จากสถานการณ์โควิด ทำให้บริษัทหลายๆบริษัท โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กที่อาจได้รับผลกระทบจากโควิด หรือเหตุผลด้านอื่นๆ ที่นายจ้างอาจหยิบยกมาเป็นประเด็นการให้ลูกน้องลาออกด้วยเหตุผลและวิธีการแปลกๆได้
โดยส่วนตัวเคยประสบเหตุการณ์นี้ด้วยตัวเองจากการทำงานกับบริษัท Startup และบริษัท Agency
เหตุการณ์จากบริษัท Startup ได้รับเหตุผลที่ว่า “ทางเราจะให้คุณไปทำงานกับองค์กรที่ดีกว่า ที่แมทกว่า เราคิดว่า Performance ของคุณยังไม่ดีพอ” ซึ่งตอนนั้นผ่านโปรแล้วนะ และยังทำยอดขาย New-high ด้วยซ้ำ ซึ่งเมื่อเราถามกลับไปว่า Performance เราไม่ดียังไง ก็ได้รับคำตอบว่า สะกดคำในสไลด์ผิดบ้าง เป็นเรื่อง Typo เวลาเกิดปัญหาเราไม่เคย Standout ออกมาประกาศว่าเป็นคนผิด ซึ่งความผิดก็ไม่ได้มาจากเราโดยตรง แต่เราก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความผิดแหละ และพยายามหาทางแก้ไขทุกครั้ง แค่ไม่ได้เป็นคน Show up หรือ take credit ในการแก้ปัญหา ซึ่งคนอื่นๆรับรู้ แต่ทำไมเค้าไม่รู้นะ หรือเรื่องที่ขนาดเพื่อนๆฟังเหตุผลแล้วก็ยัง ห้ะ?? โดยตั้งแต่เข้ามาทำงาน ได้รับเงินเดือนเต็มเดือนตามที่ตกลงไว้เพียงแค่ 1-2 เดือน หลังจากนั้นได้ในเรทที่ลดมากกว่า 30% มาโดยตลอด แต่เวลาทำงานนี่เต็มที่นะ และยังมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งกลางคืนในวันธรรมดา วันหยุด ง่ายๆคือ ไม่มีเวลาพักเลย เพราะเป็น Startup แถมเรายังรู้ด้วยซ้ำว่า ได้รับน้องจบใหม่มาแทนเรา ซึ่งมันไม่เมคเซนส์เอาซะเลย
เหตุการณ์จากบริษัท Agency ตอนนั้นคิดว่าเข้าไปเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยมีการตกลงฐานเงินเดือนที่ลดไปกว่า 1 หมื่นบาท จากเหตุผลว่าไม่มีประสบการณ์ และจ้างเราให้ไปเรียนรู้ เราเลยตกลง เพราะคิดว่าแลกกับสิ่งที่เราจะได้เรียน เหตุการณ์มันเริ่มบานปลายเมื่อเรามีการถามคำถามเกี่ยวกับตัว KPI บางข้อ ซึ่ง KPI เยอะมากกกกกกก ว่าตัวเลขคิดจากอะไร เพราะในตอนนั้นมีคนผ่าน KPI ตัวนี้แค่ 4-5 คน จากทั้งหมด 10 กว่าคน ซึ่งเราเองรู้สึกว่ามันแปลกๆ และได้เสนอความเห็นว่า ถ้าไม่ทำแบบนี้ สามารถแก้ปัญหาแบบนี้ๆตามสิ่งที่เราคิด พอจะเป็นไปได้มั้ย รวมถึงเราเคยฟีดแบ็คเกี่ยวกับการคุยงานของหัวหน้าบางคนว่ามีการใช้อารมณ์มากเกินไป อยากคุยกันเป็นในเชิงวางแผน ใช้เหตุผลคุยกัน หาว่าจะแก้ปัญหากันยังไงมากกว่า ซึ่งทำให้เราถูกเรียกคุย โดยคนที่มาคุยก็ไม่ใช่คนที่ทำงานกับเราโดยตรง แกมบังคับให้เราเซนต์ลาออก โดยให้เหตุผลว่า เราอยู่ไปจะไม่มีความสุข เพราะเค้าตอบคำถามเราไม่ได้ ตัวเลขนี้เค้าเซทกันเป็น Global Std. มันคือบัญชาจากสวรรค์ และบอกว่าจะให้เงินช่วยเหลือเรา 15 วัน ซึ่งมันคือหลุมพราง อย่าหลงกลเด็ดขาด
ซึ่งเราโชคดีที่เราตั้งสติทันทั้ง 2 เหตุการณ์ และได้อัดเสียงตลอดการสนทนาทั้งหมดไว้ ไม่งั้นเราก็จะกลายเป็นคนผิด เพราะเป็นเพียงพนักงานตัวน้อยๆ
วันนี้เราเลยรวบรวมความกล้า และความปรารถนาดี เพราะเราเริ่มเห็นหลายๆคนเจอปัญหาแบบที่เราเคยเจอ เรามีเจตนาเพียงแค่อยากให้ทุกคนรักษาสิทธิที่ทุกคนควรจะได้รับเท่านั้น โดยเราจะพยายามสรุปตามนี้นะ
