นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มครึ่งปีแรกของปีนี้ คาดว่าภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ลงทุนอยู่เดิม จะยังคงระดับอัตราการจ้างงานของแรงงานในระบบไว้ตามปกติ โดยหากจะรับแรงงานเพิ่ม ก็จะเป็นการทดแทนแรงงานเก่าที่เกษียณอายุหรือขอลาออกไปเท่านั้น คงไม่ใช่การรับแรงงานเพิ่มจากเหตุผลของการขยายกิจการใหม่ๆ เพราะเศรษฐกิจในขณะนี้ยังไม่เอื้อให้ขยายการลงทุนเพราะกำลังซื้อในประเทศยังไม่ฟื้นตัว และนายจ้างส่วนหนึ่งก็ได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการผลิต ด้วยการหันไปใช้เครื่องจักรในกระบวนการผลิตมากขึ้น
สำหรับภาวะการว่างงานของคนไทยในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวน 404,000 คน คิดเป็นอัตราว่างงาน 1.1% ของกำลังแรงงานรวม ซึ่ง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 43,000 คน หากพิจารณาราย ละเอียดจะพบว่าไทยมีทั้งการว่างงานและขาดแคลนแรงงานควบคู่กันไป โดยในส่วนของแรงงานไร้ฝีมือ ก็จะพบว่าอัตราการว่างงานเป็นศูนย์ เพราะต้องนำเข้าแรงงานจากต่างด้าว มาทำงานแทนคนไทยประมาณ 3 ล้านคน
ทั้งนี้ จากผลสำรวจของสภาองค์การฯยังพบว่า อัตราการว่างงาน จะไปกระจุกตัวในแรงงานระดับกลางซึ่งส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่จบระดับอุดมศึกษา ที่มาจากสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ซึ่งมีการผลิตแรงงานส่วนนี้เข้ามาเกินความต้องการของตลาดแรงงาน ปีละ 200,000 คน และสิ่งที่น่ากังวลคือจะมีบัณฑิตจบใหม่อีกช่วงเร็วๆนี้หากเลือกงานก็จะตกงานเพิ่มอีก แต่ถ้าเป็นสายวิชาชีพก็ไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอนาคตมีความจำเป็นมากที่ประเทศ ไทยจะต้องเร่งปรับการศึกษาให้สอดรับกับความต้องการแรงงาน
ที่มา :
ไทยรัฐ
ไทยรัฐ: สภาองค์การนายจ้างฯ คาดเด็กจบใหม่ว่างงานเพิ่มขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจไม่ดี-ใช้เครื่องจักรทดแทน แนะให้เรียนสายอาชีพ
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มครึ่งปีแรกของปีนี้ คาดว่าภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ลงทุนอยู่เดิม จะยังคงระดับอัตราการจ้างงานของแรงงานในระบบไว้ตามปกติ โดยหากจะรับแรงงานเพิ่ม ก็จะเป็นการทดแทนแรงงานเก่าที่เกษียณอายุหรือขอลาออกไปเท่านั้น คงไม่ใช่การรับแรงงานเพิ่มจากเหตุผลของการขยายกิจการใหม่ๆ เพราะเศรษฐกิจในขณะนี้ยังไม่เอื้อให้ขยายการลงทุนเพราะกำลังซื้อในประเทศยังไม่ฟื้นตัว และนายจ้างส่วนหนึ่งก็ได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการผลิต ด้วยการหันไปใช้เครื่องจักรในกระบวนการผลิตมากขึ้น
สำหรับภาวะการว่างงานของคนไทยในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวน 404,000 คน คิดเป็นอัตราว่างงาน 1.1% ของกำลังแรงงานรวม ซึ่ง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 43,000 คน หากพิจารณาราย ละเอียดจะพบว่าไทยมีทั้งการว่างงานและขาดแคลนแรงงานควบคู่กันไป โดยในส่วนของแรงงานไร้ฝีมือ ก็จะพบว่าอัตราการว่างงานเป็นศูนย์ เพราะต้องนำเข้าแรงงานจากต่างด้าว มาทำงานแทนคนไทยประมาณ 3 ล้านคน
ทั้งนี้ จากผลสำรวจของสภาองค์การฯยังพบว่า อัตราการว่างงาน จะไปกระจุกตัวในแรงงานระดับกลางซึ่งส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่จบระดับอุดมศึกษา ที่มาจากสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ซึ่งมีการผลิตแรงงานส่วนนี้เข้ามาเกินความต้องการของตลาดแรงงาน ปีละ 200,000 คน และสิ่งที่น่ากังวลคือจะมีบัณฑิตจบใหม่อีกช่วงเร็วๆนี้หากเลือกงานก็จะตกงานเพิ่มอีก แต่ถ้าเป็นสายวิชาชีพก็ไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอนาคตมีความจำเป็นมากที่ประเทศ ไทยจะต้องเร่งปรับการศึกษาให้สอดรับกับความต้องการแรงงาน
ที่มา : ไทยรัฐ