เต้าหู้สุดยอดอาหารสำหรับเด็ก อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ที่ไม่ต้องใช้การเตรียมเยอะเด็ก ๆ ก็สามารถทานได้อย่างเอร็ดอร่อย มีโปรตีนสูง ดีต่อสุขภาพ และยังสามารถกินได้ตั้งแต่เด็กจนโตอีกด้วย มาดูกันดีกว่าเจ้าเต้าหู้นี้ดีต่อสุขภาพของลูกเราอย่างไร
เต้าหู้มีกี่ชนิด?
เต้าหู้ทำจากการแข็งตัวของนมถั่วเหลือง เช่นเดียวกับการทำชีส แต่เต้าหู้นั้นทำจากถั่วเหลืองนั่นเอง โดยในเต้าหู้มีโปรตีนสูงจึงเหมาะที่จะนำมาทดแทนเนื้อสัตว์สำหรับผู้ที่ทานมังสวิรัติ อีกทั้งเต้าหู้ยังกลายเป็นสุดยอดอาหารสำหรับเด็กและทารก เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ซึ่งเต้าหู้นั้นมีหลายรสชาติ หลายเนื้อสัมผัส ซึ่งสามารถแยกออกเป็นได้ ดังต่อไปนี้
เต้าหู้แบบแข็ง เต้าหู้ชนิดนี้มีเนื้อสัมผัสที่แข็งเหมือนเนื้อสัตว์ และมีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด โดยจะมีสีขาวและสีเหลือง คนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนนิยมนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ หรือใช้มากในช่วงเทศกาลกินเจ เพื่อนำมาแทนเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ยังนิยมนำมาประกอบอาหารในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ และกุยช่ายผัดน้ำมันหอย เป็นต้น
เต้าหู้แบบอ่อน เต้าหู้ชนิดนี้มีลักษณะนุ่มนิ่มเหมือนคัสตาร์ด และเป็นชนิดที่นิยมนำมาบดเข้ากับอาหารอื่น ๆ เพื่อให้เด็กทารกหรือเด็กอ่อนได้รับประทานกัน จะพบมากในประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีในการทำซุป หรือใส่แกง เพื่อเพิ่มโปรตีนให้แก่มื้ออาหาร เพื่อไม่เป็นการทานเนื้อสัตว์มากจนเกินไป
เต้าหู้มีประโยชน์ต่อทารกและเด็กอย่างไร?
เต้าหู้ อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ลูกน้อยของคุณเติบโตอย่างรวดเร็ว และแข็งแรง นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยไขมันดี และแร่ธาตุที่หาได้ยากอย่าง โคลีน (choline) ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองของเด็ก ๆ ให้แข็งแรงนั่นเอง รวมถึงยังมีคุณค่าทางโภชนาการอื่น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม
- โปรตีน 9 กรัม
- โพแทสเซียม 148 กรัม
- โซเดียม 10 มิลลิกรัม
- ไขมัน 5 กรัม
- ไฟเบอร์ 5 กรัม
- คอเลสเตอรอล 0 มิลลิกรัม
- แคลเซียม 42% ต่อปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน
- ธาตุเหล็ก 35% ต่อปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน
- วิตามินเอ 5% ต่อปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน
ทารกสามารถแพ้เต้าหู้ได้หรือไม่
