สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/67 ขยายตัวเพียง 2.3% นับว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า เวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจโตเร็วที่สุดในไตรมาส 2/67 ซึ่งขยายตัวถึง 6.9% รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์
ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ตัวเลขที่ออกมาอาจต่ำกว่าที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินไว้เล็กน้อย อย่างไรก็ดี โดยรวมเป็นไปในทางเดียวกัน แต่ยังมีความประหลาดใจ (Surprise) เล็กน้อยตรงงบลงทุนภาครัฐติดลบหนักกว่าที่คิด เนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายของภาครัฐมีความคลาดเคลื่อนและไม่เป็นไปตามเป้า
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการ GDP ไทยไว้ที่ 2.6% ภายใต้สมมติฐานที่ว่า ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในไตรมาส 4/67, พ.ร.บ.งบประมาณปี 2568 ประกาศใช้ได้ทัน และการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามที่คาดไว้
สำหรับภาคส่วน (Sector) ที่ช่วยขับเคลื่อน GDP ไทยในไตรมาสที่ผ่านมา ณัฐพรมองว่า ส่วนใหญ่มาจากภาคการท่องเที่ยว ค้าปลีก ค้าส่ง และบริการพักแรม ที่ยังเติบโตได้ดี
สำหรับเหตุผลที่ทำให้เศรษฐกิจไทยโตล้าหลังเพื่อนบ้านมีผลมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ไทยยังอยู่ในระยะพัฒนาการ (Development Stage) ที่แตกต่างจากหลายประเทศ เช่น เวียดนาม จึงทำให้การเติบโตของไทยย่อมต่ำกว่า
2. ไทยกำลังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น สังคมผู้สูงวัย ความสามารถด้านการแข่งขันที่ต่ำกว่าเพื่อนบ้านบางประเทศ
3. เมื่อเทียบกับบางประเทศ เช่น มาเลเซีย ซึ่งอาจสามารถฉกฉวยโอกาสหรือดึงดูดการลงทุนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าไฮเทคได้มากกว่าไทย เห็นได้จากการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่โตไม่ทันบางประเทศ
4. ไตรมาสที่ผ่านมาการลงทุนของภาครัฐ และเอกชนติดลบค่อนข้างหนัก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากที่นักลงทุนรอดูความชัดเจนต่างๆ ทางเศรษฐกิจ
https://thestandard.co/why-is-thailands-economy-behind-asean-in-2q24/
เศรษฐกิจไทยโต ‘ล้าหลัง’ เพื่อนบ้านอาเซียน ในไตรมาส 2/67
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/67 ขยายตัวเพียง 2.3% นับว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า เวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจโตเร็วที่สุดในไตรมาส 2/67 ซึ่งขยายตัวถึง 6.9% รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์
ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ตัวเลขที่ออกมาอาจต่ำกว่าที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินไว้เล็กน้อย อย่างไรก็ดี โดยรวมเป็นไปในทางเดียวกัน แต่ยังมีความประหลาดใจ (Surprise) เล็กน้อยตรงงบลงทุนภาครัฐติดลบหนักกว่าที่คิด เนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายของภาครัฐมีความคลาดเคลื่อนและไม่เป็นไปตามเป้า
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการ GDP ไทยไว้ที่ 2.6% ภายใต้สมมติฐานที่ว่า ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในไตรมาส 4/67, พ.ร.บ.งบประมาณปี 2568 ประกาศใช้ได้ทัน และการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามที่คาดไว้
สำหรับภาคส่วน (Sector) ที่ช่วยขับเคลื่อน GDP ไทยในไตรมาสที่ผ่านมา ณัฐพรมองว่า ส่วนใหญ่มาจากภาคการท่องเที่ยว ค้าปลีก ค้าส่ง และบริการพักแรม ที่ยังเติบโตได้ดี
สำหรับเหตุผลที่ทำให้เศรษฐกิจไทยโตล้าหลังเพื่อนบ้านมีผลมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ไทยยังอยู่ในระยะพัฒนาการ (Development Stage) ที่แตกต่างจากหลายประเทศ เช่น เวียดนาม จึงทำให้การเติบโตของไทยย่อมต่ำกว่า
2. ไทยกำลังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น สังคมผู้สูงวัย ความสามารถด้านการแข่งขันที่ต่ำกว่าเพื่อนบ้านบางประเทศ
3. เมื่อเทียบกับบางประเทศ เช่น มาเลเซีย ซึ่งอาจสามารถฉกฉวยโอกาสหรือดึงดูดการลงทุนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าไฮเทคได้มากกว่าไทย เห็นได้จากการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่โตไม่ทันบางประเทศ
4. ไตรมาสที่ผ่านมาการลงทุนของภาครัฐ และเอกชนติดลบค่อนข้างหนัก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากที่นักลงทุนรอดูความชัดเจนต่างๆ ทางเศรษฐกิจ
https://thestandard.co/why-is-thailands-economy-behind-asean-in-2q24/