คุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำหรือไม่ ถึงแม้ปัญหาท้องผูกดูเป็นเรื่องเล็กและพบเจอได้บ่อยในคนทั่วไป แต่อาการท้องผูกเรื้อรังนอกจากทำให้เกิดความทุกข์ทรมานแล้ว ยังอาจเกิดจากปัญหาที่ร้ายแรงกว่าที่คุณคิด ทางที่ดีที่สุดในการแก้ไขอาการท้องผูกเรื้อรังคือการพบแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อได้รับการรักษาอย่างตรงจุด
อาการแบบไหนเรียกว่าท้องผูก
อาการท้องผูกมีได้หลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป โดยทางการแพทย์ อาการท้องผูกหมายถึงกลุ่มอาการดังต่อไปนี้
- ไม่ถ่ายอุจจาระเกิน 3 วันต่อสัปดาห์
- อุจจาระเป็นก้อนแข็งกว่าปกติ
- ต้องเบ่งมากเมื่อถ่ายอุจจาระ
- รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
- เบ่งอุจจาระไม่ออก
ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นผสมปนเปกันไป แต่ผู้ป่วยมักมีอาการบางอย่างปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดกว่าอาการอื่นๆ
เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง
สาเหตุของอาการท้องผูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆโดยดูจากอาการของผู้ป่วยดังนี้
กลุ่มแรก ลำไส้ผู้ป่วยทำงานน้อย ทำให้มีอาการหลายๆวันจึงถ่ายอุจจาระครั้งหนึ่งโดยถ่ายไม่ยากนัก ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุคือ
- โรคบางอย่าง เช่น โรคทางระบบประสาท ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคเบาหวานและโรคอื่นๆ
- ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้บางชนิด ยากันชัก ยาลดความดันโลหิตบางชนิด กลุ่มยาทางจิตเวช เป็นต้น
- การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยมาก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่ออาหารของแต่ละบุคคลเช่นกัน บางคนรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยแล้วท้องผูก ในขณะที่บางคนยังคงถ่ายอุจจาระเป็นปกติ เป็นต้น
กลุ่มที่สอง ผู้ป่วยมีอาการถ่ายอุจจาระยากมาก ต้องเบ่งมากและอุจจาระมีลักษณะแข็ง เกิดจากการที่ลำไส้เคลื่อนที่ผิดปกติหรือกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ เช่น
- ผู้ป่วยมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการขับถ่ายทำงานผิดปกติรวมถึงภาวะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำงานผิดปกติ มักพบในผู้หญิงวัยกลางคน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเบ่งอุจจาระไม่ออกหรือกลั้นถ่ายอุจจาระไม่ได้
- โรคไส้ตรงปลิ้น (Rectal prolapse or pelvic organs prolapse)
- โรคที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดไม่คลายตัวระหว่างถ่ายอุจจาระ ทำให้ถ่ายอุจจาระไม่ออก
อันตรายหรือไม่ หากซื้อยาระบายมารับประทานเอง
ยาระบายมีอยู่มากมายหลายชนิด แบ่งคร่าวๆได้ดังนี้
- ยาระบายในกลุ่มที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เพื่อให้ลำไส้บีบตัวหลังจากรับประทานอาหาร อย่างเช่น ยาระบายกลุ่มมะขามแขก ซึ่งไม่ควรใช้อย่างต่อเนื่องเพราะทำให้ลำไส้ติดยา ต้องกินในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ดังนั้นจึงควรใช้ยาในระยะสั้นเท่านั้น
- ยาระบายในกลุ่มเพิ่มกาก ช่วยดูดซึมและอุ้มน้ำทำให้อุจจาระเป็นก้อนและนิ่มขึ้น ทำจากเส้นใยพืช เช่น เม็ดแมงลัก
นอกจากนี้ยังมียาในกลุ่มอื่นๆอีก เช่น ยาลูกผสม ยาที่ช่วยเข้าไปหล่อลื่นลำไส้ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ยาระบายค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่ทางที่ดีก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะหากใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์
การดีท็อกซ์ลำไส้ช่วยได้จริงหรือ
