“ไม่เติม ปตท.” เป็นเพียงกลยุทธของกลุ่มบ้างกลุ่ม ที่อคติต่อ ปตท. ทำให้หลายๆคนชวนในคำพูดของพวกเขา
หลากหลายคำในแง่ลบอาทิ น้ำมันแพง, ปรับราคาขึ้นมากกว่าลง, น้ำมันไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของเหล่าคนในโซเชียลยามเมื่อมีการปรับราคาน้ำมัน เกิดเป็นโอกาสให้บางกลุ่มหยิบฉวยสร้างวาทกรรมให้เข้าใจผิดด้วยข้อมูลชวนเชื่อและชักจูงรณรงค์ให้เลิกเติม ปตท. หรือ
ไม่เติม ปตท.
ความเข้าใจผิดว่าด้วย ปตท.
(ปัจจุบันคือ PTTOR) เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดเป็นช่วงขาขึ้น กอปรกับ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แห่กันลดกำลังการผลิตที่เคยหารือกันไว้รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในช่วงขาขึ้น และเป็นผลให้ราคาน้ำมันไทยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ในช่วงตั้งแต่ปลายเมษายนถึงปัจจุบัน(มิถุนายน) ราคาน้ำมันในตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ดีเซลปรับขึ้น ประมาณ 20เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เบนซินปรับขึ้นเกือบ 30 เหรียญ/บาร์เรล) จึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้น้ำมันอย่างรุนแรงและมองว่า ปตท. กำลังเอาเปรียบคนไทย เจ้าอื่นก็ปรับขึ้นเช่นกัน แต่ลอยตัวไปด้วยสาเหตุใดผู้เขียนก็มิอาจทราบได้
แน่นอนว่ากระแสรณรงค์ ไม่เติม ปตท. ไม่ได้รุนแรงเหมือนสถานการณ์ปี 61 อาจเพราะหลายคนเข้าใจดีว่าการปรับราคาน้ำมันในประเทศครั้งนี้มาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายังมีหลายคนที่มีความเข้าใจผิดเรื่องการปรับราคา บ้างก็เทียบกับตลาดน้ำมันดิบ บ้างก็โจมตีการบริหารของรัฐ หรือบ้างก็นำราคาน้ำมันของไทยไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ
ซึ่งหากมองตามความเป็นจริงแล้ว การปรับราคาในประเทศไทย ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน แต่เป็นการปรับตามการอ้างอิงของตลาด และตามภาพจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันแต่ละปั๊มในประเทศไทย ส่วนใหญ่ราคาเท่ากัน การจะรณรงค์
ไม่เติม ปตท. เพียงเจ้าเดียว ดูจะเป็นการพุ่งเป้าโจมตีอย่างอคติเสียมากกว่า และการ
ไม่เติม ปตท. ก็ไม่ได้ทำให้แบรนด์อื่นลดราคาลงมา
อย่างไรเสียราคาน้ำมันในประเทศมีโครงสร้างราคาน้ำมันที่ภาครัฐเป็นผู้วางเกณฑ์รวมถึงกำหนดสูตรการอ้างอิงต่างๆ รวมถึงรัฐมีการเรียกเก็บภาษีต่างๆ และ นโยบายจัดเก็บกองทุนน้ำมันในโครงสร้างราคาน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในประเทศมีราคาแพงกว่าบางประเทศ และนโยบายดังกล่าวข้างต้นนั้น บริษัทผู้ค้าน้ำมันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด อยากให้ผู้อ่านทุกท่านทำความเข้าใจในส่วนนี้ด้วย
จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของการบิดเบือนข้อมูลในเรื่องของราคาน้ำมันที่ในโลกโซเชียลที่มีการแชร์หรือแสดงความเห็นกันอย่างผิด ๆ
และด้วยความรู้สึกที่มอง ปตท. อย่างไม่เป็นกลาง ทำให้บางกลุ่มอาจลืมคิดไปว่า ปตท. ยังคงเป็นของรัฐ รวมถึงเป็นรัฐวิสาหกิจ และดำเนินกิจการภายใต้นโยบายภาครัฐ ไม่ใช่เพียงเพื่อนายทุนบางกลุ่มอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดหรือแม้แต่กระทั่งการผูกขาดตลาด และหากทุกคนตัดสินใจไม่เติม ปตท. ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือภาครัฐ รวมถึง SME ที่มาลงทุนในปั๊มด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่ได้ชี้นำให้เลือกใช้บริการแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง แต่การที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจเลือกใช้สินค้าของแบรนด์ใดควรเกิดจากความรู้สึกที่มีต่อคุณภาพสินค้าและบริการของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มิใช่เกิดจากความเข้าใจผิด หรือการถูกบิดเบือนข้อมูล
เครดิตข้อมูล: รู้จริงพลังงานไทย
ลิงค์>>>
https://bit.ly/2YFdzub
วาทกรรมชวนเชื่อ สู่ประเด็น “ไม่เติม ปตท.”
