เมื่อช่วงเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา มีการปรับราคาน้ำมันขึ้นทั้งหมด 6 ครั้งติดต่อกัน ทั้ง ๆ ที่สถานการณ์ประเทศไทย ยังต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตโควิด เศรษฐกิจภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัว ทำให้คนใช้น้ำมันอย่างเรา ๆ ออกมาโวยวาย และทวงถามถึงความสมเหตุสมผลระหว่างราคาน้ำมันกับวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศ
... แต่ทุกเรื่องมีเหตุและผล เลยจะพามารู้จักราคาน้ำมันก่อน ว่าทำไมมันถึงต้องปรับราคาขึ้น ทั้ง ๆ เศรษฐกิจในประเทศยังไม่ได้ดีขนาดนั้น
เนื่องจากธุรกิจน้ำมัน เป็นธุรกิจการค้าเสรี ไม่ได้มีใครเป็นผู้กำหนดเอง ว่าราคาน้ำมันต้องขึ้น-ลง ตอนไหน และต้องขึ้น-ลง เวลาไหน เพราะทุกการปรับราคาขึ้น-ลง มันถูกกำหนดโดย
“ตลาดน้ำมัน” ตลาดน้ำมันไม่ใช่คน แต่คือหน่วยวัดที่สะท้อนราคาน้ำมันจากอุปสงค์และอุปทานของการใช้น้ำมัน ถ้าใครเคยเรียนเศรษฐศาสตร์มา คงจะเข้าใจได้ทันทีว่า หากอุปสงค์น้อยกว่าอุปทานทำให้สินค้ามีราคาถูก และถ้าหากอุปสงค์มากกว่าอุปทาน ก็ทำให้สินค้ามีราคาแพง
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทย (ราคาที่หน้าปั๊ม) มีการอ้างอิงการปรับราคาตามตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ (เนื่องจากสิงคโปร์เป็นผู้ค้าน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เหมือนอ้างอิงราคากลางจากรายใหญ่) และมีการกำหนดโครงสร้างราคาจากรัฐบาล เช่น ราคาหน้าโรงกลั่น, ภาษีน้ำมัน, กองทุนน้ำมัน, ค่าการตลาด
จากภาพจะเห็นได้ว่า ในน้ำมัน 1 ลิตร มีต้นทุนที่ภาคเอกชนเป็นผู้แบกรับ คือ เนื้อน้ำมันที่ปั๊มซื้อจากโรงกลั่น แต่กลับมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 5-10% ส่วนรัฐบาลจะได้เงินที่เรียกเก็บจากราคาน้ำมันอยู่ที่ 10-40% เรียกได้ว่าผู้ค้าน้ำมันมีต้นทุนที่มาก แต่
"รายได้กลับน้อยกว่าต้นทุนที่แบกไว้"
ทุกครั้งที่มีการปรับราคาน้ำมันของตลาดโลก ส่งผลให้ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงนั่นคือ ปั๊ม และลูกค้า เพราะทั้งคู่อยู่ภายใต้กลไกตลาดน้ำมันเดียวกัน แต่ที่ จขกท. เห็นใจไม่ต่างจากตัวเองที่ต้องจ่ายเงินเติมน้ำมันเพิ่ม ก็คงจะเป็นพวกปั๊มนี่แหละ ต้องแบกรับต้นทุนที่สูง แต่รายได้จริงไม่ถึง 5% ด้วยซ้ำ (ข้อมูลนี้เคยมีคนที่เปิดปั๊มแชร์ความรู้มานะ) และหากเข้าไปเช็คในโครงสร้างราคาน้ำมัน ทุกคนก็จะเห็นได้ว่า มันมีส่วนที่เป็นเงินภาษีน้ำมันและกองทุนน้ำมันที่รัฐบาลเรียกเก็บ ซึ่งผู้ค้าไม่ได้อะไรเลยจากตรงนี้
ทีนี้มาดูทิศทางของตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ภาพด้านบน จะเห็นได้ว่าเส้นกราฟตั้งชันขึ้น ตลอดช่วงเดือนกันยายน เพราะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยการใช้น้ำมันทั่วโลก (ไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่แพงขึ้นทั้งโลก!) ... เพราะฉะนั้น หากใครได้เข้ามาอ่าน หรือมีโอกาสได้รับความรู้เรื่องราคาน้ำมัน และมีคนรู้จักยังด่าเรื่องการปรับราคาสวนกระแสโลก ลองสะกิดเขาไปหน่อยก็ได้ว่า ให้ไปดูที่ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์เป็นหลักเถอะ บางคนดูผิด ไปดูตลาดน้ำมันดิบเมกานู่น ย้ำนะ! เราเติมน้ำมันสำเร็จรูป และไม่ต้องไปอิงไกลข้ามทวีป ดูตลาดน้ำมันดิบดูไบ และตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ก็พอ ทิศทางมันล้อตามกัน
