บทความเขียนได้แทนใจดีค่ะ เลยนำมาให้อ่าน...👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇
แก้กันแล้วครับ....
รัฐธรรมนูญไทยก็เหมือนแพะรับบาป
การเมืองมีปัญหา เกิดความขัดแย้ง ประเทศจะ
ก็โทษรัฐธรรมนูญไว้ก่อน
ไม่เฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ครับ
ทุกฉบับถูกขึงพืดหมด
บ้างสำเร็จ บ้างก็ไม่สำเร็จ
ที่จริงก็ไม่แปลกอะไร รัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขได้ เพียงแต่การแก้ไขเกือบทุกครั้งที่ผ่านมา ล้วนตอบสนองผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองแทบทั้งสิ้น
ลองไปถามชาวบ้านดู ตอนนี้อยากให้นักการเมืองทำอะไร
จะมีสักกี่คนบอกว่า ให้นักการเมืองรีบๆ แก้รัฐธรรมนูญด่วน โควิดจะได้สูญพันธุ์ เศรษฐกิจ ปากท้องจะดีขึ้นทันตาเห็น
ไม่มีหรอกครับ
ประชาชนกำลังทุกข์อยู่กับโควิด ตั้งหน้าตั้งตาเมื่อไหร่จะได้ฉีดวัคซีน ฉีดแล้วจะได้กลับไปทำมาหากินกันเหมือนเดิม
แต่เรื่องด่วนของนักการเมืองคือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ
แก้เพื่ออะไร?
จำสภายุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้มั้ยครับ แก้มาตรา ๑๙๐ ในรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ เพิ่มอำนาจรัฐบาล ทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศโดยไม่ต้องเสนอ “กรอบการเจรจา” ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบก่อน
หลับตานึกดูนะครับ....
การเจรจาข้อตกลงความเข้าใจและความคืบหน้าเพื่อหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก (CPTPP) การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ความตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความตกลงด้านสิ่งแวดล้อม ความตกลงด้านสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ไม่ต้องผ่านสภาเลย
หากวันนั้นรัฐบาลเพื่อไทยแก้ไขได้สำเร็จ
แต่มันเป็นเรื่องอัปยศ ส.ส.พรรคเพื่อไทยบางคนโจมตีว่ารัฐบาลปัจจุบันให้ความเห็นชอบ CPTPP แล้ว ปล่อยข่าวกันในโซเชียล สร้างความเข้าใจผิด
ดักดานถึงขนาดบอกว่า CPTPP เป็นของ CP ก็มี
ครั้งนั้นพรรคเพื่อไทยพยายามทำลายกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล การมีส่วนร่วม ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ
รวมทั้งภาคประชาสังคม
พระสยามเทวาธิราชคุ้มครองครับ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า กระบวนการและเนื้อหาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง
เป็นการกระทำเพื่อให้บุคคลหรือคณะบุคคล ได้อำนาจเพื่อการปกครองประเทศไม่เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
วันนี้พรรคเพื่อไทยเรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตย
และเข้าสู่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกคำรบ ร่วมกับพรรคการเมืองอื่นๆ เสนอร่างแก้ไขรวม ๑๓ ฉบับ
นอกจากระบบเลือกตั้ง ที่พรรคใหญ่ เพื่อไทย พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ เห็นตรงกัน ให้กลับไปใช้บัตร ๒ ใบเหมือนรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐, ๒๕๕๐ แล้ว การเสนอแก้มาตรา ๑๔๔ และมาตรา ๑๘๕ ของพรรคพลังประชารัฐ จะเป็นรอยด่างทางการเมือง
ไม่ต่างจากที่พรรคเพื่อไทย เคยเสนอแก้ มาตรา ๑๙๐ ในอดีต
"ไพบูลย์ นิติตะวัน" รับปากว่า การแก้ไขมาตรา ๑๔๔ ให้ตัดบทลงโทษ ส.ส.-ส.ว.และกรรมาธิการที่แทรกแซงการแปรญัตติงบประมาณไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมนั้น หากสภารับหลักการแก้ไขวาระ ๑ แล้ว การพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ พรรคพลังประชารัฐจะเสนอแก้ไขมาตรา ๑๔๔ ให้คงหลักการเข้มข้นรัฐธรรมนูญปี ๖๐ ไว้ตามเดิม ให้สบายใจได้
เช่นเดียวกับมาตรา ๑๘๕ เรื่องการยกเลิกการห้าม ส.ส.-ส.ว.เข้าไปแทรกแซง ก้าวก่ายการทำงานของข้าราชการ "ไพบูลย์ นิติตะวัน" ก็รับปากว่า "อนาคต" จะแก้กลับให้
ที่จริงมีวิธีที่ง่ายกว่าเยอะ
ถอนร่างออกไปก็จบ
แต่ทำไมไม่ทำ?
