ฟังหู ไว้หู
เปิดข้อมูลการคาดการณ์ IMF ทำนายอีก 4 ปี หรือในปี 2571 ขนาดเศรษฐกิจฟิลิปปินส์-เวียดนามแซงหน้าไทย เหตุโตต่ำสุด 2.75% ขณะที่คู่แข่งโตเกิน 5-6%
ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงในภูมิภาคอาเซียน เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญ เมื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ส่งสัญญาณเตือนผ่านตัวเลขคาดการณ์ล่าสุด ที่ชี้ให้เห็นว่าไทยกำลังสูญเสียพลังในการแข่งขัน จนอาจต้องเสียตำแหน่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของอาเซียนให้กับคู่แข่งอย่างฟิลิปปินส์และเวียดนามในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
"ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมูลค่า GDP ของไทยและประเทศคู่แข่งในอาเซียน 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม จาก IMF พบว่า การคาดการณ์เศรษฐกิจ 5 ประเทศหลักในอาเซียนไม่รวมสิงคโปร์ที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ถึงปี 2572 ชี้ชัดว่าประเทศไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน จนถูกทั้งฟิลิปปินส์และเวียดนามแซงหน้าภายในปี 2571 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้
เริ่มจากในปี 2567 อันดับขนาดเศรษฐกิจของไทยยังคงเดิม โดยอินโดนีเซียนำโด่งด้วย GDP 1.40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 4.96% ตามด้วยไทยอันดับ 2 ที่ 5.29 แสนล้านดอลลาร์ แต่โตเพียง 2.80% ขณะที่ฟิลิปปินส์อันดับ 3 มี GDP 4.70 แสนล้านดอลลาร์ โต 5.75% เวียดนามอันดับ 4 ที่ 4.68 แสนล้านดอลลาร์ แต่โตสูงถึง 6.06% และมาเลเซียอันดับ 5 ที่ 4.40 แสนล้านดอลลาร์ โต 4.80%
ปี 2568 อันดับยังไม่เปลี่ยนแปลง แต่ช่องว่างด้านขนาดเศรษฐกิจเริ่มแคบลง โดยอินโดนีเซียมี GDP 1.49 ล้านล้านดอลลาร์ โต 5.07% ไทยอันดับ 2 ที่ 5.45 แสนล้านดอลลาร์ โต 3.00% ฟิลิปปินส์อันดับ 3 ที่ 5.08 แสนล้านดอลลาร์ โต 6.11% เวียดนามอันดับ 4 ที่ 5.06 แสนล้านดอลลาร์ โต 6.06% และมาเลเซียอันดับ 5 ที่ 4.88 แสนล้านดอลลาร์ โต 4.39%
การขยายตัวเศรษฐกิจไทย VS คู่แข่งในอาเซียน
ปี 2569 อินโดนีเซียยังนำโด่งด้วย GDP 1.61 ล้านล้านดอลลาร์ โต 5.06% ไทยรั้งอันดับ 2 ที่ 5.70 แสนล้านดอลลาร์ แต่อัตราการเติบโตลดลงเหลือ 2.57% ฟิลิปปินส์อันดับ 3 ตามมาติดที่ 5.50 แสนล้านดอลลาร์ และโตสูงถึง 6.25% เวียดนามอันดับ 4 ที่ 5.45 แสนล้านดอลลาร์ โต 6.01% และมาเลเซียอันดับ 5 ที่ 5.22 แสนล้านดอลลาร์ โต 4.40%
IMF คาดเศรษฐกิจโลกปี 67-68 โต 3.2% ไทยรั้งท้ายอาเซียน แถมระยะยาวโตแค่ 2.7%
เข้าสู่ปี 2570 ไทยเริ่มส่อเค้าถูกไล่ทัน แต่ยังรักษาอันดับ 2 ไว้ได้ที่ GDP 5.96 แสนล้านดอลลาร์ โต 2.75% ขณะที่ฟิลิปปินส์อันดับ 3 ตามมาห่างแค่เพียง 1 พันล้านดอลลาร์ ที่ 5.95 แสนล้านดอลลาร์ และโตสูงถึง 6.33% เวียดนามอันดับ 4 ที่ 5.86 แสนล้านดอลลาร์ โต 5.85% มาเลเซียอันดับ 5 ที่ 5.53 แสนล้านดอลลาร์ โต 3.97% ส่วนอินโดนีเซียยังนำห่างที่ 1.74 ล้านล้านดอลลาร์ โต 5.07%
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 2571 เมื่อไทยถูกทั้งฟิลิปปินส์และเวียดนามแซงขึ้นไป โดยขนาดเศรษฐกิจเรียงลำดับใหม่ดังนี้: อินโดนีเซียอันดับ 1 ที่ 1.88 ล้านล้านดอลลาร์ โต 5.06% ฟิลิปปินส์ขึ้นมาอันดับ 2 ที่ 6.49 แสนล้านดอลลาร์ โต 6.34% เวียดนามขึ้นมาอันดับ 3 ที่ 6.29 แสนล้านดอลลาร์ โต 5.75% ไทยร่วงลงอันดับ 4 ที่ 6.24 แสนล้านดอลลาร์ โต 2.69% และมาเลเซียอันดับ 5 ที่ 5.87 แสนล้านดอลลาร์ โต 3.99%
