คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
เมื่อวานเค้าออกรายใน Thai PBS ด้วยนะ
ผมนั่งๆดู ถ้าผิวเผิน นี่พูดได้จริงนะ แถวยังมีชมรัฐบาลนายกปูด้วย ว่าเจ๊รสฯเห็นด้วยกับยกเลิกกองทุน
พอแกขึ้น Chart เท่านั้นแหละ เข้าใจเลย
เล่นเอาเบนซิน95 เป็นตัวตั้งแล้วแจกแจงอย่างเดียว ซึ่งแน่หละ เบนซิน95 ไม่สนับสนุนให้ใช้ เลยมีการเก็บจิปาถะให้แพงๆเข้าไว้เพื่อจูงใจให้คนเลิกใช้ เจ๊รสฯ เล่นโชว์เทียบกับเบนซิน95 ล้วนๆอย่างเดียว แหม๋...เข้าใจหลบข้อมูลจริงๆเล้ย
ผมนั่งๆดู ถ้าผิวเผิน นี่พูดได้จริงนะ แถวยังมีชมรัฐบาลนายกปูด้วย ว่าเจ๊รสฯเห็นด้วยกับยกเลิกกองทุน
พอแกขึ้น Chart เท่านั้นแหละ เข้าใจเลย
เล่นเอาเบนซิน95 เป็นตัวตั้งแล้วแจกแจงอย่างเดียว ซึ่งแน่หละ เบนซิน95 ไม่สนับสนุนให้ใช้ เลยมีการเก็บจิปาถะให้แพงๆเข้าไว้เพื่อจูงใจให้คนเลิกใช้ เจ๊รสฯ เล่นโชว์เทียบกับเบนซิน95 ล้วนๆอย่างเดียว แหม๋...เข้าใจหลบข้อมูลจริงๆเล้ย
ความคิดเห็นที่ 103
ตรรกกะเพื้ยนๆ อีกอย่าง คือ เอา PETRONAS มาเปรียบเทียบกับ PTT แล้วบอกว่า น้ำมันมาเลย์ ขายถูกกว่า แต่ทำไมกำไรของ PETRONAS มากกว่า PTT แสดงว่า PTT กำไรน้อย กว่าที่ควรจะเป็น
ลองเอาชุดความคิดนี้มาเปรียบเทียบกับ ชุดความคิดที่ว่า น้ำมันแพงเพราะ PTT บวกกำไรเข้าไปมาก เพื่อเอากำไรไปให้ผู้ถือหุ้น จะเห็นได้ว่า ขัดแย้งกันเองอยู่
มีบทความที่อยากให้ได้อ่านกัน
ผลประกอบการ ปตท. : จำเลยสังคม ? (1)
โดย : พิสุทธิ์ ชลากรกุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ( สมัย รัฐบาลอภิสิทธิ คงไม่มีความลำเอียง ช่วยแก้ตัวแทนแม้ว แน่ๆ )
สิ้นปีและต่อเนื่องเริ่มต้นปีใหม่ทุกปี ปตท.จะถูกจับตามองผลประกอบการว่าเป็นอย่างไร กำไรมากน้อยแค่ไหนแล้วก็ตามด้วยการถูกจับขึงพืดเป็นจำเลยของสังคมไทยตลอดมา โดยทั่วไปหลักๆ ที่โดนทุกปี ก็จะถูกกล่าวหาว่าค้ากำไรเกินควร ไม่เห็นใจประชาชนคนไทย เอาเปรียบประชาชน ขึ้นราคาเร็ว ลงราคาช้า เป็นต้น ข้อกล่าวหาเหล่านี้ มีขาประจำทั้งจาก ประชาชนทั่วไป ทั้งจาก ส.ส. และ ส.ว. รวมทั้ง NGO ทั้งหลาย
เรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกที่สุดเป็นอย่างยิ่ง ที่ ปตท.เอง ไม่ว่าจะเป็นส่วนงานบริหารระดับบน งานสื่อสารองค์กร งานการตลาด หรือแม้กระทั่งระดับบอร์ด หรือคณะกรรมการเอง ก็ไม่สามารถออกมาชี้แจงอย่างชัดเจนให้เป็นตัวเลขที่เป็นรูปธรรมได้ ซึ่งก็น่าแปลกใจที่องค์กรขนาดใหญ่ระดับรายได้ต่อปีเฉียด 2 ล้านล้านบาท เท่ากับงบประมาณทั้งปีของประเทศไทยเลย ไม่สามารถชี้แจงต่อสังคมได้ ตกเป็นจำเลยของสังคมทุกปี ดังนั้น ก่อนที่ผลประกอบการประจำปี 2553 จะประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ และก่อนที่สังคมจะร่วมกันฉีกทิ้ง ปตท.