังหวัดชลบุรี ในช่วงบ่ายของวันที่ 26 สิงหาคม 2564 โดยมีรถยนต์เก๋งสีขาวนำตัวผู้ต้องหามาส่งแต่ตนไม่ได้สังเกต และไม่ได้จำทะเบียนรถดังกล่าวนั้น เห็นว่าผู้ต้องหารายนี้หลบหนีการจับกุมหลายวันโดยหลบหนีมาจากจังหวัดนครสวรรค์จนมาถูกจับกุมที่จังหวัดชลบุรีจึงอาจมีผู้ช่วยเหลือให้พำนัก
โดยซ่อนเร้นหรือโดยช่วยผู้ต้องหาด้วยประการใดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 ดังนั้น ผู้ขับขี่และรถยนต์ที่นำตัวผู้ต้องหามาส่งให้รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 จึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญแห่งคดีที่พนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนให้ได้ความดังกล่าว
การที่รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 อ้างว่าไม่ได้สังเกตและจำหมายเลขทะเบียนรถไม่ได้จึงอาจเข้าข่ายเป็นการช่วยเหลือผู้กระทำความผิดฐานให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องหาไม่ให้ถูกจับกุมอันอาจเป็นความผิดฐานผู้สนับสนุนตามมาตรา 86 และ 189 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขอเรียนเพิ่มเติมว่า ผู้ต้องหาในคดีนี้เป็นนายตำรวจระดับผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจและการกระทำความผิดเกิดขึ้นใน สภ. เมืองนครสวรรค์ โดยมีผู้ร่วมกระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคน อาทิเช่น
(1) การจับกุมผู้ต้องหาโดยไม่มีบันทึกการจับกุม
(2) ซ้อมทรมานและฆ่าผู้ต้องหา
(3) ทำลายหลักฐานแห่งคดี
(4) ไม่แจ้งเหตุแก่พนักงานสอบสวน
และ (5) ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องการชันสูตรพลิกศพ เป็นต้น
อีกทั้งกระทำความผิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2564 แต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครสวรรค์ได้มีการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาและผู้ร่วมกระทำความผิดทันทีที่เกิดเหตุทั้งที่เหตุเกิดใน สภ. ดังกล่าว ในทางกลับกันกลับมีการช่วยเหลือโดยปกปิดการกระทำความผิดและทำลายพยานหลักฐาน เจ้าหน้าที่ตำรวจของ สภ.เมืองนครสวรรค์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง
ดังนั้น หากให้พนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครสวรรค์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินคดีย่อมจะเสียความเป็นธรรม จึงควรให้กองบังคับการกองปราบปรามเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดทุกรายที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ เพื่อกู้วิกฤตศรัทธาของประชาชนที่มีต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนต่อไป
นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย 28 สิงหาคม 2564
https://www.facebook.com/lawyerassn/posts/4511969352168555
JJNY : นสพ.รัสเซียตีข่าวค่าตรวจโควิด8พัน│ส.ทนายฯซัดบิ๊กตร.ทำผิดกม.เสียเอง│คาดได้ลต.'ผู้ว่าฯ-ส.ก.'พ.ย.นี้│ร้านอาหารโอด
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6588252
นสพ.รัสเซียตีข่าว – วันที่ 28 ส.ค. หนังสือพิมพ์ คอมเมียร์ซันต์ ของรัสเซียรายงานข่าวที่ทางการไทยผ่อนปรนเงื่อนไขการเดินทางเข้าประเทศของชาวรัสเซียที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผ่านโครงการแซนด์บ็อกซ์ในจังหวัดภูเก็ตและบนเกาะสมุยโดยไม่ต้องกักตัว ซึ่งปรากฏบนหน้า 1 ของฉบับพิมพ์วันนี้ด้วยพาดหัว “เรียกนักท่องเที่ยวมาทัวร์ทั่วภูเก็ต” (Туристов зовут на всё пхукетовое)
