เมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา (15 ก.ย.) เกิดเหตุการณ์โรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ 2 แห่ง ของซาอุดิอาระเบียถูกโจมตีทางอากาศ (จากโดรน) ส่งผลกระทบให้ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นมากกว่า 10% และหลาย ๆ ฝ่ายได้ออกมาแสดงถึงความวิตกกังวลว่าประเทศไทยจะเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำมันอย่างในอดีต วันนี้ทางผมจึงขอมาวิเคราะห์ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ไปสักหน่อยครับ ถ้าท่านใดเห็นต่างหรือมีทัศนคติอื่นก็ถือว่ามาแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ
อย่างแรกเลยที่กระทบตามมาแน่นอนคือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่เราเติมตามปั๊มจะพุ่งสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดแน่นอนครับ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่ผมเรียนมาเลยครับ ขอนำรูปมาอธิบายประกอบเพื่อความง่าย(หรือเปล่า?)นะครับ
ตามหลักกฎอุปสงค์(Demand) อุปทาน(Supply) อย่างง่ายๆเลยนะครับ ในตลาดสินค้าทุกๆสินค้าจะมีจุดดุลยภาพ(Equilibrium) ซึ่งเป็นจุดที่ระดับความต้องการซื้อและความต้องการขายเท่ากัน จะได้ราคาและปริมาณที่ตอบสนองของทั้งสองฝั่งทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ในกราฟที่ผมทำแบบง่ายๆในการอธิบายสถานการณ์นี้คือ สมมุติจุดว่าปกติการซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกอยู่ที่จุดดุลยภาพที่ E1 ราคา 8 บาท ปริมาณ 4 หน่วย แต่เกิดเหตุการณ์โจมตีบ่อน้ำมัน ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันหรือผู้ขายน้ำมันลดลงแต่ปริมาณการต้องการใช้น้ำมัน(Oil Demand)เท่าเดิม ซึ่งกรณีนี้จะส่งผลให้เส้น Supply Shift ไปทางซ้าย จุดดุลยภาพ (Equilibrium) จะเปลี่ยนเป็น E2 ปริมาณน้ำมันจะลดลงจาก 4 เป็น 3 หน่วยและราคาขยับสูงขึ้นจาก 8 เป็น 10 บาทครับ
เมื่อเราเห็นเช่นนี้แล้วคำถามที่ตามมาคือ แล้วจะกระทบราคาในบ้านเราเท่าไร กี่บาทต่อลิตร ซึ่งอันนี้ผมตอบตามตรงเลยว่าผมคำนวณไม่ได้เลยครับ และเป็นการคาดเดาที่ยากมากครับ เพราะหากมีผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นเห็นราคาน้ำมันดิบอยู่สูมมากจนจูงใจให้ผู้ผลิตเจ้าอื่นผลิตน้ำมันออกมาขาย ณ ตอนนี้ อย่างอเมริกาฯ ราคาน้ำมันอาจจะปรับลดลงไวก็ได้ครับ
แต่จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานเดือน พ.ค. 2562 กองทุนน้ำมันฯ มีเงินสุทธิ 33,838 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมัน 40,403 ล้านบาท และบัญชี LPG ติดลบอยู่ 6,565 ล้านบาท (ณ วันที่ 19 พ.ค. 2562) และกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ซ้อมแผนรับมือภาวะวิกฤติด้านพลังงานแล้วถึง 2 ครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ขาดแคลนน้ำมันจากปัญหาความไม่สงบในต่างประเทศ แม้ปัจจุบันสถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายลง แต่กระทรวงพลังงานจะยังคงให้โรงกลั่นน้ำมันรายงานข้อมูลน้ำมันเป็นรายวันให้กระทรวงพลังงานรับทราบ
โดยขณะนี้ยังคงติดตามสถานการณ์น้ำมันใน 3 ด้านอย่างใกล้ชิด ได้แก่ 1. ติดตามข้อมูลปริมาณน้ำมันดิบไม่ให้ขาดแคลนในไทย 2. การนำเข้า สต็อก และการขนส่งน้ำมันของโรงกลั่น เพื่อให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง และ 3. ปริมาณน้ำมันดีเซลและกลุ่มเบนซินมีเพียงพอใช้สำหรับกรณีฉุกเฉินหรือไม่ และราคาเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไทยมีสำรองน้ำมันใช้ได้กรณีฉุกเฉิน 30-45 วันเป็นอย่างน้อย ส่วนหากเกิดกรณีราคาน้ำมันผันผวนอย่างรวดเร็ว ทางกระทรวงพลังงานยังมีเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ดูแลไม่ให้ราคาปรับขึ้นอย่างรุนแรงได้(ที่มา :