ปี 2572 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการคาดการณ์ อันดับยิ่งถ่างกว้างขึ้น โดยอินโดนีเซียมี GDP 2.03 ล้านล้านดอลลาร์ โต 5.07% ฟิลิปปินส์รักษาอันดับ 2 ที่ 7.07 แสนล้านดอลลาร์ โต 6.31% เวียดนามอันดับ 3 ที่ 6.72 แสนล้านดอลลาร์ โต 5.55% ไทยอันดับ 4 ที่ 6.53 แสนล้านดอลลาร์ โต 2.66% และมาเลเซียอันดับ 5 ที่ 6.21 แสนล้านดอลลาร์ โต 4.00%
จากข้อมูลของ IMF สะท้อนให้เห็นว่าการที่ขนาดเศรษฐกิจของไทยร่วงจากอันดับ 2 มาอยู่ที่อันดับ 4 ในช่วง 5 ปี เป็นผลจากอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยฟิลิปปินส์นำโด่งที่ 6.18% เวียดนาม 5.88% อินโดนีเซีย 5.05% มาเลเซีย 4.26% ขณะที่ไทยเติบโตต่ำสุดเพียง 2.75%
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า แม้ไทยจะมีฐานเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในปี 2567 แต่ด้วยอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่า 3% เกือบทุกปี ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเติบโตเกิน 4-6% ส่งผลให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแคบลงอย่างรวดเร็ว จนถูกฟิลิปปินส์ และเวียดนามแซงหน้าในที่สุด สะท้อนความจำเป็นเร่งด่วนที่ไทยต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว
ที่มา: ฐานเศรษฐกิจรวบรวมจาก IMF:World Economic Outlook Database
Cr.
https://www.thansettakij.com/business/610070
IMF คาดเศรษฐกิจโลกปี 67-68 โต 3.2% ไทยรั้งท้ายอาเซียน แถมระยะยาวโตแค่ 2.7%
IMF คาดเศรษฐกิจโลกปี 2024-25 โต 3.2% "สหรัฐ" นำทัพประเทศพัฒนาแล้ว - "อินเดีย" แรงสุดในกลุ่มเศรษฐกิจหลัก ขณะที่ไทย คาดว่าจะขยายตัว 2.8% ในปีนี้ และ 3.0% ในปีหน้า รั้งท้ายอาเซียน แถมระยะยาวโตแค่ 2.7%
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงาน World Economic Outlook ฉบับเดือนตุลาคม 2024 คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2024-2025 จะเติบโต 3.2% เท่ากัน โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของการเติบโตในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ขณะที่อินเดียครองแชมป์เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่เติบโตสูงสุด
สหรัฐฯ แข็งแกร่งนำทีมประเทศพัฒนาแล้ว
IMF ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของสหรัฐฯ เป็นประเทศเดียวในกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้วที่ได้รับการปรับเพิ่มทั้งปี 2024 และ 2025 โดยปรับขึ้น 0.2% เป็น 2.8% ในปี 2024 และปรับขึ้น 0.3% เป็น 2.2% ในปี 2025 สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่งกว่าคาด ขับเคลื่อนด้วยค่าจ้างและราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น
นายปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF ระบุว่า สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการ "ลงจอดแบบนุ่มนวล" โดยสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้โดยไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อตลาดแรงงาน และมองว่าความเสี่ยงที่สหรัฐฯ จะเผชิญภาวะถดถอยลดลง หากไม่มีปัจจัยช็อกรุนแรง
อินเดีย-บราซิลแรง จีนชะลอ
ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ อินเดียยังคงโดดเด่นที่สุด โดย IMF คาดว่าจะเติบโต 7.0% ในปี 2024 และ 6.5% ในปี 2025 ซึ่งสูงสุดในบรรดาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ด้านบราซิลได้รับการปรับเพิ่มคาดการณ์อย่างมีนัยสำคัญ 0.9% เป็น 3.0% จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง
ขณะที่จีน เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลก ถูกปรับลดคาดการณ์ปี 2024 ลง 0.2% เหลือ 4.8% แม้การส่งออกสุทธิจะเพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัจจัยกดดันจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแอและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำ สำหรับปี 2025 IMF คงคาดการณ์ที่ 4.5% ซึ่งต่ำกว่าแนวโน้มปกติ
ยุโรปซบ - เยอรมนีโตเป็นศูนย์
เศรษฐกิจยุโรปยังคงซบเซา โดยเยอรมนีถูกปรับลดคาดการณ์ลง 0.2% เหลือ 0% ในปีนี้ เนื่องจากภาคการผลิตยังคงประสบปัญหา ส่งผลให้คาดการณ์การเติบโตโดยรวมของยูโรโซนลดลงเหลือ 0.8% ในปี 2024 และ 1.2% ในปี 2025 แม้สเปนจะได้รับการปรับเพิ่มเป็น 2.9% ก็ตาม
เศรษฐกิจไทยโตต่ำรั้งท้ายกลุ่มอาเซียน
ขณะที่เศรษฐกิจไทยตามการคาดการณ์ของ IMF ได้ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปหลังจากการหดตัวรุนแรงในปี 2563 และมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นในปี 2024-2025 ที่ 2.8% และ 3.0% ตามลำดับ แต่ในระยะยาวปี 2029 IMF คาดว่าจะเติบโตที่ 2.7%
เวียดนาม-ฟิลิปปินส์ แชมป์เศรษฐกิจอาเซียน
IMF คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโต 6.0% ในปี 2024 และ 6.8% ในปี 2025 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียนหลัก ตามด้วยฟิลิปปินส์ที่จะเติบโต 5.8% และ 6.1% ในปี 2024 และ 2025 ตามลำดับ โดยทั้งสองประเทศมีแนวโน้มรักษาการเติบโตในระดับสูงได้ต่อเนื่องถึงปี 2029 ที่ 6.0-6.3%
ด้านอินโดนีเซีย เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีแนวโน้มเติบโตอย่างมั่นคงที่ 5.0% ในปี 2024 และ 5.1% ในปี 2025 โดย IMF คาดว่าจะรักษาระดับการเติบโตที่ 5.1% ได้จนถึงปี 2029 สะท้อนความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในระยะยาว
ส่วนมาเลเซียมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 2024 โดย IMF คาดการณ์การเติบโตที่ 4.8% เพิ่มขึ้นจาก 3.6% ในปี 2023 แม้จะชะลอตัวลงเล็กน้อยเป็น 4.4% ในปี 2025 แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดี และคาดว่าจะเติบโต 4.0% ในระยะยาว
การเติบโตเศรษฐกิจไทยเปรียบเทียบคู่แข่งในอาเซียน
เงินเฟ้อโลกลดลง แต่ยังมีความเสี่ยง
IMF คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั่วโลกจะลดลงจาก 6.7% ในปี 2023 เป็น 5.8% ในปี 2024 และ 4.3% ในปี 2025 โดยเศรษฐกิจพัฒนาแล้วจะกลับสู่เป้าหมายเงินเฟ้อเร็วกว่าตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา
อย่างไรก็ตาม IMF เตือนว่ายังมีความเสี่ยงสำคัญหลายประการ ทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูง ความเป็นไปได้ของสงครามการค้าใหม่ และผลกระทบจากนโยบายการเงินที่เข้มงวด นอกจากนี้ IMF ยังเตือนประเทศต่างๆ ไม่ให้ใช้นโยบายปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศมากเกินไป เนื่องจากมักไม่สามารถนำมาซึ่งการปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพอย่างยั่งยืน
ที่มา: Reuters, IMF: World Economic Outlook, October 2024: Policy Pivot, Rising Threats
Cr.