อย่างแรกเลยเช็คก่อนว่าเราได้ทำผิดหรือละเมิดข้อไหนในมาตรา 119 รึป่าว? โดย มาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติถึงเหตุอันสมควรซึ่งนายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยที่ลูกจ้างคนดังกล่าวไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ กับนายจ้างได้เลย กล่าวคือ ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าชดเชยจากการถูกเลิกจ้างกับนายจ้างได้ โดยเหตุอันสมควร มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
2. ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
3. ลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
4. ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
5. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
6. ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด หากเป็นความผิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายด้วย
หากเช็คดูแล้วเราไม่ได้ทำผิดอะไรเลย เราไปดูสิทธิของเรากันต่อได้เลย
1. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
3. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
5. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า นอกจากค่าชดเชยตามมาตรา 118 ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วันหรือ 60 วัน
ซึ่งบริษัทจะไม่สามารถขู่พนักงานว่า “ไม่ผ่านโปร” ได้ เพราะในกฎหมายระบุอย่างชัดเจนว่าถือเป็นพนักงานตั้งแต่เข้าทำงาน หากเราได้รับเหตุผลที่ไม่เป็นธรรมแบบที่เรายกตัวอย่างของเราให้ฟัง แนะนำว่าเราควรรักษาสิทธิของเราอย่างเต็มที่ (ทั้งนี้ในความคิดเห็นส่วนตัวของเรา ในกรณีที่มีการแจ้ง KPI กันชัดเจน และเราไม่สามารถทำตาม KPI นั้นได้จริงๆ ก็ถือซะว่าเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน) และอีกข้อนึง คือ ให้บริษัททำเอกสารบอกกล่าวให้ชัดเจน เพื่อเราจะได้ใช้เอกสารนั้นเป็นข้อมูลดูว่าเค้าติดค้างอะไรกับเราไว้ และเพื่อเป็นการป้องกันการพาดพิงถึงสิ่งที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับเรา
ทั้งนี้หากเกิดเหตุการณ์กดดัน บีบบังคับให้เซนต์เอกสารลาออก อย่า อย่าเพิ่งเซนต์อะไรเด็ดขาด อาจจะขอกลับไปคิดดูก่อนก็ได้ อีกทั้งเรายังสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่กรมแรงงานเพื่อปรึกษาได้
https://lb.mol.go.th/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95...
0 2232 1462-4 หรือสายด่วน 1506
เราจะไม่ Romanticized ว่าสิ่งที่เราเจอคือสิ่งที่ดี ทำให้เราโตขึ้น เราอยากจะประณามระบบเฮงซวยในประเทศนี้ ที่ทำให้เราตัวเล็กซะจนถูกเอาเปรียบได้ในทุกๆด้าน ทุกๆภาคส่วน และคนส่วนใหญ่จะต้องจำยอมไม่ออกเสียงปกป้องสิทธิของตัวเอง เพราะกลัวบริษัทจะพาดพิงถึงเราไม่ดี หรือถ้าไม่ยอมโดนกดในเรื่องต่างๆ ก็อาจจะเจอเหตุการณ์ต่างๆแบบที่เราเจอ จึงจำเป็นต้องยอมเพราะถ้าไม่ยอมหมายถึงการที่จะไม่มีงานทำ หรืออยู่ๆก็จะเอาใครออกโดยบอกเหตุผลอะไรก็ได้
สุดท้ายนี้ เราขอชื่นชมผู้ประกอบการอีกหลายๆท่าน ที่ในสถานการณ์แบบนี้ก็ดูแลพนักงาน และไม่ถือโอกาสในการเอาเปรียบ และขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนที่อาจจะกำลังอยู่ในสถานการณ์อย่างที่เราเคยเจอให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
หากถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ควรทำอย่างไรดี?
