ช่วงค่ำวันที่ 25 ส.ค. 2565 มีรายงานกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าจับกุมผู้ชุมนุมทางการเมือง 2 ราย ตามหมายจับออกโดยศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อกล่าวหาร่วมกันดูหมิ่นศาล, ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
.
คดีมีรองอธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้มอบอำนาจให้กล่าวหาทั้งสองคน เหตุจากการปราศรัยวิจารณ์การทำงานของศาลระหว่างกิจกรรมเรียกร้องสิทธิการประกันตัวของ “บุ้ง-ใบปอ” ที่หน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2565 ก่อนที่ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวทั้งสองคน
.
.
⭕ ถูกออกหมายจับ โดยไม่เคยมีหมายเรียกมาก่อน นำตัวไป บช.ปส. ที่ไม่ใช่สถานีตำรวจเจ้าของคดี
.
ผู้ถูกจับกุมรายแรก ได้แก่ เงินตรา คำแสน หรือ #มานี อายุ 44 ปี ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมจากหอพักในเวลาประมาณ 19.20 น. โดยชุดเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบทั้งชายและหญิงได้เข้าไปล้อมรถที่ลานจอดรถ ก่อนแสดงตัวเป็นตำรวจ พร้อมแสดงหมายจับ และนำตัวขึ้นรถตำรวจเดินทางไปยังกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ภายในสโมสรตำรวจ โดยอนุญาตให้ญาติติดตามขึ้นรถไปด้วย
.
รายที่สอง ได้แก่ จิรัชยา สกุลทอง หรือ #จินนี่ อายุ 54 ปี ถูกตำรวจเข้าจับกุมในเวลาประมาณ 21.00 น. โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 7 นาย ได้มาแสดงหมายจับที่หน้าบ้านพัก ก่อนนำตัวขึ้นรถไปยัง บช.ปส. เช่นเดียวกัน
.
ทั้งนี้หมายจับดังกล่าวออกโดยศาลอาญากรุงเทพใต้เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2565 โดยมี สน.ยานนาวา เป็นสถานีตำรวจเจ้าของคดี ทั้งสองคนระบุว่าไม่เคยได้รับหมายเรียกมาก่อนหน้านี้
.
เวลา 21.20 น. ทนายความเดินทางไปถึง บช.ปส. แต่ในช่วงแรกเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่อนุญาตให้เข้าพบผู้ถูกจับกุม เพื่อรอพนักงานสอบสวนจาก สน.ยานนาวา เดินทางมาก่อน จึงได้ติดตามเข้าไปได้ในเวลาประมาณ 22.00 น.
.
ในการจัดทำบันทึกจับกุม กรณีของเงินตรา ระบุว่ามีชุดเจ้าหน้าที่ที่เข้าจับกุมรวม 20 นาย ขณะที่กรณีของจิรัชยา ระบุว่ามีชุดตำรวจที่เข้าจับกุมจำนวน 18 นาย โดยเป็นกำลังจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลหน่วยต่างๆ ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ทั้งสองคนให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาในชั้นจับกุมและปฏิเสธจะลงลายมือชื่อในบันทึกจับกุม
.
ผู้ต้องหาทั้งสองยังได้จัดทำหนังสือยื่นต่อทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขอให้นำตัวไปยัง สน.ยานนาวา เนื่องจากสถานที่ที่ถูกนำตัวมาคือ บช.ปส. นั้น ไม่ใช่ท้องที่ที่ถูกจับกุมหรือที่ทำการของพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด แต่พนักงานสอบสวนยังคงทำการสอบสวนภายใน บช.ปส. ต่อไป
.
.
⭕ แจ้ง 3 ข้อกล่าวหา คดีมี “รองอธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้” มอบอำนาจกล่าวหา
.
ต่อมาในกระบวนการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวน นำโดย พ.ต.ท.คมสัน เลขาวิจิตร รองผู้กำกับสอบสวน สน.ยานนาวา พบว่าคดีของทั้งสองคนมี นายสันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้ มอบอำนาจให้ นายเนติพันธ์ สมจิตต์ เป็นผู้กล่าวหาในคดีนี้
.
