ภาคีรธน.ประชาธิปไตย จี้เปิดความเห็น 4 นักกฎหมาย ปมส่งศาลรธน.วินิจฉัยการตั้งส.ส.ร.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2609651
ภาคีรธน.ประชาธิปไตย เรียกร้องเปิดเผยความเห็น 4 นักกฎหมาย ปมส่งศาลรธน.วินิจฉัยการตั้งส.ส.ร.ต่อสาธารณชน พร้อมวิงวอนส.ว. โหวตผ่านวาระ 3 ชี้ช่วยลดความขัดแย้งคนในชาติ ลั่นไม่ขอยอมแพ้ หวังสถาปนารธน.เป็นใหญ่
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 5 มีนาคม ที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส ภายหลังภาคีรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ประชุมร่วมกัน นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานคณะกรรมการบริหารภาคีรัฐธรรมนูญฯ แถลงว่า เรามีความมุ่งมั่นที่ไม่ต้องการเห็นประเทศไทยเป็นเหมือนเมียนมาร์ เราเชื่อมั่นว่าสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) นักการเมืองฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล รวมทั้งภาคประชาชนไทยทั้งหมด จะยึดถืออนาคตของประเทศ ทั้งนี้ ทางภาคีรัฐธรรมนูญมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ
1. ควรเปิดเผยความเห็นของนักกฎหมาย 4 คน จากกรณีที่รัฐสภาได้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องการมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ต่อสาธารณชนอย่างตรงไปตรงมา เรามีความเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการให้อำนาจอธิปไตยทางนิติบัญญัติที่ให้แก่รัฐสภา และในอดีตก็เคยมีการจัดตั้งส.ส.ร.มาแล้ว
2. เรียกร้องสมาชิกรัฐสภา และ ส.ว. ให้ผ่านญัตติในวาระ 3 ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป เราเชื่อมั่นในเสียงประชาชนในการลงประชามติ และเชื่อมั่นในส.ส.ร.โดยการมีส่วนร่วมของคนในชาติ ซึ่งจะทำให้ความขัดแย้งในประเทศจะได้หมดไป
และ 3. ขอให้ทุกภาคส่วนมุ่งมั่น ส่งเสริม สนับสนุนให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ ที่เป็นจุดรวมความคิดของประชาชน ให้รัฐธรรมนูญเป็นแกนหลักของนิติรัฐ และนิติธรรม
ทั้งนี้ ถ้าไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังก็จะประชุมหารือเพื่อเคลื่อนไหวต่อไป เราจะทำทุกทางเพื่อที่บ้านเมืองนี้จะมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย เราไม่ยอมแพ้แม้จะมีการใช้อำนาจอะไรก็ตาม เพราะเราจะสถาปนารัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นใหญ่
บริษัทรอด พนักงานไม่รอด! การบินไทยร้าวหนัก สหภาพโวย-ฮึ่มฟ้องศาล
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6076847
การบินไทยร้าวหนัก! สหภาพร่อนหนังสือแจ้งสมาชิก ห้ามเซ็นสัญญาจ้างงานใหม่ ชี้ไม่มีธรรมาภิบาล ไม่ยุติธรรม ทั้งที่ช่วยฝ่าวิกฤตมาด้วยกัน ฮึ่มฟ้องศาลบริษัทละเมิดกฎหมายแรงงาน
วันที่ 5 มี.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
สมาชิกสหภาพแรงงานพนักงานบริษัทการบินไทย (สร.พบท.) ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังสมาชิก ระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์ของบริษัทการบินไทยฯ และประกาศคำสั่ง ที่ออกเผยแพร่ รวมทั้งข้อมูลต่างๆที่ส่งต่อๆกันในโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ทำให้เกิดความสับสนต่อพนักงานระดับปฏิบัติการทุกท่าน และสงสัยว่าต้องทำตัวเช่นไรต่อประกาศ/คำสั่งต่างๆ สหภาพแรงงานพนักงานบริษัทการบินไทยจึงขอให้สมาชิกของสหภาพแรงงาน สร.พบท. ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. การกำหนดให้พนักงานต้องแสดงความประสงค์จะทำงานต่อกับบริษัทฯ ด้วยการสมัครงานใหม่กับนายจ้างเดิม เป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ลูกจ้างยอมรับสภาพการจ้างใหม่ที่ไม่มีธรรมาภิบาล และไม่ยุติธรรมต่อลูกจ้างไม่ว่าจะอ้างสาเหตุใด เช่น การปรับโครงสร้างองค์กร ฯลฯ
2. การกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในการคัดเลือกพนักงาน ทั้งๆที่พนักงานมีสัญญาจ้างเดิมอยู่กับบริษัทฯ และบริษัทฯมิได้ทำการเลิกจ้างพนักงานตามสัญญาเดิมที่มีอยู่แล้วนั้น เป็นเพียงวิธีการในการหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง และยังการถูกกล่าวหาว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อตกลงสภาพการจ้าง เพียงเพื่อบีบบังคับให้ลูกจ้างสมัครใจลาอก โดยลูกจ้างไม่สามารถผ่านคุณสมบัติที่นายจ้างกำหนดขึ้นภายหลังได้ เป็นการละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง
3. การออกข้อกำหนดให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและนักบิน ที่มีอายุเกิน 55 ปี เลิกปฏิบัติการบนเครื่องบิน ทั้งที่มีสัญญาการจ้างงานถึงอายุ 60 ปี เป็นการละเมิดสัญญาจ้างงาน ซึ่งนายจ้างไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งหากนายจ้างกระทำการเลิกจ้าง ย่อมถือว่านายจ้างกระทำผิดสัญญาจ้าง ย่อมถูกฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้
4. การกำหนดค่า BMI เพื่อใช้กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินระดับ 1-7 แม้เดิมจะมีการใช้ค่า BMI เป็นตัวชี้วัดความพร้อมของร่างกายในการปฏิบัติงาน แต่ก็มีระบบว่ากล่าวตักเตือนและการระงับการบิน พร้อมทั้งปฏิบัติงานภาคพื้น และ/หรือ มีกำหนดช่วงระยะเวลาให้ปรับปรุงทางกายภาพ ดังนั้น การที่นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติที่เคยปฏิบัติระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมาก่อนแล้ว ซึ่งเป็นสภาพการจ้างเดิมและปรากฎอยู่ในคำสั่ง/ระเบียบสายงานปฏิบัติการบินเดิม โดยนำมากำหนดเป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกลูกจ้าง เพื่อทำการเลิกจ้าง ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างแต่ฝ่ายนายจ้างฝ่ายเดียวอันไม่เป็นคุณยิ่งกว่า ซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
5. การกำหนดคุณสมบัติสำหรับพนักงานฝ่ายช่างในระดับปฏิบัติการ ระดับ 1-7 ให้ทำการทดสอบภาษาอังกฤษ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์รวมทั้งจะใช้คะแนนการทดสอบดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อประเมินคุณสมบัติสำหรับการคัดเลือกพนักงานฝ่ายช่าง จึงเป็นการที่นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ และข้อปฏิบัติที่เคยปฏิบัติระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมาก่อนแล้ว ซึ่งเป็นสภาพการจ้างเดิม โดยนำมากำหนดเป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกลูกจ้างเพื่อทำการเลิกจ้าง ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเพียงฝ่ายเดียวอันไม่เป็นคุณยิ่งกว่าซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
6. สหภาพแรงงานฯ (สร.พบท. )ได้รับเรื่องร้องเรียนถึงการพิจารณาตำแหน่งที่ไม่เป็นธรรมในการจัดการที่บริษัทฯ อ้างถึงโครงสร้างใหม่ขององค์กร ด้านการวางตัวบุคคลากรลงสู่ตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่ โดยมีการกล่าวอ้างว่าบริษัทฯ ดำเนินการโดยไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล การวางตัวบุคคลไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง
ดังนั้นสร.พบท.ขอให้ฝ่ายบริหารที่กระทำการดังกล่าว ได้ดำเนินการวางตัวบุคลากรให้ถูกต้อง และเป็นธรรมแก่พนักงานโดยด่วน เช่น พิจารณาถึงคุณลักษณะงานที่พนักงานปฏิบัติงานมาด้วยความชำนาญมาเป็นหลายสิบปี แต่กลับไม่ได้รับการถูกคัดเลือก มิฉะนั้น สร.พบท. จะดำเนินการในขั้นตอนตามกฎหมายต่อไปภายใน 7 วันนับแต่วันที่
7. การปรับโครงสร้างเงินเดือนพนักงานตามที่บริษัทได้แถลงต่อพนักงานในโอกาสต่างๆ สร.พบท. เห็นว่าการปรับเงินเดือน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ และข้อบังคับบริษัทฯ ใหม่ เป็นการละเมิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อย่างชัดเจน เป็นการกระทำที่ขัดแย้งต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายคุ้มครองแรงงานการที่บริษัทฯ เอาเปรียบพนักงานโดยไม่แจ้งข่าว โครงสร้างเงินเดือนใหม่เพื่อให้พนักงานตัดสินใจ และกล้าที่จะให้พนักงานสมัครงานใหม่ทั้งๆ ที่พนักงานยังคงปฏิบัติงานได้ด้วยดี และกล้าที่จะทำการเอาเปรียบ
ในระดับ 1-7 ซึ่งพนักงานให้ความร่วมมือกับบริษัทฯฟันฝ่าสถานการณ์วิกฤติด้วยดีมาโดยตลอด“บริษัทรอด พนักงานรอด” น่าจะเป็นแค่คำพูดที่สวยหรูของฝ่ายบริหารเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงพนักงานในระดับฝ่ายบริหารยังมีจำนวนมากเกินความจำเป็น เพราะอัตราเงินเดือนผู้บริหารเหล่านี้มีเงินเดือนสูง เพราะในวันนี้พวกท่านผู้บริหารระดับสูงเริ่มที่จะทำให้พนักงานเสียขวัญกำลังใจซึ่งนำไปสู่ปัญหากระทบด้านจิตใจของครอบครัวพนักงานอีกมากมาย ดังนั้น อยากถามฝ่ายบริหารว่า “บริษัทจะรอดหรือไม่ แต่พรรคพวกเพื่อนพ้องต้องรอด ต้องได้อยู่ต่อ” น่าจะเหมาะสมกว่า เพราะการคัดเลือกพนักงานที่จะได้ไปต่อก็ไม่มีหลักธรรมาภิบาลตั้งแต่แรก
“
ขอให้เพื่อนพนักงาน และสมาชิก สร พบท.ทุกท่านตั้งสติ และพิจารณาให้ดีว่า ถึงแม้ท่านจะทำการสมัครงานใหม่กับนายจ้างเดิม ก็ไม่มีผู้ใดให้คำรับรองแก่ท่านว่า “จะไม่ถูกเลิกจ้าง” ในขณะที่ยอมรับในเงินเดือนสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน ดังนั้น ถ้าท่านเป็นสมาชิก สร.พบท. เราขอแนะนำท่านไม่ต้องเซ็นเอกสารใดๆ ทั้งสิ้นที่เกี่ยวข้องที่ผิดแปลก หรือริดรอนสภาพการจ้างเดิม หรือมีผลกับสภาพการจ้างปัจจุบัน”
โคราชพบหมูเป็นโรคระบาดตายอื้อ ปศุสัตว์สั่งล็อกดาวน์หวั่นระบาด
https://www.matichon.co.th/region/news_2609067
โคราชพบหมูเป็นโรคระบาดตายอื้อ ปศุสัตว์สั่งล็อกดาวน์หวั่นระบาด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นาย
ชายเขต มีประเทศ ปศุสัตว์อำเภอเมืองนครราชสีมา ได้มีการออกหนังสือประกาศให้เขตพื้นที่ หมู่บ้านหัวถนน หมู่ 7 ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นเขตโรคระบาดชั่วคราว ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ภายหลังจากที่ตรวจพบมีหมูตายด้วยโรคพีอาร์อาร์เอส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) เป็นจำนวนมากกว่า 30 ตัว ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา โดยทางปศุสัตว์อำเภอ ได้ออกประกาศห้ามไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายสุกร หมู่ป่า หรือซากสัตว์ทุกชนิด เข้า ออก หรือผ่านเขตพื้นที่หมู่บ้านหัวถนน หมู่ 7 ต.หัวทะเล เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2564 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดออกไปยังพื้นที่ข้างเคียง หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558