เหมือนกับปีที่ผ่านๆ มา ลองมาดูข้อมูลให้ชัดเจนก่อน ข้อมูลเหล่านี้ ไม่ใช่ข้อมูลลับลมคมในแต่อย่างใด เป็นข้อมูลที่เปิดเผยของตลาดหลักทรัพย์ ของสำนักรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ของสภาพัฒน์ของตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ของเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ แต่ไม่มีการนำเรียบเรียงเป็นเรื่องเป็นราวให้ชัดเจน ซึ่งเมื่อประมวลออกมาหมดแล้ว สามารถแก้ข้อกล่าวหาต่างๆ ได้เกือบทั้งหมดร้อยละ 99 โดยเฉพาะในแง่ของการค้ากำไรเกินควรหรือไม่ ลองพิจารณาดูครับ
การวิเคราะห์ผลประกอบการของ ปตท.ว่าเหมาะสม ค้ากำไรเกินควรหรือไม่ เอาเปรียบประชาชนอย่างไรนั้น ดูตัว ปตท. เองอย่างเดียวไม่ได้ เพราะไม่เห็นอะไรชัดเจน ต้องเปรียบเทียบผลประกอบการกับองค์กรอื่นๆ จึงจะทราบ วิธีการเปรียบเทียบ ก็จะต้องทำโดยละเอียด มิใช่เปรียบเทียบในมิติเดียว เช่นเปรียบเทียบกับ บริษัทค้าน้ำมันด้วยกันเอง เป็นต้น แต่จะต้องดูในหลายๆ มิติ ในทุกๆ ด้านว่า เหมาะสม มากน้อยอย่างไร ถ้าเปรียบเทียบในมิตินั้นๆ แล้ว ปตท.อยู่ตรงไหน
ดังนั้น ในที่นี้ จะเปรียบเทียบผลประกอบการของ ปตท. กับองค์กรอื่นๆ ใน 4 มิติใหญ่ๆ ตามสถานะที่ ปตท. ดำรงอยู่ ดังต่อไปนี้
1. ปตท. จัดอยู่ในจำพวกบริษัทด้านพลังงาน ดังนั้น ต้องเปรียบเทียบผลประกอบการกับกลุ่มพลังงาน
2. ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นต้องนำรัฐวิสาหกิจอื่นๆ มาเปรียบเทียบผลประกอบการว่าเป็นอย่างไร
3. ปตท. ในแง่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น ต้องนำบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มาเทียบเคียงว่าเป็นอย่างไร มีกำไรมากกว่าบริษัทดังกล่าวหรือไม่
4. ปตท. เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติไทย ดังนั้นต้องนำผลประกอบการของบริษัทน้ำมันแห่งชาติอื่นๆ มาเปรียบเทียบดูว่าเป็นอย่างไร
ตามสถานะของ ปตท.ที่ประกอบการอยู่นั้น ไม่มีสถานะอื่นใด จาก 4 สถานะดังกล่าวข้างต้นแล้ว คือ ปตท. เป็น บริษัทด้านพลังงาน เป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นบริษัท น้ำมันแห่งชาติ ดังนั้น เราจึงนำ ปตท.ไปเปรียบเทียบกับหน่วยงานทั้ง 4 ด้านดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร มาดูรายละเอียดกันเลยตามตารางต่างๆ ดังนี้
มิติที่ 1 เปรียบเทียบกับกลุ่มพลังงานด้วยกันเอง จากตารางที่ 1 จะสังเกตเห็นว่าในปี 2552 ปตท. ที่ยอดขาย 1.6 ล้านล้านบาท มีกำไรประมาณ 59,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.67 ของกำไรสุทธิเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับ ไทยออยล์, IRPC, ESSO และบางจาก ที่เป็นโรงกลั่นน้ำมันด้วยกัน มีกำไร ร้อยละ 4.20, 3.24, 2.73 และ 6.52 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นระดับที่ใกล้เคียงกัน มิได้ค้ากำไรเกินควรแต่อย่างใด
