แต่ก่อน ผมเคยประสบปัญหาไม่ได้ดั่งใจ แล้วปรึกษาผู้ใหญ่ครับ
แล้วท่านสอนว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง ทุกสิ่งไม่แน่นอน
มันทำให้ผมรู้สึกดีขึ้นบ้าง ว่าอ่อ เพราะเหตุนี้เอง เราจึงไม่ได้ดั่งใจ
แต่พอมาคิดต่อ ก็ชักงง ประมาณว่าหาจุดตรงกลางไม่เจอ
ก็ถ้าเชื่อ ว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง แล้วจะพยายามไปทำไม
หรือถ้าเชื่อ ว่าพยายามแล้วต้องได้ ทำไมบางทีมันก็ไม่ได้เสียอย่างนั้น
ก็พยายามหาคำตอบไปเรื่อยๆครับ แต่ก็ยังไม่ลงใจ จนมาเจอหนังสือพุทธธรรม ของท่านป.ปยุตโต
อธิบายค่อนข้างชัดเจน และสมดุลทีเดียว
ท่านอธิบายว่า ไม่เที่ยง หมายถึง ‘ไม่เที่ยงตามเหตุตามปัจจัย’ น่ะครับ
มันเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน ควบคุมไม่ได้ ตามเหตุปัจจัยที่เกิดก่อนหน้านั้น
ไม่ใช่เปลี่ยนแปลง และควบคุมไม่ได้ โดยไม่มีเหตุผลอะไรเลย
ฉะนั้น เมื่อเราควบคุมเหตุปัจจัยให้ได้มากที่สุด โอกาสควบคุมผลจึงเป็นไปได้มากขึ้นตามลำดับ
เรียนหนังสือ เหตุปัจจัยคือความเข้าใจในเนื้อหา และลงมือปฏิบัติ ..เมื่อพยายาม ตามกำลัง ก็เข้าใจได้ตามกำลัง และก็สอบได้ผลตามกำลัง
ทำงาน มีเหตุปัจจัยมากกว่า เช่นความเข้าใจในเนื้องาน โครงสร้าง คน ..แต่เมื่อพยายามถูกเรื่อง ตามกำลัง ก็ได้ผลดีหรือติดขัด ตามกำลังเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ที่ซับซ้อนที่สุด หรืออาจเรียกว่าไม่ยุติธรรมอยู่บ้าง คือเราไม่สามารถเห็นทุกเหตุปัจจัยได้
เพราะขนาดสิ่งที่พิสูจน์ได้ เช่นฟิสิกส์ เรายังเข้าใจไม่ค่อยจะได้ เพราะความยากของเนื้อหา
จะนับอะไรกับสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น ระบบกรรม หรือพระประสงค์ของพระเจ้า คงเป็นเรื่องที่ยากขึ้นไปอีกมาก
ฉะนั้น ถ้าเรามีสิ่งติดค้างบางอย่าง ที่ต้องใช้คืน แต่เราไม่รู้ ความพยายามของเราจึงไม่ตรงตามจริง แล้วผลก็เลยไม่ได้
เหมือนเราเสียงแย่ แต่พยายามประกวดร้องเพลง อย่างไรก็คงไม่ชนะ เพราะไม่ตรงตามจริงเหมือนกัน
เพียงแต่อันนึงมองไม่เห็นเหตุปัจจัย อีกอันนึงมองเห็นเหตุปัจจัยชัดเจนเท่านั้นเอง
ข้อสรุปจึงได้ว่า เราเห็นไม่หมดทุกสิ่ง
แต่ไม่ได้แปลว่า เราไม่เห็นอะไรเลย
ฉะนั้น แม้ความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอนของโลกมีอยู่จริง ก็มีแต่ในเหตุปัจจัยที่มองไม่เห็นเท่านั้น
แต่เหตุปัจจัยที่มองเห็น เราเลือกได้ เราจึงต้องพยายามให้ดีที่สุดอยู่ดี
แล้วผลออกมา ก็จะดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ภายใต้ความไม่เที่ยงครับ
https://www.blockdit.com/neo.positive