และนี่ยิ่งตอกย้ำให้ชัดเจนขึ้น จากสองภาพด้านบน ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 ปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน +1.69 เหรียญฯ และดีเซล +1.33 เหรียญฯ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด และเกิดความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น แถบบ้านเราก็อย่างอินโดนีเซีย เวียนนาม ออสเตรเลีย ที่ฟื้นตัวกันแล้ว ส่งผลให้น้ำมันไทยอย่างปั๊มเชลล์ ปรับขึ้นราคาตามในวันที่ 3 ตุลาคม 2564 (ถ้าจำไม่ผิดก่อนหน้านี้เชลล์ปรับขึ้นไปวันที่ 1 ตุลาคม 2564 แล้วด้วย) และเชลล์เป็นเจ้าเดียวที่ปรับขึ้น! สิ่งนี้มันสะท้อนให้เห็นว่า ราคาน้ำมันในประเทศไทยอ้างอิงราคาตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์อย่างชัดเจน และไม่มีผู้ค้าน้ำมันใดในไทยสามารถกำหนดราคาเองได้ อย่างที่ปั๊มเชลล์ก็ปรับขึ้นราคาได้เองตามตลาด เป็นการสะท้อนราคาที่แท้จริง ส่วนปั๊มอื่น ๆ ที่เหลือขอเป็นกำลังใจให้ เพราะที่เห็นยังไม่ปรับ คงจะพยายามอั้นไว้ให้สุด ๆ แล้วเหมือนกัน
พอเข้าใจสถานการณ์ตลาดน้ำมันกันแล้ว ว่าสาเหตุที่มันปรับราคาขึ้นลากยาวติด ๆ นี่มันเป็นเพราะกลไกของราคาตลาดน้ำมันนะ และยิ่งบ้านเราค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ทำให้เราต้องจ่ายเยอะขึ้นอีก ... แต่เอ๊ะ เราต้องยอมจำนนต่อราคาตลาดน้ำมัน แล้วเกิดความไม่สมเหตุสมผลกับราคาในประเทศแบบนี้ใช่ไหม เพราะสถานการณ์บ้านเรายังไม่ดีขึ้นเลย ... เอาจริง ๆ นะ ขอตอบก่อนตรงนี้ ว่าบ้านเราก็กลับมาใช้น้ำมันกันแล้ว จขกท.เองก็อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ตลอดช่วงโควิด ตอนนี้กรุงเทพฯ กลับมารถติดมาก ๆ เหมือนเดิมแล้ว นั่นหมายความว่า ประเทศไทยก็กลับมาใช้น้ำมันกันแล้ว ต่างจังหวัดมีคนเดินทางเยอะแล้ว นี่ไง อุปสงค์มันมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด!
ถึงแม้ว่าอุปสงค์การใช้น้ำมันบ้านเรากลับมาเพิ่มขึ้นแล้ว แต่ยังมีคนไทยอีกหลายคน และโดยส่วนใหญ่ ที่ยังได้รับผลกระทบจากโควิด ทำให้ต้องมีภาระชีวิตมากขึ้น พอเห็นว่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เราต้องกินต้องใช้ปรับขึ้นราคา มันก็คงท้อแท้กับชีวิตไม่น้อย อย่างที่อธิบายไปเรื่องราคาน้ำมัน ว่าการปรับราคามันเป็นกลไกของตลาด ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการทำงานของมันได้ แต่สิ่งที่คนไทยจะต้องไม่ถูกเหลียวแลเรื่องของราคา คือ
หน้าที่ของรัฐบาล!
รัฐบาลเรียกเก็บเงินภาษีน้ำมัน และกองทุนน้ำมัน(วัตถุประสงค์เพื่อพยุงราค้ำมัน, ส่งเสริมพลังงานทางเลือก) จากการเติมน้ำมันของเราทุก ๆ ลิตร ทุก ๆ บาท รัฐบาลต้องรีบวางแผน แก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของคนไทย อย่างราคาน้ำมันเอง รัฐบาลสามารถนำเงินกองทุนน้ำมันมาพยุงราคาไว้ได้ เพื่อประคองไม่ให้ราคาน้ำมันปรับขึ้น หรือลดภาษีน้ำมันลงบ้าง หากลดได้ก็ถือว่าช่วยลดภาระคนไทยในวันที่ประเทศฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น
ทำไมน้ำมันไทยขึ้นราคาไม่ยอมหยุด แล้วรัฐบาลช่วยอะไรได้บ้าง?