https://www.thansettakij.com/business/610053
IMF คาดอีก4ปี ขนาดเศรษฐกิจ ฟิลิปปินส์-เวียดนาม แซงหน้าไทย ไทยระยะยาว 2.7%
เปิดข้อมูลการคาดการณ์ IMF ทำนายอีก 4 ปี หรือในปี 2571 ขนาดเศรษฐกิจฟิลิปปินส์-เวียดนามแซงหน้าไทย เหตุโตต่ำสุด 2.75% ขณะที่คู่แข่งโตเกิน 5-6%
ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงในภูมิภาคอาเซียน เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญ เมื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ส่งสัญญาณเตือนผ่านตัวเลขคาดการณ์ล่าสุด ที่ชี้ให้เห็นว่าไทยกำลังสูญเสียพลังในการแข่งขัน จนอาจต้องเสียตำแหน่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของอาเซียนให้กับคู่แข่งอย่างฟิลิปปินส์และเวียดนามในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
"ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมูลค่า GDP ของไทยและประเทศคู่แข่งในอาเซียน 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม จาก IMF พบว่า การคาดการณ์เศรษฐกิจ 5 ประเทศหลักในอาเซียนไม่รวมสิงคโปร์ที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ถึงปี 2572 ชี้ชัดว่าประเทศไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน จนถูกทั้งฟิลิปปินส์และเวียดนามแซงหน้าภายในปี 2571 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้
เริ่มจากในปี 2567 อันดับขนาดเศรษฐกิจของไทยยังคงเดิม โดยอินโดนีเซียนำโด่งด้วย GDP 1.40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 4.96% ตามด้วยไทยอันดับ 2 ที่ 5.29 แสนล้านดอลลาร์ แต่โตเพียง 2.80% ขณะที่ฟิลิปปินส์อันดับ 3 มี GDP 4.70 แสนล้านดอลลาร์ โต 5.75% เวียดนามอันดับ 4 ที่ 4.68 แสนล้านดอลลาร์ แต่โตสูงถึง 6.06% และมาเลเซียอันดับ 5 ที่ 4.40 แสนล้านดอลลาร์ โต 4.80%
ปี 2568 อันดับยังไม่เปลี่ยนแปลง แต่ช่องว่างด้านขนาดเศรษฐกิจเริ่มแคบลง โดยอินโดนีเซียมี GDP 1.49 ล้านล้านดอลลาร์ โต 5.07% ไทยอันดับ 2 ที่ 5.45 แสนล้านดอลลาร์ โต 3.00% ฟิลิปปินส์อันดับ 3 ที่ 5.08 แสนล้านดอลลาร์ โต 6.11% เวียดนามอันดับ 4 ที่ 5.06 แสนล้านดอลลาร์ โต 6.06% และมาเลเซียอันดับ 5 ที่ 4.88 แสนล้านดอลลาร์ โต 4.39%
การขยายตัวเศรษฐกิจไทย VS คู่แข่งในอาเซียน
ปี 2569 อินโดนีเซียยังนำโด่งด้วย GDP 1.61 ล้านล้านดอลลาร์ โต 5.06% ไทยรั้งอันดับ 2 ที่ 5.70 แสนล้านดอลลาร์ แต่อัตราการเติบโตลดลงเหลือ 2.57% ฟิลิปปินส์อันดับ 3 ตามมาติดที่ 5.50 แสนล้านดอลลาร์ และโตสูงถึง 6.25% เวียดนามอันดับ 4 ที่ 5.45 แสนล้านดอลลาร์ โต 6.01% และมาเลเซียอันดับ 5 ที่ 5.22 แสนล้านดอลลาร์ โต 4.40%
IMF คาดเศรษฐกิจโลกปี 67-68 โต 3.2% ไทยรั้งท้ายอาเซียน แถมระยะยาวโตแค่ 2.7%
เข้าสู่ปี 2570 ไทยเริ่มส่อเค้าถูกไล่ทัน แต่ยังรักษาอันดับ 2 ไว้ได้ที่ GDP 5.96 แสนล้านดอลลาร์ โต 2.75% ขณะที่ฟิลิปปินส์อันดับ 3 ตามมาห่างแค่เพียง 1 พันล้านดอลลาร์ ที่ 5.95 แสนล้านดอลลาร์ และโตสูงถึง 6.33% เวียดนามอันดับ 4 ที่ 5.86 แสนล้านดอลลาร์ โต 5.85% มาเลเซียอันดับ 5 ที่ 5.53 แสนล้านดอลลาร์ โต 3.97% ส่วนอินโดนีเซียยังนำห่างที่ 1.74 ล้านล้านดอลลาร์ โต 5.07%
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 2571 เมื่อไทยถูกทั้งฟิลิปปินส์และเวียดนามแซงขึ้นไป โดยขนาดเศรษฐกิจเรียงลำดับใหม่ดังนี้: อินโดนีเซียอันดับ 1 ที่ 1.88 ล้านล้านดอลลาร์ โต 5.06% ฟิลิปปินส์ขึ้นมาอันดับ 2 ที่ 6.49 แสนล้านดอลลาร์ โต 6.34% เวียดนามขึ้นมาอันดับ 3 ที่ 6.29 แสนล้านดอลลาร์ โต 5.75% ไทยร่วงลงอันดับ 4 ที่ 6.24 แสนล้านดอลลาร์ โต 2.69% และมาเลเซียอันดับ 5 ที่ 5.87 แสนล้านดอลลาร์ โต 3.99%