ยังมีความเชื่อที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดีท็อกซ์ลำไส้อยู่มาก คนส่วนใหญ่คิดว่าลำไส้ใหญ่นั้นสกปรก มีของเสียตกค้างจึงต้องทำการดีท็อกซ์หรือใช้น้ำใส่เข้าไปทางลำไส้ใหญ่ แล้วบีบไล่น้ำขึ้นไปเพื่อทำความสะอาด ในความเป็นจริงลำไส้ใหญ่นั้นสะอาดอยู่เสมอ ไม่ว่าคนๆนั้นจะมีอายุเท่าไรก็ตาม นอกจากนี้บางคนเชื่อว่าเป็นการช่วยล้างสารพิษออกจากร่างกาย แต่จริงๆแล้ว อวัยวะที่ช่วยทำลายสารพิษเป็นส่วนใหญ่คือ ตับและที่ไตเป็นบางส่วน การทำดีท็อกซ์ลำไส้อาจช่วยให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระได้ดีในวันนั้นแต่ไม่ควรทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ ก่อนทำควรปรึกษาแพทย์และทำโดยอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ที่มีความชำนาญการเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
รักษาได้อย่างไร
ในผู้ป่วยกลุ่มแรกที่ลำไส้ทำงานน้อยผิดปกติ แพทย์จะหาสาเหตุว่าผู้ป่วยมีโรคบางอย่างที่ทำให้ลำไส้ทำงานน้อยกว่าปกติหรือไม่ เมื่อแก้ไขโรคเหล่านั้นได้ อาการผู้ป่วยจะดีขึ้น นอกจากนี้แพทย์อาจให้ยาเพื่อกระตุ้นให้ประสาทลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความรู้ของแพทย์ของผู้ชำนาญการเฉพาะด้านเพื่อบริหารยาอย่างเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล
สำหรับผู้ป่วยกลุ่มที่สอง ซึ่งอาการท้องผูกเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการขับถ่ายทำงานผิดปกติ ภาวะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำงานผิดปกติและความผิดปกติทางทวารหนักส่วนปลาย ต้องอาศัยแพทย์ผู้ชำนาญการในการรักษา เช่น สูตินรีแพทย์ แพทย์โรคลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น การรักษาอาจใช้การฉีดยาโบท็อกซ์หรือการผ่าตัดแก้ไข ในบางครั้งอาการท้องผูกในผู้ป่วยกลุ่มนี้เกิดจากการถ่ายอุจจาระไม่เป็น แพทย์จะใช้วิธีการฝึกขับถ่ายให้เป็นธรรมชาติ (biofeedback training) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระอย่างถูกวิธี
อาการท้องผูกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์สามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างตรงจุด ช่วยพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คุณ ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและมีประสบการณ์ในการรักษาภาวะท้องผูกโดยตรง รวมถึงเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ทันสมัยอย่างครบครัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข้อมูลเรื่อง : ท้องผูกเรื้อรัง ไม่ใช่เรื่องเล็ก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/march-2021/chronic-constipation
ท้องผูกเรื้อรัง ไม่ใช่เรื่องเล็ก
อาการแบบไหนเรียกว่าท้องผูก
อาการท้องผูกมีได้หลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป โดยทางการแพทย์ อาการท้องผูกหมายถึงกลุ่มอาการดังต่อไปนี้
- ไม่ถ่ายอุจจาระเกิน 3 วันต่อสัปดาห์
- อุจจาระเป็นก้อนแข็งกว่าปกติ
- ต้องเบ่งมากเมื่อถ่ายอุจจาระ
- รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
- เบ่งอุจจาระไม่ออก
ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นผสมปนเปกันไป แต่ผู้ป่วยมักมีอาการบางอย่างปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดกว่าอาการอื่นๆ
เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง
สาเหตุของอาการท้องผูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆโดยดูจากอาการของผู้ป่วยดังนี้
กลุ่มแรก ลำไส้ผู้ป่วยทำงานน้อย ทำให้มีอาการหลายๆวันจึงถ่ายอุจจาระครั้งหนึ่งโดยถ่ายไม่ยากนัก ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุคือ
- โรคบางอย่าง เช่น โรคทางระบบประสาท ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคเบาหวานและโรคอื่นๆ
- ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้บางชนิด ยากันชัก ยาลดความดันโลหิตบางชนิด กลุ่มยาทางจิตเวช เป็นต้น
- การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยมาก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่ออาหารของแต่ละบุคคลเช่นกัน บางคนรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยแล้วท้องผูก ในขณะที่บางคนยังคงถ่ายอุจจาระเป็นปกติ เป็นต้น
กลุ่มที่สอง ผู้ป่วยมีอาการถ่ายอุจจาระยากมาก ต้องเบ่งมากและอุจจาระมีลักษณะแข็ง เกิดจากการที่ลำไส้เคลื่อนที่ผิดปกติหรือกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ เช่น
