ขายของออนไลน์อะไรดี 2021 EP1 - อยากขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
หลาย ๆ คนเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของการขายของออนไลน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งธุรกิจมีข้อดีคือ ประหยัดเวลา ไม่ต้องลงทุนที่สูงมาก ซื้อมาขายไปทางระบบออนไลน์ได้ แต่ติดตรงที่ว่าคุณ ยังไม่รู้วิธีการว่าจะเริ่มต้นยังไงให้ถูกทาง เพราะถ้าคุณขายอะไรที่มันไม่ตอบโจทย์ลูกค้า อาจทำให้สินค้าคุณขายไม่ออกได้ แล้วทีนี้จะทำอย่างไร ต้องเริ่มต้นจากสิ่งไหน เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน…
อยากขายของออนไลน์ เริ่มต้นยังไงดี?! เป็นคำถามที่ได้ยินบ่อยมาก เพราะการเปิดร้านขายของออนไลน์ก็เปรียบเหมือนการลงทุนชนิดหนึ่งถึงแม้ว่าจะไม่มากเท่ากับการขายของแบบออฟไลน์ หากไม่รู้จักวางแผนหรือไม่เข้าใจธุรกิจนี้ไห้ดีเสียก่อน อาจพลาดท่าตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น วันนี้จึงขอแนะนำวิธีการเริ่มขายสินค้าออนไลน์ง่าย ๆ ซึ่งในบทความนี้ผมจะมาสรุป 5 ขั้นตอนของการ เริ่มวิธีขายของออนไลน์ให้คุณเข้าใจสามารถนำไปใช้งานหรือเปิดร้านได้เลย ดังนั้น
ขั้นตอนที่ 1
กรณีแรก หาสินค้า >> หากลุ่มลูกค้า : อาจจะเริ่มจากการที่คุณไปเดินสำรวจ หรือ ท่องร้านค้าในโลกออนไลน์แล้วรู้สึกว่าสินค้าชิ้นนี้ น่าจะขายดี แต่ก็ต้องเก็บรายละเอียดเอาไว้แล้วนำมาเปรียบเทียบความคุ้มค่าและราคาของสินค้าอีกที และให้คุณคิดไว้เลยว่าจะขายสินค้าให้กลุ่มลูกค้ากลุ่มไหน ให้เรียงลำดับความเป็นไปได้กับสินค้าที่คุณได้หามา
กรณีที่ 2 หากลุ่มลูกค้า >> หาสินค้า : ตามหัวข้อเลยครับว่า คุณต้องคิดไว้ในหัวแล้วว่าคุณอยากขายสินค้าให้กับกลุ่มคนประเภทไหน และจำนวนความต้องการของกลุ่มลูกค้านี้จะสามารถซื้อสินค้าคุณจริงหรือไม่ แล้วค่อยไปหาสินค้าให้ตรงความต้องการที่คุณวางไว้ โดยเริ่มให้คุณมองปัญหาจากคนรอบข้างของคุณก่อน ยกตัวอย่าง ตอนนี้คุณทำงานโรงงาน อาจจะเป็นฝ่ายดูแลความเรียบร้อยของพนักงานในโรงงาน ให้คุณสังเกตเลยว่า ปัญหาส่วนใหญ่ของพนักงานคืออะไร เช่น พนักงานมีปัญหาในการหาซื้อรองเท้าทำงานในโรงงาน เพราะต้องเป็นรองเท้าผ้าใบที่ต้องหุ้มส้น เบาสบาย และต้องเป็นสีดำ และคุณก็มองเห็นว่าส่วนใหญ่ทุกโรงงานต้องการใช้รองเท้าประเภทนี้อยู่ ให้คุณเก็บรายระเอียดมาก่อน และหลังจากนั้นให้คุณเริ่มมองหาสินค้าชิ้นนี้หรือใกล้เคียงให้มากสุดจากร้านค้าหลาย ๆ แหล่งเพื่อทำการเปรียบเทียบราคา นั่นเอง
ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะ หาสินค้า >> หากลุ่มลูกค้า หรือ หากลุ่มลูกค้า >> หาสินค้า คุณอย่าเพิ่งด่วนสรุปที่จะ “ลงทุนหรือเสียเงินซื้อสินค้า” ไปก่อนนะครับ เพราะขั้นตอนนี้เป็นเพียงการวิเคราะห์เท่านั้น และคุณสามารถทำได้ทั้ง 2 ขั้นตอนในเวลาเดียวกัน เพราะคุณก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าเป้าหมายของคุณนั้นกว้างหรือสามารถขายให้กับกลุ่มลูกค้าไหนได้เพิ่มบ้าง