ข้อกล่าวหาระบุว่าเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2565 เวลาหลังเที่ยง ผู้ต้องหาทั้งสองคนได้ใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ยืนกล่าวปราศรัยที่บริเวณหน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยใช้ไมโครโฟนคนละตัว สนทนาโต้ตอบกัน กล่าวโจมตีการทำงานของผู้พิพากษาหรือศาลอาญากรุงเทพใต้ที่พิจารณาพิพากษาคดีของ “บุ้ง” และ “ใบปอ” ให้ผู้ชุมนุมบริเวณดังกล่าวฟัง รวมทั้งมีการไลฟ์สดผ่านทางช่องยูทูปไทยทีวีนิวส์ ซึ่งเปิดเป็นสาธารณะให้คนทั่วไปรับชมได้อีกช่องทางหนึ่ง โดยมีถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นการใส่ร้ายดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา หมิ่นประมาทด้วยการใช้เครื่องขยายเสียงฯ ทำให้ประชาชนทั่วไปหรือบุคคลอื่นที่อยู่บริเวณดังกล่าวได้ยิน
.
ผู้กล่าวหาเห็นว่าคำพูดของทั้งสองคนทำให้ศาลหรือผู้พิพากษาได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง นายสันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล จึงได้มอบอำนาจให้ผู้กล่าวหามาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดี
.
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา 3 ข้อกล่าวหาต่อทั้งสองคน ได้แก่ ร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณหรือพิพากษาคดี (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198), ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328) และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน โดยทั้งคู่ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
.
ทั้งนี้ เหตุที่ถูกกล่าวหาดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงที่มีกลุ่มมวลชนไปตั้งเตนท์ปักหลักทำกิจกรรมบริเวณใกล้ศาลอาญากรุงเทพใต้ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง ซึ่งเริ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. 2565
.
หลังการสอบสวนในเวลาประมาณ 03.00 น. ตำรวจได้ควบคุมตัวทั้งสองคนไปยังห้องควบคุมตัวภายใน บช.ปส. และเตรียมนำตัวไปขอฝากขังต่อศาลในเช้าวันรุ่งขึ้น
.
.
⭕ ตำรวจยื่นขอฝากขัง ก่อนศาลไม่ให้ประกันตัว ชี้การกระทำถือเป็นภัยอันตรายอย่างร้ายแรงต่อศาล
.
26 ส.ค. 2565 พนักงานสอบสวน สน.ยานนาวา ได้นำตัวทั้งสองคนไปขอศาลอาญากรุงเทพใต้ในการฝากขัง ขณะที่ทนายความได้เดินทางไปยื่นคัดค้านการฝากขัง และขอให้ไต่สวนพนักงานสอบสวน
.
พ.ต.ท.คมสัน เลขาวิจิตร พนักงานสอบสวน ได้อ้างเหตุการขอฝากขัง ว่ายังต้องสอบพยานเพิ่มเติมอีก 3 ปาก และรอผลตรวจลายนิ้วมือผู้ต้องหา และประวัติต้องโทษของผู้ต้องหา พร้อมยังคัดค้านการประกันตัว โดยอ้างว่าผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และจะก่อภยันตรายประการอื่น เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ต้องหาทั้งสองที่ร่วมชุมนุมและปราศรัยโจมตีการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลด้วยถ้อยคำรุนแรง ต่อหน้าที่ทำการของศาลเอง ไม่มีความเกรงกลัวต่อกฎหมาย ไม่ให้ความเคารพศาล และไม่เคารพกระบวนการยุติธรรม หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เกรงว่าจะกระทำดังเดิมอีก
.
ทั้งนี้คำร้องของพนักงานสอบสวนยังมีการอ้างถึงหนังสือของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ลงวันที่ 27 ก.ค. 2565 ในเรื่องสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาในคดีเกี่ยวกับความมั่นคงระหว่างสอบสวนเป็นการชั่วคราว ถึงสาเหตุที่นำตัวผู้ต้องหาไปสอบสวนที่ บช.ปส. ในครั้งนี้ด้วย
.
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาเรื่องดูหมิ่นศาล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 นั้น ไม่ใช่ความผิดในหมวดความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรแต่อย่างใด
.
ต่อมาหลังการไต่สวนคัดค้านการฝากขัง ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองคนในครั้งที่ 1 เป็นระยะเวลา 12 คน ทนายความจึงได้ยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา
.
