วาทกรรมเดิม ๆ ของกลุ่มคนไม่ชอบหาข้อมูล !

ประเทศไทยผลิตน้ำมันเองได้ แต่ขายให้คนในประเทศแพงกว่าส่งออก
ประเทศไทยผลิตน้ำมันเองได้ แต่กลับอ้างอิงราคาตลาดโลก
น้ำมันแพงไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน
รณรงค์ไม่เติม ปตท. เพราะราคาน้ำมันแพง

... ประโยคเหล่าเนี้ย คนใช้น้ำมันหลายคนเคยได้ยินได้เห็นกันบ่อย ๆ รวมถึงตัว จขกท. เองด้วย มันเป็นประโยคเดิม ๆ คำพูดเดิม ๆ ซ้ำซาก วนเวียนไม่รู้จบ ไม่มีการอัปเดตประโยคอะไรออกมาพูดเลย  มันสะท้อนให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพของข้อมูลจากตัวคนพูดมาก (จะหาว่าแรงก็แรงเถอะ แต่มันคือเรื่องจริง!)

การที่ จขกท. ออกมาเขียนเรืองนี้อยู่บ่อยครั้ง ไม่ได้ต้องการเป็นศัตรูกับฝ่ายใด เพียงแต่ต้องการให้คนที่ออกมาพูดเรื่องประเด็นราคาน้ำมัน หาข้อมูลให้ดีกว่านี้ก่อน ข้อมูลมีให้อ่านเยอะแยะ แต่ไม่คิดจะศึกษากัน 


อย่างภาพนี้ค่อนข้างอธิบายข้อมูลได้เข้าใจง่าย โดยสรุปเลยว่า ไทยเนี่ยขุดน้ำมันได้จริงนะ แต่มันไม่ได้มากพอต่อการใช้งานจริงเลย จึงต้องนำเข้าน้ำมันกว่า 80%

แล้วทำไมน้ำมันต้องอ้างอิงราคาตลาดโลกหรือ อ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ นึกภาพออกไหมว่าบ้านเรามีการซื้อขายน้ำมัน ถ้าไม่มีราคาตลาดอ้างอิง จะเป็นอย่างไร? ก็ซื้อขายไม่ได้ไง อีกอย่าง มันสะท้อนราคาที่แท้จริงโดยรวมของตลาดน้ำมันขณะนั้นด้วย

ทำไมไทยขายน้ำมันให้ต่างชาติถูก แต่ขายในประเทศแพง ก็เพราะว่า ไอ้ราคาที่เข้าซื้อขายกัน มันเป็นราคาเนื้อน้ำมันล้วน ๆ ไม่ได้มีเรื่องของภาษีจากรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง มันอยู่ที่นโยบายโครงสร้างราคาของแต่ละประเทศ เพราะฉะนั้น ที่น้ำมันไทยมีราคาสูงกว่าบางประเทศเพื่อนบ้านที่ชอบมาอ้างกัน เพราะรัฐไทยเก็บภาษีน้ำมันเยอะ แถมยังมีพวกกองทุนน้ำมันอีก แต่กลับกัน ประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลบ้านเขา มีการเก็บภาษีน้ำมันแตกต่างกันไป แล้วแต่ประเทศนั้น ๆ

สุดท้าย ไม่ว่าคุณจะเติมน้ำมันปั๊มไหน ๆ คุณก็หนีไม่พ้นโครงสร้างราคาน้ำมัน ที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาลไทยหรอก ทุกปั๊มราคาน้ำมันเท่ากันหมด การที่เห็นคนออกมาให้รณรงค์ ไม่เติมปั๊ม ปตท. ส่วนตัวมองว่า คุณคิดตื้นมากก คุณได้ทำร้ายเพื่อนคนไทยด้วยกันโดยไม่รู้ตัว เพราะมากกว่า 80% เจ้าของปั๊ม PTT คือผู้ประกอบการที่เป็นประชาชนทั่วไป เวลาเกิดการแบนปั๊มขึ้น พวกเขาเหล่านี้ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ 

อยากจะให้แก้ไขราคาน้ำมัน ต้องบอกรัฐบาลให้ดูแลคนใช้น้ำมัน จากภาษีและกองทุนน้ำมันที่เหมาะสมกว่านี้ คนใช้น้ำมันที่ดี ต้องเข้าใจเรื่องราคาน้ำมัน และไม่ผลักภาระไปที่ผู้ประกอบการ เพราะต้นเหตุมันอยู่ที่โครงสร้างภาษีและกองทุนน้ำมัน ที่รัฐบาลมีอำนาจการจัดการ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่