1.อัตมลักษณ์
อัตมลักษณ์ มาจาก คำ 2 คำ ซึ่งก็คือ อาตมัน และ ลักษณ์
อาตมัน นั้น เป็นคำสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี คำว่าอัตตา มีความหมายว่า ตัวตน
ส่วนคำว่า ลักษณ์ มาจาก คำว่า ลักษณะ หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัว ที่ปรากฏให้เห็นที่แสดงออกมา
รวมกัน หมายถึง "การยึดติดในตัวตน ที่ปรากฎให้เห็นออกมา เกิดเป็นการกระทำแสดงออกเป็นความเห็นแก่ตัว หลงว่าตนเองสำคัญที่สุด นั่นเอง"
ความจริงแล้วนั้น ความเห็นแก่ตัว เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ เพราะคนเราต่างมีเป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จ อยากเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า ต้องการแสดงความสามารถของตนในด้านใดด้านหนึ่งให้เป็นที่ประจักษ์ แต่เป็นอัตตาที่แฝงด้วยตัณหา คือความหลงอยากมีตัวตน อยากทำสิ่งที่ต้องการให้ประสปความสำเร็จ อยากให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของตน มนุษย์จึงดิ้นรนพัฒนาตนเอง ทำหน้าที่ต่างๆอยากให้ผู้อื่นให้คุณค่ากับผลงานสิ่งที่เราทำ อยากให้ผู้อื่นเห็นดีงามกับความคิดของตน ถ้าไม่ได้ดั่งใจก็เกิดความทุกข์
อัตตานั้นเกิดจากความยึดมั่นถือมั่น หรือภาษาบาลี ว่าอุปาทาน ซึ่งอุปทานก็เกิดมาจาก กิเลสตัณหา จึงเกิดความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
เราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นใหญ่เราแพ้ใครไม่ได้
ซึ่งพฤติกรรมการแสดงออกถึงอัตตาตัวตนในทางที่ผิด อย่างเด่นชัด ก็มีตัวอย่างแสดงปรากฎให้เห็น
ยกตัวอย่าง เช่น มีข่าวคนที่ตั้งตน เป็นพระศรีอาริยเมตไตรยปลอม มากมาย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนปัจจุบัน ก็ยังมีข่าวปรากฏให้เห็น เพราะเขาเหล่านี้ ต้องการให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าปลอมๆของตน ยกย่องตนเหนือผู้อื่นโดยไร้เหตุผล ทั้งๆที่ไม่ได้ทำการใดหรือมีคุณค่าใดที่เป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมเลย
แต่ในขณะเดียวกัน บนโลกนี้ก็มีบุคคลที่ใช้สติและปัญญา ทำประโยชน์มีคุณค่าแก่ส่วนรวม ทำสิ่งที่ดี และไม่แฝงผลประโยชน์ไม่หลอกลวงผู้อื่นไปในทางที่เสียหาย โดยไม่หลงอัตตาถือว่าตัวเองเหนือผู้อื่น ซึ่งบุคคลเหล่านี้จึงจะถือเป็นบุคคลที่มีคุณค่าประสปความสำเร็จในชีวิตอย่างแท้จริง
2.บุคคลักษณ์
คือพฤติกรรมการแสดงออก เกิดจากใจยึดติดในบุคคล เกิดจากความพอใจ รักใคร่ ความชอบพอ เรียกว่า กามฉันทะ หนึ่งในนิวรณ์5 ซึ่งถือเป็นเครื่องปิดกั้นไม่ให้บรรลุความดี
ยกตัวอย่าง เวลาฟังนักบรรยายธรรม
ต้องเป็นคนนั้น ต้องเป็นคนนี้ คนนี้ไม่ได้ ต้องเป็นพระรูปที่ฉันศรัทธาเท่านั้น พระรูปอื่นฉันไม่ฟัง หรือคนธรรมดาไม่ใช่พระ บรรยายธรรมเราปฏิเสธไม่ฟัง ถือว่าเรายึดติดในบุคคลักษณ์
ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ธรรมมะ คือสัจธรรมที่แท้จริง ไม่ว่านักบรรยายท่านไหนมาพูดก็คือการบรรยายความจริง
ดังนั้น ถ้าเราไปยึดติด ก็เท่ากับเราขวางกั้นตนเองไม่ให้มีโอกาสในการฟังธรรม ซึ่งเท่ากับเป็นการพลาดโอกาสในการสร้างบุญนั่นเอง
3.เวไนย์ลักษณ์
เกิดจากการยึดติดในเบญจขันธ์ ยึดติดในอวิชชาโลภโกรธหลง ยึดติดแบ่งแย่งสรรพสัตว์ มองสรรพสัตว์ว่าไม่ใช่เพื่อนร่วมโลก ส่งผลให้มีพฤติกรรมก้าวล่วงชีวิตผู้อื่นที่ร่างกายแตกต่างจากเรา
ยกตัวอย่าง คนที่เกลียดงูหรือไม่ชอบงู เนื่องจาก มีปัญหาเกี่ยวกับความคิดต่อภาพลักษณ์ที่ยึดติดว่าเกลียดหรือกลัว โดยเป็นสัญญาในความจำว่า งู เป็นสัตว์ที่มีภาพลักษณ์ที่เป็นอันตรายในหัว ทำให้เกิดความกลัวจนเกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นลมหมดสติ
ทั้งที่ข้อเท็จจริงและธรรมชาติของงูนั้น หากเราไม่ไปยุ่งรบกวนรังถิ่นที่อยู่มันก่อน หรือไม่ไปพลาดเหยียบโดนมัน งูก็จะไม่ทำอันตรายมนุษย์ งูนั้นก็เป็นสัตว์รักตัวกลัวตายรักพวกพ้องเหมือนมนุษย์ มันเคยเกิดกายเป็นมนุษย์มาก่อนเหมือนเรา แต่เพราะความผิดบาปยึดติดหลงในกามคุณมากเกินไป เค้าจึงไปเวียนว่ายชดใช้กรรมในชีวภูมิวิถี6 สังเกตุว่างูจะเป็นสัตว์ที่รักครอบครัวมาก ถ้ามีมนุษย์ไปทำอันตรายไข่ถิ่นที่อยู่ หรือคู่มัน มันจะกลับมาแก้แค้นคนที่ทำร้าย
พระพุทธองค์ จึงได้ตรัสถึงโทษของกามคุณว่า
"กามทั้งหลายมีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่"
ดังนั้น ถ้าเราอยากหลุดพ้นจากภูมิวิถี6 เราต้องละจากการยึดติดในขันธ์5 ไม่แบ่งแย่งในรูปลักษณ์ชีวิตของสรรพสัตว์
4.ชีววัฒนลักษณ์
หลงติดในชีวิตตนเอง
ทุกคนมีสัญชาตญาณในการเอาชีวิตรอด แต่เพราะยึดมั่นถือมั่นในอัตตา เข้าใจผิดว่ากายเนื้อนี้เป็นของของเรา สัญชาตณาณนั้นแฝงด้วยกิเลส ตัณหาความโลภ จึงสรรหาสิ่งต่างๆเข้าหาตัวเองไม่มีสิ้นสุด เมื่อได้แล้วก็อยากมีอีก เกิดการแก่งแย่งชิงแข่งขัน รบราฆ่าฟันทะเลาะกัน ดังที่เราจะเห็นได้จากสงครามมากมายในอดีต เมื่อไม่ได้ตามต้องการจึงเกิดเป็นความทุกข์
ความเห็นแก่ตัวนั้นเกิดจากกิเลส ความหลง "เมื่อหลงแล้วใจก็จะติดยึด เกิดเป็นความอยาก เมื่อไม่ได้ตามที่อยากก็เกิดเป็นความโกรธ มนุษย์ส่วนใหญ่ยึดกิเลสเพราะอวิชชาความไม่รู้จึงเข้าใจผิด คิดว่ารูปกายสังขารนี้เป็นของเรา จึงยอมตกเป็นทาสของกิเลส และเมื่อขาดสติกิเลสจึงครอบงำ ซึ่งความสุขและความทุกข์จากกิเลสเป็นความสุขความทุกข์ชั่วคราวมีเกิดมีดับ การที่เรายอมตกเป็นทาสของกิเลสนั้น หากกระทำแสดงออกไม่ถูกต้องสามารถนำมาซึ่งผลกระทบให้ผู้อื่นเดือดร้อนเกิดปัญหาต่างๆตามมากมากมาย
ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อว่ากินงูดอง หรือกินค้างคาวเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้เกิดเป็นโรคระบาดโควิดตามมา เดือดร้อนมนุษย์ทั้งโลก
กิเลสนั้นนำมาซึ่งความสุขก็จริง แต่ความสุขแบบกิเลสนั้นเป็นความสุขทางสังขารที่ไม่จีรัง เป็นความสุขที่มีเกิดมีดับแปรผันตามสภาพสิ่งที่อัตตาเราไปยึดไว้ ถ้าหากสิ่งที่อัตตาไปยึดมีการเปลี่ยนแปลง ตามสภาพความไม่เที่ยง จึงเกิดเป็นความทุกข์แฝงอยู่ในความสุข แท้จริงแล้วสิ่งที่เราไปยึดล้วนเป็นอนัตตา คือไม่สามารถบังคับให้อยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป สภาพร่างกายเราก็ไม่สามารถบังคับให้อยู่ในสภาพคงเดิมได้ตลอดไป ทุกสิ่งที่เรายึดไว้ต้องเปลี่ยนสภาพตามกฎธรรมชาติของเวลา แต่เพราะอัตตายังยึดไว้ในแบบที่เราปรารถนาให้มันเป็นเราจึงทุกข์
แต่ความสุขที่แท้จริงเป็นนิรันดร์ คือการปล่อยสละละวางอัตตา ไม่ติดสุข-ไม่ยึดทุกข์ ใจเราจึงจะเข้าถึงความสุขที่เรียกว่าสภาวะนิพพานได้อย่างแท้จริง
เพราะท้ายที่สุดแล้ว สิ่งมีชีวิตทุกสิ่งบนโลกใบนี้จะต้องดับสูญ ทุกสิ่งบนโลกนี้ที่เป็นเพียงอนัตตาเป็นเพียงสิ่งสมมติให้ยืมใช้ ที่ยังเหลือคือเหลาหมู่หรือพระอนุตรธรรมมารดาผู้ก่อเกิดทุกสรรพพชีวิตบนโลกใบนี้ เมื่อเราเข้าใจได้เช่นนี้เราจึงหลุดพ้นจากการยึดมั่นในตัวตน หลุดพ้นจากความทุกข์เข้าใจการเข้าถึงสู่ภาวะนิพพานได้อย่างแท้จริง
ลักษณ์4
อัตมลักษณ์ มาจาก คำ 2 คำ ซึ่งก็คือ อาตมัน และ ลักษณ์
อาตมัน นั้น เป็นคำสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี คำว่าอัตตา มีความหมายว่า ตัวตน
ส่วนคำว่า ลักษณ์ มาจาก คำว่า ลักษณะ หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัว ที่ปรากฏให้เห็นที่แสดงออกมา
รวมกัน หมายถึง "การยึดติดในตัวตน ที่ปรากฎให้เห็นออกมา เกิดเป็นการกระทำแสดงออกเป็นความเห็นแก่ตัว หลงว่าตนเองสำคัญที่สุด นั่นเอง"
ความจริงแล้วนั้น ความเห็นแก่ตัว เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ เพราะคนเราต่างมีเป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จ อยากเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า ต้องการแสดงความสามารถของตนในด้านใดด้านหนึ่งให้เป็นที่ประจักษ์ แต่เป็นอัตตาที่แฝงด้วยตัณหา คือความหลงอยากมีตัวตน อยากทำสิ่งที่ต้องการให้ประสปความสำเร็จ อยากให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของตน มนุษย์จึงดิ้นรนพัฒนาตนเอง ทำหน้าที่ต่างๆอยากให้ผู้อื่นให้คุณค่ากับผลงานสิ่งที่เราทำ อยากให้ผู้อื่นเห็นดีงามกับความคิดของตน ถ้าไม่ได้ดั่งใจก็เกิดความทุกข์
อัตตานั้นเกิดจากความยึดมั่นถือมั่น หรือภาษาบาลี ว่าอุปาทาน ซึ่งอุปทานก็เกิดมาจาก กิเลสตัณหา จึงเกิดความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
เราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นใหญ่เราแพ้ใครไม่ได้
ซึ่งพฤติกรรมการแสดงออกถึงอัตตาตัวตนในทางที่ผิด อย่างเด่นชัด ก็มีตัวอย่างแสดงปรากฎให้เห็น
ยกตัวอย่าง เช่น มีข่าวคนที่ตั้งตน เป็นพระศรีอาริยเมตไตรยปลอม มากมาย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนปัจจุบัน ก็ยังมีข่าวปรากฏให้เห็น เพราะเขาเหล่านี้ ต้องการให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าปลอมๆของตน ยกย่องตนเหนือผู้อื่นโดยไร้เหตุผล ทั้งๆที่ไม่ได้ทำการใดหรือมีคุณค่าใดที่เป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมเลย
แต่ในขณะเดียวกัน บนโลกนี้ก็มีบุคคลที่ใช้สติและปัญญา ทำประโยชน์มีคุณค่าแก่ส่วนรวม ทำสิ่งที่ดี และไม่แฝงผลประโยชน์ไม่หลอกลวงผู้อื่นไปในทางที่เสียหาย โดยไม่หลงอัตตาถือว่าตัวเองเหนือผู้อื่น ซึ่งบุคคลเหล่านี้จึงจะถือเป็นบุคคลที่มีคุณค่าประสปความสำเร็จในชีวิตอย่างแท้จริง
2.บุคคลักษณ์
คือพฤติกรรมการแสดงออก เกิดจากใจยึดติดในบุคคล เกิดจากความพอใจ รักใคร่ ความชอบพอ เรียกว่า กามฉันทะ หนึ่งในนิวรณ์5 ซึ่งถือเป็นเครื่องปิดกั้นไม่ให้บรรลุความดี
ยกตัวอย่าง เวลาฟังนักบรรยายธรรม
ต้องเป็นคนนั้น ต้องเป็นคนนี้ คนนี้ไม่ได้ ต้องเป็นพระรูปที่ฉันศรัทธาเท่านั้น พระรูปอื่นฉันไม่ฟัง หรือคนธรรมดาไม่ใช่พระ บรรยายธรรมเราปฏิเสธไม่ฟัง ถือว่าเรายึดติดในบุคคลักษณ์
ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ธรรมมะ คือสัจธรรมที่แท้จริง ไม่ว่านักบรรยายท่านไหนมาพูดก็คือการบรรยายความจริง
ดังนั้น ถ้าเราไปยึดติด ก็เท่ากับเราขวางกั้นตนเองไม่ให้มีโอกาสในการฟังธรรม ซึ่งเท่ากับเป็นการพลาดโอกาสในการสร้างบุญนั่นเอง
3.เวไนย์ลักษณ์
เกิดจากการยึดติดในเบญจขันธ์ ยึดติดในอวิชชาโลภโกรธหลง ยึดติดแบ่งแย่งสรรพสัตว์ มองสรรพสัตว์ว่าไม่ใช่เพื่อนร่วมโลก ส่งผลให้มีพฤติกรรมก้าวล่วงชีวิตผู้อื่นที่ร่างกายแตกต่างจากเรา
ยกตัวอย่าง คนที่เกลียดงูหรือไม่ชอบงู เนื่องจาก มีปัญหาเกี่ยวกับความคิดต่อภาพลักษณ์ที่ยึดติดว่าเกลียดหรือกลัว โดยเป็นสัญญาในความจำว่า งู เป็นสัตว์ที่มีภาพลักษณ์ที่เป็นอันตรายในหัว ทำให้เกิดความกลัวจนเกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นลมหมดสติ
ทั้งที่ข้อเท็จจริงและธรรมชาติของงูนั้น หากเราไม่ไปยุ่งรบกวนรังถิ่นที่อยู่มันก่อน หรือไม่ไปพลาดเหยียบโดนมัน งูก็จะไม่ทำอันตรายมนุษย์ งูนั้นก็เป็นสัตว์รักตัวกลัวตายรักพวกพ้องเหมือนมนุษย์ มันเคยเกิดกายเป็นมนุษย์มาก่อนเหมือนเรา แต่เพราะความผิดบาปยึดติดหลงในกามคุณมากเกินไป เค้าจึงไปเวียนว่ายชดใช้กรรมในชีวภูมิวิถี6 สังเกตุว่างูจะเป็นสัตว์ที่รักครอบครัวมาก ถ้ามีมนุษย์ไปทำอันตรายไข่ถิ่นที่อยู่ หรือคู่มัน มันจะกลับมาแก้แค้นคนที่ทำร้าย
พระพุทธองค์ จึงได้ตรัสถึงโทษของกามคุณว่า
"กามทั้งหลายมีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่"
ดังนั้น ถ้าเราอยากหลุดพ้นจากภูมิวิถี6 เราต้องละจากการยึดติดในขันธ์5 ไม่แบ่งแย่งในรูปลักษณ์ชีวิตของสรรพสัตว์
4.ชีววัฒนลักษณ์
หลงติดในชีวิตตนเอง
ทุกคนมีสัญชาตญาณในการเอาชีวิตรอด แต่เพราะยึดมั่นถือมั่นในอัตตา เข้าใจผิดว่ากายเนื้อนี้เป็นของของเรา สัญชาตณาณนั้นแฝงด้วยกิเลส ตัณหาความโลภ จึงสรรหาสิ่งต่างๆเข้าหาตัวเองไม่มีสิ้นสุด เมื่อได้แล้วก็อยากมีอีก เกิดการแก่งแย่งชิงแข่งขัน รบราฆ่าฟันทะเลาะกัน ดังที่เราจะเห็นได้จากสงครามมากมายในอดีต เมื่อไม่ได้ตามต้องการจึงเกิดเป็นความทุกข์
ความเห็นแก่ตัวนั้นเกิดจากกิเลส ความหลง "เมื่อหลงแล้วใจก็จะติดยึด เกิดเป็นความอยาก เมื่อไม่ได้ตามที่อยากก็เกิดเป็นความโกรธ มนุษย์ส่วนใหญ่ยึดกิเลสเพราะอวิชชาความไม่รู้จึงเข้าใจผิด คิดว่ารูปกายสังขารนี้เป็นของเรา จึงยอมตกเป็นทาสของกิเลส และเมื่อขาดสติกิเลสจึงครอบงำ ซึ่งความสุขและความทุกข์จากกิเลสเป็นความสุขความทุกข์ชั่วคราวมีเกิดมีดับ การที่เรายอมตกเป็นทาสของกิเลสนั้น หากกระทำแสดงออกไม่ถูกต้องสามารถนำมาซึ่งผลกระทบให้ผู้อื่นเดือดร้อนเกิดปัญหาต่างๆตามมากมากมาย
ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อว่ากินงูดอง หรือกินค้างคาวเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้เกิดเป็นโรคระบาดโควิดตามมา เดือดร้อนมนุษย์ทั้งโลก
กิเลสนั้นนำมาซึ่งความสุขก็จริง แต่ความสุขแบบกิเลสนั้นเป็นความสุขทางสังขารที่ไม่จีรัง เป็นความสุขที่มีเกิดมีดับแปรผันตามสภาพสิ่งที่อัตตาเราไปยึดไว้ ถ้าหากสิ่งที่อัตตาไปยึดมีการเปลี่ยนแปลง ตามสภาพความไม่เที่ยง จึงเกิดเป็นความทุกข์แฝงอยู่ในความสุข แท้จริงแล้วสิ่งที่เราไปยึดล้วนเป็นอนัตตา คือไม่สามารถบังคับให้อยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป สภาพร่างกายเราก็ไม่สามารถบังคับให้อยู่ในสภาพคงเดิมได้ตลอดไป ทุกสิ่งที่เรายึดไว้ต้องเปลี่ยนสภาพตามกฎธรรมชาติของเวลา แต่เพราะอัตตายังยึดไว้ในแบบที่เราปรารถนาให้มันเป็นเราจึงทุกข์
แต่ความสุขที่แท้จริงเป็นนิรันดร์ คือการปล่อยสละละวางอัตตา ไม่ติดสุข-ไม่ยึดทุกข์ ใจเราจึงจะเข้าถึงความสุขที่เรียกว่าสภาวะนิพพานได้อย่างแท้จริง
เพราะท้ายที่สุดแล้ว สิ่งมีชีวิตทุกสิ่งบนโลกใบนี้จะต้องดับสูญ ทุกสิ่งบนโลกนี้ที่เป็นเพียงอนัตตาเป็นเพียงสิ่งสมมติให้ยืมใช้ ที่ยังเหลือคือเหลาหมู่หรือพระอนุตรธรรมมารดาผู้ก่อเกิดทุกสรรพพชีวิตบนโลกใบนี้ เมื่อเราเข้าใจได้เช่นนี้เราจึงหลุดพ้นจากการยึดมั่นในตัวตน หลุดพ้นจากความทุกข์เข้าใจการเข้าถึงสู่ภาวะนิพพานได้อย่างแท้จริง