โฆษกพท. อัดรัฐ ใช้กม.เลือกปฏิบัติ จับผจก.ผับ แค่ปลายเหตุ เจ้าของ-เจ้าหน้าที่รอดเฉย
https://www.matichon.co.th/politics/news_2670100
“โฆษกเพื่อไทย” ทวงจริยธรรมนักการเมือง-ข้าราชการ ไปสถานบันเทิงจนทำให้โควิดระบาดระลอก 3
เมื่อวันที่ 12 เมษายน น.ส.
อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 คลัสเตอร์ทองหล่อ และได้แพร่กระจายไปหลายจังหวัด สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะผู้มีอำนาจหละหลวมไม่ทำตัวให้เป็นแบบอย่างในการป้องกันตนเองจากโรคระบาด โดยเฉพาะการสั่งจำคุกผู้จัดการคลับย่านทองหล่อ 2 เดือน เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ยังหาผู้กระทำผิดทั้งเจ้าของผับตัวจริงและเจ้าหน้าที่รัฐที่ปล่อยปละละเลยให้เปิดบริการเกินเวลาไม่ได้ ทั้งที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์เคยอ้างว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อให้นักการเมืองเป็นคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต
ขณะเดียวกันยังมีพ.ร.บ มาตรฐานจริยธรรม พ.ศ.2562 เพื่อเป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการ พนักงานราชการ คณะรัฐมนตรี (ครม.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) และยังมี พ.ร.บ.มาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ซึ่งบังคับใช้ครอบคลุม ส.ส. ,ส.ว. และ ครม. ในหมวด 3 ข้อ 21 ระบุว่า ต้องยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
“
แต่นักการเมือง และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่กลับทำตรงข้าม ไปสถานบันเทิงที่ไม่มีการควบคุมโรคที่ดีพอ จนเกิดการระบาดอีกครั้ง สร้างความเสียหายให้กับประชาชน คนตกงานเพิ่ม ท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์เงียบสงัด รายได้หดหาย กลับไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ยังลอยนวลพ้นผิด เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่า กฎหมายถูกเลือกใช้กับประชาชนตัวเล็กตัวน้อยและฝั่งตรงข้ามรัฐบาลใช่หรือไม่
“
คนระดับบนต่อให้ป่วยติดเชื้อโควิดก็ยังมีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะดูแลรักษาตัวเอง แต่คนหาเช้ากินค่ำได้รับผลกระทบเต็มๆ ท่านรับผิดชอบชีวิตพวกเขาไหวหรือไม่” น.ส.
อรุณี กล่าว
“อนุสรณ์”คาดGDPไตรมาสสองติดลบจากโควิดรอบ3
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_80574/
“อนุสรณ์ ธรรมใจ” คาด เศรษฐกิจไตรมาสสองอาจทรุดหนักถึงขั้นติดลบ จากผลกระทบโควิด-19 ระลอกสาม ฉุดทั้งปีโตไม่เกิน 2%
นาย
อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต คาดว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสสองอาจทรุดหนักถึงขั้นติดลบได้ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกสามและทำให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจทั้งปีไม่น่าจะถึง 2% ทั้งนี้ ต้องดำเนินมาตรการไม่ให้เกิดการตื่นกลัวเกินกว่าเหตุจนเกิดความชะงักงันทางเศรษฐกิจรุนแรง พร้อมมองว่า การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวไตรมาสสามอาจไม่เกิดขึ้น หากการแพร่ระบาดระลอกสามไม่สามารถควบคุมได้ภายในเดือนพฤษภาคม
ในสถานการณ์ที่ปัญหารุมเร้าเช่นนี้ จึงขอเสนอให้มีการใช้ยาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ ชดเชยรายได้ ชะลอการปิดกิจการรักษาการจ้างงาน โดย
ข้อเสนอแรก ลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เหลือ 6% ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลงอีก 1-2%
2.) เก็บภาษีทรัพย์สินชดเชยภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
3.) ชดเชยรายได้ให้กับกลุ่มประชาชนที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาทและได้รับผลกระทบไม่สามารถทำงานได้จากคำสั่งของรัฐเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด
4.) ออกพันธบัตรระยะยาว 20-30 ปีกู้เงินเพื่อลงทุนทางด้านการศึกษา การวิจัย การสร้างนวัตกรรม ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่และผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรม New S Curve
5.) ต้องยกระดับภาคเกษตรกรรมให้ผลิตสินค้ามูลค่าสูง แปรรูปเพิ่มมูลค่า ลงทุนระบบชลประทานและการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
6.) เร่งรัดในการออกกฎหมายเพื่อให้มีการพักการชำระหนี้สำหรับภาคท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่อง รวมทั้งธุรกิจที่เป็นหนี้เสียไม่สามารถชำระหนี้ได้จากผลกระทบของมาตรการของรัฐในการควบคุมการแพร่ระบาด
นาย
อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การระบาดระลอกสามและการแก้ปัญหาการแพร่ระบาด สะท้อนปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในไทยและความเหลื่อมล้ำในเกือบทุกมิติ ซึ่งทุกๆ ครั้งจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจสีเทา ไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย และ มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่มักจะก่อปัญหา ทำให้คนทั้งสังคมและเศรษฐกิจทั้งหมดเดือดร้อน การกระทำเหล่านี้เป็นการแสดงถึงความไม่รับผิดชอบต่อสังคม สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ
JJNY : โฆษกพท.อัดรัฐใช้กม.เลือกปฏิบัติ│“อนุสรณ์”คาดGDPไตรมาสสองติดลบ│ข้าวสารเงียบ│หมอธีระวัฒน์ ชี้ต้องเว้นระยะ-ตรวจซ้ำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2670100
“โฆษกเพื่อไทย” ทวงจริยธรรมนักการเมือง-ข้าราชการ ไปสถานบันเทิงจนทำให้โควิดระบาดระลอก 3
เมื่อวันที่ 12 เมษายน น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 คลัสเตอร์ทองหล่อ และได้แพร่กระจายไปหลายจังหวัด สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะผู้มีอำนาจหละหลวมไม่ทำตัวให้เป็นแบบอย่างในการป้องกันตนเองจากโรคระบาด โดยเฉพาะการสั่งจำคุกผู้จัดการคลับย่านทองหล่อ 2 เดือน เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ยังหาผู้กระทำผิดทั้งเจ้าของผับตัวจริงและเจ้าหน้าที่รัฐที่ปล่อยปละละเลยให้เปิดบริการเกินเวลาไม่ได้ ทั้งที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์เคยอ้างว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อให้นักการเมืองเป็นคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต
ขณะเดียวกันยังมีพ.ร.บ มาตรฐานจริยธรรม พ.ศ.2562 เพื่อเป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการ พนักงานราชการ คณะรัฐมนตรี (ครม.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) และยังมี พ.ร.บ.มาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ซึ่งบังคับใช้ครอบคลุม ส.ส. ,ส.ว. และ ครม. ในหมวด 3 ข้อ 21 ระบุว่า ต้องยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
“แต่นักการเมือง และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่กลับทำตรงข้าม ไปสถานบันเทิงที่ไม่มีการควบคุมโรคที่ดีพอ จนเกิดการระบาดอีกครั้ง สร้างความเสียหายให้กับประชาชน คนตกงานเพิ่ม ท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์เงียบสงัด รายได้หดหาย กลับไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ยังลอยนวลพ้นผิด เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่า กฎหมายถูกเลือกใช้กับประชาชนตัวเล็กตัวน้อยและฝั่งตรงข้ามรัฐบาลใช่หรือไม่
“คนระดับบนต่อให้ป่วยติดเชื้อโควิดก็ยังมีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะดูแลรักษาตัวเอง แต่คนหาเช้ากินค่ำได้รับผลกระทบเต็มๆ ท่านรับผิดชอบชีวิตพวกเขาไหวหรือไม่” น.ส.อรุณี กล่าว
“อนุสรณ์”คาดGDPไตรมาสสองติดลบจากโควิดรอบ3
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_80574/
“อนุสรณ์ ธรรมใจ” คาด เศรษฐกิจไตรมาสสองอาจทรุดหนักถึงขั้นติดลบ จากผลกระทบโควิด-19 ระลอกสาม ฉุดทั้งปีโตไม่เกิน 2%
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต คาดว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสสองอาจทรุดหนักถึงขั้นติดลบได้ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกสามและทำให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจทั้งปีไม่น่าจะถึง 2% ทั้งนี้ ต้องดำเนินมาตรการไม่ให้เกิดการตื่นกลัวเกินกว่าเหตุจนเกิดความชะงักงันทางเศรษฐกิจรุนแรง พร้อมมองว่า การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวไตรมาสสามอาจไม่เกิดขึ้น หากการแพร่ระบาดระลอกสามไม่สามารถควบคุมได้ภายในเดือนพฤษภาคม
ในสถานการณ์ที่ปัญหารุมเร้าเช่นนี้ จึงขอเสนอให้มีการใช้ยาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ ชดเชยรายได้ ชะลอการปิดกิจการรักษาการจ้างงาน โดย
ข้อเสนอแรก ลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เหลือ 6% ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลงอีก 1-2%
2.) เก็บภาษีทรัพย์สินชดเชยภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
3.) ชดเชยรายได้ให้กับกลุ่มประชาชนที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาทและได้รับผลกระทบไม่สามารถทำงานได้จากคำสั่งของรัฐเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด
4.) ออกพันธบัตรระยะยาว 20-30 ปีกู้เงินเพื่อลงทุนทางด้านการศึกษา การวิจัย การสร้างนวัตกรรม ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่และผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรม New S Curve
5.) ต้องยกระดับภาคเกษตรกรรมให้ผลิตสินค้ามูลค่าสูง แปรรูปเพิ่มมูลค่า ลงทุนระบบชลประทานและการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
6.) เร่งรัดในการออกกฎหมายเพื่อให้มีการพักการชำระหนี้สำหรับภาคท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่อง รวมทั้งธุรกิจที่เป็นหนี้เสียไม่สามารถชำระหนี้ได้จากผลกระทบของมาตรการของรัฐในการควบคุมการแพร่ระบาด
นายอนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การระบาดระลอกสามและการแก้ปัญหาการแพร่ระบาด สะท้อนปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในไทยและความเหลื่อมล้ำในเกือบทุกมิติ ซึ่งทุกๆ ครั้งจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจสีเทา ไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย และ มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่มักจะก่อปัญหา ทำให้คนทั้งสังคมและเศรษฐกิจทั้งหมดเดือดร้อน การกระทำเหล่านี้เป็นการแสดงถึงความไม่รับผิดชอบต่อสังคม สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