- ผู้ป่วยมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการขับถ่ายทำงานผิดปกติรวมถึงภาวะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำงานผิดปกติ มักพบในผู้หญิงวัยกลางคน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเบ่งอุจจาระไม่ออกหรือกลั้นถ่ายอุจจาระไม่ได้
- โรคไส้ตรงปลิ้น (Rectal prolapse or pelvic organs prolapse)
- โรคที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดไม่คลายตัวระหว่างถ่ายอุจจาระ ทำให้ถ่ายอุจจาระไม่ออก
อันตรายหรือไม่ หากซื้อยาระบายมารับประทานเอง
ยาระบายมีอยู่มากมายหลายชนิด แบ่งคร่าวๆได้ดังนี้
- ยาระบายในกลุ่มที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เพื่อให้ลำไส้บีบตัวหลังจากรับประทานอาหาร อย่างเช่น ยาระบายกลุ่มมะขามแขก ซึ่งไม่ควรใช้อย่างต่อเนื่องเพราะทำให้ลำไส้ติดยา ต้องกินในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ดังนั้นจึงควรใช้ยาในระยะสั้นเท่านั้น
- ยาระบายในกลุ่มเพิ่มกาก ช่วยดูดซึมและอุ้มน้ำทำให้อุจจาระเป็นก้อนและนิ่มขึ้น ทำจากเส้นใยพืช เช่น เม็ดแมงลัก
นอกจากนี้ยังมียาในกลุ่มอื่นๆอีก เช่น ยาลูกผสม ยาที่ช่วยเข้าไปหล่อลื่นลำไส้ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ยาระบายค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่ทางที่ดีก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะหากใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์
การดีท็อกซ์ลำไส้ช่วยได้จริงหรือ
ยังมีความเชื่อที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดีท็อกซ์ลำไส้อยู่มาก คนส่วนใหญ่คิดว่าลำไส้ใหญ่นั้นสกปรก มีของเสียตกค้างจึงต้องทำการดีท็อกซ์หรือใช้น้ำใส่เข้าไปทางลำไส้ใหญ่ แล้วบีบไล่น้ำขึ้นไปเพื่อทำความสะอาด ในความเป็นจริงลำไส้ใหญ่นั้นสะอาดอยู่เสมอ ไม่ว่าคนๆนั้นจะมีอายุเท่าไรก็ตาม นอกจากนี้บางคนเชื่อว่าเป็นการช่วยล้างสารพิษออกจากร่างกาย แต่จริงๆแล้ว อวัยวะที่ช่วยทำลายสารพิษเป็นส่วนใหญ่คือ ตับและที่ไตเป็นบางส่วน การทำดีท็อกซ์ลำไส้อาจช่วยให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระได้ดีในวันนั้นแต่ไม่ควรทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ ก่อนทำควรปรึกษาแพทย์และทำโดยอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ที่มีความชำนาญการเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
รักษาได้อย่างไร
ในผู้ป่วยกลุ่มแรกที่ลำไส้ทำงานน้อยผิดปกติ แพทย์จะหาสาเหตุว่าผู้ป่วยมีโรคบางอย่างที่ทำให้ลำไส้ทำงานน้อยกว่าปกติหรือไม่ เมื่อแก้ไขโรคเหล่านั้นได้ อาการผู้ป่วยจะดีขึ้น นอกจากนี้แพทย์อาจให้ยาเพื่อกระตุ้นให้ประสาทลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความรู้ของแพทย์ของผู้ชำนาญการเฉพาะด้านเพื่อบริหารยาอย่างเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล
สำหรับผู้ป่วยกลุ่มที่สอง ซึ่งอาการท้องผูกเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการขับถ่ายทำงานผิดปกติ ภาวะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำงานผิดปกติและความผิดปกติทางทวารหนักส่วนปลาย ต้องอาศัยแพทย์ผู้ชำนาญการในการรักษา เช่น สูตินรีแพทย์ แพทย์โรคลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น การรักษาอาจใช้การฉีดยาโบท็อกซ์หรือการผ่าตัดแก้ไข ในบางครั้งอาการท้องผูกในผู้ป่วยกลุ่มนี้เกิดจากการถ่ายอุจจาระไม่เป็น แพทย์จะใช้วิธีการฝึกขับถ่ายให้เป็นธรรมชาติ (biofeedback training) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระอย่างถูกวิธี
อาการท้องผูกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์สามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างตรงจุด ช่วยพลิกฟื้นคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คุณ ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและมีประสบการณ์ในการรักษาภาวะท้องผูกโดยตรง รวมถึงเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ทันสมัยอย่างครบครัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้