ก่อนนี้ ใครยกย่องว่ารัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ เป็นฉบับปราบโกง จะโดนสวนว่า เป็นฉบับสืบทอดอำนาจ คสช.ต่างหาก
วันนี้หลายคนเริ่มเปลี่ยนความคิด เพราะเห็นแล้วว่า มีบทบัญญัติเพื่อป้องกันไม่ให้ ส.ส.ไปใช้อำนาจในการปล้นแผ่นดินจริง
และนักการเมืองพยายามจะเข้าไปแก้ไข
ขนาดพรรคก้าวไกล ยังยอมรับ เขียนบทวิเคราะห์ยาวเฟื้อย เพื่อชี้ให้เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพลังประชารัฐ เปิดช่องให้ ส.ส.-ส.ว.แทรกแซงการทำงานของข้าราชการ และการจัดสรรงบประมาณอย่างไร?
--------
พรรคก้าวไกลจะชวนทุกท่านไปดูกัน ว่าร่างรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๔๔ และมาตรา ๑๘๕ ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคพลังประชารัฐ จะทำให้ ส.ส. และ ส.ว.เข้าไปแทรกแซงงบประมาณได้ง่ายขึ้นอย่างไร
ร่างไพบูลย์แก้อะไรในมาตรานี้? สิ่งที่ร่างของพรรคพลังประชารัฐทำ คือการนำบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาใช้ ซึ่งสาระสำคัญก็คือ...
ยกเลิกบทกำหนดโทษนักการเมือง ที่ให้พ้นจากตำแหน่งและถูกตัดสิทธิ์ ๑๐ ปี
ยกเลิกวรรค ๔-๖ ที่ว่าด้วยการตรวจสอบทั้งหมด
เพิ่มข้อความขึ้นมาอีก ๑ วรรค ให้รัฐสภา, ศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลยุติธรรม, องค์กรอิสระ สามารถขอแปรงบเพิ่มได้
ยังๆๆ ไม่จบ แก้มาตรา ๑๘๕ ไม่ห้าม ส.ส.-ส.ว.แทรกแซงข้าราชการ งบประมาณ และโครงการของรัฐ
สิ่งที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคพลังประชารัฐจะแก้ ก็คือการตัดข้อห้ามใน (๑) แทรกแซงการปฏิบัติราชการ หรือทำงานในหน้าที่ของข้าราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๒) ที่ห้ามแทรกแซงการทำงานของข้าราชการ และทำให้ตนมีส่วนในการใช้งบประมาณ คงไว้เฉพาะ (๓) เรื่องห้ามแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย
พรรคก้าวไกลสรุปว่า การแก้รัฐธรรมนูญใน ๒ มาตราเฉพาะส่วนที่ว่าด้วยการกำหนดโทษของการเข้าไปแทรกแซงงบประมาณจึงแสดงให้เห็นเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ของการแก้รัฐธรรมนูญของพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นการแก้เพื่อตนเองและพรรคพวก ไม่ใช่แก้เพื่อเพิ่มอำนาจประชาชน
เราคงต้องจับตากันว่าพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่บอกกับประชาชนว่าต่อต้านระบอบ คสช.อย่างเต็มที่ และ ส.ว.ที่ชอบอ้างนักอ้างหนาว่าเข้ามาเพื่อปราบโกง พอเจอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เปิดทางให้เกิดการ "โกง" อย่างเปิดหน้าขนาดนี้ สุดท้ายจะลงมติว่าอย่างไร
--------
ครับ....เห็นด้วยกับพรรคก้าวไกล
แต่ก็น่าเสียดายพรรคก้าวไกลเพิ่งจะรู้ว่า....