รายงานระบุว่า การผ่อนปรนดังกล่าวจะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวอิสระบางส่วนเดินทางเข้าเมืองไทยมากขึ้น แต่จะไม่เป็นที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ที่จะเบือนหนีกับข้อจำกัดที่รอนานและการบังคับตรวจโควิด-19 ด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (PCR) 2 ครั้ง เมื่อเข้าเมืองไทย ด้วยราคามากกว่า 18,000 รูเบิล หรือเกือบ 8,000 บาท
ขณะเดียวกัน บรรดาผู้ประกอบการนำเที่ยวในรัสเซียเดิมพันในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว โปรโมตทัวร์อียิปต์ และคาดหวังการยกเลิกการจำกัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปอียิปต์ทั้งหมด
รายงานระบุข้อมูลของสถานทูตไทยในกรุงมอสโกว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ทางการไทยจะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีน “สปุตนิค วี” ของรัสเซียเข้าประเทศผ่านโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์และสมุยพลัส ซึ่งไม่มีการกักตัว
นักท่องเที่ยวต้องขอหนังสือรับรองการเดินทางเข้าเมือง (COE) ซื้อประกันสุขภาพ จองโรงแรมที่มีใบรับรอง SHA+ (พนักงานในสถานประกอบการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบโดสอย่างน้อย 70% ของทั้งหมด) และมีผลตรวจโควิด-19 เป็นลบด้วยวิธี PCR ในรัสเซีย และต้องชำระเงินล่วงหน้าเพื่อตรวจอีก 2 ครั้งในไทย
นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปภูเก็ตได้ผ่านสนามบินของจังหวัดเท่านั้น และสามารถเดินทางไปเกาะสมุยได้โดยเปลี่ยนเที่ยวบินไปเที่ยวบินที่กำหนดในกรุงเทพฯ หลังจากนั้น 14 วัน จึงสามารถเดินทางไปจังหวัดอื่นได้ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมในแต่ละจังหวัด
รายงานระบุว่า ก่อนการระบาดของโควิด-19 ไทยถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางต่างประเทศที่มีความต้องการมากที่สุด โดยเฉพาะในฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว และข้อมูลของสำนักงานชายแดนของหน่วยความมั่นคงกลางรัสเซีย (FSB) ระบุว่า ในปี 2562 มีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเยือนไทย 822,700 คน หรือ 4.6% จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด
นายดมีตรี โกริน รองประธานสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวของรัสเซีย (ATORUS) กล่าวว่า การผ่อนปรนเงื่อนไขการเดินทางเข้าไทยสำหรับชาวรัสเซียจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจของผู้ประกอบการนำเที่ยว
“สมาคมไม่ได้ตัดสินใจกลับมาเปิดเที่ยวบินใหม่ ดังนั้น การขายทัวร์ในรัสเซียจึงไม่สามารถทำได้” นายโกรินระบุ แต่กล่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าวโดยรวมถือเป็นสัญญาณบวกถึงการยอมรับวัคซีนของรัสเซียและการเริ่มต้นกระบวนการฟื้นกระแสนักท่องเที่ยวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
นายโกรินประเมินว่า นักท่องเที่ยวอิสระบางส่วน และนักท่องเที่ยวที่ต้องการ “หนีหนาว” จะใช้โอกาสนี้เดินทางมาไทย ข้อมูลของ ATORUS ระบุว่า ก่อนการระบาดของโควิด-19 มีนักท่องเที่ยว 200,000 คน เดินทางออกจากรัสเซียในฤดูหนาวเยือนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก แต่ ATORUS ไม่ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการฟื้นฟูเที่ยวบินกับไทย
ขณะที่เว็บไซต์แอเวียเซลส์ (Aviasales) มีข้อมูลว่า ตอนนี้การจองตั๋วมาไทยไม่ได้มีมากมายนัก โดยตั๋วเครื่องบินเดินทางออกจากกรุงมอสโกต้องการไปจังหวัดภูเก็ต 0.01% เกาะสมุย 0.02% และกรุงเทพฯ 0.03% ส่วนราคาตั๋วเครื่องบินพร้อมเที่ยวบินไป-กลับ ภูเก็ต-รัสเซีย อยู่ที่ 30,100 รูเบิล หรือราว 13,300 บาท ต่ำกว่าราคาของปี 2562 จำนวน 11.6% ส่วนเที่ยวบินไปเกาะสมุยมีราคา 20,100 รูเบิล หรือราว 8,900 บาท ถูกกว่าราคาของปีที่แล้ว 2 เท่า
