คราวก่อนไปตอบกระทู้เรื่องฌาน พอดีได้อ่านหลายความเห็น เกี่ยวกับการได้ยินเสียงในขณะปฎิบัติ เลยขออนุญาตมาแบ่งปันแบบบ้านๆนะครับ
สมาธิในระดับ ขณิกสมาธิ อาจมีครั้งคราวที่ไม่ได้ยินเสียงได้ครับ แต่เหตุเกิดจากความพลั้งเผลอของสติ เพราะจิตเป็นสมาธิไปจดจ่ออยู่กับอายตนะอื่นๆ เช่น เวลาเราตั้งใจอ่านหนังสือมากๆ จิตจะไม่ทันไปจับเสียงหรือสิ่งภายนอกอื่นๆ หรือ เวลาแมวเฝ้าจะตะครุบหนู เราเดินไปข้างหลัง มันก็จะไม่รู้ตัว จนกว่าเสียงภายนอกนั้นดังจนประสาทส่งสัญญาณแทรก จิตจึงจะไปรับรู้ ข้อสังเกตคือ การได้ยินเสียงและไม่ได้ยินเสียงจะสลับกลับไปมาเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่องยาวนานทนทาน และอาจมีสะดุ้งตกใจได้หากได้ยินเสียงดังๆ
สมาธิในระดับ อุปจารสมาธิ การได้ยินเสียงจะดีขึ้น เสียงที่เบาจะได้ยินชัดขึ้น ได้ยินไกลขึ้น การรับรู้เสียงเล็กเสียงน้อยทั้งในและนอกร่างกายจะถูกขยายด้วยกำลังของสมาธิ เข้าใจว่าเป็นเพราะขณะนั้นระบบประสาทส่วนอื่นเริ่มลดการรับรู้ไปบ้าง เช่นการมอง ยังคงเหลือประสาทการได้ยิน(ที่สั่งการให้ปิดหูไม่ได้) จิตจึงมาเน้นการรับรู้ตรงนี้ เสียงที่ได้ยินนี้อาจรบกวนผู้ปฎิบัติ ดั่งที่ตำราว่าเสียงเป็นข้าศึก(ของปฐมฌาน) เมื่อผ่านไปแล้วความรำคาญในเสียงก็จะลดน้อยลงมากหรือไม่มีความรำคาญในเสียงอีกเลย...เป็นผลต่อเนื่องจนถึงหลังการปฏิบัติ
ส่วนสมาธิในระดับ อัปปนาสมาธิ หรือ ฌาน การได้ยินเสียงจะค่อยๆลดลง เหมือนเสียงไกลขึ้นเบาลง เพราะจิตเริ่มแยกจากประสาทการรับรู้มากขึ้นๆตามลำดับ โดยละอารมณ์ฌานจากหยาบไปละเอียด จนเมื่อถึงฌาน๔ เมื่อจิตแยกจากประสาทจนสิ้น เราถึงไม่ได้ยิน(แม้เสียงดังมาก) ไม่เห็น ไม่รู้สึกถึงการหายใจ ไม่รู้สึกถึงร่างกาย เหลือเพียงจิตผู้รู้เท่านั้น สภาวะนี้จะคงอยู่จนกว่าจิตผู้ปฎิบัติเริ่มถอยออกจากฌานครับ จิตกับประสาทการรับรู้ก็จะเริ่มใกล้และรวมกันใหม่ เสียง การรู้สึกทางร่างกาย ก็จะเริ่มปรากฎมากขึ้นๆตามลำดับครับ อาการหรือสภาวะตรงนี้ เพิ่มลด เดินหน้าถอยหลัง ได้ตามแต่กำลังจิตของผู้ปฎิบัติ
ถ้าอยากทราบชัดๆ ลองเอาประทัดจุดข้างๆผู้ปฎิบัติได้ครับ อาจจะรู้เลยว่าตนเองอยู่ระดับไหนของสมาธิ...ฮา
ขาดเหลืออย่างไร รบกวนเรียนเชิญนักปฎิบัติท่านอื่นครับ
เจริญสติ
สมาธิ ฌาน กับการได้ยินเสียง
สมาธิในระดับ ขณิกสมาธิ อาจมีครั้งคราวที่ไม่ได้ยินเสียงได้ครับ แต่เหตุเกิดจากความพลั้งเผลอของสติ เพราะจิตเป็นสมาธิไปจดจ่ออยู่กับอายตนะอื่นๆ เช่น เวลาเราตั้งใจอ่านหนังสือมากๆ จิตจะไม่ทันไปจับเสียงหรือสิ่งภายนอกอื่นๆ หรือ เวลาแมวเฝ้าจะตะครุบหนู เราเดินไปข้างหลัง มันก็จะไม่รู้ตัว จนกว่าเสียงภายนอกนั้นดังจนประสาทส่งสัญญาณแทรก จิตจึงจะไปรับรู้ ข้อสังเกตคือ การได้ยินเสียงและไม่ได้ยินเสียงจะสลับกลับไปมาเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่องยาวนานทนทาน และอาจมีสะดุ้งตกใจได้หากได้ยินเสียงดังๆ
สมาธิในระดับ อุปจารสมาธิ การได้ยินเสียงจะดีขึ้น เสียงที่เบาจะได้ยินชัดขึ้น ได้ยินไกลขึ้น การรับรู้เสียงเล็กเสียงน้อยทั้งในและนอกร่างกายจะถูกขยายด้วยกำลังของสมาธิ เข้าใจว่าเป็นเพราะขณะนั้นระบบประสาทส่วนอื่นเริ่มลดการรับรู้ไปบ้าง เช่นการมอง ยังคงเหลือประสาทการได้ยิน(ที่สั่งการให้ปิดหูไม่ได้) จิตจึงมาเน้นการรับรู้ตรงนี้ เสียงที่ได้ยินนี้อาจรบกวนผู้ปฎิบัติ ดั่งที่ตำราว่าเสียงเป็นข้าศึก(ของปฐมฌาน) เมื่อผ่านไปแล้วความรำคาญในเสียงก็จะลดน้อยลงมากหรือไม่มีความรำคาญในเสียงอีกเลย...เป็นผลต่อเนื่องจนถึงหลังการปฏิบัติ
ส่วนสมาธิในระดับ อัปปนาสมาธิ หรือ ฌาน การได้ยินเสียงจะค่อยๆลดลง เหมือนเสียงไกลขึ้นเบาลง เพราะจิตเริ่มแยกจากประสาทการรับรู้มากขึ้นๆตามลำดับ โดยละอารมณ์ฌานจากหยาบไปละเอียด จนเมื่อถึงฌาน๔ เมื่อจิตแยกจากประสาทจนสิ้น เราถึงไม่ได้ยิน(แม้เสียงดังมาก) ไม่เห็น ไม่รู้สึกถึงการหายใจ ไม่รู้สึกถึงร่างกาย เหลือเพียงจิตผู้รู้เท่านั้น สภาวะนี้จะคงอยู่จนกว่าจิตผู้ปฎิบัติเริ่มถอยออกจากฌานครับ จิตกับประสาทการรับรู้ก็จะเริ่มใกล้และรวมกันใหม่ เสียง การรู้สึกทางร่างกาย ก็จะเริ่มปรากฎมากขึ้นๆตามลำดับครับ อาการหรือสภาวะตรงนี้ เพิ่มลด เดินหน้าถอยหลัง ได้ตามแต่กำลังจิตของผู้ปฎิบัติ
ถ้าอยากทราบชัดๆ ลองเอาประทัดจุดข้างๆผู้ปฎิบัติได้ครับ อาจจะรู้เลยว่าตนเองอยู่ระดับไหนของสมาธิ...ฮา
ขาดเหลืออย่างไร รบกวนเรียนเชิญนักปฎิบัติท่านอื่นครับ
เจริญสติ