ล่าสุด วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2564) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปที่หมู่บ้านหัวถนน หมู่ 7 ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบกับนาย
ศรีทอน โคทวี อายุ 59 ปี ผู้ใหญ่บ้านหัวถนน ซึ่งได้พาไปดูเล้าหมู่ที่ชาวบ้านเลี้ยงอยู่ ภายในหมู่บ้าน ที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่กี่ตัว โดยนายศรีทอนเล่าว่า ในหมู่บ้านหัวถนนจะมีเกษตรกรเลี้ยงหมูอยู่หลายครอบครัว ส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบทำเป็นเล้าทั่วไป ไม่ได้ทำเป็นฟาร์ม บางรายเลี้ยงไว้ 10-20 ตัว เพื่อส่งขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่จะมารับซื้อถึงที่
ก่อนหน้านั้นช่วงเดือนมกราคม 2564 ได้มีชาวบ้านแจ้งว่า หมูที่เลี้ยงในเล้าตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วงแรกๆ ก็คิดว่าคงจะไม่เกี่ยวกับโรคระบาด แต่ต่อมาได้มีหมูตายเพิ่มอีกอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีมากกว่า 60 ตัว จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีหมูที่ชาวเลี้ยงไว้ตายเพิ่มอีกเกือบทั้งหมู่บ้าน ทำให้ตนเองต้องแจ้งไปที่ปศุสัตว์อำเภอเพื่อมาตรวจ และพบว่าหมูเป็นโรคระบาด จึงได้มีการประกาศห้ามเคลื่อนย้ายหมู และซากหมู เข้า ออก และผ่านเขตหมู่บ้านเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปยังเขตพื้นที่อื่น ตอนนี้ในหมู่บ้านเหลือหมูที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 10 กว่าตัวเท่านั้น โดยตนเองได้ให้เกษตรกรที่เลี้ยงหมูแจ้งทันทีหากมีหมูตายเพิ่ม ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหมูตายเพิ่ม ทั้งนี้ในหมู่บ้านไม่เคยเป็นโรคระบาดนี้มาก่อนเลย จึงทำให้เกษตรกรรู้สึกตกใจเป็นอย่างมาก ยังไม่กล้าขายหมูที่เหลือออกไป เพราะต้องรอให้ผ่านช่วงประกาศไปก่อน นายศรีทอนกล่าว
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ โรคพีอาร์อาร์เอส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) ถือว่าเป็นโรคที่มีอาการกับระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจของหมู ซึ่งจะทำให้แม่หมูแท้งในระยะตั้งท้อง ส่วนลูกหมูที่ติดเชื้อ จะมีอาการแคระแกร็น โตช้า และป่วยเรื้อรังจนตายลงในที่สุด พบมีการระบาดครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2530 ก่อนที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลกในเวลาต่อมา ซึ่งในประเทศไทยตรวจพบการแพร่ระบาดเมื่อปี 2532 โดยหมูที่ตายด้วยโรคนี้ ส่วนใหญ่จะมีอายุไม่เกิน 1 เดือน เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันน้อย ปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีวัคซีนป้องกันหลายชนิด แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังไม่ให้มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง เนื่องจากจะทำให้เกิดความเสียหายกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูได้ ถึงอย่างไรก็ตามโรคนี้ไม่มีการระบาดมาสู่มนุษย์แต่อย่างใด
JJNY : 6in1 จี้เปิดความเห็น4นักกม.│บินไทยร้าวหนัก│โคราช หมูเป็นโรคตายอื้อ│จี้ชิงทอง47บ.│ร้านทองบ่นเจอคว้า4บ.│แฉจนท.อำเภอ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2609651