ในกลุ่มพลังงานนี้ ในตารางจะเห็นว่า บ้านปู ราชบุรีโฮลดิ้ง GLOW ทำกำไรมากถึงร้อยละ 20.60, 17.90 และ 11.79 ตามลำดับ ซึ่งมากกว่า ปตท.เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EGCO มีกำไรจากยอดขายถึงร้อยละ 50.07 ในปี 2552 และร้อยละ 44.95 ในปี 2551 ซึ่งน่าจะเป็นจำเลยของสังคมมากกว่าด้วยซ้ำ ขอย้ำว่าตัวเลขผลประกอบการเหล่านี้ทั้งหมด เป็นตัวเลขเปิดเผยทั่วไป สามัญชนทุกคนสามารถหาได้ ไม่เป็นความลับแต่อย่างใด
ดังนั้น ในมิติแรก ที่นำ ปตท.ไปเปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มพลังงาน จะเห็นได้ชัดเจนว่า ปตท. มีผลประกอบการที่ต่ำมาก คือเพียงร้อยละ 3.67 ในปี 2552 และร้อยละ 2.56 ในปี 2551 เท่านั้น ซึ่งถือว่าหมิ่นเหม่ต่อศักยภาพในการรักษาอัตรากำไรไว้ เพราะถ้ามีปัจจัยอื่นๆ ที่รุนแรง เกิดขึ้น เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ราคาน้ำมันตลาดโลก ต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการกลั่น รวมทั้งผลผลิตจากการกลั่นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ตลอดจนยอดขายลดลงจนไม่ได้ Economy of Scale ของแต่ละผลิตภัณฑ์ ก็มีโอกาสขาดทุนได้
โดยสรุปแล้วในมิติแรกนี้ ถือว่า ปตท. ผ่านเกณฑ์การที่ “ไม่สมควรเป็นจำเลยของสังคม” ในเรื่องของการค้ากำไรเกินควรครับ
มิติที่ 2 เปรียบเทียบในฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ กับกิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคทั้งหลาย จากตารางที่ 2 นี้ เป็นการเปรียบเทียบในฐานะที่ ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจ จึงต้องเปรียบเทียบกับรัฐวิสาหกิจด้วยกันเอง เพื่อให้ทราบว่า ในฐานะรัฐวิสาหกิจ ปตท. เป็นผู้ร้ายของสังคมไทยหรือไม่ ซึ่งปรากฏว่าผลชัดเจนว่า ในบรรดารัฐวิสาหกิจทั้งหมดของประเทศไทยนั้น ปตท. ทำกำไรจากยอดขายได้ต่ำสุดในกลุ่มรัฐวิสาหกิจเด่นๆ คือเพียงร้อยละ 3.67 ในปี 2552 และร้อยละ 2.56 เท่านั้น ในปี 2551 ขณะที่ รัฐวิสาหกิจที่เด่นๆ อื่นๆ ทำกำไรจากยอดรายได้ด้วยตัวเลข 2 หลักทั้งสิ้น เช่น ธนาคารกรุงไทย 16.98, ทศท. 10.36, กสท 22.00, ธ.ก.ส. 14.62, ออมสิน 37.19, กปน. 26.82, การท่าเรือ 24.50, การทางพิเศษ 33.70, อสมท 28.63, กนอ. 34.95
ยกตัวอย่างจากตาราง ธ.ออมสิน รายได้ 42,685 ล้านบาท รายได้น้อยกว่า ปตท. 38 เท่า แต่มียอดกำไรถึง 1 ใน 4 ของ ปตท. ทีเดียว กสท. มีรายได้น้อยกว่า ปตท. 29 เท่า แต่มีกำไรเป็นเม็ดเงินถึง 1 ใน 5 ของ ปตท.
