รถบัสไฟฟ้า เทคโนโลยีในอนาคตที่เหมาะกับทุกประเทศ

เมื่อหลายปีที่ผ่านมาถ้าใครได้สังเกตก็จะพบว่าหลายๆ ประเทศทั่วโลกพบเจอปัญหาเกี่ยวกับมลภาวะ และสิ่งแวดล้อมเป็นพิษค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็น ภาวะโลกร้อน จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกิดขึ้นจากการเผาป่าเผาหญ้า หรือเผาไหม้ของเครื่องยนต์สันดาป ซึ่งปัญหามลภาวะเป็นพิษเหล่านี้มาจากหลายๆสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการเผาในที่โล่ง อุตสาหกรรมการผลิต  การก่อสร้างที่อยู่อาศัย หรืออีกสิ่งนึงที่เป็นสาเหตุหลักๆของปัญหานี้คือภาคการขนส่งของประเทศ 
               ภาคการขนส่งที่คน กทม.พบเห็นอยู่บ่อยๆคือรถเมล์ไทยที่มีอายุยืนยาว (มากๆ) ที่ไม่วาจะออกตัวเวลาไหนพร้อมปล่อยควันดำตลอดเวลา ซึ่งควันดำเหล่านี้แหละคือต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สันดาป โดยตัวเลขที่น่าตกใจคืออัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยมาจากภาคขนส่งมากถึง 27% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด และ 99.95% ของยานพาหนะทั้งหมดในไทยเป็นเครื่องยนต์สันดาป ดังนั้นการเปลี่ยนรถเมล์เก่าๆเหล่านี้การันตีเรื่องการลด ภาวะโลกร้อนและผงฝุ่น PM2.5 แน่นอน ซึ่งประเทศไทยได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้รถเมล์ไฟฟ้าวิ่งหลายๆเส้นทางแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ จขกท. ค่อนข้างดีใจว่า “เปลี่ยนสักที” เพราะคิดว่าใครๆก็มองออกว่าสภาพรถเมล์ไทยนั้นไม่ไหวแล้วจริงๆ 
 
               โดยรถเมล์ที่เอามาแทนนั้นคือรถไฟฟ้าเต็มรูปแบบ (EV) โดยผู้ผลิตอย่าง EA มีศักยภาพในการผลิตรถบัสไฟฟ้าอยู่ที่ปีละ 3,000 คัน และในช่วงกลางปีนี้จะมีส่งมอบรถบัสไฟฟ้าขนาดเล็กได้ประมาณ 400 คัน และเพิ่มเป็นจำนวน 1,000 คันในสิ้นปีนี้
                   โดยรายละเอียดการกินพลังงานคร่าวๆ วัดจากรถมินิบัสไฟฟ้า ขนาด 20 ที่นั่ง รุ่น EV-C72 ขนาดความจุแบตเตอรี่อยู่ที่ 104 Kwh วิ่งจาก บางนา-โรบินสันสระบุรี ตามระยะทาง 130 กิโลเมตร (ขาไป)
ผลการทดสอบคือ 
                    - เปอร์เซ็นต์ของแบตเตอรี่ถูกใช้ไป 60% 
                    - เฉลี่ยเท่ากับ 2.17 กิโลเมตรต่อแบต 1%
 
                    จะเห็นได้ว่านอกจากจะลดภาวะโลกร้อนและลดผงฝุ่น PM2.5 ได้แล้วยังช่วยประเทศชาติด้วยการประหยัดพลังงานได้ด้วย มีแต่ข้อดี ใครไม่เคยลองไปลองกันดูได้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่