... แต่ทุกเรื่องมีเหตุและผล เลยจะพามารู้จักราคาน้ำมันก่อน ว่าทำไมมันถึงต้องปรับราคาขึ้น ทั้ง ๆ เศรษฐกิจในประเทศยังไม่ได้ดีขนาดนั้น
เนื่องจากธุรกิจน้ำมัน เป็นธุรกิจการค้าเสรี ไม่ได้มีใครเป็นผู้กำหนดเอง ว่าราคาน้ำมันต้องขึ้น-ลง ตอนไหน และต้องขึ้น-ลง เวลาไหน เพราะทุกการปรับราคาขึ้น-ลง มันถูกกำหนดโดย “ตลาดน้ำมัน” ตลาดน้ำมันไม่ใช่คน แต่คือหน่วยวัดที่สะท้อนราคาน้ำมันจากอุปสงค์และอุปทานของการใช้น้ำมัน ถ้าใครเคยเรียนเศรษฐศาสตร์มา คงจะเข้าใจได้ทันทีว่า หากอุปสงค์น้อยกว่าอุปทานทำให้สินค้ามีราคาถูก และถ้าหากอุปสงค์มากกว่าอุปทาน ก็ทำให้สินค้ามีราคาแพง
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทย (ราคาที่หน้าปั๊ม) มีการอ้างอิงการปรับราคาตามตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ (เนื่องจากสิงคโปร์เป็นผู้ค้าน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เหมือนอ้างอิงราคากลางจากรายใหญ่) และมีการกำหนดโครงสร้างราคาจากรัฐบาล เช่น ราคาหน้าโรงกลั่น, ภาษีน้ำมัน, กองทุนน้ำมัน, ค่าการตลาด
จากภาพจะเห็นได้ว่า ในน้ำมัน 1 ลิตร มีต้นทุนที่ภาคเอกชนเป็นผู้แบกรับ คือ เนื้อน้ำมันที่ปั๊มซื้อจากโรงกลั่น แต่กลับมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 5-10% ส่วนรัฐบาลจะได้เงินที่เรียกเก็บจากราคาน้ำมันอยู่ที่ 10-40% เรียกได้ว่าผู้ค้าน้ำมันมีต้นทุนที่มาก แต่ "รายได้กลับน้อยกว่าต้นทุนที่แบกไว้"
ทุกครั้งที่มีการปรับราคาน้ำมันของตลาดโลก ส่งผลให้ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงนั่นคือ ปั๊ม และลูกค้า เพราะทั้งคู่อยู่ภายใต้กลไกตลาดน้ำมันเดียวกัน แต่ที่ จขกท. เห็นใจไม่ต่างจากตัวเองที่ต้องจ่ายเงินเติมน้ำมันเพิ่ม ก็คงจะเป็นพวกปั๊มนี่แหละ ต้องแบกรับต้นทุนที่สูง แต่รายได้จริงไม่ถึง 5% ด้วยซ้ำ (ข้อมูลนี้เคยมีคนที่เปิดปั๊มแชร์ความรู้มานะ) และหากเข้าไปเช็คในโครงสร้างราคาน้ำมัน ทุกคนก็จะเห็นได้ว่า มันมีส่วนที่เป็นเงินภาษีน้ำมันและกองทุนน้ำมันที่รัฐบาลเรียกเก็บ ซึ่งผู้ค้าไม่ได้อะไรเลยจากตรงนี้
ทีนี้มาดูทิศทางของตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ภาพด้านบน จะเห็นได้ว่าเส้นกราฟตั้งชันขึ้น ตลอดช่วงเดือนกันยายน เพราะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยการใช้น้ำมันทั่วโลก (ไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่แพงขึ้นทั้งโลก!) ... เพราะฉะนั้น หากใครได้เข้ามาอ่าน หรือมีโอกาสได้รับความรู้เรื่องราคาน้ำมัน และมีคนรู้จักยังด่าเรื่องการปรับราคาสวนกระแสโลก ลองสะกิดเขาไปหน่อยก็ได้ว่า ให้ไปดูที่ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์เป็นหลักเถอะ บางคนดูผิด ไปดูตลาดน้ำมันดิบเมกานู่น ย้ำนะ! เราเติมน้ำมันสำเร็จรูป และไม่ต้องไปอิงไกลข้ามทวีป ดูตลาดน้ำมันดิบดูไบ และตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ก็พอ ทิศทางมันล้อตามกัน