ขั้นตอนที่ 2
หาช่องทางการขาย : แน่นอนว่าบทความในตอนนี้เราจะมาพูดถึงการขายของออนไลน์ ฉะนั้น เราจะไม่พูดถึงการขายของตามตลาดนัดหรือแบบออฟไลน์กันนะครับ เนื่องจากว่าช่องทางการขายของออนไลน์ในยุคสมัยนี้มีให้คุณเลือกหลากหลาย ซึ่งอาจจะแบ่งการขายของออนไลน์ออกได้ดังนี้
2.1 การขายของออนไลน์ตามโซเชียลเน็ตเวิร์ค เช่น Facebook, Line, Instagram, Twitter, YouTube, Tiktok เป็นต้น ต้องบอกเลยว่าแอปพลิเคชั่นเหล่านี้เป็นเครื่องมือการขายของออนไลน์ให้กับคนใกล้ตัวในช่วงแรก จนไปถึงการแลกเปลี่ยนขอการติดต่อกับเพื่อนใหม่ในแอปพลิเคชั่นทั้งหมดนี้ เพื่ออย่างน้อยกลุ่มลูกค้าที่คุณตั้งเป้าหมายไว้จะได้รับรู้ว่าคุณกำลังจะทำอะไรอยู่ จนไปถึงสามารถปิดการขายของในกลุ่มคนที่เป็นเพื่อนกับคุณในแอปพลิเคชั่นเหล่านี้ได้อีกด้วย
2.2 ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ เช่น Lazada, Shopee ที่เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับคนที่เน้นขายของออนไลน์เป็นหลัก สามารถเริ่มขายได้เลยโดยไม่ต้องเสียเงินในการสมัครและมีผู้ยอดเข้าใช้งานต่อวันเป็นจำนวนหลายแสนคน ซึ่งถือว่าเป็นแอปพลิเคชั่นที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย
ขั้นตอนที่ 3
การตั้งราคาสินค้า : ที่จริงแล้วการตั้งราคาสินค้าเป็นเรื่องที่ไม่ตายตัว บางคนอาจจะเลือกตั้งราคาเดียวกันหรือใกล้เคียงกับคนที่ขายสินค้าประเภทเดียวกับคุณ หรือแม้แต่จะตั้งราคาสินค้าตามเงินในกระเป๋าของลูกค้า ตั้งราคาตามใจคุณ (ต้องแน่ใจก่อนว่าสินค้าของคุณมีความแตกต่าง) ซึ่งในการตั้งราคาสินค้าแต่ละครั้งคุณต้องดูถึงความเหมาะสมของสินค้านั้น ๆ ด้วย เพราะบางทีก็อาจจะมีกลุ่มคนที่เน้นคุณภาพไม่เน้นราคา หรือว่าเน้นราคาคุณภาพปานกลางก็มี ฉะนั้น เรื่องนี้คุณต้องคิดอย่างรอบคอบรวมไปจนถึงการคำนวนเรื่องต้นทุนสินค้าที่คุณกำลังจะลงทุนในอนาคต เพราะเมื่อไหร่ที่คุณตั้งราคาผิด ถึงแม้คุณขายดีแค่ไหนยังไงคุณก็เจ๊งได้ เพราะราคาสินค้าที่คุณได้ขายไปต่อชิ้นนั้น อาจไม่คุ้มเมื่อมาหักลบกลบหนี้ต้นทุนทั้งหมด
ขั้นตอนที่ 4
การทำการตลาด : ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ให้คุณเริ่มทำการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เลือกแล้วและถือว่าเป็นการสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่คุณวางไว้ โดยที่คุณต้องเริ่มทำเรื่องราวหรือประกาศออกไปว่าคุณกำลังจะขายของอะไรให้กับกลุ่มเป้าหมายบนโซเชียลมีเดียทุกช่องทาง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้มากถึงมากที่สุด