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ คือรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง
https://www.thaipost.net/main/detail/107427
"วราวุธ" เผยแก้รัฐธรรมนูญมีคนได้-เสียประโยชน์ทุกครั้ง "ชาติไทยพัฒนา" ไม่ร่วมตัดสิทธิ์ส.ว.ชี้นำไปสู่ความขัดแย้ง
วันที่ 21 มิ.ย.64 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา ให้สัมภาษณ์กรณีสมาชิกวุฒิสภา ระบุว่าการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้มุ่งแต่ประโยชน์ของนักการเมืองแต่ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์ ว่า การแก้รัฐธรรมนูญแบบใดก็แล้วแต่ต้องมีคนกลุ่มหนึ่งได้รับประโยชน์ และอีกกลุ่มที่เสียประโยชน์ เช่น แก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ระบบเลือกตั้งเป็นแบบหนึ่งใบหรือสองใบ แต่ละรูปแบบจะมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ รวมถึงมีข้อดีและข้อด้อย แต่ละห้วงเวลาและสถานการณ์ของประเทศก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือจะมีผู้เสียประโยชน์และได้ประโยชน์จากการแก้ไขกลไกของรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนา ก็เห็นทั้งข้อดีและข้อด้อยของบัตรเลือกตั้งหนึ่งใบและสองใบ แต่ท้ายที่สุดเสียงส่วนใหญ่ของสภาฯ ออกมาแบบใด ก็ต้องเตรียมตัวไว้รองรับทุกรูปแบบสำหรับการเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคชาติไทยพัฒนา เห็นด้วยกับบัตรใบเดียวหรือสองใบ นายวราวุธ กล่าวว่า ท้ายที่สุดเมื่อเสียงส่วนใหญ่ของสภาฯ ออกมาเช่นไรก็พร้อมปฎิบัติตาม และหากประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุดพรรคเพร้อมจะสนับสนุน
เมื่อถามว่า ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ยกเลิกมาตรา 272 ที่ตัดอำนาจส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี พรรคชาติไทยพัฒนาจะลงมติ อย่างไร นายวราวุธ กล่าวว่า พรรคเราไม่ได้ลงนามเพื่อแก้ไขด้วย กับ 2 พรรคร่วมรัฐบาลคือพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย โดยมองว่าเป็นประเด็นที่อ่อนไหวและจะสืบต่อไปสู่ความขัดแย้ง ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีความขัดแย้งจำนวนมากแล้ว อีกทั้งเรื่องนี้ยังต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากส.ว. ดังนั้นการจะไปตัดอำนาจ ตัดมือตัดเท้าเขา ก็ไม่มั่นใจว่าส.ว.จะให้ความร่วมมือ
นายวราวุธ กล่าวว่า ประเด็นใดที่เป็นความขัดแย้งเราขอพักไว้ก่อน ประกอบกับเป็นเรื่องที่ส.ว. มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีในบทเฉพาะกาล ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงการเลือกตั้งครั้งหน้า และจะหมดไป ดังนั้นพรรคจึงไม่ได้ลงชื่อในเรื่องดังกล่าวนี้ แต่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก 7 ร่างของพรรคร่วมส.ส. ของเราได้ลงชื่อไปทั้งหมด โดยยกเว้นตน และนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรค ที่ไม่ได้ลงชื่อในทุกร่าง เพราะเป็นฝ่ายบริหาร ซึ่งการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรให้เป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติดำเนินการ
เมื่อถามว่าพรรคร่วมรัฐบาลควรมีความเห็นในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ นายวราวุธ กล่าวว่า ควรจะเห็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ขอประชุมพรรคกันก่อน และจะประสานงานระหว่างพรรคโดยวิปรัฐบาลว่ามีทิศทางความเห็นเป็นเช่นไร
https://siamrath.co.th/n/254661
ความเห็นดิฉัน ไม่แก้รัฐธรรมนูญเลยจะดีกว่า เรื่อง สว. อีกไม่นานก็ต้องไปตามรัฐธรรมนูญ
คุณวราวุธ รมว.ทส.ท่านคิดดีที่สุดเท่าที่ได้อ่านความเห็นของนักการเมือง
ถ้าแก้รัฐธรรมนูญ ตัดสว.เลือกนายกฯได้ออกไป ดิฉันพอรับได้เพราะรำคาญนักกินเมืองที่เอาแต่โทษสว.เลือกนายกฯ นอกนั้นขอเถอะค่ะ ใช้ฉบับปี 60 นี้ดีแล้ว
วันนี้สภาโหวตเอาฉบับไหน รอดูกันค่ะ...ประชาชนไม่ชอบก็ไม่เอานะคะ
รัฐธรรมนูญต้องปราบโกงนักการเมืองสิคะ...!!!!
บ้านเมืองถึงจะไปได้ดี
⚁มาลาริน/เชื่อหรือยังว่า..รัฐธรรมนูญปี 60 คือรัฐธรรมนูญปราบโกง คุณวราวุธ รมว.ทส.ท่านคิดดีที่สุดเท่าที่อ่านความเห็นนกม.
แก้กันแล้วครับ....
รัฐธรรมนูญไทยก็เหมือนแพะรับบาป
การเมืองมีปัญหา เกิดความขัดแย้ง ประเทศจะ ก็โทษรัฐธรรมนูญไว้ก่อน
ไม่เฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ครับ
ทุกฉบับถูกขึงพืดหมด
บ้างสำเร็จ บ้างก็ไม่สำเร็จ
ที่จริงก็ไม่แปลกอะไร รัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขได้ เพียงแต่การแก้ไขเกือบทุกครั้งที่ผ่านมา ล้วนตอบสนองผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองแทบทั้งสิ้น
ลองไปถามชาวบ้านดู ตอนนี้อยากให้นักการเมืองทำอะไร
จะมีสักกี่คนบอกว่า ให้นักการเมืองรีบๆ แก้รัฐธรรมนูญด่วน โควิดจะได้สูญพันธุ์ เศรษฐกิจ ปากท้องจะดีขึ้นทันตาเห็น
ไม่มีหรอกครับ
ประชาชนกำลังทุกข์อยู่กับโควิด ตั้งหน้าตั้งตาเมื่อไหร่จะได้ฉีดวัคซีน ฉีดแล้วจะได้กลับไปทำมาหากินกันเหมือนเดิม
แต่เรื่องด่วนของนักการเมืองคือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ
แก้เพื่ออะไร?
จำสภายุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้มั้ยครับ แก้มาตรา ๑๙๐ ในรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ เพิ่มอำนาจรัฐบาล ทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศโดยไม่ต้องเสนอ “กรอบการเจรจา” ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบก่อน
หลับตานึกดูนะครับ....
การเจรจาข้อตกลงความเข้าใจและความคืบหน้าเพื่อหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก (CPTPP) การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ความตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความตกลงด้านสิ่งแวดล้อม ความตกลงด้านสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ไม่ต้องผ่านสภาเลย
หากวันนั้นรัฐบาลเพื่อไทยแก้ไขได้สำเร็จ
แต่มันเป็นเรื่องอัปยศ ส.ส.พรรคเพื่อไทยบางคนโจมตีว่ารัฐบาลปัจจุบันให้ความเห็นชอบ CPTPP แล้ว ปล่อยข่าวกันในโซเชียล สร้างความเข้าใจผิด
ดักดานถึงขนาดบอกว่า CPTPP เป็นของ CP ก็มี
ครั้งนั้นพรรคเพื่อไทยพยายามทำลายกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล การมีส่วนร่วม ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ
รวมทั้งภาคประชาสังคม
พระสยามเทวาธิราชคุ้มครองครับ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า กระบวนการและเนื้อหาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๙๐ เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง
เป็นการกระทำเพื่อให้บุคคลหรือคณะบุคคล ได้อำนาจเพื่อการปกครองประเทศไม่เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
วันนี้พรรคเพื่อไทยเรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตย
และเข้าสู่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกคำรบ ร่วมกับพรรคการเมืองอื่นๆ เสนอร่างแก้ไขรวม ๑๓ ฉบับ
นอกจากระบบเลือกตั้ง ที่พรรคใหญ่ เพื่อไทย พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ เห็นตรงกัน ให้กลับไปใช้บัตร ๒ ใบเหมือนรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐, ๒๕๕๐ แล้ว การเสนอแก้มาตรา ๑๔๔ และมาตรา ๑๘๕ ของพรรคพลังประชารัฐ จะเป็นรอยด่างทางการเมือง
ไม่ต่างจากที่พรรคเพื่อไทย เคยเสนอแก้ มาตรา ๑๙๐ ในอดีต
"ไพบูลย์ นิติตะวัน" รับปากว่า การแก้ไขมาตรา ๑๔๔ ให้ตัดบทลงโทษ ส.ส.-ส.ว.และกรรมาธิการที่แทรกแซงการแปรญัตติงบประมาณไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมนั้น หากสภารับหลักการแก้ไขวาระ ๑ แล้ว การพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ พรรคพลังประชารัฐจะเสนอแก้ไขมาตรา ๑๔๔ ให้คงหลักการเข้มข้นรัฐธรรมนูญปี ๖๐ ไว้ตามเดิม ให้สบายใจได้
เช่นเดียวกับมาตรา ๑๘๕ เรื่องการยกเลิกการห้าม ส.ส.-ส.ว.เข้าไปแทรกแซง ก้าวก่ายการทำงานของข้าราชการ "ไพบูลย์ นิติตะวัน" ก็รับปากว่า "อนาคต" จะแก้กลับให้
ที่จริงมีวิธีที่ง่ายกว่าเยอะ
ถอนร่างออกไปก็จบ
แต่ทำไมไม่ทำ?