ด้าน เทซ ทัวร์ (Tez Tour) ผู้จัดทัวร์ในเมืองพัทยา ระบุว่า ความต้องการเยือนไทยมีการสะสมอยู่มาก และการกลับมาอย่างเต็มที่ของความต้องการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อตลาดการท่องเที่ยวโดยรวม แต่ชี้ด้วยว่า นอกจากทางการรัสเซียไม่ได้ตัดสินใจเปิดเส้นทางการบินแล้ว ผลกระทบเชิงลบอีกอย่างตอนนี้มาจากการบังคับตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี PRC 2 ครั้ง เมื่อเข้าไทย ซึ่งราคาทั้งหมดเกิน 18,000 รูเบิล เข้าไปแล้ว
นายโกรินกล่าวถึงธุรกิจทัวร์ของรัสเซียในฤดูใบไม้ร่วงว่ากำลังเดิมพันจัดโปรแกรมไปอียิปต์ และสายการบินเพิ่งได้รับสิทธิ์เพิ่มเติมในการจัดโปรแกรมบินไปเมืองชาร์ม-เอล-เชค และเมืองฮูร์กาดา จาก 41 เมืองของอียิปต์ โดยรวมแล้วจะมีเที่ยวบิน 9 สายการบินจาก 49 ภูมิภาค
ATORUS คาดว่า อาจทำให้ราคาทัวร์ลดลง 20-25% แต่แหล่งข่าวตลาดการท่องเที่ยวชี้ว่า เมืองต่างๆ ของอียิปต์และความถี่ของเที่ยวบินได้รับการอนุมัติโดยไม่มีการตกลงกับผู้ประกอบการนำเที่ยว และหลายเจ้าไม่ได้ให้ความสนใจ แหล่งข่าวระบุต่อว่า ตลาดการท่องเที่ยวคาดว่าจะรอการยกเลิกการจำกัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปอียิปต์ในเวลาอันใกล้นี้
สมาคมทนายฯแถลงการณ์ซัดบิ๊กตร. ทำผิดกฎหมายเสียเอง ปมแถลงข่าวผกก.โจ้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6588364
สมาคมทนายฯแถลงการณ์ซัดบิ๊กตร. ทำผิดกฎหมายเสียเอง ปมแถลงข่าวผกก.โจ้ ชี้ไม่เหมาะสม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แนะควรให้กองปราบฯรับผิดชอบคดีนี้
เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ระบุว่า
มูลกรณีสืบเนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดให้มีการแถลงข่าวการจับกุม พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล (ผู้กำกับโจ้) ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดนครสวรรค์ ที่ จ.187/2564 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2564 ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย เมื่อคืนวันที่ 26 สิงหาคม
2564 เวลาประมาณ 21.30 นาฬิกา นั้น
สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเห็นว่าการแถลงข่าวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การให้สัมภาษณ์ของผู้ร่วมแถลงข่าว และการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน สภ. เมืองนครสวรรค์มีความไม่เหมาะสม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายเสียเอง กล่าวคือ
1.ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรกและให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปด้วย คือ (1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้ในชั้นสอบสวน
(3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
และ (4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย ดังนั้น การยินยอมให้ผู้ต้องหาแถลงข่าวด้วยการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนจึงเป็นการให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
2. แม้ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 465/2550 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 ข้อ 2.3 ที่ห้ามอนุญาตหรือจัดให้สื่อมวลชนทุกแขนงสัมภาษณ์ผู้ต้องหาในระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีข้อยกเว้นให้กระทำได้หากได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหาก็ตาม แต่การให้สิทธิตามข้อยกเว้นดังกล่าวเกินไปกว่าสิทธิตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7/1 บัญญัติไว้คำสั่งดังกล่าวจึงขัดต่อกฎหมาย
