สภานายจ้างชี้โควิดรอบนี้รุนแรง ห่วงธุรกิจลดจำนวนพนักงาน-เลิกจ้าง
https://www.prachachat.net/csr-hr/news-649312
สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าฯ ชี้สถานการณ์โควิดรอบนี้รุนแรง ห่วง “ธุรกิจค้าปลีก-บริการ” ลดจำนวนพนักงาน ชี้เอกชนเห็นต่างภาครัฐ มองตัวเลขว่างงาน “ไม่ปกติ”
วันที่ 16 เมษายน 2564 นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยถึงความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในช่วงนี้ว่า พฤติกรรมของประชาชนที่เปลี่ยนไป โดยการหันไปซื้อของออนไลน์มากขึ้น และออกไปห้างสรรพสินค้า หรือโมเดิร์นเทรดน้อยลง ส่งผลให้สถานประกอบการบางแห่งลดจำนวนพนักงานลง
นาย
ธนิต ระบุว่า ก่อนหน้านี้ ตนได้มีโอกาสหารือกับเจ้าของภัตตาคาร พบว่ามีการปรับลดพนักงานจาก 300-400 คน เหลือเพียงประมาณ 100 คน เท่านั้น ทำให้เห็นว่า ขนาดธุรกิจขนาดใหญ่ยังประคองตัวเองได้ยากในช่วงนี้ จึงกังวลว่า หากโควิดรอบนี้รุนแรงจะทำให้แรงงานกลุ่มนี้จะถูกจำนวนลง ซึ่งจะทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น
เอกชนชี้ตัวเลขว่างงานไม่ปกติ แย้งรัฐ
“
จากตัวเลขการว่างงานที่รัฐประเมิน มองว่าภาครัฐพยายามพูดออกมาให้เป็นปกติ แต่ภาคเอกชนเห็นว่า ไม่ปกติ ซึ่งข้อมูลขัดแย้งกับเอกสารสภาวะการจ้างงาน ของกระทรวงแรงงาน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่มีการจ้างงานลดลงประมาณ 5% ทุกประเภทการจ้างงาน แสดงว่า ตลาดแรงงานยังคงมีความเปราะบาง”
“
ขณะเดียวกัน แรงงานในประกันสังคม ตามมาตรา 33 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีแรงงานหายไปเกือบ 6 แสนล้านคน ซึ่งการฟื้นตัวของตลาดแรงงานต้องดูสถานการณ์โควิดจะรุนแรงขนาดไหน และถ้าหากมีการประกาศล็อกดาวน์ การฟื้นตัวก็ต้องยึดยาวออกไปอีกแน่นอน” นาย
ธนิตกล่าว
ไฟเซอร์ยอมรับขึ้นราคาวัคซีนโควิด-19 จาก 450 เป็น 730 บาท เผยอาจต้องฉีดเข็มที่3
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2676032
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า นาย
อัลเบิร์ต บัวร์ลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัทไฟเซอร์ เจ้าของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาร่วมกับบริษัท ไบออนเทค ของเยอรมนี ให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 15 เมษายนนี้ว่า พิจารณาจากสถานการณ์ที่ผ่านมา มีความเป็นไปได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัท อาจจำเป็นต้องได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ณ จุดในจุดหนึ่งหลังจากฉีดเข็มแรกไปแล้ว 6 เดือนถึง 12 เดือน และชี้ว่า หลังจากนั้น มีความเป็นไปได้ที่อาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในทุกๆ ปี
อย่างไรก็ตามนาย
บัวร์ลา ย้ำว่ายังคงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อยืนยันกรณีทั้งหมดนี้อีกครั้ง โดยยอมรับว่า การกลายพันธุ์ของไวรัส จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการกำหนดการให้วัคซีนป้องกันเหล่านี้
ก่อนหน้านี้ ผลการศึกษาของไฟเซอร์เองระบุว่า ภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับวัคซีนจะลดน้อยลง หลังจากที่ฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้วราว 6 เดือนอย่างไรก็ตาม ทางผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ายังจำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อชี้ขาดว่า ภูมิคุ้มกันโควิดจะสามารถคงอยู่นานกว่า 6 เดือนหรือไม่
ในการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ นาย
บัวร์ลายอมรับด้วยว่า ไฟเซอร์ได้ปรับขึ้นราคาวัคซีนของตนที่จำหน่ายให้กับประเทศพัฒนาแล้วไปแล้ว หลังจากที่นายกรัฐมนตรีบัลแกเรียออกมาเปิดเผยว่า วัคซีนไฟเซอร์ในเวลานี้ปรับราคาขึ้นสูงถึง 19.50 ยูโร (ราว 730 บาท) ต่อโดส จากเดิมที่เคยขายอยู่ที่ 12 ยูโร (ราว 450 บาท) โดยนาย
บัวร์ลาอ้างว่า เป็นราคาสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งสำหรับประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ส่วนประเทศที่ยากจนไฟเซอร์จะขายวัคซีนให้ในราคาต้นทุนเท่านั้น