ก่อนนี้ ใครยกย่องว่ารัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ เป็นฉบับปราบโกง จะโดนสวนว่า เป็นฉบับสืบทอดอำนาจ คสช.ต่างหาก
วันนี้หลายคนเริ่มเปลี่ยนความคิด เพราะเห็นแล้วว่า มีบทบัญญัติเพื่อป้องกันไม่ให้ ส.ส.ไปใช้อำนาจในการปล้นแผ่นดินจริง
และนักการเมืองพยายามจะเข้าไปแก้ไข
ขนาดพรรคก้าวไกล ยังยอมรับ เขียนบทวิเคราะห์ยาวเฟื้อย เพื่อชี้ให้เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพลังประชารัฐ เปิดช่องให้ ส.ส.-ส.ว.แทรกแซงการทำงานของข้าราชการ และการจัดสรรงบประมาณอย่างไร?
--------
พรรคก้าวไกลจะชวนทุกท่านไปดูกัน ว่าร่างรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๔๔ และมาตรา ๑๘๕ ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคพลังประชารัฐ จะทำให้ ส.ส. และ ส.ว.เข้าไปแทรกแซงงบประมาณได้ง่ายขึ้นอย่างไร
ร่างไพบูลย์แก้อะไรในมาตรานี้? สิ่งที่ร่างของพรรคพลังประชารัฐทำ คือการนำบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาใช้ ซึ่งสาระสำคัญก็คือ...
ยกเลิกบทกำหนดโทษนักการเมือง ที่ให้พ้นจากตำแหน่งและถูกตัดสิทธิ์ ๑๐ ปี
ยกเลิกวรรค ๔-๖ ที่ว่าด้วยการตรวจสอบทั้งหมด
เพิ่มข้อความขึ้นมาอีก ๑ วรรค ให้รัฐสภา, ศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลยุติธรรม, องค์กรอิสระ สามารถขอแปรงบเพิ่มได้
ยังๆๆ ไม่จบ แก้มาตรา ๑๘๕ ไม่ห้าม ส.ส.-ส.ว.แทรกแซงข้าราชการ งบประมาณ และโครงการของรัฐ
สิ่งที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคพลังประชารัฐจะแก้ ก็คือการตัดข้อห้ามใน (๑) แทรกแซงการปฏิบัติราชการ หรือทำงานในหน้าที่ของข้าราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๒) ที่ห้ามแทรกแซงการทำงานของข้าราชการ และทำให้ตนมีส่วนในการใช้งบประมาณ คงไว้เฉพาะ (๓) เรื่องห้ามแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย
พรรคก้าวไกลสรุปว่า การแก้รัฐธรรมนูญใน ๒ มาตราเฉพาะส่วนที่ว่าด้วยการกำหนดโทษของการเข้าไปแทรกแซงงบประมาณจึงแสดงให้เห็นเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ของการแก้รัฐธรรมนูญของพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นการแก้เพื่อตนเองและพรรคพวก ไม่ใช่แก้เพื่อเพิ่มอำนาจประชาชน
เราคงต้องจับตากันว่าพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่บอกกับประชาชนว่าต่อต้านระบอบ คสช.อย่างเต็มที่ และ ส.ว.ที่ชอบอ้างนักอ้างหนาว่าเข้ามาเพื่อปราบโกง พอเจอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เปิดทางให้เกิดการ "โกง" อย่างเปิดหน้าขนาดนี้ สุดท้ายจะลงมติว่าอย่างไร
--------
ครับ....เห็นด้วยกับพรรคก้าวไกล
แต่ก็น่าเสียดายพรรคก้าวไกลเพิ่งจะรู้ว่า....