โดยส่วนตัวเคยประสบเหตุการณ์นี้ด้วยตัวเองจากการทำงานกับบริษัท Startup และบริษัท Agency
เหตุการณ์จากบริษัท Startup ได้รับเหตุผลที่ว่า “ทางเราจะให้คุณไปทำงานกับองค์กรที่ดีกว่า ที่แมทกว่า เราคิดว่า Performance ของคุณยังไม่ดีพอ” ซึ่งตอนนั้นผ่านโปรแล้วนะ และยังทำยอดขาย New-high ด้วยซ้ำ ซึ่งเมื่อเราถามกลับไปว่า Performance เราไม่ดียังไง ก็ได้รับคำตอบว่า สะกดคำในสไลด์ผิดบ้าง เป็นเรื่อง Typo เวลาเกิดปัญหาเราไม่เคย Standout ออกมาประกาศว่าเป็นคนผิด ซึ่งความผิดก็ไม่ได้มาจากเราโดยตรง แต่เราก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความผิดแหละ และพยายามหาทางแก้ไขทุกครั้ง แค่ไม่ได้เป็นคน Show up หรือ take credit ในการแก้ปัญหา ซึ่งคนอื่นๆรับรู้ แต่ทำไมเค้าไม่รู้นะ หรือเรื่องที่ขนาดเพื่อนๆฟังเหตุผลแล้วก็ยัง ห้ะ?? โดยตั้งแต่เข้ามาทำงาน ได้รับเงินเดือนเต็มเดือนตามที่ตกลงไว้เพียงแค่ 1-2 เดือน หลังจากนั้นได้ในเรทที่ลดมากกว่า 30% มาโดยตลอด แต่เวลาทำงานนี่เต็มที่นะ และยังมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งกลางคืนในวันธรรมดา วันหยุด ง่ายๆคือ ไม่มีเวลาพักเลย เพราะเป็น Startup แถมเรายังรู้ด้วยซ้ำว่า ได้รับน้องจบใหม่มาแทนเรา ซึ่งมันไม่เมคเซนส์เอาซะเลย
เหตุการณ์จากบริษัท Agency ตอนนั้นคิดว่าเข้าไปเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยมีการตกลงฐานเงินเดือนที่ลดไปกว่า 1 หมื่นบาท จากเหตุผลว่าไม่มีประสบการณ์ และจ้างเราให้ไปเรียนรู้ เราเลยตกลง เพราะคิดว่าแลกกับสิ่งที่เราจะได้เรียน เหตุการณ์มันเริ่มบานปลายเมื่อเรามีการถามคำถามเกี่ยวกับตัว KPI บางข้อ ซึ่ง KPI เยอะมากกกกกกก ว่าตัวเลขคิดจากอะไร เพราะในตอนนั้นมีคนผ่าน KPI ตัวนี้แค่ 4-5 คน จากทั้งหมด 10 กว่าคน ซึ่งเราเองรู้สึกว่ามันแปลกๆ และได้เสนอความเห็นว่า ถ้าไม่ทำแบบนี้ สามารถแก้ปัญหาแบบนี้ๆตามสิ่งที่เราคิด พอจะเป็นไปได้มั้ย รวมถึงเราเคยฟีดแบ็คเกี่ยวกับการคุยงานของหัวหน้าบางคนว่ามีการใช้อารมณ์มากเกินไป อยากคุยกันเป็นในเชิงวางแผน ใช้เหตุผลคุยกัน หาว่าจะแก้ปัญหากันยังไงมากกว่า ซึ่งทำให้เราถูกเรียกคุย โดยคนที่มาคุยก็ไม่ใช่คนที่ทำงานกับเราโดยตรง แกมบังคับให้เราเซนต์ลาออก โดยให้เหตุผลว่า เราอยู่ไปจะไม่มีความสุข เพราะเค้าตอบคำถามเราไม่ได้ ตัวเลขนี้เค้าเซทกันเป็น Global Std. มันคือบัญชาจากสวรรค์ และบอกว่าจะให้เงินช่วยเหลือเรา 15 วัน ซึ่งมันคือหลุมพราง อย่าหลงกลเด็ดขาด
ซึ่งเราโชคดีที่เราตั้งสติทันทั้ง 2 เหตุการณ์ และได้อัดเสียงตลอดการสนทนาทั้งหมดไว้ ไม่งั้นเราก็จะกลายเป็นคนผิด เพราะเป็นเพียงพนักงานตัวน้อยๆ
วันนี้เราเลยรวบรวมความกล้า และความปรารถนาดี เพราะเราเริ่มเห็นหลายๆคนเจอปัญหาแบบที่เราเคยเจอ เรามีเจตนาเพียงแค่อยากให้ทุกคนรักษาสิทธิที่ทุกคนควรจะได้รับเท่านั้น โดยเราจะพยายามสรุปตามนี้นะ