พืชตระกูลถั่ว โดยเฉพาะถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยมากที่สุด ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ลูกน้อยของคุณจะเกิดอาการแพ้ ซึ่งหมายความว่า เมื่อคุณเริ่มให้เต้าหู้แก่ทารก หรือลูกของคุณควรสังเกตสัญญาณ หรือปฏิกิริยาหลังทานให้เป็นอย่างดี เพราะถ้าหากพวกเขาไม่ได้มีอาการอะไรก็ถือว่าพวกเขาไม่ได้แพ้ แต่ถ้าพวกเขาแพ้จะเกิดอาการ ดังต่อไปนี้
- ลมพิษ
- อาการคันตามร่างกาย
- ผิวหนัง ปาก หรือลิ้นบวม
- จาม
- หายใจมีเสียงหวีด
- แน่นคอ หรือกลืนลำบาก
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง หรือท้องเสีย
- หายใจลำบาก
หากคุณสงสัยว่าเด็ก ๆ มีอาการดังกล่าว ในอาการของการแพ้ถั่วเหลือง ให้รีบหยุดให้เด็ก ๆ ทานทันที ถ้าหากอาการไม่รุนแรงมากอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงจนกว่าอาการแพ้จะหมดไป แต่ถ้าหากพวกเขาเริ่มหายใจไม่ออก หรือมีอาการร่วมอย่างปวดท้อง หรือท้องเสียให้รีบนำตัวส่งแพทย์ในทันที เพราะเด็ก ๆ อาจเกิดการแพ้ถั่วเหลืองอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
วิธีการเตรียม เต้าหู้สุดยอดอาหารสำหรับเด็ก
เต้าหู้นั้นเรียกได้ว่าสามารถทานได้แทบจะทันทีหลังจากซื้อมา ซึ่งจะไม่ต้องผ่านกระบวนการอะไรมากมาย โดยในเด็กแต่ละช่วงวัยก็จะต้องมีวิธีการเตรียมเต้าหู้ในการทานแต่ละครั้งที่แตกต่างกันออกไป ทั้งด้านของความสามารถในการทาน และการย่อยของระบบทางเดินอาหาร จึงสามารถแบ่งวิธีการเตรียมเมนูตามช่วงวัยของเด็กแต่ละช่วงไว้ดังนี้
เด็กอายุ 6 เดือน
เป็นช่วงวัยแรกที่สามารถเริ่มทานอาหารอื่น ๆ นอกจากนมของคุณแม่ได้ โดยวิธีการปรุงนั้นจะต้องเลือกเต้าหู้แบบนิ่มมาหั่นเป็นลูกเต๋าเล็ก และสามารถให้พวกเขาทานได้ทันที แต่ถ้าหากลูกของคุณไม่ชอบกลิ่นของถั่วแล้วหละก็ ลองนำไปผสมกับอาหารเด็กเล็ก ซึ่งการผสมอาหารชนิดอื่นเข้าไปด้วยนั้นอาจกลบกลิ่นของเต้าหู้ได้เป็นอย่างดี และพวกเขาอาจจะทานง่ายขึ้น
เด็กที่มีอายุ 9 เดือน
วัยที่ฟันด้านล่างข้างหน้าของพวกเขาขึ้นเรียบร้อยแล้ว เขาจะอยากเคี้ยวสิ่งของ หรือเริ่มมีการแทะของบางอย่าง คุณสามารถนำเต้าหู้แบบแข็งมาต้มให้สุก และหั่นเป็นแท่งขนาด 1 เซนติเมตรเพื่อให้พวกเขาจับเข้าปากได้อย่างถนัดมือ หรือสามารถนำเต้าหู้ไปเข้าไมโครเวฟ เพื่อให้กรอบขึ้นก็ได้ค่ะ เด็ก ๆ น่าจะชอบแบบกรอบมากกว่า เพราะกำลังอยู่ในช่วงคันฟันเลย
เด็กอายุ 12 เดือน หรือ 1 ปี
เด็กในช่วงวัยกำลังซน และกำลังเติบโต เขาจะอยากทานอาหารทุกอย่างที่ขวางหน้า และอยู่ในวัยที่สามารถฝึกใช้อุปกรณ์ในการช่วยกินอย่างช้อน ส้อม และตะเกียบฝึกหัด การให้เขาทานเต้าหู้แบบเดิม ๆ อาจทำให้พวกเขารู้สึกเบื่อแล้วเริ่มไม่อยากทานเต้าหู้แล้ว คุณควรลองเปลี่ยนเมนูเต้าหู้ในรูปแบบใหม่ จากที่เคยเสิร์ฟเป็นเต้าหู้เพียงอย่างเดียว ให้คุณนำเต้าหู้ไปปั่นกับส่วนผสมต่าง ๆ เพื่อทำเป็นเครื่องจิ้มแทน เพื่อเพิ่มความตื่นเต้น และเปลี่ยนเต้าหู้ที่แสนน่าเบื่อให้เป็นอาหารมื้อโปรดได้ไม่ยาก
เด็ก ๆ สามารถสำลักเต้าหู้ได้หรือไม่?
เต้าหู้ไม่ถูกจัดในรายการอาหารที่เป็นอันตรายจากการสำลัก ถึงแม้ว่าอาหารทุกชนิดอาจมีความเสี่ยง ถ้าหากไม่ได้รับการเตรียมอาหารให้กับเด็ก ๆ เป็นอย่างดี หรือใส่ใจในรายละเอียดมากเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่เด็ก ๆ จะสำลักเต้าหู้ให้ทำการบดเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือหั่นเป็นเส้นบาง ๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถทานได้อย่างง่าย ไม่คำเล็ก หรือใหญ่จนเกินไป หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่คนไหนจะใส่เต้าหู้บดผสมกับอาหารชนิดอื่น และป้อนให้กับพวกเขาก็ได้ค่ะ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มเติม
สูตรเมนูเต้าหู้ง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน
สำหรับเด็ก ๆ ที่เริ่มพูดรู้เรื่อง หรือในวัยที่กำลังโตแล้ว เต้าหู้ก็คือของที่น่าเบื่อ จืดชืด และเมนูก็มักจะจำเจซ้ำไปมา ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น วันนี้เราขอแนะนำเมนูที่สามารถนำเต้าหู้ไปประกอบอาหาร เพื่อลดความเบื่อของเด็ก ๆ ได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
-
เต้าหู้ทอด เมนูของทอดชนะทุกสิ่ง สำหรับเด็ก ๆ แล้วยากที่จะปฏิเสธของทอด ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเบื่อเต้าหู้มากแค่ไหน แต่ถ้าได้ลองทอดมาแล้วหละก็ รับรองว่าไม่เหลือแน่นอน แต่ข้อควรระวังคือการได้รับปริมาณไขมันจากน้ำมันมากจนเกินไป หากคุณมีหม้อทอดไร้น้ำมันก็สามารถนำมาใช้ได้ หรือการนำเต้าหู้ไม่ชุบกับแป้งก่อนทอดก็ช่วยลดการอมน้ำมันของเต้าหู้ได้เช่นกัน
-
นักเก็ตเต้าหู้ อีกหนึ่งเมนูทอดที่คุณแม่หรือคุณพ่อจะต้องนำเต้าหู้มาสับให้ละเอียดก่อนนำไปผสมกับส่วนผสมอื่น อาทิ หมู หรือกุ้ง เป็นต้น และปั้นให้เป็นก้อน ก่อนที่จะชุบไข่ แป้ง และนำไปทอด เสิร์ฟร้อน ๆ พร้อมกับซอสมะเขือเทศ รับรองว่าไม่เหลือแน่ ๆ
-
แกงจืดเต้าหู้ เมนูที่เป็นกับข้าวที่คุณสามารถใช้เต้าหู้แบบอ่อนในเมนูนี้ได้ โดยการนำเต้าหู้ใส่ลงไปในต้มจืดที่คุณทำไว้ แต่เมื่อใส่แล้วพยายามอย่าคน เพราะว่าเต้าหู้แบบนิ่มนั้นอ่อนไหวได้ง่าย ถ้ามีการคนอาจเกิดการแตกตัว และทำให้ไม่น่ารับประทานได้
นอกจากเต้าหู้จะมีประโยชน์แล้วยังสามารถทำได้หลากหลายเมนูอีก รวมถึงยังสามารถทานได้ตั้งแต่เป็นทารกจนโตได้ เพื่อเสริมสร้างโปรตีน ทำให้ร่างกายของพวกเขาแข็งแรงได้อีกด้วย แต่ถ้าหากพวกเขามีอาการแพ้ถั่วเหลืองก็อยากให้ระวังในเมนูอาหารเพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายของพวกเขาด้วยนะคะ
เต้าหู้สุดยอดอาหารสำหรับเด็ก จริงเหรอ? กินได้ตั้งแต่เล็กจนโต
เต้าหู้มีกี่ชนิด?
เต้าหู้ทำจากการแข็งตัวของนมถั่วเหลือง เช่นเดียวกับการทำชีส แต่เต้าหู้นั้นทำจากถั่วเหลืองนั่นเอง โดยในเต้าหู้มีโปรตีนสูงจึงเหมาะที่จะนำมาทดแทนเนื้อสัตว์สำหรับผู้ที่ทานมังสวิรัติ อีกทั้งเต้าหู้ยังกลายเป็นสุดยอดอาหารสำหรับเด็กและทารก เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ซึ่งเต้าหู้นั้นมีหลายรสชาติ หลายเนื้อสัมผัส ซึ่งสามารถแยกออกเป็นได้ ดังต่อไปนี้
เต้าหู้แบบแข็ง เต้าหู้ชนิดนี้มีเนื้อสัมผัสที่แข็งเหมือนเนื้อสัตว์ และมีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด โดยจะมีสีขาวและสีเหลือง คนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนนิยมนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ หรือใช้มากในช่วงเทศกาลกินเจ เพื่อนำมาแทนเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ยังนิยมนำมาประกอบอาหารในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ และกุยช่ายผัดน้ำมันหอย เป็นต้น
เต้าหู้แบบอ่อน เต้าหู้ชนิดนี้มีลักษณะนุ่มนิ่มเหมือนคัสตาร์ด และเป็นชนิดที่นิยมนำมาบดเข้ากับอาหารอื่น ๆ เพื่อให้เด็กทารกหรือเด็กอ่อนได้รับประทานกัน จะพบมากในประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีในการทำซุป หรือใส่แกง เพื่อเพิ่มโปรตีนให้แก่มื้ออาหาร เพื่อไม่เป็นการทานเนื้อสัตว์มากจนเกินไป
เต้าหู้มีประโยชน์ต่อทารกและเด็กอย่างไร?
เต้าหู้ อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ลูกน้อยของคุณเติบโตอย่างรวดเร็ว และแข็งแรง นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยไขมันดี และแร่ธาตุที่หาได้ยากอย่าง โคลีน (choline) ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองของเด็ก ๆ ให้แข็งแรงนั่นเอง รวมถึงยังมีคุณค่าทางโภชนาการอื่น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม
- โปรตีน 9 กรัม
- โพแทสเซียม 148 กรัม
- โซเดียม 10 มิลลิกรัม
- ไขมัน 5 กรัม
- ไฟเบอร์ 5 กรัม
- คอเลสเตอรอล 0 มิลลิกรัม
- แคลเซียม 42% ต่อปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน
- ธาตุเหล็ก 35% ต่อปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน
- วิตามินเอ 5% ต่อปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน
ทารกสามารถแพ้เต้าหู้ได้หรือไม่
พืชตระกูลถั่ว โดยเฉพาะถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยมากที่สุด ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ลูกน้อยของคุณจะเกิดอาการแพ้ ซึ่งหมายความว่า เมื่อคุณเริ่มให้เต้าหู้แก่ทารก หรือลูกของคุณควรสังเกตสัญญาณ หรือปฏิกิริยาหลังทานให้เป็นอย่างดี เพราะถ้าหากพวกเขาไม่ได้มีอาการอะไรก็ถือว่าพวกเขาไม่ได้แพ้ แต่ถ้าพวกเขาแพ้จะเกิดอาการ ดังต่อไปนี้
- ลมพิษ
- อาการคันตามร่างกาย
- ผิวหนัง ปาก หรือลิ้นบวม
- จาม
- หายใจมีเสียงหวีด
- แน่นคอ หรือกลืนลำบาก
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง หรือท้องเสีย
- หายใจลำบาก
หากคุณสงสัยว่าเด็ก ๆ มีอาการดังกล่าว ในอาการของการแพ้ถั่วเหลือง ให้รีบหยุดให้เด็ก ๆ ทานทันที ถ้าหากอาการไม่รุนแรงมากอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงจนกว่าอาการแพ้จะหมดไป แต่ถ้าหากพวกเขาเริ่มหายใจไม่ออก หรือมีอาการร่วมอย่างปวดท้อง หรือท้องเสียให้รีบนำตัวส่งแพทย์ในทันที เพราะเด็ก ๆ อาจเกิดการแพ้ถั่วเหลืองอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
วิธีการเตรียม เต้าหู้สุดยอดอาหารสำหรับเด็ก
เต้าหู้นั้นเรียกได้ว่าสามารถทานได้แทบจะทันทีหลังจากซื้อมา ซึ่งจะไม่ต้องผ่านกระบวนการอะไรมากมาย โดยในเด็กแต่ละช่วงวัยก็จะต้องมีวิธีการเตรียมเต้าหู้ในการทานแต่ละครั้งที่แตกต่างกันออกไป ทั้งด้านของความสามารถในการทาน และการย่อยของระบบทางเดินอาหาร จึงสามารถแบ่งวิธีการเตรียมเมนูตามช่วงวัยของเด็กแต่ละช่วงไว้ดังนี้
เด็กอายุ 6 เดือน
เป็นช่วงวัยแรกที่สามารถเริ่มทานอาหารอื่น ๆ นอกจากนมของคุณแม่ได้ โดยวิธีการปรุงนั้นจะต้องเลือกเต้าหู้แบบนิ่มมาหั่นเป็นลูกเต๋าเล็ก และสามารถให้พวกเขาทานได้ทันที แต่ถ้าหากลูกของคุณไม่ชอบกลิ่นของถั่วแล้วหละก็ ลองนำไปผสมกับอาหารเด็กเล็ก ซึ่งการผสมอาหารชนิดอื่นเข้าไปด้วยนั้นอาจกลบกลิ่นของเต้าหู้ได้เป็นอย่างดี และพวกเขาอาจจะทานง่ายขึ้น
เด็กที่มีอายุ 9 เดือน
วัยที่ฟันด้านล่างข้างหน้าของพวกเขาขึ้นเรียบร้อยแล้ว เขาจะอยากเคี้ยวสิ่งของ หรือเริ่มมีการแทะของบางอย่าง คุณสามารถนำเต้าหู้แบบแข็งมาต้มให้สุก และหั่นเป็นแท่งขนาด 1 เซนติเมตรเพื่อให้พวกเขาจับเข้าปากได้อย่างถนัดมือ หรือสามารถนำเต้าหู้ไปเข้าไมโครเวฟ เพื่อให้กรอบขึ้นก็ได้ค่ะ เด็ก ๆ น่าจะชอบแบบกรอบมากกว่า เพราะกำลังอยู่ในช่วงคันฟันเลย
เด็กอายุ 12 เดือน หรือ 1 ปี
เด็กในช่วงวัยกำลังซน และกำลังเติบโต เขาจะอยากทานอาหารทุกอย่างที่ขวางหน้า และอยู่ในวัยที่สามารถฝึกใช้อุปกรณ์ในการช่วยกินอย่างช้อน ส้อม และตะเกียบฝึกหัด การให้เขาทานเต้าหู้แบบเดิม ๆ อาจทำให้พวกเขารู้สึกเบื่อแล้วเริ่มไม่อยากทานเต้าหู้แล้ว คุณควรลองเปลี่ยนเมนูเต้าหู้ในรูปแบบใหม่ จากที่เคยเสิร์ฟเป็นเต้าหู้เพียงอย่างเดียว ให้คุณนำเต้าหู้ไปปั่นกับส่วนผสมต่าง ๆ เพื่อทำเป็นเครื่องจิ้มแทน เพื่อเพิ่มความตื่นเต้น และเปลี่ยนเต้าหู้ที่แสนน่าเบื่อให้เป็นอาหารมื้อโปรดได้ไม่ยาก
เด็ก ๆ สามารถสำลักเต้าหู้ได้หรือไม่?
เต้าหู้ไม่ถูกจัดในรายการอาหารที่เป็นอันตรายจากการสำลัก ถึงแม้ว่าอาหารทุกชนิดอาจมีความเสี่ยง ถ้าหากไม่ได้รับการเตรียมอาหารให้กับเด็ก ๆ เป็นอย่างดี หรือใส่ใจในรายละเอียดมากเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่เด็ก ๆ จะสำลักเต้าหู้ให้ทำการบดเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือหั่นเป็นเส้นบาง ๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถทานได้อย่างง่าย ไม่คำเล็ก หรือใหญ่จนเกินไป หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่คนไหนจะใส่เต้าหู้บดผสมกับอาหารชนิดอื่น และป้อนให้กับพวกเขาก็ได้ค่ะ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มเติม
- นักเก็ตเต้าหู้ อีกหนึ่งเมนูทอดที่คุณแม่หรือคุณพ่อจะต้องนำเต้าหู้มาสับให้ละเอียดก่อนนำไปผสมกับส่วนผสมอื่น อาทิ หมู หรือกุ้ง เป็นต้น และปั้นให้เป็นก้อน ก่อนที่จะชุบไข่ แป้ง และนำไปทอด เสิร์ฟร้อน ๆ พร้อมกับซอสมะเขือเทศ รับรองว่าไม่เหลือแน่ ๆ
- แกงจืดเต้าหู้ เมนูที่เป็นกับข้าวที่คุณสามารถใช้เต้าหู้แบบอ่อนในเมนูนี้ได้ โดยการนำเต้าหู้ใส่ลงไปในต้มจืดที่คุณทำไว้ แต่เมื่อใส่แล้วพยายามอย่าคน เพราะว่าเต้าหู้แบบนิ่มนั้นอ่อนไหวได้ง่าย ถ้ามีการคนอาจเกิดการแตกตัว และทำให้ไม่น่ารับประทานได้
นอกจากเต้าหู้จะมีประโยชน์แล้วยังสามารถทำได้หลากหลายเมนูอีก รวมถึงยังสามารถทานได้ตั้งแต่เป็นทารกจนโตได้ เพื่อเสริมสร้างโปรตีน ทำให้ร่างกายของพวกเขาแข็งแรงได้อีกด้วย แต่ถ้าหากพวกเขามีอาการแพ้ถั่วเหลืองก็อยากให้ระวังในเมนูอาหารเพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายของพวกเขาด้วยนะคะ