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ คือรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง
https://www.thaipost.net/main/detail/107427
"วราวุธ" เผยแก้รัฐธรรมนูญมีคนได้-เสียประโยชน์ทุกครั้ง "ชาติไทยพัฒนา" ไม่ร่วมตัดสิทธิ์ส.ว.ชี้นำไปสู่ความขัดแย้ง
วันที่ 21 มิ.ย.64 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา ให้สัมภาษณ์กรณีสมาชิกวุฒิสภา ระบุว่าการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้มุ่งแต่ประโยชน์ของนักการเมืองแต่ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์ ว่า การแก้รัฐธรรมนูญแบบใดก็แล้วแต่ต้องมีคนกลุ่มหนึ่งได้รับประโยชน์ และอีกกลุ่มที่เสียประโยชน์ เช่น แก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ระบบเลือกตั้งเป็นแบบหนึ่งใบหรือสองใบ แต่ละรูปแบบจะมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ รวมถึงมีข้อดีและข้อด้อย แต่ละห้วงเวลาและสถานการณ์ของประเทศก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือจะมีผู้เสียประโยชน์และได้ประโยชน์จากการแก้ไขกลไกของรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนา ก็เห็นทั้งข้อดีและข้อด้อยของบัตรเลือกตั้งหนึ่งใบและสองใบ แต่ท้ายที่สุดเสียงส่วนใหญ่ของสภาฯ ออกมาแบบใด ก็ต้องเตรียมตัวไว้รองรับทุกรูปแบบสำหรับการเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคชาติไทยพัฒนา เห็นด้วยกับบัตรใบเดียวหรือสองใบ นายวราวุธ กล่าวว่า ท้ายที่สุดเมื่อเสียงส่วนใหญ่ของสภาฯ ออกมาเช่นไรก็พร้อมปฎิบัติตาม และหากประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุดพรรคเพร้อมจะสนับสนุน
เมื่อถามว่า ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ยกเลิกมาตรา 272 ที่ตัดอำนาจส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี พรรคชาติไทยพัฒนาจะลงมติ อย่างไร นายวราวุธ กล่าวว่า พรรคเราไม่ได้ลงนามเพื่อแก้ไขด้วย กับ 2 พรรคร่วมรัฐบาลคือพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย โดยมองว่าเป็นประเด็นที่อ่อนไหวและจะสืบต่อไปสู่ความขัดแย้ง ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีความขัดแย้งจำนวนมากแล้ว อีกทั้งเรื่องนี้ยังต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากส.ว. ดังนั้นการจะไปตัดอำนาจ ตัดมือตัดเท้าเขา ก็ไม่มั่นใจว่าส.ว.จะให้ความร่วมมือ
นายวราวุธ กล่าวว่า ประเด็นใดที่เป็นความขัดแย้งเราขอพักไว้ก่อน ประกอบกับเป็นเรื่องที่ส.ว. มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีในบทเฉพาะกาล ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงการเลือกตั้งครั้งหน้า และจะหมดไป ดังนั้นพรรคจึงไม่ได้ลงชื่อในเรื่องดังกล่าวนี้ แต่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก 7 ร่างของพรรคร่วมส.ส. ของเราได้ลงชื่อไปทั้งหมด โดยยกเว้นตน และนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรค ที่ไม่ได้ลงชื่อในทุกร่าง เพราะเป็นฝ่ายบริหาร ซึ่งการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรให้เป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติดำเนินการ
เมื่อถามว่าพรรคร่วมรัฐบาลควรมีความเห็นในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ นายวราวุธ กล่าวว่า ควรจะเห็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ขอประชุมพรรคกันก่อน และจะประสานงานระหว่างพรรคโดยวิปรัฐบาลว่ามีทิศทางความเห็นเป็นเช่นไร
https://siamrath.co.th/n/254661
ความเห็นดิฉัน ไม่แก้รัฐธรรมนูญเลยจะดีกว่า เรื่อง สว. อีกไม่นานก็ต้องไปตามรัฐธรรมนูญ
คุณวราวุธ รมว.ทส.ท่านคิดดีที่สุดเท่าที่ได้อ่านความเห็นของนักการเมือง
ถ้าแก้รัฐธรรมนูญ ตัดสว.เลือกนายกฯได้ออกไป ดิฉันพอรับได้เพราะรำคาญนักกินเมืองที่เอาแต่โทษสว.เลือกนายกฯ นอกนั้นขอเถอะค่ะ ใช้ฉบับปี 60 นี้ดีแล้ว
วันนี้สภาโหวตเอาฉบับไหน รอดูกันค่ะ...ประชาชนไม่ชอบก็ไม่เอานะคะ
รัฐธรรมนูญต้องปราบโกงนักการเมืองสิคะ...!!!!
บ้านเมืองถึงจะไปได้ดี