ไม่เที่ยง ทำไมต้องพยายาม
แต่ก่อน ผมเคยประสบปัญหาไม่ได้ดั่งใจ แล้วปรึกษาผู้ใหญ่ครับ
แล้วท่านสอนว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง ทุกสิ่งไม่แน่นอน
มันทำให้ผมรู้สึกดีขึ้นบ้าง ว่าอ่อ เพราะเหตุนี้เอง เราจึงไม่ได้ดั่งใจ
แต่พอมาคิดต่อ ก็ชักงง ประมาณว่าหาจุดตรงกลางไม่เจอ
ก็ถ้าเชื่อ ว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง แล้วจะพยายามไปทำไม
หรือถ้าเชื่อ ว่าพยายามแล้วต้องได้ ทำไมบางทีมันก็ไม่ได้เสียอย่างนั้น
ก็พยายามหาคำตอบไปเรื่อยๆครับ แต่ก็ยังไม่ลงใจ จนมาเจอหนังสือพุทธธรรม ของท่านป.ปยุตโต
อธิบายค่อนข้างชัดเจน และสมดุลทีเดียว
ท่านอธิบายว่า ไม่เที่ยง หมายถึง ‘ไม่เที่ยงตามเหตุตามปัจจัย’ น่ะครับ
มันเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน ควบคุมไม่ได้ ตามเหตุปัจจัยที่เกิดก่อนหน้านั้น
ไม่ใช่เปลี่ยนแปลง และควบคุมไม่ได้ โดยไม่มีเหตุผลอะไรเลย
ฉะนั้น เมื่อเราควบคุมเหตุปัจจัยให้ได้มากที่สุด โอกาสควบคุมผลจึงเป็นไปได้มากขึ้นตามลำดับ
เรียนหนังสือ เหตุปัจจัยคือความเข้าใจในเนื้อหา และลงมือปฏิบัติ ..เมื่อพยายาม ตามกำลัง ก็เข้าใจได้ตามกำลัง และก็สอบได้ผลตามกำลัง
ทำงาน มีเหตุปัจจัยมากกว่า เช่นความเข้าใจในเนื้องาน โครงสร้าง คน ..แต่เมื่อพยายามถูกเรื่อง ตามกำลัง ก็ได้ผลดีหรือติดขัด ตามกำลังเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ที่ซับซ้อนที่สุด หรืออาจเรียกว่าไม่ยุติธรรมอยู่บ้าง คือเราไม่สามารถเห็นทุกเหตุปัจจัยได้
เพราะขนาดสิ่งที่พิสูจน์ได้ เช่นฟิสิกส์ เรายังเข้าใจไม่ค่อยจะได้ เพราะความยากของเนื้อหา
จะนับอะไรกับสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น ระบบกรรม หรือพระประสงค์ของพระเจ้า คงเป็นเรื่องที่ยากขึ้นไปอีกมาก
ฉะนั้น ถ้าเรามีสิ่งติดค้างบางอย่าง ที่ต้องใช้คืน แต่เราไม่รู้ ความพยายามของเราจึงไม่ตรงตามจริง แล้วผลก็เลยไม่ได้
เหมือนเราเสียงแย่ แต่พยายามประกวดร้องเพลง อย่างไรก็คงไม่ชนะ เพราะไม่ตรงตามจริงเหมือนกัน
เพียงแต่อันนึงมองไม่เห็นเหตุปัจจัย อีกอันนึงมองเห็นเหตุปัจจัยชัดเจนเท่านั้นเอง
ข้อสรุปจึงได้ว่า เราเห็นไม่หมดทุกสิ่ง
แต่ไม่ได้แปลว่า เราไม่เห็นอะไรเลย
ฉะนั้น แม้ความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอนของโลกมีอยู่จริง ก็มีแต่ในเหตุปัจจัยที่มองไม่เห็นเท่านั้น
แต่เหตุปัจจัยที่มองเห็น เราเลือกได้ เราจึงต้องพยายามให้ดีที่สุดอยู่ดี
แล้วผลออกมา ก็จะดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ภายใต้ความไม่เที่ยงครับ
https://www.blockdit.com/neo.positive