ประกอบกับการให้สัมภาษณ์ของผู้ต้องหายังไม่เป็นประโยชน์แก่คดี เพราะย่อมจะมีลักษณะเป็นการแก้ตัว หรือชักจูงสังคมให้เห็นใจหรือคล้อยตามคำแก้ตัวของตน หรือสร้างความชอบธรรมให้กับกระทำความผิด หรือให้สัมภาษณ์ผิดไปจากข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์แห่งคดีของตน คำให้สัมภาษณ์ดังกล่าวอาจจะมีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน เหนือพนักงานสอบสวนหรือผู้เสียหายหรือพยานซึ่งจะถูกกดดันจากกระแสสังคมอันจะทำให้การดำเนินคดีเสียความยุติธรรม
3. การที่รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 (พลตำรวจตรีเอกลักษณ์ ลิ้มสังกาจ) แถลงว่าผู้ต้องหารายนี้นัดให้มารับตัวที่หน้า สภ. แสนสุข จังหวัดชลบุรี ในช่วงบ่ายของวันที่ 26 สิงหาคม 2564 โดยมีรถยนต์เก๋งสีขาวนำตัวผู้ต้องหามาส่งแต่ตนไม่ได้สังเกต และไม่ได้จำทะเบียนรถดังกล่าวนั้น เห็นว่าผู้ต้องหารายนี้หลบหนีการจับกุมหลายวันโดยหลบหนีมาจากจังหวัดนครสวรรค์จนมาถูกจับกุมที่จังหวัดชลบุรีจึงอาจมีผู้ช่วยเหลือให้พำนัก
โดยซ่อนเร้นหรือโดยช่วยผู้ต้องหาด้วยประการใดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 ดังนั้น ผู้ขับขี่และรถยนต์ที่นำตัวผู้ต้องหามาส่งให้รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 จึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญแห่งคดีที่พนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนให้ได้ความดังกล่าว
การที่รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 อ้างว่าไม่ได้สังเกตและจำหมายเลขทะเบียนรถไม่ได้จึงอาจเข้าข่ายเป็นการช่วยเหลือผู้กระทำความผิดฐานให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องหาไม่ให้ถูกจับกุมอันอาจเป็นความผิดฐานผู้สนับสนุนตามมาตรา 86 และ 189 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขอเรียนเพิ่มเติมว่า ผู้ต้องหาในคดีนี้เป็นนายตำรวจระดับผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจและการกระทำความผิดเกิดขึ้นใน สภ. เมืองนครสวรรค์ โดยมีผู้ร่วมกระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคน อาทิเช่น
(1) การจับกุมผู้ต้องหาโดยไม่มีบันทึกการจับกุม
(2) ซ้อมทรมานและฆ่าผู้ต้องหา
(3) ทำลายหลักฐานแห่งคดี
(4) ไม่แจ้งเหตุแก่พนักงานสอบสวน
และ (5) ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องการชันสูตรพลิกศพ เป็นต้น
อีกทั้งกระทำความผิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2564 แต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครสวรรค์ได้มีการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาและผู้ร่วมกระทำความผิดทันทีที่เกิดเหตุทั้งที่เหตุเกิดใน สภ. ดังกล่าว ในทางกลับกันกลับมีการช่วยเหลือโดยปกปิดการกระทำความผิดและทำลายพยานหลักฐาน เจ้าหน้าที่ตำรวจของ สภ.เมืองนครสวรรค์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและเป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง
ดังนั้น หากให้พนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครสวรรค์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินคดีย่อมจะเสียความเป็นธรรม จึงควรให้กองบังคับการกองปราบปรามเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดทุกรายที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ เพื่อกู้วิกฤตศรัทธาของประชาชนที่มีต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนต่อไป
นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย 28 สิงหาคม 2564
https://www.facebook.com/lawyerassn/posts/4511969352168555