หลังจากได้อ่านข้อความใน kapook.com
ตามนี้
http://hilight.kapook.com/view/109100
ทำแผนฯ คดีเกาะเต่า
ภาพประกอบจาก THAI POLICE / AFP
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
สื่อนอกตีข่าวนักท่องเที่ยวและชาวบ้านเอะใจ 2 แรงงานพม่าดูเหมือนทำตามตำรวจสั่งระหว่างทำแผนประกอบคำรับสารภาพคดีฆ่านักท่องเที่ยวเกาะเต่า ด้านนักสิทธิมนุษยชนตั้งคำถามทำไมไม่มีทนายความฝ่ายผู้ต้องหา
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2557 เว็บไซต์เทเลกราฟของอังกฤษ รายงานความคืบหน้ากรณีการสืบสวนคดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษบนเกาะเต่าว่า ตำรวจไทยได้พาผู้ต้องหาชาวพม่า 2 ราย ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพบริเวณที่เกิดเหตุ ท่ามกลางการติดตามของนักท่องเที่ยวและชาวบ้านบนเกาะ แต่ขณะเดียวกันก็ถูกนักสิทธิมนุษยชนตั้งคำถามว่าทำไมไม่มีทนายความฝ่ายผู้ต้องหา
รายงานระบุว่า ระหว่างการทำแผนประกอบคำรับสารภาพของ 2 ผู้ต้องหาแรงงานชาวพม่า นักท่องเที่ยวบนเกาะเต่าต่างพากันไปมุงดูและบันทึกภาพจากนอกเขตที่กั้นของตำรวจ ขณะที่ 2 แรงงานชาวพม่าได้สวมเสื้อเกราะและหมวกกันน็อก กันการถูกทำร้าย
ด้านพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจ ได้เปิดเผยต่อการจับกุม 2 ผู้ต้องหาชาวพม่าว่า จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิด การเปรียบเทียบดีเอ็นเอ และการสืบสวนอื่น ๆ บ่งชี้ว่า นายซอและนายวิน แรงงานพม่าทั้ง 2 ราย เป็นผู้ก่อเหตุฆ่านายเดวิด มิลเลอร์ และฆ่าข่มขืนนางสาวฮันนาห์ วิทเธอริดจ์ ซึ่งแรงงานพม่าทั้ง 2 รายนี้จะถูกดำเนินคดีข้อหาฆาตกรรม ข่มขืน และลักทรัพย์ด้วย
ขณะที่พลตำรวจโทจักรทิพย์ ชัยจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า การคลี่คลายคดีอย่างรวดเร็วจะนำมาซึ่งการสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวบนเกาะเต่าอีกครั้ง วันนี้คดีควรจะจบได้แล้ว ทางตำรวจต้องการสะสางให้เร็วที่สุด เพื่อฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบนเกาะเต่า
อย่างไรก็ดี เทเลกราฟระบุว่าผู้คนหลายร้อยมีมามุงดูการทำแผนประกอบคำรับสารภาพดูไม่ค่อยเชื่อมั่นกับวิธีการของตำรวจไทยนัก เพราะผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ดูเหมือนจะทำตามคำพูดและการชี้ทางของเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะทำแผนประกอบคำรับสารภาพ
เช่นเดียวกับทางด้านนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ได้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ต้องหาคดีนี้ถูกควบคุมตัวโดยไม่มีตัวแทนทางกฎหมายเลย พวกเขาไม่มีทนายความในการร่วมสังเกตกระบวนการสืบสวนคดีโดยตรงเลย ซึ่งจากการตั้งข้อสงสัยดังกล่าว ทำให้ทางโฆษกตำรวจออกมาเปิดเผยว่า ที่ไม่มีทนายความฝ่ายผู้ต้องหานั้น ก็เพราะว่าทั้ง 2 คน ไม่ได้ขอทนายความนั่นเอง
มีข้อสงสัยในประเด็นกฎหมายว่า
ในกรณีที่ผู้ต้องหาที่มีอัตราโทษในการกระทำความผิดถึงขั้นประหารชีวิตนั้น
ใน ป.วิ อาญา มาตรา 131/1 นั้น รัฐต้องจัดหาทนายความให้
มาตรา 134/1 ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้
อยากถามในประเด็นข้อกฎหมายว่า
ในกรณีนี้ ผู้ต้องหาจำต้องได้รับทนายความจากรัฐหรือไม่อย่างไร เพราะโฆษกตำรวจท่านบอกว่า ผู้ต้องหาไม่ต้องการทนายความ
จริงๆแล้วในมาตรานี้เป็นบทบังคับที่ต้องมีทนายความอยู่ด้วยเลยหรือไม่ หรือว่า เลือกได้ว่าไม่มีทนายความก็ได้ ( เพราะเห็นว่าน่าจะเป็นบทบังคับที่รัฐต้องจัดหาทนายความให้ในความผิดที่มีโทษถึงขั้นประหารชีวิตหรือผู้ต้องหามีอายุน้อยกว่า 18 ปี เพื่อความยุติธรรม )
ถามในแง่ของประเด็นกฎหมาย เพราะสงสัยการใช้ตามมาตรานี้
ส่วนในแง่ของคดีเอง ศาลท่านคงวินิจฉัยให้ความยุติธรรมเองได้
มีประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับคดีเกาะเต่า
ตามนี้ http://hilight.kapook.com/view/109100
ทำแผนฯ คดีเกาะเต่า
ภาพประกอบจาก THAI POLICE / AFP
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
สื่อนอกตีข่าวนักท่องเที่ยวและชาวบ้านเอะใจ 2 แรงงานพม่าดูเหมือนทำตามตำรวจสั่งระหว่างทำแผนประกอบคำรับสารภาพคดีฆ่านักท่องเที่ยวเกาะเต่า ด้านนักสิทธิมนุษยชนตั้งคำถามทำไมไม่มีทนายความฝ่ายผู้ต้องหา
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2557 เว็บไซต์เทเลกราฟของอังกฤษ รายงานความคืบหน้ากรณีการสืบสวนคดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษบนเกาะเต่าว่า ตำรวจไทยได้พาผู้ต้องหาชาวพม่า 2 ราย ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพบริเวณที่เกิดเหตุ ท่ามกลางการติดตามของนักท่องเที่ยวและชาวบ้านบนเกาะ แต่ขณะเดียวกันก็ถูกนักสิทธิมนุษยชนตั้งคำถามว่าทำไมไม่มีทนายความฝ่ายผู้ต้องหา
รายงานระบุว่า ระหว่างการทำแผนประกอบคำรับสารภาพของ 2 ผู้ต้องหาแรงงานชาวพม่า นักท่องเที่ยวบนเกาะเต่าต่างพากันไปมุงดูและบันทึกภาพจากนอกเขตที่กั้นของตำรวจ ขณะที่ 2 แรงงานชาวพม่าได้สวมเสื้อเกราะและหมวกกันน็อก กันการถูกทำร้าย
ด้านพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจ ได้เปิดเผยต่อการจับกุม 2 ผู้ต้องหาชาวพม่าว่า จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิด การเปรียบเทียบดีเอ็นเอ และการสืบสวนอื่น ๆ บ่งชี้ว่า นายซอและนายวิน แรงงานพม่าทั้ง 2 ราย เป็นผู้ก่อเหตุฆ่านายเดวิด มิลเลอร์ และฆ่าข่มขืนนางสาวฮันนาห์ วิทเธอริดจ์ ซึ่งแรงงานพม่าทั้ง 2 รายนี้จะถูกดำเนินคดีข้อหาฆาตกรรม ข่มขืน และลักทรัพย์ด้วย
ขณะที่พลตำรวจโทจักรทิพย์ ชัยจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า การคลี่คลายคดีอย่างรวดเร็วจะนำมาซึ่งการสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวบนเกาะเต่าอีกครั้ง วันนี้คดีควรจะจบได้แล้ว ทางตำรวจต้องการสะสางให้เร็วที่สุด เพื่อฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบนเกาะเต่า
อย่างไรก็ดี เทเลกราฟระบุว่าผู้คนหลายร้อยมีมามุงดูการทำแผนประกอบคำรับสารภาพดูไม่ค่อยเชื่อมั่นกับวิธีการของตำรวจไทยนัก เพราะผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย ดูเหมือนจะทำตามคำพูดและการชี้ทางของเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะทำแผนประกอบคำรับสารภาพ
เช่นเดียวกับทางด้านนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ได้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ต้องหาคดีนี้ถูกควบคุมตัวโดยไม่มีตัวแทนทางกฎหมายเลย พวกเขาไม่มีทนายความในการร่วมสังเกตกระบวนการสืบสวนคดีโดยตรงเลย ซึ่งจากการตั้งข้อสงสัยดังกล่าว ทำให้ทางโฆษกตำรวจออกมาเปิดเผยว่า ที่ไม่มีทนายความฝ่ายผู้ต้องหานั้น ก็เพราะว่าทั้ง 2 คน ไม่ได้ขอทนายความนั่นเอง
มีข้อสงสัยในประเด็นกฎหมายว่า
ในกรณีที่ผู้ต้องหาที่มีอัตราโทษในการกระทำความผิดถึงขั้นประหารชีวิตนั้น
ใน ป.วิ อาญา มาตรา 131/1 นั้น รัฐต้องจัดหาทนายความให้
มาตรา 134/1 ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้
อยากถามในประเด็นข้อกฎหมายว่า
ในกรณีนี้ ผู้ต้องหาจำต้องได้รับทนายความจากรัฐหรือไม่อย่างไร เพราะโฆษกตำรวจท่านบอกว่า ผู้ต้องหาไม่ต้องการทนายความ
จริงๆแล้วในมาตรานี้เป็นบทบังคับที่ต้องมีทนายความอยู่ด้วยเลยหรือไม่ หรือว่า เลือกได้ว่าไม่มีทนายความก็ได้ ( เพราะเห็นว่าน่าจะเป็นบทบังคับที่รัฐต้องจัดหาทนายความให้ในความผิดที่มีโทษถึงขั้นประหารชีวิตหรือผู้ต้องหามีอายุน้อยกว่า 18 ปี เพื่อความยุติธรรม )
ถามในแง่ของประเด็นกฎหมาย เพราะสงสัยการใช้ตามมาตรานี้
ส่วนในแง่ของคดีเอง ศาลท่านคงวินิจฉัยให้ความยุติธรรมเองได้