ก่อนที่เวลา 15.50 น. ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวทั้งสองคน ระบุคำสั่งว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่าการที่ผู้ต้องหาทั้งสองใช้เครื่องขยายเสียงกล่าวปราศรัยที่บริเวณหน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้และหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ ในช่วงปราศรัยมีการไลฟ์สดผ่านทางช่องยูทูป (ไทยทีวีนิวส์) โดยมีข้อความดูหมิ่นเหยียดหยามและใส่ร้ายผู้พิพากษาหรือศาลด้วยถ้อยคำหยาบคายและไม่เป็นความจริง เพื่อประสงค์ที่จะกดดันการทำงานของศาล ต้องการใช้กฎหมู่ให้อยู่เหนือกฎหมายในเรื่องการพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาในคดีอื่น
.
“ทำให้เห็นว่าผู้ต้องหาทั้งสองกระทำการโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง บิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเกลียดชังศาลหรือผู้พิพากษา ถือเป็นภัยอันตรายอย่างร้ายแรงต่อศาลในการปฏิบัติหน้าที่และกระบวนการยุติธรรม หากปล่อยตัวไปเกรงว่าจะไปก่อภัยอันตรายหรือสร้างความเสียหายที่เกิดจากการปล่อยตัวชั่วคราว
.
“ทั้งคดีมีอัตราโทษสูง หากปล่อยตัวไปเกรงว่าจะหลบหนี หรือเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาทั้งสอง”
.
คำสั่งลงนามโดย นางเนตรดาว มโนธรรมกิจ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้
.
ผลของคำสั่งศาล ทำให้เงินตราและจิรัชยา จะถูกนำตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลางทันที
.
.
ทั้งนี้ความผิดฐานดูหมิ่นศาลกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่เริ่มการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกในปี 2563 ท่ามกลางสถานการณ์การวิพากษ์วิจารณ์บทบาทขององค์กรตุลาการที่เข้มข้นขึ้น มีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหา “ดูหมิ่นศาล” ไปแล้วอย่างน้อย 27 ราย ในจำนวน 7 คดี
.
.
📌 อ่านบนเว็บไซต์
https://tlhr2014.com/archives/47562
@@@ ดูหมิ่น ใส่ร้ายศาล @@@
.
คดีมีรองอธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้มอบอำนาจให้กล่าวหาทั้งสองคน เหตุจากการปราศรัยวิจารณ์การทำงานของศาลระหว่างกิจกรรมเรียกร้องสิทธิการประกันตัวของ “บุ้ง-ใบปอ” ที่หน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2565 ก่อนที่ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวทั้งสองคน
.
.
⭕ ถูกออกหมายจับ โดยไม่เคยมีหมายเรียกมาก่อน นำตัวไป บช.ปส. ที่ไม่ใช่สถานีตำรวจเจ้าของคดี
.
ผู้ถูกจับกุมรายแรก ได้แก่ เงินตรา คำแสน หรือ #มานี อายุ 44 ปี ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมจากหอพักในเวลาประมาณ 19.20 น. โดยชุดเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบทั้งชายและหญิงได้เข้าไปล้อมรถที่ลานจอดรถ ก่อนแสดงตัวเป็นตำรวจ พร้อมแสดงหมายจับ และนำตัวขึ้นรถตำรวจเดินทางไปยังกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ภายในสโมสรตำรวจ โดยอนุญาตให้ญาติติดตามขึ้นรถไปด้วย
.
รายที่สอง ได้แก่ จิรัชยา สกุลทอง หรือ #จินนี่ อายุ 54 ปี ถูกตำรวจเข้าจับกุมในเวลาประมาณ 21.00 น. โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 7 นาย ได้มาแสดงหมายจับที่หน้าบ้านพัก ก่อนนำตัวขึ้นรถไปยัง บช.ปส. เช่นเดียวกัน
.
ทั้งนี้หมายจับดังกล่าวออกโดยศาลอาญากรุงเทพใต้เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2565 โดยมี สน.ยานนาวา เป็นสถานีตำรวจเจ้าของคดี ทั้งสองคนระบุว่าไม่เคยได้รับหมายเรียกมาก่อนหน้านี้
.