อย่างแรกเลยเช็คก่อนว่าเราได้ทำผิดหรือละเมิดข้อไหนในมาตรา 119 รึป่าว? โดย มาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติถึงเหตุอันสมควรซึ่งนายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยที่ลูกจ้างคนดังกล่าวไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ กับนายจ้างได้เลย กล่าวคือ ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าชดเชยจากการถูกเลิกจ้างกับนายจ้างได้ โดยเหตุอันสมควร มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
2. ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
3. ลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
4. ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
5. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
6. ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด หากเป็นความผิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายด้วย
หากเช็คดูแล้วเราไม่ได้ทำผิดอะไรเลย เราไปดูสิทธิของเรากันต่อได้เลย
1. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
3. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
5. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า นอกจากค่าชดเชยตามมาตรา 118 ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วันหรือ 60 วัน
ซึ่งบริษัทจะไม่สามารถขู่พนักงานว่า “ไม่ผ่านโปร” ได้ เพราะในกฎหมายระบุอย่างชัดเจนว่าถือเป็นพนักงานตั้งแต่เข้าทำงาน หากเราได้รับเหตุผลที่ไม่เป็นธรรมแบบที่เรายกตัวอย่างของเราให้ฟัง แนะนำว่าเราควรรักษาสิทธิของเราอย่างเต็มที่ (ทั้งนี้ในความคิดเห็นส่วนตัวของเรา ในกรณีที่มีการแจ้ง KPI กันชัดเจน และเราไม่สามารถทำตาม KPI นั้นได้จริงๆ ก็ถือซะว่าเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน) และอีกข้อนึง คือ ให้บริษัททำเอกสารบอกกล่าวให้ชัดเจน เพื่อเราจะได้ใช้เอกสารนั้นเป็นข้อมูลดูว่าเค้าติดค้างอะไรกับเราไว้ และเพื่อเป็นการป้องกันการพาดพิงถึงสิ่งที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับเรา
ทั้งนี้หากเกิดเหตุการณ์กดดัน บีบบังคับให้เซนต์เอกสารลาออก อย่า อย่าเพิ่งเซนต์อะไรเด็ดขาด อาจจะขอกลับไปคิดดูก่อนก็ได้ อีกทั้งเรายังสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่กรมแรงงานเพื่อปรึกษาได้
https://lb.mol.go.th/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95...
0 2232 1462-4 หรือสายด่วน 1506
เราจะไม่ Romanticized ว่าสิ่งที่เราเจอคือสิ่งที่ดี ทำให้เราโตขึ้น เราอยากจะประณามระบบเฮงซวยในประเทศนี้ ที่ทำให้เราตัวเล็กซะจนถูกเอาเปรียบได้ในทุกๆด้าน ทุกๆภาคส่วน และคนส่วนใหญ่จะต้องจำยอมไม่ออกเสียงปกป้องสิทธิของตัวเอง เพราะกลัวบริษัทจะพาดพิงถึงเราไม่ดี หรือถ้าไม่ยอมโดนกดในเรื่องต่างๆ ก็อาจจะเจอเหตุการณ์ต่างๆแบบที่เราเจอ จึงจำเป็นต้องยอมเพราะถ้าไม่ยอมหมายถึงการที่จะไม่มีงานทำ หรืออยู่ๆก็จะเอาใครออกโดยบอกเหตุผลอะไรก็ได้
สุดท้ายนี้ เราขอชื่นชมผู้ประกอบการอีกหลายๆท่าน ที่ในสถานการณ์แบบนี้ก็ดูแลพนักงาน และไม่ถือโอกาสในการเอาเปรียบ และขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนที่อาจจะกำลังอยู่ในสถานการณ์อย่างที่เราเคยเจอให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี