คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
เวลาพูดถึงความรับผิดชอบ วิญญูชนจะเข้าใจว่า ความรับผิดชอบตามกฎหมาย เพราะกฎหมายกำหนดสิทธิ-หน้าที่
เราจะไม่เลยไปถึง ความรับผิดชอบทางศีลธรรม ซึ่งมันนามธรรม และต่างคนต่างมีขอบเขตต่างกัน
ตามโจทย์ ถ้าสองคนนี่ตาย ใครจะรับผิดชอบ
แนวคิดที่เป็นพื้นฐานของกฎหมาย ทั้งความรับผิดทางละเมิด และทางอาญา คือ บุคคลต้องรับผิดชอบในผลที่เกิดจากการกระทำของตน
และ ผลที่เกิดจากการกระทำของตน ต้องเป็น ผลธรรมดา ภาษาบ้าน ๆ ก็คือ ต้องเป็นผลที่โดยปกติย่อมเกิดขึ้นจากการกระทำที่เป็นความผิดนั้น หรือผู้ทำย่อมคาดหมายได้ว่าจะเกิดผลเช่นนั้นขึ้นมา เช่น ผลักคนแก่ล้ม เจตนาเพียงแค่ผลัก คือทำร้ายร่างกาย แต่ดันไปเกิดผลคือ คนแก่ล้ม หัวฟาดพื้น ถึงแก่ความตาย แบบนี้ ในทางตำรา/ฎีกา ชัดเจน ว่า เป็นผลธรรมดา คนผลักต้องรับผิดชอบในความตาย มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
คำถาม คือ การที่ศาลไม่ให้ประกัน แล้วผู้ต้องหาอดข้าวประท้วง จนตาย สมมติว่า คำสั่งไม่ให้ประกัน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องคิดต่อไปว่า ความตายของผู้ต้องหา เป็นผลธรรมดา จากคำสั่งศาลหรือไม่
ผมเชื่อว่า คนที่สติปกติ ไม่มีใครตอบว่า เป็นผลธรรมดา
ดังนั้น ในทางกฎหมาย ศาลไม่ต้องรับผิดชอบอะไรในความตายของผู้อดข้าว
สำหรับผู้ที่อยู่หน้างาน จะมีความรับผิดทางกฎหมายหรือไม่ ก็อยู่ที่ว่าได้ทำอย่างดีที่สุดแล้วหรือไม่ ในการรักษาชีวิตของผู้อดอาหาร ประเด็นนี้ยังคลุมเครือ ว่าถ้าผู้อดอาหารยืนยันหนักแน่นจะไม่รับการรักษา จนท.จะสามารถบังคับให้รับการรักษาได้หรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้ว การแสดงเจตนาเช่นนี้เป็นเจตนาที่ขัดต่อความสงบและศีลธรรมอันดี จนท.ไม่ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน จนท.ยังมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องให้การรักษา และถ้าไม่ทำ/ทำไม่ดีพอ ก็ต้องรับผิดชอบในทางกฎหมาย
ส่วนความรับผิดชอบในทางศีลธรรม อยู่ที่ระดับศีลธรรมของแต่ละคน ผมไม่สามารถไปตัดสินคนอื่นได้
ในมุมของพ่อผู้ต้องหา การออกมาถามว่า ใครจะรับผิดชอบ ก็พอเข้าใจได้ หัวอกคนเป็นพ่อ ไม่ได้สนใจหรอก ว่าจะเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมาย หรือความรับผิดชอบทางศีลธรรม
เราจะไม่เลยไปถึง ความรับผิดชอบทางศีลธรรม ซึ่งมันนามธรรม และต่างคนต่างมีขอบเขตต่างกัน
ตามโจทย์ ถ้าสองคนนี่ตาย ใครจะรับผิดชอบ
แนวคิดที่เป็นพื้นฐานของกฎหมาย ทั้งความรับผิดทางละเมิด และทางอาญา คือ บุคคลต้องรับผิดชอบในผลที่เกิดจากการกระทำของตน
และ ผลที่เกิดจากการกระทำของตน ต้องเป็น ผลธรรมดา ภาษาบ้าน ๆ ก็คือ ต้องเป็นผลที่โดยปกติย่อมเกิดขึ้นจากการกระทำที่เป็นความผิดนั้น หรือผู้ทำย่อมคาดหมายได้ว่าจะเกิดผลเช่นนั้นขึ้นมา เช่น ผลักคนแก่ล้ม เจตนาเพียงแค่ผลัก คือทำร้ายร่างกาย แต่ดันไปเกิดผลคือ คนแก่ล้ม หัวฟาดพื้น ถึงแก่ความตาย แบบนี้ ในทางตำรา/ฎีกา ชัดเจน ว่า เป็นผลธรรมดา คนผลักต้องรับผิดชอบในความตาย มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
คำถาม คือ การที่ศาลไม่ให้ประกัน แล้วผู้ต้องหาอดข้าวประท้วง จนตาย สมมติว่า คำสั่งไม่ให้ประกัน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องคิดต่อไปว่า ความตายของผู้ต้องหา เป็นผลธรรมดา จากคำสั่งศาลหรือไม่
ผมเชื่อว่า คนที่สติปกติ ไม่มีใครตอบว่า เป็นผลธรรมดา
ดังนั้น ในทางกฎหมาย ศาลไม่ต้องรับผิดชอบอะไรในความตายของผู้อดข้าว
สำหรับผู้ที่อยู่หน้างาน จะมีความรับผิดทางกฎหมายหรือไม่ ก็อยู่ที่ว่าได้ทำอย่างดีที่สุดแล้วหรือไม่ ในการรักษาชีวิตของผู้อดอาหาร ประเด็นนี้ยังคลุมเครือ ว่าถ้าผู้อดอาหารยืนยันหนักแน่นจะไม่รับการรักษา จนท.จะสามารถบังคับให้รับการรักษาได้หรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้ว การแสดงเจตนาเช่นนี้เป็นเจตนาที่ขัดต่อความสงบและศีลธรรมอันดี จนท.ไม่ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน จนท.ยังมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องให้การรักษา และถ้าไม่ทำ/ทำไม่ดีพอ ก็ต้องรับผิดชอบในทางกฎหมาย
ส่วนความรับผิดชอบในทางศีลธรรม อยู่ที่ระดับศีลธรรมของแต่ละคน ผมไม่สามารถไปตัดสินคนอื่นได้
ในมุมของพ่อผู้ต้องหา การออกมาถามว่า ใครจะรับผิดชอบ ก็พอเข้าใจได้ หัวอกคนเป็นพ่อ ไม่ได้สนใจหรอก ว่าจะเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมาย หรือความรับผิดชอบทางศีลธรรม
แสดงความคิดเห็น
เสี่ยครับ ถ้าสองคนนี่ตาย ใครจะรับผิดชอบ ?