หรือถ้าหากใครมีต้นทุนก็อาจจะต้องใช้งบในส่วนนี้ช่วยในการทำการตลาด แต่ถ้าหากใครไม่มีทุนในการทำธุรกิจมากมายการโพสต์หรือทำคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียให้ได้ทุกวันอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น วันหนึ่งอาจโพสต์ไลฟ์สไตล์และคอนเทนต์สินค้า ประมาณ 3-5 โพสต์ต่อวัน ก็สามารถช่วยได้เพราะความถี่ในการโฆษณาถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีทางหนึ่งเพียงแต่คุณต้องทำเองให้ได้อย่างสม่ำเสมอ
ขั้นตอนที่ 5
ปิดการขาย : สิ่งนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อลูกค้าติดต่อเข้ามาสอบถาม แล้วคุณจะต้องทำการปิดการขายให้ได้ นั่นเอง ซึ่งการขายสินค้าเราควรจะมีอะไรมาดึงดูดลูกค้าอย่างโปรโมชั่นนั้นก็สำคัญ อาทิเช่น สมมุติว่าคุณขายรองเท้าผ้าใบสำหรับพนักงานโรงงาน แต่ลูกค้าเป็นพนักงานจากโรงงานอื่น คุณอาจจะมีโปรโมชั่นซื้อรองเท้า 2 คู่ขึ้นไปส่งฟรี ให้สิทธิ์เพียง 3 ท่านเท่านั้น เพื่อทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้เร็วขึ้น และปิดการขายได้ในที่สุด แล้วเก็บรายชื่อของคนที่สนใจไปจนถึงเก็บมัดจำเพื่อนำเงินเหล่านี้ไปซื้อสินค้าโดยที่คุณแทบจะไม่ได้ลงทุน และเพื่อเช็คให้ชัวร์ว่าเขาซื้อสินค้าของเราจริง ๆ นั่นเอง
ดังนั้น 5 ขั้นตอนสำหรับการเริ่มต้นขายของออนไลน์ ที่ผมให้ไว้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแนวคิด ที่คุณสามารถลองนำไปปรับใช้กับธุรกิจออนไลน์ของคุณดูนะครับ ส่วนเรื่องที่ว่าคุณจะหาของอะไรจากแหล่งไหน เห็นทีว่าผมจะเล่าในบทความนี้คงไม่หมด แต่คุณสามารถตามต่อได้ในบทความถัดไปได้นะครับ สำหรับวันนี้ใครมีแนวคิดเหมือนกันกับผมหรือไม่เหมือนในจุดไหนสามารถคอมเมนต์แชร์ไอเดียมาได้ตามคอมเมนต์ด้านล่างนี้เลยนะครับ
============================================================================
สำหรับใครที่อยากได้รับอรรถรสเพิ่มมากขึ้น สามารถคลิกวีดีโอได้ตามด้านล่างนี้นะครับ
ขายของออนไลน์อะไรดี 2021 EP1 - อยากขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ขั้นตอนที่ 1
กรณีแรก หาสินค้า >> หากลุ่มลูกค้า : อาจจะเริ่มจากการที่คุณไปเดินสำรวจ หรือ ท่องร้านค้าในโลกออนไลน์แล้วรู้สึกว่าสินค้าชิ้นนี้ น่าจะขายดี แต่ก็ต้องเก็บรายละเอียดเอาไว้แล้วนำมาเปรียบเทียบความคุ้มค่าและราคาของสินค้าอีกที และให้คุณคิดไว้เลยว่าจะขายสินค้าให้กลุ่มลูกค้ากลุ่มไหน ให้เรียงลำดับความเป็นไปได้กับสินค้าที่คุณได้หามา