ดังนั้น ในแง่ความเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว มีหน่วยงานอื่นน่าจะเป็นจำเลยสังคมมากกว่า และ ปตท. น่าจะสอบผ่านว่า ไม่ควรจะถูกเกลียดชังและมองในแง่ลบ ในบทบาทของความเป็นรัฐวิสาหกิจนี้
ติดตาม มิติที่ 3 และมิติที่ 4 ในวันพรุ่งนี้
ลองเอาชุดความคิดนี้มาเปรียบเทียบกับ ชุดความคิดที่ว่า น้ำมันแพงเพราะ PTT บวกกำไรเข้าไปมาก เพื่อเอากำไรไปให้ผู้ถือหุ้น จะเห็นได้ว่า ขัดแย้งกันเองอยู่
มีบทความที่อยากให้ได้อ่านกัน
ผลประกอบการ ปตท. : จำเลยสังคม ? (1)
โดย : พิสุทธิ์ ชลากรกุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ( สมัย รัฐบาลอภิสิทธิ คงไม่มีความลำเอียง ช่วยแก้ตัวแทนแม้ว แน่ๆ )
สิ้นปีและต่อเนื่องเริ่มต้นปีใหม่ทุกปี ปตท.จะถูกจับตามองผลประกอบการว่าเป็นอย่างไร กำไรมากน้อยแค่ไหนแล้วก็ตามด้วยการถูกจับขึงพืดเป็นจำเลยของสังคมไทยตลอดมา โดยทั่วไปหลักๆ ที่โดนทุกปี ก็จะถูกกล่าวหาว่าค้ากำไรเกินควร ไม่เห็นใจประชาชนคนไทย เอาเปรียบประชาชน ขึ้นราคาเร็ว ลงราคาช้า เป็นต้น ข้อกล่าวหาเหล่านี้ มีขาประจำทั้งจาก ประชาชนทั่วไป ทั้งจาก ส.ส. และ ส.ว. รวมทั้ง NGO ทั้งหลาย
เรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกที่สุดเป็นอย่างยิ่ง ที่ ปตท.เอง ไม่ว่าจะเป็นส่วนงานบริหารระดับบน งานสื่อสารองค์กร งานการตลาด หรือแม้กระทั่งระดับบอร์ด หรือคณะกรรมการเอง ก็ไม่สามารถออกมาชี้แจงอย่างชัดเจนให้เป็นตัวเลขที่เป็นรูปธรรมได้ ซึ่งก็น่าแปลกใจที่องค์กรขนาดใหญ่ระดับรายได้ต่อปีเฉียด 2 ล้านล้านบาท เท่ากับงบประมาณทั้งปีของประเทศไทยเลย ไม่สามารถชี้แจงต่อสังคมได้ ตกเป็นจำเลยของสังคมทุกปี ดังนั้น ก่อนที่ผลประกอบการประจำปี 2553 จะประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ และก่อนที่สังคมจะร่วมกันฉีกทิ้ง ปตท.เหมือนกับปีที่ผ่านๆ มา ลองมาดูข้อมูลให้ชัดเจนก่อน ข้อมูลเหล่านี้ ไม่ใช่ข้อมูลลับลมคมในแต่อย่างใด เป็นข้อมูลที่เปิดเผยของตลาดหลักทรัพย์ ของสำนักรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ของสภาพัฒน์ของตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ของเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ แต่ไม่มีการนำเรียบเรียงเป็นเรื่องเป็นราวให้ชัดเจน ซึ่งเมื่อประมวลออกมาหมดแล้ว สามารถแก้ข้อกล่าวหาต่างๆ ได้เกือบทั้งหมดร้อยละ 99 โดยเฉพาะในแง่ของการค้ากำไรเกินควรหรือไม่ ลองพิจารณาดูครับ