ความเข้าใจผิดว่าด้วย ปตท. (ปัจจุบันคือ PTTOR) เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดเป็นช่วงขาขึ้น กอปรกับ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แห่กันลดกำลังการผลิตที่เคยหารือกันไว้รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในช่วงขาขึ้น และเป็นผลให้ราคาน้ำมันไทยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ในช่วงตั้งแต่ปลายเมษายนถึงปัจจุบัน(มิถุนายน) ราคาน้ำมันในตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ดีเซลปรับขึ้น ประมาณ 20เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เบนซินปรับขึ้นเกือบ 30 เหรียญ/บาร์เรล) จึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้น้ำมันอย่างรุนแรงและมองว่า ปตท. กำลังเอาเปรียบคนไทย เจ้าอื่นก็ปรับขึ้นเช่นกัน แต่ลอยตัวไปด้วยสาเหตุใดผู้เขียนก็มิอาจทราบได้
อย่างไรเสียราคาน้ำมันในประเทศมีโครงสร้างราคาน้ำมันที่ภาครัฐเป็นผู้วางเกณฑ์รวมถึงกำหนดสูตรการอ้างอิงต่างๆ รวมถึงรัฐมีการเรียกเก็บภาษีต่างๆ และ นโยบายจัดเก็บกองทุนน้ำมันในโครงสร้างราคาน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในประเทศมีราคาแพงกว่าบางประเทศ และนโยบายดังกล่าวข้างต้นนั้น บริษัทผู้ค้าน้ำมันไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด อยากให้ผู้อ่านทุกท่านทำความเข้าใจในส่วนนี้ด้วย จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของการบิดเบือนข้อมูลในเรื่องของราคาน้ำมันที่ในโลกโซเชียลที่มีการแชร์หรือแสดงความเห็นกันอย่างผิด ๆ
และด้วยความรู้สึกที่มอง ปตท. อย่างไม่เป็นกลาง ทำให้บางกลุ่มอาจลืมคิดไปว่า ปตท. ยังคงเป็นของรัฐ รวมถึงเป็นรัฐวิสาหกิจ และดำเนินกิจการภายใต้นโยบายภาครัฐ ไม่ใช่เพียงเพื่อนายทุนบางกลุ่มอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดหรือแม้แต่กระทั่งการผูกขาดตลาด และหากทุกคนตัดสินใจไม่เติม ปตท. ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือภาครัฐ รวมถึง SME ที่มาลงทุนในปั๊มด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่ได้ชี้นำให้เลือกใช้บริการแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง แต่การที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจเลือกใช้สินค้าของแบรนด์ใดควรเกิดจากความรู้สึกที่มีต่อคุณภาพสินค้าและบริการของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มิใช่เกิดจากความเข้าใจผิด หรือการถูกบิดเบือนข้อมูล
เครดิตข้อมูล: รู้จริงพลังงานไทย
ลิงค์>>> https://bit.ly/2YFdzub