http://www.energynewscenter.com)
ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงตามมาคือเรื่องของสภาวะเงินเฟ้อครับ ซึ่งผมหาข้อมูลมาจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการวิเคราะห์มาไว้ว่า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลกระทบของเหตุการณ์นี้ต่อเศรษฐกิจไทย โดยแบ่งเป็น 2 กรณีตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์การตอบโต้ ดังต่อไปนี้
1. กรณีฐานซาอุดีอาระเบียไม่ได้ใช้ความรุนแรงในการตอบโต้ อาทิ การข่มขู่ให้กลัว การตอบโต้โดยใช้มาตรการกีดกันทางการค้ากับอิหร่าน ก็น่าจะทำให้ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น
ภายใต้สมมุติฐานนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะทยอยปรับตัวลดลงเข้าสู่ระดับเดิมก่อนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ (ที่ระดับ 50-60 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล) ซึ่งอาจจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉพาะในช่วงเดือนก.ย.-ต.ค.62 โดยคาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 4 เดือนหลังของปี 62 ปรับเพิ่มขึ้น 0.05% จากประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปเดิม (กรณีที่ไม่มีเหตุการณ์โรงกลั่นน้ำมันของซาอุดีอาระเบียถูกโจมตีทางอากาศ) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยตลอดทั้งปี 62 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.84%
2. กรณีที่ซาอุดีอาระเบียใช้ความรุนแรงในการตอบโต้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบโลกยืนอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 62 สถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นประกอบกับอุปทานน้ำมันดิบโลกที่ลดลง น่าจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในระดับที่สูงขึ้นมาอยู่ในกรอบ 70-80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลในช่วง 3-4 เดือนที่เหลือของปี 62 (จากเดิมที่เคลื่อนไหวใน 50-70 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลในช่วง 8 เดือนแรกของปี 62) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านหลายช่องทางด้วยกัน
โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปน่าจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 62 โดยราคาน้ำมันดิบโลกที่ขยับขึ้นจะส่งผลต่อระดับราคาพลังงานในประเทศให้ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน ก๊าซ NGV รวมถึงก๊าซ LPG ซึ่งจะส่งผลต่อระดับราคาผู้บริโภคภายในประเทศทั้งทางตรงจากการบริโภคพลังงานที่มีราคาสูงขึ้น และทางอ้อมผ่านการปรับเพิ่มราคาสินค้าและบริการของผู้ประกอบการหลังแบกรับต้นทุนพลังงานที่แพงขึ้น เช่น อาหารทานนอกบ้าน ค่าโดยสารสาธารณะ (โดยเฉพาะค่าโดยสารเรือสาธารณะที่มีการปรับเพิ่มตามราคาน้ำมันดีเซลในประเทศ) เป็นต้น