และนี่ยิ่งตอกย้ำให้ชัดเจนขึ้น จากสองภาพด้านบน ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 ปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน +1.69 เหรียญฯ และดีเซล +1.33 เหรียญฯ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด และเกิดความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น แถบบ้านเราก็อย่างอินโดนีเซีย เวียนนาม ออสเตรเลีย ที่ฟื้นตัวกันแล้ว ส่งผลให้น้ำมันไทยอย่างปั๊มเชลล์ ปรับขึ้นราคาตามในวันที่ 3 ตุลาคม 2564 (ถ้าจำไม่ผิดก่อนหน้านี้เชลล์ปรับขึ้นไปวันที่ 1 ตุลาคม 2564 แล้วด้วย) และเชลล์เป็นเจ้าเดียวที่ปรับขึ้น! สิ่งนี้มันสะท้อนให้เห็นว่า ราคาน้ำมันในประเทศไทยอ้างอิงราคาตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์อย่างชัดเจน และไม่มีผู้ค้าน้ำมันใดในไทยสามารถกำหนดราคาเองได้ อย่างที่ปั๊มเชลล์ก็ปรับขึ้นราคาได้เองตามตลาด เป็นการสะท้อนราคาที่แท้จริง ส่วนปั๊มอื่น ๆ ที่เหลือขอเป็นกำลังใจให้ เพราะที่เห็นยังไม่ปรับ คงจะพยายามอั้นไว้ให้สุด ๆ แล้วเหมือนกัน
พอเข้าใจสถานการณ์ตลาดน้ำมันกันแล้ว ว่าสาเหตุที่มันปรับราคาขึ้นลากยาวติด ๆ นี่มันเป็นเพราะกลไกของราคาตลาดน้ำมันนะ และยิ่งบ้านเราค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ทำให้เราต้องจ่ายเยอะขึ้นอีก ... แต่เอ๊ะ เราต้องยอมจำนนต่อราคาตลาดน้ำมัน แล้วเกิดความไม่สมเหตุสมผลกับราคาในประเทศแบบนี้ใช่ไหม เพราะสถานการณ์บ้านเรายังไม่ดีขึ้นเลย ... เอาจริง ๆ นะ ขอตอบก่อนตรงนี้ ว่าบ้านเราก็กลับมาใช้น้ำมันกันแล้ว จขกท.เองก็อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ตลอดช่วงโควิด ตอนนี้กรุงเทพฯ กลับมารถติดมาก ๆ เหมือนเดิมแล้ว นั่นหมายความว่า ประเทศไทยก็กลับมาใช้น้ำมันกันแล้ว ต่างจังหวัดมีคนเดินทางเยอะแล้ว นี่ไง อุปสงค์มันมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด!
ถึงแม้ว่าอุปสงค์การใช้น้ำมันบ้านเรากลับมาเพิ่มขึ้นแล้ว แต่ยังมีคนไทยอีกหลายคน และโดยส่วนใหญ่ ที่ยังได้รับผลกระทบจากโควิด ทำให้ต้องมีภาระชีวิตมากขึ้น พอเห็นว่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เราต้องกินต้องใช้ปรับขึ้นราคา มันก็คงท้อแท้กับชีวิตไม่น้อย อย่างที่อธิบายไปเรื่องราคาน้ำมัน ว่าการปรับราคามันเป็นกลไกของตลาด ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการทำงานของมันได้ แต่สิ่งที่คนไทยจะต้องไม่ถูกเหลียวแลเรื่องของราคา คือ หน้าที่ของรัฐบาล!
รัฐบาลเรียกเก็บเงินภาษีน้ำมัน และกองทุนน้ำมัน(วัตถุประสงค์เพื่อพยุงราค้ำมัน, ส่งเสริมพลังงานทางเลือก) จากการเติมน้ำมันของเราทุก ๆ ลิตร ทุก ๆ บาท รัฐบาลต้องรีบวางแผน แก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของคนไทย อย่างราคาน้ำมันเอง รัฐบาลสามารถนำเงินกองทุนน้ำมันมาพยุงราคาไว้ได้ เพื่อประคองไม่ให้ราคาน้ำมันปรับขึ้น หรือลดภาษีน้ำมันลงบ้าง หากลดได้ก็ถือว่าช่วยลดภาระคนไทยในวันที่ประเทศฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น