JJNY : สภานายจ้างห่วงธุรกิจ│ไฟเซอร์ยอมรับขึ้นราคาวัคซีน│ฝ่ายต่อต้านเมียนมาตั้งรบ.เอกภาพ│‘ไทยไม่ทน’ จ่อตั้งเวทีออนไลน์
https://www.prachachat.net/csr-hr/news-649312
สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าฯ ชี้สถานการณ์โควิดรอบนี้รุนแรง ห่วง “ธุรกิจค้าปลีก-บริการ” ลดจำนวนพนักงาน ชี้เอกชนเห็นต่างภาครัฐ มองตัวเลขว่างงาน “ไม่ปกติ”
วันที่ 16 เมษายน 2564 นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยถึงความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในช่วงนี้ว่า พฤติกรรมของประชาชนที่เปลี่ยนไป โดยการหันไปซื้อของออนไลน์มากขึ้น และออกไปห้างสรรพสินค้า หรือโมเดิร์นเทรดน้อยลง ส่งผลให้สถานประกอบการบางแห่งลดจำนวนพนักงานลง
นายธนิต ระบุว่า ก่อนหน้านี้ ตนได้มีโอกาสหารือกับเจ้าของภัตตาคาร พบว่ามีการปรับลดพนักงานจาก 300-400 คน เหลือเพียงประมาณ 100 คน เท่านั้น ทำให้เห็นว่า ขนาดธุรกิจขนาดใหญ่ยังประคองตัวเองได้ยากในช่วงนี้ จึงกังวลว่า หากโควิดรอบนี้รุนแรงจะทำให้แรงงานกลุ่มนี้จะถูกจำนวนลง ซึ่งจะทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น
เอกชนชี้ตัวเลขว่างงานไม่ปกติ แย้งรัฐ
“จากตัวเลขการว่างงานที่รัฐประเมิน มองว่าภาครัฐพยายามพูดออกมาให้เป็นปกติ แต่ภาคเอกชนเห็นว่า ไม่ปกติ ซึ่งข้อมูลขัดแย้งกับเอกสารสภาวะการจ้างงาน ของกระทรวงแรงงาน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่มีการจ้างงานลดลงประมาณ 5% ทุกประเภทการจ้างงาน แสดงว่า ตลาดแรงงานยังคงมีความเปราะบาง”
“ขณะเดียวกัน แรงงานในประกันสังคม ตามมาตรา 33 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีแรงงานหายไปเกือบ 6 แสนล้านคน ซึ่งการฟื้นตัวของตลาดแรงงานต้องดูสถานการณ์โควิดจะรุนแรงขนาดไหน และถ้าหากมีการประกาศล็อกดาวน์ การฟื้นตัวก็ต้องยึดยาวออกไปอีกแน่นอน” นายธนิตกล่าว
ไฟเซอร์ยอมรับขึ้นราคาวัคซีนโควิด-19 จาก 450 เป็น 730 บาท เผยอาจต้องฉีดเข็มที่3
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2676032
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า นายอัลเบิร์ต บัวร์ลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัทไฟเซอร์ เจ้าของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาร่วมกับบริษัท ไบออนเทค ของเยอรมนี ให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 15 เมษายนนี้ว่า พิจารณาจากสถานการณ์ที่ผ่านมา มีความเป็นไปได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัท อาจจำเป็นต้องได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ณ จุดในจุดหนึ่งหลังจากฉีดเข็มแรกไปแล้ว 6 เดือนถึง 12 เดือน และชี้ว่า หลังจากนั้น มีความเป็นไปได้ที่อาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในทุกๆ ปี
อย่างไรก็ตามนายบัวร์ลา ย้ำว่ายังคงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อยืนยันกรณีทั้งหมดนี้อีกครั้ง โดยยอมรับว่า การกลายพันธุ์ของไวรัส จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการกำหนดการให้วัคซีนป้องกันเหล่านี้
ก่อนหน้านี้ ผลการศึกษาของไฟเซอร์เองระบุว่า ภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับวัคซีนจะลดน้อยลง หลังจากที่ฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้วราว 6 เดือนอย่างไรก็ตาม ทางผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ายังจำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อชี้ขาดว่า ภูมิคุ้มกันโควิดจะสามารถคงอยู่นานกว่า 6 เดือนหรือไม่
ในการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ นายบัวร์ลายอมรับด้วยว่า ไฟเซอร์ได้ปรับขึ้นราคาวัคซีนของตนที่จำหน่ายให้กับประเทศพัฒนาแล้วไปแล้ว หลังจากที่นายกรัฐมนตรีบัลแกเรียออกมาเปิดเผยว่า วัคซีนไฟเซอร์ในเวลานี้ปรับราคาขึ้นสูงถึง 19.50 ยูโร (ราว 730 บาท) ต่อโดส จากเดิมที่เคยขายอยู่ที่ 12 ยูโร (ราว 450 บาท) โดยนายบัวร์ลาอ้างว่า เป็นราคาสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งสำหรับประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ส่วนประเทศที่ยากจนไฟเซอร์จะขายวัคซีนให้ในราคาต้นทุนเท่านั้น