ปี 2572 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการคาดการณ์ อันดับยิ่งถ่างกว้างขึ้น โดยอินโดนีเซียมี GDP 2.03 ล้านล้านดอลลาร์ โต 5.07% ฟิลิปปินส์รักษาอันดับ 2 ที่ 7.07 แสนล้านดอลลาร์ โต 6.31% เวียดนามอันดับ 3 ที่ 6.72 แสนล้านดอลลาร์ โต 5.55% ไทยอันดับ 4 ที่ 6.53 แสนล้านดอลลาร์ โต 2.66% และมาเลเซียอันดับ 5 ที่ 6.21 แสนล้านดอลลาร์ โต 4.00%
จากข้อมูลของ IMF สะท้อนให้เห็นว่าการที่ขนาดเศรษฐกิจของไทยร่วงจากอันดับ 2 มาอยู่ที่อันดับ 4 ในช่วง 5 ปี เป็นผลจากอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยฟิลิปปินส์นำโด่งที่ 6.18% เวียดนาม 5.88% อินโดนีเซีย 5.05% มาเลเซีย 4.26% ขณะที่ไทยเติบโตต่ำสุดเพียง 2.75%
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า แม้ไทยจะมีฐานเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในปี 2567 แต่ด้วยอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่า 3% เกือบทุกปี ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเติบโตเกิน 4-6% ส่งผลให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแคบลงอย่างรวดเร็ว จนถูกฟิลิปปินส์ และเวียดนามแซงหน้าในที่สุด สะท้อนความจำเป็นเร่งด่วนที่ไทยต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว
ที่มา: ฐานเศรษฐกิจรวบรวมจาก IMF:World Economic Outlook Database
Cr. https://www.thansettakij.com/business/610070
IMF คาดเศรษฐกิจโลกปี 67-68 โต 3.2% ไทยรั้งท้ายอาเซียน แถมระยะยาวโตแค่ 2.7%
IMF คาดเศรษฐกิจโลกปี 2024-25 โต 3.2% "สหรัฐ" นำทัพประเทศพัฒนาแล้ว - "อินเดีย" แรงสุดในกลุ่มเศรษฐกิจหลัก ขณะที่ไทย คาดว่าจะขยายตัว 2.8% ในปีนี้ และ 3.0% ในปีหน้า รั้งท้ายอาเซียน แถมระยะยาวโตแค่ 2.7%
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงาน World Economic Outlook ฉบับเดือนตุลาคม 2024 คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2024-2025 จะเติบโต 3.2% เท่ากัน โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของการเติบโตในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ขณะที่อินเดียครองแชมป์เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่เติบโตสูงสุด
สหรัฐฯ แข็งแกร่งนำทีมประเทศพัฒนาแล้ว
IMF ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของสหรัฐฯ เป็นประเทศเดียวในกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้วที่ได้รับการปรับเพิ่มทั้งปี 2024 และ 2025 โดยปรับขึ้น 0.2% เป็น 2.8% ในปี 2024 และปรับขึ้น 0.3% เป็น 2.2% ในปี 2025 สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่งกว่าคาด ขับเคลื่อนด้วยค่าจ้างและราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น
นายปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF ระบุว่า สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการ "ลงจอดแบบนุ่มนวล" โดยสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้โดยไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อตลาดแรงงาน และมองว่าความเสี่ยงที่สหรัฐฯ จะเผชิญภาวะถดถอยลดลง หากไม่มีปัจจัยช็อกรุนแรง
อินเดีย-บราซิลแรง จีนชะลอ
ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ อินเดียยังคงโดดเด่นที่สุด โดย IMF คาดว่าจะเติบโต 7.0% ในปี 2024 และ 6.5% ในปี 2025 ซึ่งสูงสุดในบรรดาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ด้านบราซิลได้รับการปรับเพิ่มคาดการณ์อย่างมีนัยสำคัญ 0.9% เป็น 3.0% จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง
ขณะที่จีน เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลก ถูกปรับลดคาดการณ์ปี 2024 ลง 0.2% เหลือ 4.8% แม้การส่งออกสุทธิจะเพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัจจัยกดดันจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแอและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำ สำหรับปี 2025 IMF คงคาดการณ์ที่ 4.5% ซึ่งต่ำกว่าแนวโน้มปกติ
ยุโรปซบ - เยอรมนีโตเป็นศูนย์
เศรษฐกิจยุโรปยังคงซบเซา โดยเยอรมนีถูกปรับลดคาดการณ์ลง 0.2% เหลือ 0% ในปีนี้ เนื่องจากภาคการผลิตยังคงประสบปัญหา ส่งผลให้คาดการณ์การเติบโตโดยรวมของยูโรโซนลดลงเหลือ 0.8% ในปี 2024 และ 1.2% ในปี 2025 แม้สเปนจะได้รับการปรับเพิ่มเป็น 2.9% ก็ตาม
เศรษฐกิจไทยโตต่ำรั้งท้ายกลุ่มอาเซียน
ขณะที่เศรษฐกิจไทยตามการคาดการณ์ของ IMF ได้ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปหลังจากการหดตัวรุนแรงในปี 2563 และมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นในปี 2024-2025 ที่ 2.8% และ 3.0% ตามลำดับ แต่ในระยะยาวปี 2029 IMF คาดว่าจะเติบโตที่ 2.7%
เวียดนาม-ฟิลิปปินส์ แชมป์เศรษฐกิจอาเซียน
IMF คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโต 6.0% ในปี 2024 และ 6.8% ในปี 2025 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียนหลัก ตามด้วยฟิลิปปินส์ที่จะเติบโต 5.8% และ 6.1% ในปี 2024 และ 2025 ตามลำดับ โดยทั้งสองประเทศมีแนวโน้มรักษาการเติบโตในระดับสูงได้ต่อเนื่องถึงปี 2029 ที่ 6.0-6.3%
ด้านอินโดนีเซีย เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีแนวโน้มเติบโตอย่างมั่นคงที่ 5.0% ในปี 2024 และ 5.1% ในปี 2025 โดย IMF คาดว่าจะรักษาระดับการเติบโตที่ 5.1% ได้จนถึงปี 2029 สะท้อนความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในระยะยาว
ส่วนมาเลเซียมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 2024 โดย IMF คาดการณ์การเติบโตที่ 4.8% เพิ่มขึ้นจาก 3.6% ในปี 2023 แม้จะชะลอตัวลงเล็กน้อยเป็น 4.4% ในปี 2025 แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดี และคาดว่าจะเติบโต 4.0% ในระยะยาว
การเติบโตเศรษฐกิจไทยเปรียบเทียบคู่แข่งในอาเซียน
เงินเฟ้อโลกลดลง แต่ยังมีความเสี่ยง
IMF คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั่วโลกจะลดลงจาก 6.7% ในปี 2023 เป็น 5.8% ในปี 2024 และ 4.3% ในปี 2025 โดยเศรษฐกิจพัฒนาแล้วจะกลับสู่เป้าหมายเงินเฟ้อเร็วกว่าตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา
อย่างไรก็ตาม IMF เตือนว่ายังมีความเสี่ยงสำคัญหลายประการ ทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูง ความเป็นไปได้ของสงครามการค้าใหม่ และผลกระทบจากนโยบายการเงินที่เข้มงวด นอกจากนี้ IMF ยังเตือนประเทศต่างๆ ไม่ให้ใช้นโยบายปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศมากเกินไป เนื่องจากมักไม่สามารถนำมาซึ่งการปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพอย่างยั่งยืน
ที่มา: Reuters, IMF: World Economic Outlook, October 2024: Policy Pivot, Rising Threats
Cr. https://www.thansettakij.com/business/610053