การวิเคราะห์ผลประกอบการของ ปตท.ว่าเหมาะสม ค้ากำไรเกินควรหรือไม่ เอาเปรียบประชาชนอย่างไรนั้น ดูตัว ปตท. เองอย่างเดียวไม่ได้ เพราะไม่เห็นอะไรชัดเจน ต้องเปรียบเทียบผลประกอบการกับองค์กรอื่นๆ จึงจะทราบ วิธีการเปรียบเทียบ ก็จะต้องทำโดยละเอียด มิใช่เปรียบเทียบในมิติเดียว เช่นเปรียบเทียบกับ บริษัทค้าน้ำมันด้วยกันเอง เป็นต้น แต่จะต้องดูในหลายๆ มิติ ในทุกๆ ด้านว่า เหมาะสม มากน้อยอย่างไร ถ้าเปรียบเทียบในมิตินั้นๆ แล้ว ปตท.อยู่ตรงไหน
ดังนั้น ในที่นี้ จะเปรียบเทียบผลประกอบการของ ปตท. กับองค์กรอื่นๆ ใน 4 มิติใหญ่ๆ ตามสถานะที่ ปตท. ดำรงอยู่ ดังต่อไปนี้
1. ปตท. จัดอยู่ในจำพวกบริษัทด้านพลังงาน ดังนั้น ต้องเปรียบเทียบผลประกอบการกับกลุ่มพลังงาน
2. ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นต้องนำรัฐวิสาหกิจอื่นๆ มาเปรียบเทียบผลประกอบการว่าเป็นอย่างไร
3. ปตท. ในแง่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น ต้องนำบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มาเทียบเคียงว่าเป็นอย่างไร มีกำไรมากกว่าบริษัทดังกล่าวหรือไม่
4. ปตท. เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติไทย ดังนั้นต้องนำผลประกอบการของบริษัทน้ำมันแห่งชาติอื่นๆ มาเปรียบเทียบดูว่าเป็นอย่างไร
ตามสถานะของ ปตท.ที่ประกอบการอยู่นั้น ไม่มีสถานะอื่นใด จาก 4 สถานะดังกล่าวข้างต้นแล้ว คือ ปตท. เป็น บริษัทด้านพลังงาน เป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นบริษัท น้ำมันแห่งชาติ ดังนั้น เราจึงนำ ปตท.ไปเปรียบเทียบกับหน่วยงานทั้ง 4 ด้านดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร มาดูรายละเอียดกันเลยตามตารางต่างๆ ดังนี้
มิติที่ 1 เปรียบเทียบกับกลุ่มพลังงานด้วยกันเอง จากตารางที่ 1 จะสังเกตเห็นว่าในปี 2552 ปตท. ที่ยอดขาย 1.6 ล้านล้านบาท มีกำไรประมาณ 59,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.67 ของกำไรสุทธิเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับ ไทยออยล์, IRPC, ESSO และบางจาก ที่เป็นโรงกลั่นน้ำมันด้วยกัน มีกำไร ร้อยละ 4.20, 3.24, 2.73 และ 6.52 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นระดับที่ใกล้เคียงกัน มิได้ค้ากำไรเกินควรแต่อย่างใด
ในกลุ่มพลังงานนี้ ในตารางจะเห็นว่า บ้านปู ราชบุรีโฮลดิ้ง GLOW ทำกำไรมากถึงร้อยละ 20.60, 17.90 และ 11.79 ตามลำดับ ซึ่งมากกว่า ปตท.เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EGCO มีกำไรจากยอดขายถึงร้อยละ 50.07 ในปี 2552 และร้อยละ 44.95 ในปี 2551 ซึ่งน่าจะเป็นจำเลยของสังคมมากกว่าด้วยซ้ำ ขอย้ำว่าตัวเลขผลประกอบการเหล่านี้ทั้งหมด เป็นตัวเลขเปิดเผยทั่วไป สามัญชนทุกคนสามารถหาได้ ไม่เป็นความลับแต่อย่างใด