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 70-80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลในช่วง 4 เดือนสุดท้าย (ก.ย.-ธ.ค.) ของปี 62 จะทำให้ราคาน้ำมันดีเซลขยับขึ้นมาที่ระดับใกล้เคียง 30 บาทต่อลิตร (จากปัจจุบันที่ 26.09 บาทต่อลิตร) ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยคาดการณ์ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี 62 เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า จาก 0.72% (ประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปในกรณีที่ไม่มีสถานการณ์โรงกลั่นน้ำมันของซาอุดีอาระเบียถูกโจมตี) มาอยู่ที่ 1.48% ซึ่งจะหนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปตลอดทั้งปี 62 ขยับขึ้นจากเดิมที่ประเมินไว้ที่ 0.82% มาอยู่ที่ 1.08% หรือปรับเพิ่มขึ้น 0.3%
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบ 70-80 ดอลลาร์ฯ ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี 62 จะส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศของไทยในปี 62 เกินดุลลดลงราว 1,231 ล้านดอลลาร์ฯ จากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่สูงขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินผลกระทบจากการเกินดุลการค้าที่ลดลง จะส่งผลต่อเนื่องไปยังอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 62 ให้ลดลงราว 0.2-0.3% ขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐในการดูแลราคาพลังงานในประเทศ อย่างไรก็ตาม การเกินดุลการค้าที่ลดลง อาจจะเป็นปัจจัยที่ช่วยบรรเทาแรงกดดันของค่าเงินบาทที่แข็งค่าจากการเกินดุลการค้าของไทยที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ซึ่งน้ำมันคือต้นทุนของการขนส่งและเป็นต้นทุนการผลิตสิ่งของหลายๆสิ่งในบ้านเราผมว่าเราควรจับตามองสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและรอดูว่ารัฐบาลจะมีนโยบายช่วยเหลือประชาชนต่อไปอย่างไรครับ แต่อย่างน้อยการที่เรามีเงินกองทุนน้ำมันฯก็คงช่วยซับแรงกระแทกของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงไว ได้ระดับหนึ่งจากการที่ผ่านมา 3 วันราคาน้ำมันบ้านเรายังไม่ขยับขึ้นตามตลาดโลกครับ อันนี้บ่งบอกเลยว่ามีกองทุนน้ำมันแล้วสามารถใช้บรรเทาความร้ายแรงเมื่อเกิดเหตุการณ์ขาดแคลนได้จริงๆครับ
ขอฝากเพจเฟซบุ๊คน้องใหม่ด้านการเงินการลงทุนชื่อ เงินไม่เคยหลับ ไว้ด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/Mr.MoneyNeverSleeps/
สงครามน้ำมัน กระทบเศรษฐกิจไทยอย่างไร?
อย่างแรกเลยที่กระทบตามมาแน่นอนคือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่เราเติมตามปั๊มจะพุ่งสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดแน่นอนครับ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่ผมเรียนมาเลยครับ ขอนำรูปมาอธิบายประกอบเพื่อความง่าย(หรือเปล่า?)นะครับ
ตามหลักกฎอุปสงค์(Demand) อุปทาน(Supply) อย่างง่ายๆเลยนะครับ ในตลาดสินค้าทุกๆสินค้าจะมีจุดดุลยภาพ(Equilibrium) ซึ่งเป็นจุดที่ระดับความต้องการซื้อและความต้องการขายเท่ากัน จะได้ราคาและปริมาณที่ตอบสนองของทั้งสองฝั่งทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ในกราฟที่ผมทำแบบง่ายๆในการอธิบายสถานการณ์นี้คือ สมมุติจุดว่าปกติการซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกอยู่ที่จุดดุลยภาพที่ E1 ราคา 8 บาท ปริมาณ 4 หน่วย แต่เกิดเหตุการณ์โจมตีบ่อน้ำมัน ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันหรือผู้ขายน้ำมันลดลงแต่ปริมาณการต้องการใช้น้ำมัน(Oil Demand)เท่าเดิม ซึ่งกรณีนี้จะส่งผลให้เส้น Supply Shift ไปทางซ้าย จุดดุลยภาพ (Equilibrium) จะเปลี่ยนเป็น E2 ปริมาณน้ำมันจะลดลงจาก 4 เป็น 3 หน่วยและราคาขยับสูงขึ้นจาก 8 เป็น 10 บาทครับ