เวลา 21.20 น. ทนายความเดินทางไปถึง บช.ปส. แต่ในช่วงแรกเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่อนุญาตให้เข้าพบผู้ถูกจับกุม เพื่อรอพนักงานสอบสวนจาก สน.ยานนาวา เดินทางมาก่อน จึงได้ติดตามเข้าไปได้ในเวลาประมาณ 22.00 น.
.
ในการจัดทำบันทึกจับกุม กรณีของเงินตรา ระบุว่ามีชุดเจ้าหน้าที่ที่เข้าจับกุมรวม 20 นาย ขณะที่กรณีของจิรัชยา ระบุว่ามีชุดตำรวจที่เข้าจับกุมจำนวน 18 นาย โดยเป็นกำลังจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลหน่วยต่างๆ ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ทั้งสองคนให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาในชั้นจับกุมและปฏิเสธจะลงลายมือชื่อในบันทึกจับกุม
.
ผู้ต้องหาทั้งสองยังได้จัดทำหนังสือยื่นต่อทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขอให้นำตัวไปยัง สน.ยานนาวา เนื่องจากสถานที่ที่ถูกนำตัวมาคือ บช.ปส. นั้น ไม่ใช่ท้องที่ที่ถูกจับกุมหรือที่ทำการของพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด แต่พนักงานสอบสวนยังคงทำการสอบสวนภายใน บช.ปส. ต่อไป
.
.
⭕ แจ้ง 3 ข้อกล่าวหา คดีมี “รองอธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้” มอบอำนาจกล่าวหา
.
ต่อมาในกระบวนการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวน นำโดย พ.ต.ท.คมสัน เลขาวิจิตร รองผู้กำกับสอบสวน สน.ยานนาวา พบว่าคดีของทั้งสองคนมี นายสันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้ มอบอำนาจให้ นายเนติพันธ์ สมจิตต์ เป็นผู้กล่าวหาในคดีนี้
.
ข้อกล่าวหาระบุว่าเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2565 เวลาหลังเที่ยง ผู้ต้องหาทั้งสองคนได้ใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ยืนกล่าวปราศรัยที่บริเวณหน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยใช้ไมโครโฟนคนละตัว สนทนาโต้ตอบกัน กล่าวโจมตีการทำงานของผู้พิพากษาหรือศาลอาญากรุงเทพใต้ที่พิจารณาพิพากษาคดีของ “บุ้ง” และ “ใบปอ” ให้ผู้ชุมนุมบริเวณดังกล่าวฟัง รวมทั้งมีการไลฟ์สดผ่านทางช่องยูทูปไทยทีวีนิวส์ ซึ่งเปิดเป็นสาธารณะให้คนทั่วไปรับชมได้อีกช่องทางหนึ่ง โดยมีถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นการใส่ร้ายดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา หมิ่นประมาทด้วยการใช้เครื่องขยายเสียงฯ ทำให้ประชาชนทั่วไปหรือบุคคลอื่นที่อยู่บริเวณดังกล่าวได้ยิน
.
ผู้กล่าวหาเห็นว่าคำพูดของทั้งสองคนทำให้ศาลหรือผู้พิพากษาได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง นายสันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล จึงได้มอบอำนาจให้ผู้กล่าวหามาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดี
.
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา 3 ข้อกล่าวหาต่อทั้งสองคน ได้แก่ ร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณหรือพิพากษาคดี (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198), ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328) และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน โดยทั้งคู่ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
.
ทั้งนี้ เหตุที่ถูกกล่าวหาดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงที่มีกลุ่มมวลชนไปตั้งเตนท์ปักหลักทำกิจกรรมบริเวณใกล้ศาลอาญากรุงเทพใต้ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง ซึ่งเริ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. 2565
.
หลังการสอบสวนในเวลาประมาณ 03.00 น. ตำรวจได้ควบคุมตัวทั้งสองคนไปยังห้องควบคุมตัวภายใน บช.ปส. และเตรียมนำตัวไปขอฝากขังต่อศาลในเช้าวันรุ่งขึ้น
.
.
⭕ ตำรวจยื่นขอฝากขัง ก่อนศาลไม่ให้ประกันตัว ชี้การกระทำถือเป็นภัยอันตรายอย่างร้ายแรงต่อศาล
.