ดังนั้น ในมิติแรก ที่นำ ปตท.ไปเปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มพลังงาน จะเห็นได้ชัดเจนว่า ปตท. มีผลประกอบการที่ต่ำมาก คือเพียงร้อยละ 3.67 ในปี 2552 และร้อยละ 2.56 ในปี 2551 เท่านั้น ซึ่งถือว่าหมิ่นเหม่ต่อศักยภาพในการรักษาอัตรากำไรไว้ เพราะถ้ามีปัจจัยอื่นๆ ที่รุนแรง เกิดขึ้น เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ราคาน้ำมันตลาดโลก ต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการกลั่น รวมทั้งผลผลิตจากการกลั่นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ตลอดจนยอดขายลดลงจนไม่ได้ Economy of Scale ของแต่ละผลิตภัณฑ์ ก็มีโอกาสขาดทุนได้
โดยสรุปแล้วในมิติแรกนี้ ถือว่า ปตท. ผ่านเกณฑ์การที่ “ไม่สมควรเป็นจำเลยของสังคม” ในเรื่องของการค้ากำไรเกินควรครับ
มิติที่ 2 เปรียบเทียบในฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ กับกิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคทั้งหลาย จากตารางที่ 2 นี้ เป็นการเปรียบเทียบในฐานะที่ ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจ จึงต้องเปรียบเทียบกับรัฐวิสาหกิจด้วยกันเอง เพื่อให้ทราบว่า ในฐานะรัฐวิสาหกิจ ปตท. เป็นผู้ร้ายของสังคมไทยหรือไม่ ซึ่งปรากฏว่าผลชัดเจนว่า ในบรรดารัฐวิสาหกิจทั้งหมดของประเทศไทยนั้น ปตท. ทำกำไรจากยอดขายได้ต่ำสุดในกลุ่มรัฐวิสาหกิจเด่นๆ คือเพียงร้อยละ 3.67 ในปี 2552 และร้อยละ 2.56 เท่านั้น ในปี 2551 ขณะที่ รัฐวิสาหกิจที่เด่นๆ อื่นๆ ทำกำไรจากยอดรายได้ด้วยตัวเลข 2 หลักทั้งสิ้น เช่น ธนาคารกรุงไทย 16.98, ทศท. 10.36, กสท 22.00, ธ.ก.ส. 14.62, ออมสิน 37.19, กปน. 26.82, การท่าเรือ 24.50, การทางพิเศษ 33.70, อสมท 28.63, กนอ. 34.95
ยกตัวอย่างจากตาราง ธ.ออมสิน รายได้ 42,685 ล้านบาท รายได้น้อยกว่า ปตท. 38 เท่า แต่มียอดกำไรถึง 1 ใน 4 ของ ปตท. ทีเดียว กสท. มีรายได้น้อยกว่า ปตท. 29 เท่า แต่มีกำไรเป็นเม็ดเงินถึง 1 ใน 5 ของ ปตท.
ดังนั้น ในแง่ความเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว มีหน่วยงานอื่นน่าจะเป็นจำเลยสังคมมากกว่า และ ปตท. น่าจะสอบผ่านว่า ไม่ควรจะถูกเกลียดชังและมองในแง่ลบ ในบทบาทของความเป็นรัฐวิสาหกิจนี้
ติดตาม มิติที่ 3 และมิติที่ 4 ในวันพรุ่งนี้
แสดงความคิดเห็น
ทำไมคุณรสนา จงใจบิดเบือนข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานขนาดนี้ครับ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=570460996363801&set=a.340522252691011.76552.236945323048705&type=1&stream_ref=10
รายละเอียดเพิ่มเติมการอุดหนุนราคาของมาเลย์ อีกรอบ เข้าใจว่าบอกกันไปหลายรอบแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายละเอียดกระทู้อื่นๆ
http://ppantip.com/topic/31335452 ทำไมมาเลเซียราคาน้ำมันถูกกว่าบ้านเรา?