เมื่อเราเห็นเช่นนี้แล้วคำถามที่ตามมาคือ แล้วจะกระทบราคาในบ้านเราเท่าไร กี่บาทต่อลิตร ซึ่งอันนี้ผมตอบตามตรงเลยว่าผมคำนวณไม่ได้เลยครับ และเป็นการคาดเดาที่ยากมากครับ เพราะหากมีผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นเห็นราคาน้ำมันดิบอยู่สูมมากจนจูงใจให้ผู้ผลิตเจ้าอื่นผลิตน้ำมันออกมาขาย ณ ตอนนี้ อย่างอเมริกาฯ ราคาน้ำมันอาจจะปรับลดลงไวก็ได้ครับ
แต่จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานเดือน พ.ค. 2562 กองทุนน้ำมันฯ มีเงินสุทธิ 33,838 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมัน 40,403 ล้านบาท และบัญชี LPG ติดลบอยู่ 6,565 ล้านบาท (ณ วันที่ 19 พ.ค. 2562) และกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ซ้อมแผนรับมือภาวะวิกฤติด้านพลังงานแล้วถึง 2 ครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ขาดแคลนน้ำมันจากปัญหาความไม่สงบในต่างประเทศ แม้ปัจจุบันสถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายลง แต่กระทรวงพลังงานจะยังคงให้โรงกลั่นน้ำมันรายงานข้อมูลน้ำมันเป็นรายวันให้กระทรวงพลังงานรับทราบ
โดยขณะนี้ยังคงติดตามสถานการณ์น้ำมันใน 3 ด้านอย่างใกล้ชิด ได้แก่ 1. ติดตามข้อมูลปริมาณน้ำมันดิบไม่ให้ขาดแคลนในไทย 2. การนำเข้า สต็อก และการขนส่งน้ำมันของโรงกลั่น เพื่อให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง และ 3. ปริมาณน้ำมันดีเซลและกลุ่มเบนซินมีเพียงพอใช้สำหรับกรณีฉุกเฉินหรือไม่ และราคาเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไทยมีสำรองน้ำมันใช้ได้กรณีฉุกเฉิน 30-45 วันเป็นอย่างน้อย ส่วนหากเกิดกรณีราคาน้ำมันผันผวนอย่างรวดเร็ว ทางกระทรวงพลังงานยังมีเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ดูแลไม่ให้ราคาปรับขึ้นอย่างรุนแรงได้(ที่มา : http://www.energynewscenter.com)
ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงตามมาคือเรื่องของสภาวะเงินเฟ้อครับ ซึ่งผมหาข้อมูลมาจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการวิเคราะห์มาไว้ว่า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินผลกระทบของเหตุการณ์นี้ต่อเศรษฐกิจไทย โดยแบ่งเป็น 2 กรณีตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์การตอบโต้ ดังต่อไปนี้
1. กรณีฐานซาอุดีอาระเบียไม่ได้ใช้ความรุนแรงในการตอบโต้ อาทิ การข่มขู่ให้กลัว การตอบโต้โดยใช้มาตรการกีดกันทางการค้ากับอิหร่าน ก็น่าจะทำให้ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น
ภายใต้สมมุติฐานนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะทยอยปรับตัวลดลงเข้าสู่ระดับเดิมก่อนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ (ที่ระดับ 50-60 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล) ซึ่งอาจจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉพาะในช่วงเดือนก.ย.-ต.ค.62 โดยคาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 4 เดือนหลังของปี 62 ปรับเพิ่มขึ้น 0.05% จากประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปเดิม (กรณีที่ไม่มีเหตุการณ์โรงกลั่นน้ำมันของซาอุดีอาระเบียถูกโจมตีทางอากาศ) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยตลอดทั้งปี 62 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.84%
2. กรณีที่ซาอุดีอาระเบียใช้ความรุนแรงในการตอบโต้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบโลกยืนอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 62 สถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นประกอบกับอุปทานน้ำมันดิบโลกที่ลดลง น่าจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในระดับที่สูงขึ้นมาอยู่ในกรอบ 70-80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลในช่วง 3-4 เดือนที่เหลือของปี 62 (จากเดิมที่เคลื่อนไหวใน 50-70 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลในช่วง 8 เดือนแรกของปี 62) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านหลายช่องทางด้วยกัน
โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปน่าจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปี 62 โดยราคาน้ำมันดิบโลกที่ขยับขึ้นจะส่งผลต่อระดับราคาพลังงานในประเทศให้ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน ก๊าซ NGV รวมถึงก๊าซ LPG ซึ่งจะส่งผลต่อระดับราคาผู้บริโภคภายในประเทศทั้งทางตรงจากการบริโภคพลังงานที่มีราคาสูงขึ้น และทางอ้อมผ่านการปรับเพิ่มราคาสินค้าและบริการของผู้ประกอบการหลังแบกรับต้นทุนพลังงานที่แพงขึ้น เช่น อาหารทานนอกบ้าน ค่าโดยสารสาธารณะ (โดยเฉพาะค่าโดยสารเรือสาธารณะที่มีการปรับเพิ่มตามราคาน้ำมันดีเซลในประเทศ) เป็นต้น
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 70-80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลในช่วง 4 เดือนสุดท้าย (ก.ย.-ธ.ค.) ของปี 62 จะทำให้ราคาน้ำมันดีเซลขยับขึ้นมาที่ระดับใกล้เคียง 30 บาทต่อลิตร (จากปัจจุบันที่ 26.09 บาทต่อลิตร) ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยคาดการณ์ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี 62 เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า จาก 0.72% (ประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปในกรณีที่ไม่มีสถานการณ์โรงกลั่นน้ำมันของซาอุดีอาระเบียถูกโจมตี) มาอยู่ที่ 1.48% ซึ่งจะหนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปตลอดทั้งปี 62 ขยับขึ้นจากเดิมที่ประเมินไว้ที่ 0.82% มาอยู่ที่ 1.08% หรือปรับเพิ่มขึ้น 0.3%
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบ 70-80 ดอลลาร์ฯ ในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี 62 จะส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศของไทยในปี 62 เกินดุลลดลงราว 1,231 ล้านดอลลาร์ฯ จากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่สูงขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินผลกระทบจากการเกินดุลการค้าที่ลดลง จะส่งผลต่อเนื่องไปยังอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 62 ให้ลดลงราว 0.2-0.3% ขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐในการดูแลราคาพลังงานในประเทศ อย่างไรก็ตาม การเกินดุลการค้าที่ลดลง อาจจะเป็นปัจจัยที่ช่วยบรรเทาแรงกดดันของค่าเงินบาทที่แข็งค่าจากการเกินดุลการค้าของไทยที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ซึ่งน้ำมันคือต้นทุนของการขนส่งและเป็นต้นทุนการผลิตสิ่งของหลายๆสิ่งในบ้านเราผมว่าเราควรจับตามองสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและรอดูว่ารัฐบาลจะมีนโยบายช่วยเหลือประชาชนต่อไปอย่างไรครับ แต่อย่างน้อยการที่เรามีเงินกองทุนน้ำมันฯก็คงช่วยซับแรงกระแทกของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงไว ได้ระดับหนึ่งจากการที่ผ่านมา 3 วันราคาน้ำมันบ้านเรายังไม่ขยับขึ้นตามตลาดโลกครับ อันนี้บ่งบอกเลยว่ามีกองทุนน้ำมันแล้วสามารถใช้บรรเทาความร้ายแรงเมื่อเกิดเหตุการณ์ขาดแคลนได้จริงๆครับ
ขอฝากเพจเฟซบุ๊คน้องใหม่ด้านการเงินการลงทุนชื่อ เงินไม่เคยหลับ ไว้ด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/Mr.MoneyNeverSleeps/