อาจารย์เขาพูดน่าคิดมากครับ น่าสนใจดี
"ปริญญา" กางรัฐธรรมนูญ ม.29 ย้ำหากศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ต้องกักขัง "ผู้ต้องหา" ที่อื่นไม่ใช่เรือนจำ
วันที่ 9 มี.ค. ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ค Prinya Thaewanarumitkul ว่าการได้รับการประกันตัวในคดีอาญาหรือที่กฎหมายใช้คำว่า “ปล่อยชั่วคราว” นั้นเป็นสิทธิตามกฎหมายของผู้ต้องหาและจำเลยทุกคนดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ในมาตรา 107 ว่า #ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
แม้ว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ศาลจะมีดุลพินิจสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวได้ แต่สิ่งที่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมอาจจะลืมไปคือ ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์นั้น หากศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว #ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะถูกเอาไปขังไว้ในเรือนจำกับนักโทษที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และจะถูกปฏิบัติเหมือนกับนักโทษแทบจะทุกประการ
และนี่คือปัญหาใหญ่มาก เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคสอง บัญญัติว่า #ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดกระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น #เสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ การเอาบุคคลซึ่งยังเป็นแค่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไปขังไว้ในเรือนจำรวมกับนักโทษ ก็คือการปฏิบัติกับเขาเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดแล้ว ซึ่งย่อมไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคสอง
ดังนั้น หากศาลท่านจะไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ก็ต้องสั่งให้ไป #กักขังในที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ และให้ปฏิบัติต่อเขาแบบคนที่ยังไม่ถูกศาลพิพากษาด้วยครับ หรือไม่งั้นก็ต้อง #อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวให้เขาสู้คดีนอกคุก อย่างหนึ่งอย่างใด หาไม่แล้วจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคสอง ที่คุ้มครองประชาชนทุกคนไม่ให้ถูกปฏิบัติเยี่ยงนักโทษก่อนศาลพิพากษา ด้วยความเคารพครับ
#สนับสนุนแถลงการณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ขอให้คำนึงถึง #สิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ถูกจับกุม.
ข่าวจาก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/926384
ในเมื่อคนยังไม่ถูกตัดสินว่าผิด จะเอาไปนอนคุกได้อย่างไร กับ 'ปริญญา' ยกรัฐธรรมนูญ ม.29 ห้ามขัง 'ผู้ต้องหา' ที่เรือนจำ
"ปริญญา" กางรัฐธรรมนูญ ม.29 ย้ำหากศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ต้องกักขัง "ผู้ต้องหา" ที่อื่นไม่ใช่เรือนจำ
วันที่ 9 มี.ค. ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ค Prinya Thaewanarumitkul ว่าการได้รับการประกันตัวในคดีอาญาหรือที่กฎหมายใช้คำว่า “ปล่อยชั่วคราว” นั้นเป็นสิทธิตามกฎหมายของผู้ต้องหาและจำเลยทุกคนดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ในมาตรา 107 ว่า #ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
แม้ว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ศาลจะมีดุลพินิจสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราวได้ แต่สิ่งที่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมอาจจะลืมไปคือ ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์นั้น หากศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว #ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะถูกเอาไปขังไว้ในเรือนจำกับนักโทษที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และจะถูกปฏิบัติเหมือนกับนักโทษแทบจะทุกประการ
และนี่คือปัญหาใหญ่มาก เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคสอง บัญญัติว่า #ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดกระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น #เสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ การเอาบุคคลซึ่งยังเป็นแค่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไปขังไว้ในเรือนจำรวมกับนักโทษ ก็คือการปฏิบัติกับเขาเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดแล้ว ซึ่งย่อมไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคสอง
ดังนั้น หากศาลท่านจะไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ก็ต้องสั่งให้ไป #กักขังในที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ และให้ปฏิบัติต่อเขาแบบคนที่ยังไม่ถูกศาลพิพากษาด้วยครับ หรือไม่งั้นก็ต้อง #อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวให้เขาสู้คดีนอกคุก อย่างหนึ่งอย่างใด หาไม่แล้วจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคสอง ที่คุ้มครองประชาชนทุกคนไม่ให้ถูกปฏิบัติเยี่ยงนักโทษก่อนศาลพิพากษา ด้วยความเคารพครับ
#สนับสนุนแถลงการณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ขอให้คำนึงถึง #สิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ถูกจับกุม.
ข่าวจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/926384