ที่นี้ เราลองมาดูรายละเอียดราคาของมาเลย์กันอีกรอบว่า มันเป็นจริงอย่างที่คุณรสนามโนเอาว่า ก่อนแปรรูป และ หลังแปรรูป แล้ว ปตท ได้มีส่วนทำให้น้ำมันแพงหรือไม่
ราคาเนื้อน้ำมันที่ปั๊มน้ำมันขายจะอ้างอิงราคาน้ำมันตลาดสิงคโปร์ + ค่าการตลาดเหมือนกันทุกประเทศในภูมิภาค จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลราคาเนื้อน้ำมันเบนซิน 95 ที่ปั๊มมาเลเซียได้มากกว่าไทยอยู่ประมาณ 60 สตางค์จากค่าการตลาด ด้วยซ้ำ
โครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศมาเลเซีย จาก SHELL ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ วันที่ 3 กย 2556
PETROL RON 95 หรือ เบนซิน 95 กับ DIESEL (ดีเซล)
Harga sebenar termasuk cukai ราคาที่แท้จริง
Harga kawalan ราคาขายปลีกที่ถูกควบคุมราคาแล้ว
Subsidi oleh Kerajaan เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
http://paultan.org/2013/10/02/government-channels-rm8-9-billion-fuel-subsidies/fuel-price-sept/
Original
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทย (3 กย. 2556)
http://www.eppo.go.th/petro/price/pt-price-st-2013-09-03.xls
และ ถามว่าจะให้ลดราคาน้ำมันทีเป็น 5 บาท 10 บาท ถามว่าทำได้ไม๊ ทำได้ครับ รัฐลดหรือยกเลิกการเก็บภาษี กับ ปล่อยลอยตัวเลยครับ แต่อีกนะครับ ถ้าไม่เอา ภาษีน้ำมัน หรือยกเลิก ก็ขึ้น Vat ทุกประเทศในโลกนี้ รัฐต้องเก็บภาษี เพื่อใช้บริหารประเทศ อยู่ที่ว่า รัฐ ในประเทศไหน จะเลือก ซัพพอร์ต อะไร และเลือก รีดเก็บภาษีตัวไหนที่มากกกว่า เพื่อทดแทน
อ่อ แถมนิดนึง ป้าหมดมุขทีไร ป้าแถแทด ไปแตะกองทุนน้ำมันทุกที มีการดราม่าบอกให้ยกเลิกด้วยเพราะมันจะรักษากำไรให้ ปตท แต่บอกเลยว่าป้ามั่วมากครับ
1. กองทุนน้ำมันไม่ได้ช่วยให้ ปตท ได้กำไรจากน้ำมันมากขึ้นเลย
2. กองทุนน้ำมันเอาไปอุดหนุน LPG จริง แต่ถ้าไม่ทำ ราคา LPG ที่ป้าไม่อยากให้ลอยตัวจะทะยานกว่านี้อีก และไม่ได้เอาไปช่วยปิโตรเคมีอะไรเลย เพราะหน้าที่กองทุนน้ำมันคือเอาไว้รักษาระดับความผันผวนของเชื้อเพลิง ซึ่ง ปิโตรเคมีใช้เป็นวัตถุดิบ ไม่ได้ใช้เป็นเชื้อเพลิง
3. การที่เก็บจากเบนซิน 95 สูงชัดเจนคือเอามาโปะ e85 ให้ขายได้ ราคาถูก เพื่อให้คนใช้กันเยอะๆ ลดการนำเข้า crude oil
การที่ป้าจะให้ยกเลิกการสนับสนุน e85 นั้น ผมบอกเลยว่าป้าจะทำร้ายชาวไร่อ้อย มันสำปะหลังครับ ไม่กลัวเสียคะแนนเสียงหรอ
พลังงานทดแทนคือทางออกของประเทศนะครับ (เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ http://www.eppo.go.th/royal/m1700_0016.html)
ดังนั้นป้าเลิกทำให้ประชาชนผู้รักชาติยิ่ง เข้าใจผิดเถอะครับ ถ้าเดินเกมส์นี้ต่อ จากที่มีคนสนับสนุนป้าแรกๆ อาจมีคนเกลียดเพิ่มขึ้นก็เป็นได้
ปล. 1. เอามาแบ่งปันข้อมูล ไม่ต้องตี ไม่เหมาว่าเป็นขี้ข้า ลิ่วล้อ นั่นนี่
ปล. 2. เห็นต่าง ไม่ต้องเหมาว่าเสื้อสีนั้นนี่ โตแล้ว คิดเองเป็นนะครับ ด่าคนอื่นว่าค.าย แต่ตัวเองโดนหลอกกับวาทะกรรมเดิมๆ ไม่หาข้อมูลอ่านเพิ่มเติม เรียกว่าไรดีครับ
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ http://on.fb.me/L2DZ05