26 ส.ค. 2565 พนักงานสอบสวน สน.ยานนาวา ได้นำตัวทั้งสองคนไปขอศาลอาญากรุงเทพใต้ในการฝากขัง ขณะที่ทนายความได้เดินทางไปยื่นคัดค้านการฝากขัง และขอให้ไต่สวนพนักงานสอบสวน
.
พ.ต.ท.คมสัน เลขาวิจิตร พนักงานสอบสวน ได้อ้างเหตุการขอฝากขัง ว่ายังต้องสอบพยานเพิ่มเติมอีก 3 ปาก และรอผลตรวจลายนิ้วมือผู้ต้องหา และประวัติต้องโทษของผู้ต้องหา พร้อมยังคัดค้านการประกันตัว โดยอ้างว่าผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และจะก่อภยันตรายประการอื่น เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ต้องหาทั้งสองที่ร่วมชุมนุมและปราศรัยโจมตีการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลด้วยถ้อยคำรุนแรง ต่อหน้าที่ทำการของศาลเอง ไม่มีความเกรงกลัวต่อกฎหมาย ไม่ให้ความเคารพศาล และไม่เคารพกระบวนการยุติธรรม หากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เกรงว่าจะกระทำดังเดิมอีก
.
ทั้งนี้คำร้องของพนักงานสอบสวนยังมีการอ้างถึงหนังสือของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ลงวันที่ 27 ก.ค. 2565 ในเรื่องสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาในคดีเกี่ยวกับความมั่นคงระหว่างสอบสวนเป็นการชั่วคราว ถึงสาเหตุที่นำตัวผู้ต้องหาไปสอบสวนที่ บช.ปส. ในครั้งนี้ด้วย
.
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาเรื่องดูหมิ่นศาล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 นั้น ไม่ใช่ความผิดในหมวดความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรแต่อย่างใด
.
ต่อมาหลังการไต่สวนคัดค้านการฝากขัง ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองคนในครั้งที่ 1 เป็นระยะเวลา 12 คน ทนายความจึงได้ยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา
.
ก่อนที่เวลา 15.50 น. ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวทั้งสองคน ระบุคำสั่งว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่าการที่ผู้ต้องหาทั้งสองใช้เครื่องขยายเสียงกล่าวปราศรัยที่บริเวณหน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้และหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ ในช่วงปราศรัยมีการไลฟ์สดผ่านทางช่องยูทูป (ไทยทีวีนิวส์) โดยมีข้อความดูหมิ่นเหยียดหยามและใส่ร้ายผู้พิพากษาหรือศาลด้วยถ้อยคำหยาบคายและไม่เป็นความจริง เพื่อประสงค์ที่จะกดดันการทำงานของศาล ต้องการใช้กฎหมู่ให้อยู่เหนือกฎหมายในเรื่องการพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาในคดีอื่น
.
“ทำให้เห็นว่าผู้ต้องหาทั้งสองกระทำการโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง บิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเกลียดชังศาลหรือผู้พิพากษา ถือเป็นภัยอันตรายอย่างร้ายแรงต่อศาลในการปฏิบัติหน้าที่และกระบวนการยุติธรรม หากปล่อยตัวไปเกรงว่าจะไปก่อภัยอันตรายหรือสร้างความเสียหายที่เกิดจากการปล่อยตัวชั่วคราว
.
“ทั้งคดีมีอัตราโทษสูง หากปล่อยตัวไปเกรงว่าจะหลบหนี หรือเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาทั้งสอง”
.
คำสั่งลงนามโดย นางเนตรดาว มโนธรรมกิจ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้
.
ผลของคำสั่งศาล ทำให้เงินตราและจิรัชยา จะถูกนำตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลางทันที
.
.
ทั้งนี้ความผิดฐานดูหมิ่นศาลกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่เริ่มการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกในปี 2563 ท่ามกลางสถานการณ์การวิพากษ์วิจารณ์บทบาทขององค์กรตุลาการที่เข้มข้นขึ้น มีผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหา “ดูหมิ่นศาล” ไปแล้วอย่างน้อย 27 ราย ในจำนวน 7 คดี
.
.
📌 อ่านบนเว็บไซต์ https://tlhr2014.com/archives/47562