มาตรา 29 รัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพประชาชนไว้ว่า
ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด
และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด
จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
.
ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1
การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
(๒) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
(๓) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
(๔) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
(๕) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล
.
จะเห็นได้ชัดว่า ตะวัน กับ แฟรงค์ ต้องได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
และได้ประกันตัวตามกฎหมาย เพราะไม่เข้าข่ายที่กฎหมายห้ามไว้ทั้ง 5 ข้อ
เมื่อไม่ได้รับการประกันตัว จึงอดอาหารเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม
พ่อเขาจึงถาม ถ้าลูกเขาตายใครจะรับผิดชอบ
หากอดอาหารเพราะอยากอยู่นอกคุกมันก็อีกเรื่อง
แต่นี่คือการเรียกร้องความเป็นธรรม โดนขังอย่างไม่เป็นธรรม
มีอะไรไม่สมเหตุสมผลหรือ ?
ด้อยปัญญาชนทั้งหลาย โปรดสำนึก
หากยังมีสำนึกอยู่บ้าง
กระทู้วิทยาทานแก่ด้อยปัญญาชนผู้คอยแซะตะวันกับแฟรงค์
ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด
และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด
จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
(๑) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
(๒) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
(๓) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
(๔) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
(๕) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล