ส.ส.พรรคก้าวไกลชอบสร้างเรื่องเท็จเสมอเลย? สรุป รังสิมันต์ โรม บอกอะไรกับประชาชน


ความจริงคือ
1) มีคดีพี่น้องฟ้อง 112 จริง แต่ไม่ใช่คดีพี่น้องแย่งมรดก แล้วพี่หรือน้องไปแจ้งความอีกฝ่ายว่าทำผิด ม.112
เห็นได้ชัดว่า ทั้งๆ ที่รังสิตมันต์ โรม ไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องและไม่รู้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน แต่รังสิตมันต์ โรม ก็ยังพยายามโยงให้เป็นเรื่องว่า ม.112 มีปัญหา 

………………………………………………
2) คดีพี่น้องฟ้อง 112 ที่ว่า มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ยุทธภูมิ มาตรนอก ผู้ต้องหาคดีพี่ฟ้องน้อง ม.112 โดยยุทธภูมิเป็นคนศรีสะเกษที่ย้ายมาทำงานที่กรุงเทพฯ ทั้งครอบครัว 

ยุทธภูมิเล่าว่า ครอบครัวของเขารักใคร่กันดีจนกระทั่งอายุราว 30 ปีเขาได้ทำธุรกิจส่วนตัวร่วมกับพี่ชาย โดยเช่าบ้านเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงาน อยู่ร่วมกัน  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้มีเรื่องทะเลาะกันบ่อยครั้ง ทั้งปัญหาเรื่องงานและเรื่องสัตว์เลี้ยงในบ้าน เนื่องจากทั้งคู่ต่างเลี้ยงสุนัขและสุนัขกัดกันจนสร้างความไม่ลงรอยลามไปเรื่องอื่นๆ  

จนถึงปี 2552 เป็นช่วงเวลาที่ความขัดแย้งการเมืองเสื้อเหลือง-เสื้อแดงพุ่งขึ้นรุนแรง
ยุทธภูมิยอมรับว่าเขาและพี่ชายมีแนวคิดทางการเมืองแตกต่างกัน ตัวเขานิยมฝั่งเสื้อแดง แต่ก็แค่ติดตามข่าวทางโทรทัศน์เท่านั้น ไม่เคยร่วมชุมนุม ส่วนพี่ชายเคยไปม็อบพันธมิตร 
**แต่ยุทธภูมิยืนยันว่าเรื่องการเมืองไม่ใช่ชนวนที่ทำให้พี่น้องแตกหักกัน เพราะตอนอยู่ร่วมกัน หัวข้อการเมืองเป็นเรื่องที่พวกเขาคุยกันไม่มาก
**เห็นได้ชัดเจนว่า คดีพี่น้องฟ้อง 112 นี้ ไม่ใช่ต้นเหตุจาก ความเห็นทางการเมืองต่างกัน และไม่ใช่การแย้งมรดกตามที่รังสิมันต์ โรม ให้ข้อมูลที่บิดเบือน
ยุทธภูมิและพี่ชายทำธุรกิจร่วมกันมาสองปี จนสิงหาคม 2552 เขาทะเลาะกันหนักจนพี่ชายย้ายออกจากบ้าน 
หลังจากนั้น 15 เดือน มีหมายเรียกผู้ต้องหา  

พี่ชายกล่าวหาว่าช่วงสิงหาคม 2552 ยุทธภูมิพูดถ้อยคำหมิ่น
ขณะกำลังดูโทรทัศน์ด้วยกันที่บ้านและกล่าวหาว่าเขาเขียนถ้อยคำหมิ่นฯ ลงบนแผ่นซีดี โดยนำแผ่นซีดีนั้นมาเป็นหลักฐานในการแจ้งความ แต่กว่าอัยการจะยืนฟ้องก็ล่วงไปถึงเดือนกันยายน 2555 โดยอัยการยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ให้ลงโทษตามมาตรา 112 จำนวน 2 กรรมและให้ริบซีดีของกลาง แต่ยุทธภูมิให้การปฏิเสธและขอยื่นประกันตัว แต่ศาลไม่ให้ ด้วยเหตุผลว่าเป็นคดีร้ายแรง หากให้ปล่อยชั่วคราวไม่เชื่อว่าจะไม่หลบหนี 

13 ก.ย.56 ที่ห้องพิจารณา 909 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลได้อ่านคำพิพากษาคดี ที่นายยุทธภูมิ มาตรนอก อายุประมาณ 35 ปี อาชีพผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำยาล้างรถ ขัดเบาะ เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายนำสืบหักล้างกันแล้ว นายธนะวัฒน์ พี่ชายของจำเลย ซึ่งเป็นพยานโจทก์ เบิกความว่า ขณะเกิดเหตุได้คุยและโต้เถียงกับนายยุทธภูมิ จำเลย เรื่องการเมืองที่ต่างมีจุดยืนอยู่คนละขั้ว ระหว่างโต้เถียงกัน โทรทัศน์ได้ถ่ายทอดภาพข่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นายยุทธภูมิได้ใช้คำพูดแสดงความอาฆาตมาดร้าย จากนั้นเวลา 5 วัน นายยุทธภูมิใช้ปากกาเคมีเขียนถ้อยคำที่มีคำหยาบคายบนแผ่นซีดีบันทึกภาพ "เนวินขอทักษิณ หยุดก้าวล่วงพระเจ้าอยู่หัว" โดยพยานนำหลักฐานเข้าแจ้งความ เมื่อวันที่ 6 พ.ค.53  

ศาลเห็นว่า ตามทางนำสืบพบว่า จำเลยเคยมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับนายธนะวัฒน์ พี่ชายหลายครั้ง ซึ่งมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการรับฟัง นายธนะวัฒน์ พยานโจทก์เป็นอย่างมาก ขณะที่คำเบิกความของพยานโจทก์ที่นำสืบมาก็คลาดเคลื่อนกันเรื่องเวลาที่มีการอ้างว่า จำเลยกล่าวอาฆาตมาดร้ายต่อกษัตริย์ ทำให้คำเบิกความที่เป็นสาระสำคัญนั้นมีความคลาดเคลื่อนกัน ทั้งที่ขณะนั้นระยะเวลาที่ให้การในชั้นสอบสวน กับการเบิกความในชั้นศาลต่างกันไม่นาน คำเบิกความของพยานโจทก์จึงยังมีข้อพิรุธสงสัยและไม่อาจรับฟังได้ ส่วนผลการพิสูจน์ก็ยังมีข้อสงสัยในเรื่องของตัวอักษร พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่สามารถเชื่อถือได้ จึงพิพากษายกฟ้อง และให้ริบซีดีของกลาง 

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าพยานหลักฐานไม่มีน้ำหนักพอ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2556 หลังจากยุทธภูมิใช้ชีวิตในเรือนจำราวหนึ่งปี
………………………………………………
(3) ศาลไม่ให้ประกันตัว
ศาลให้เหตุผลการไม่ให้ประกันตัวว่า “เป็นคดีร้ายแรง ปล่อยไปเกรงจะหลบหนี” สิทธิในการประกันตัวหมายถึง การได้รับการประกันหรือให้คำมั่นว่าจะกลับมาปรากฏตัวต่อศาลหรือเจ้าหน้าที่ที่จับกุมหรือจะกลับมาเข้าสู่กระบวนพิจารณาอีกครั้ง โดยคำมั่นที่ว่าอาจจะเป็นหลักทรัพย์ เงินสด หรือบุคคลหรือทั้ง 3 อย่าง รวมทั้ง ผู้ได้รับการประกันตัวจะไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จะไม่ไปข่มขู่พยาน จะไม่ไปก่อพอันตรายอย่างอื่น 
(3.1 )การวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาข้อเหล่านี้ ประกอบ คือ
1. ความหนักเบาแห่งข้อหา
2. พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด
3. พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
4. เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
5. ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
6. ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน เช่นจะไปทำลายพยานหลักฐานสำคัญหรือไม่
7. การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาลหรือไม่
(3.2) การวินิจฉัยที่ศาลไม่ให้ประกัน 
กฎหมายบัญญัติเอาไว้ว่า”ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษา อันถึงที่สุด แสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือ จำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น”
**เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี โดยการไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ 

ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่ศาลไม่ให้ประกันคือ “การควบคุมหรือคุมขังไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี” ซึ่งเป็นไปตามครรลองและตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ว่า “การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือ จำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น” 
**เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี 

นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้ 

https://www.facebook.com/photo/?fbid=259406193078048&set=a.206458048372863
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่