กรณีที่ 2 หากลุ่มลูกค้า >> หาสินค้า : ตามหัวข้อเลยครับว่า คุณต้องคิดไว้ในหัวแล้วว่าคุณอยากขายสินค้าให้กับกลุ่มคนประเภทไหน และจำนวนความต้องการของกลุ่มลูกค้านี้จะสามารถซื้อสินค้าคุณจริงหรือไม่ แล้วค่อยไปหาสินค้าให้ตรงความต้องการที่คุณวางไว้ โดยเริ่มให้คุณมองปัญหาจากคนรอบข้างของคุณก่อน ยกตัวอย่าง ตอนนี้คุณทำงานโรงงาน อาจจะเป็นฝ่ายดูแลความเรียบร้อยของพนักงานในโรงงาน ให้คุณสังเกตเลยว่า ปัญหาส่วนใหญ่ของพนักงานคืออะไร เช่น พนักงานมีปัญหาในการหาซื้อรองเท้าทำงานในโรงงาน เพราะต้องเป็นรองเท้าผ้าใบที่ต้องหุ้มส้น เบาสบาย และต้องเป็นสีดำ และคุณก็มองเห็นว่าส่วนใหญ่ทุกโรงงานต้องการใช้รองเท้าประเภทนี้อยู่ ให้คุณเก็บรายระเอียดมาก่อน และหลังจากนั้นให้คุณเริ่มมองหาสินค้าชิ้นนี้หรือใกล้เคียงให้มากสุดจากร้านค้าหลาย ๆ แหล่งเพื่อทำการเปรียบเทียบราคา นั่นเอง
ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะ หาสินค้า >> หากลุ่มลูกค้า หรือ หากลุ่มลูกค้า >> หาสินค้า คุณอย่าเพิ่งด่วนสรุปที่จะ “ลงทุนหรือเสียเงินซื้อสินค้า” ไปก่อนนะครับ เพราะขั้นตอนนี้เป็นเพียงการวิเคราะห์เท่านั้น และคุณสามารถทำได้ทั้ง 2 ขั้นตอนในเวลาเดียวกัน เพราะคุณก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าเป้าหมายของคุณนั้นกว้างหรือสามารถขายให้กับกลุ่มลูกค้าไหนได้เพิ่มบ้าง
หาช่องทางการขาย : แน่นอนว่าบทความในตอนนี้เราจะมาพูดถึงการขายของออนไลน์ ฉะนั้น เราจะไม่พูดถึงการขายของตามตลาดนัดหรือแบบออฟไลน์กันนะครับ เนื่องจากว่าช่องทางการขายของออนไลน์ในยุคสมัยนี้มีให้คุณเลือกหลากหลาย ซึ่งอาจจะแบ่งการขายของออนไลน์ออกได้ดังนี้
2.1 การขายของออนไลน์ตามโซเชียลเน็ตเวิร์ค เช่น Facebook, Line, Instagram, Twitter, YouTube, Tiktok เป็นต้น ต้องบอกเลยว่าแอปพลิเคชั่นเหล่านี้เป็นเครื่องมือการขายของออนไลน์ให้กับคนใกล้ตัวในช่วงแรก จนไปถึงการแลกเปลี่ยนขอการติดต่อกับเพื่อนใหม่ในแอปพลิเคชั่นทั้งหมดนี้ เพื่ออย่างน้อยกลุ่มลูกค้าที่คุณตั้งเป้าหมายไว้จะได้รับรู้ว่าคุณกำลังจะทำอะไรอยู่ จนไปถึงสามารถปิดการขายของในกลุ่มคนที่เป็นเพื่อนกับคุณในแอปพลิเคชั่นเหล่านี้ได้อีกด้วย
2.2 ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ เช่น Lazada, Shopee ที่เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับคนที่เน้นขายของออนไลน์เป็นหลัก สามารถเริ่มขายได้เลยโดยไม่ต้องเสียเงินในการสมัครและมีผู้ยอดเข้าใช้งานต่อวันเป็นจำนวนหลายแสนคน ซึ่งถือว่าเป็นแอปพลิเคชั่นที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย
การตั้งราคาสินค้า : ที่จริงแล้วการตั้งราคาสินค้าเป็นเรื่องที่ไม่ตายตัว บางคนอาจจะเลือกตั้งราคาเดียวกันหรือใกล้เคียงกับคนที่ขายสินค้าประเภทเดียวกับคุณ หรือแม้แต่จะตั้งราคาสินค้าตามเงินในกระเป๋าของลูกค้า ตั้งราคาตามใจคุณ (ต้องแน่ใจก่อนว่าสินค้าของคุณมีความแตกต่าง) ซึ่งในการตั้งราคาสินค้าแต่ละครั้งคุณต้องดูถึงความเหมาะสมของสินค้านั้น ๆ ด้วย เพราะบางทีก็อาจจะมีกลุ่มคนที่เน้นคุณภาพไม่เน้นราคา หรือว่าเน้นราคาคุณภาพปานกลางก็มี ฉะนั้น เรื่องนี้คุณต้องคิดอย่างรอบคอบรวมไปจนถึงการคำนวนเรื่องต้นทุนสินค้าที่คุณกำลังจะลงทุนในอนาคต เพราะเมื่อไหร่ที่คุณตั้งราคาผิด ถึงแม้คุณขายดีแค่ไหนยังไงคุณก็เจ๊งได้ เพราะราคาสินค้าที่คุณได้ขายไปต่อชิ้นนั้น อาจไม่คุ้มเมื่อมาหักลบกลบหนี้ต้นทุนทั้งหมด
ขั้นตอนที่ 4
การทำการตลาด : ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ให้คุณเริ่มทำการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เลือกแล้วและถือว่าเป็นการสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่คุณวางไว้ โดยที่คุณต้องเริ่มทำเรื่องราวหรือประกาศออกไปว่าคุณกำลังจะขายของอะไรให้กับกลุ่มเป้าหมายบนโซเชียลมีเดียทุกช่องทาง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้มากถึงมากที่สุด หรือถ้าหากใครมีต้นทุนก็อาจจะต้องใช้งบในส่วนนี้ช่วยในการทำการตลาด แต่ถ้าหากใครไม่มีทุนในการทำธุรกิจมากมายการโพสต์หรือทำคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียให้ได้ทุกวันอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น วันหนึ่งอาจโพสต์ไลฟ์สไตล์และคอนเทนต์สินค้า ประมาณ 3-5 โพสต์ต่อวัน ก็สามารถช่วยได้เพราะความถี่ในการโฆษณาถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีทางหนึ่งเพียงแต่คุณต้องทำเองให้ได้อย่างสม่ำเสมอ
ปิดการขาย : สิ่งนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อลูกค้าติดต่อเข้ามาสอบถาม แล้วคุณจะต้องทำการปิดการขายให้ได้ นั่นเอง ซึ่งการขายสินค้าเราควรจะมีอะไรมาดึงดูดลูกค้าอย่างโปรโมชั่นนั้นก็สำคัญ อาทิเช่น สมมุติว่าคุณขายรองเท้าผ้าใบสำหรับพนักงานโรงงาน แต่ลูกค้าเป็นพนักงานจากโรงงานอื่น คุณอาจจะมีโปรโมชั่นซื้อรองเท้า 2 คู่ขึ้นไปส่งฟรี ให้สิทธิ์เพียง 3 ท่านเท่านั้น เพื่อทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้เร็วขึ้น และปิดการขายได้ในที่สุด แล้วเก็บรายชื่อของคนที่สนใจไปจนถึงเก็บมัดจำเพื่อนำเงินเหล่านี้ไปซื้อสินค้าโดยที่คุณแทบจะไม่ได้ลงทุน และเพื่อเช็คให้ชัวร์ว่าเขาซื้อสินค้าของเราจริง ๆ นั่นเอง
ดังนั้น 5 ขั้นตอนสำหรับการเริ่มต้นขายของออนไลน์ ที่ผมให้ไว้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแนวคิด ที่คุณสามารถลองนำไปปรับใช้กับธุรกิจออนไลน์ของคุณดูนะครับ ส่วนเรื่องที่ว่าคุณจะหาของอะไรจากแหล่งไหน เห็นทีว่าผมจะเล่าในบทความนี้คงไม่หมด แต่คุณสามารถตามต่อได้ในบทความถัดไปได้นะครับ สำหรับวันนี้ใครมีแนวคิดเหมือนกันกับผมหรือไม่เหมือนในจุดไหนสามารถคอมเมนต์แชร์ไอเดียมาได้ตามคอมเมนต์ด้านล่างนี้เลยนะครับ