และ 3. ขอให้ทุกภาคส่วนมุ่งมั่น ส่งเสริม สนับสนุนให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ ที่เป็นจุดรวมความคิดของประชาชน ให้รัฐธรรมนูญเป็นแกนหลักของนิติรัฐ และนิติธรรม
ทั้งนี้ ถ้าไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังก็จะประชุมหารือเพื่อเคลื่อนไหวต่อไป เราจะทำทุกทางเพื่อที่บ้านเมืองนี้จะมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย เราไม่ยอมแพ้แม้จะมีการใช้อำนาจอะไรก็ตาม เพราะเราจะสถาปนารัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นใหญ่
บริษัทรอด พนักงานไม่รอด! การบินไทยร้าวหนัก สหภาพโวย-ฮึ่มฟ้องศาล
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6076847
การบินไทยร้าวหนัก! สหภาพร่อนหนังสือแจ้งสมาชิก ห้ามเซ็นสัญญาจ้างงานใหม่ ชี้ไม่มีธรรมาภิบาล ไม่ยุติธรรม ทั้งที่ช่วยฝ่าวิกฤตมาด้วยกัน ฮึ่มฟ้องศาลบริษัทละเมิดกฎหมายแรงงาน
วันที่ 5 มี.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกสหภาพแรงงานพนักงานบริษัทการบินไทย (สร.พบท.) ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังสมาชิก ระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์ของบริษัทการบินไทยฯ และประกาศคำสั่ง ที่ออกเผยแพร่ รวมทั้งข้อมูลต่างๆที่ส่งต่อๆกันในโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ทำให้เกิดความสับสนต่อพนักงานระดับปฏิบัติการทุกท่าน และสงสัยว่าต้องทำตัวเช่นไรต่อประกาศ/คำสั่งต่างๆ สหภาพแรงงานพนักงานบริษัทการบินไทยจึงขอให้สมาชิกของสหภาพแรงงาน สร.พบท. ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. การกำหนดให้พนักงานต้องแสดงความประสงค์จะทำงานต่อกับบริษัทฯ ด้วยการสมัครงานใหม่กับนายจ้างเดิม เป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ลูกจ้างยอมรับสภาพการจ้างใหม่ที่ไม่มีธรรมาภิบาล และไม่ยุติธรรมต่อลูกจ้างไม่ว่าจะอ้างสาเหตุใด เช่น การปรับโครงสร้างองค์กร ฯลฯ
2. การกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในการคัดเลือกพนักงาน ทั้งๆที่พนักงานมีสัญญาจ้างเดิมอยู่กับบริษัทฯ และบริษัทฯมิได้ทำการเลิกจ้างพนักงานตามสัญญาเดิมที่มีอยู่แล้วนั้น เป็นเพียงวิธีการในการหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง และยังการถูกกล่าวหาว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อตกลงสภาพการจ้าง เพียงเพื่อบีบบังคับให้ลูกจ้างสมัครใจลาอก โดยลูกจ้างไม่สามารถผ่านคุณสมบัติที่นายจ้างกำหนดขึ้นภายหลังได้ เป็นการละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง
3. การออกข้อกำหนดให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและนักบิน ที่มีอายุเกิน 55 ปี เลิกปฏิบัติการบนเครื่องบิน ทั้งที่มีสัญญาการจ้างงานถึงอายุ 60 ปี เป็นการละเมิดสัญญาจ้างงาน ซึ่งนายจ้างไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งหากนายจ้างกระทำการเลิกจ้าง ย่อมถือว่านายจ้างกระทำผิดสัญญาจ้าง ย่อมถูกฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้
4. การกำหนดค่า BMI เพื่อใช้กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินระดับ 1-7 แม้เดิมจะมีการใช้ค่า BMI เป็นตัวชี้วัดความพร้อมของร่างกายในการปฏิบัติงาน แต่ก็มีระบบว่ากล่าวตักเตือนและการระงับการบิน พร้อมทั้งปฏิบัติงานภาคพื้น และ/หรือ มีกำหนดช่วงระยะเวลาให้ปรับปรุงทางกายภาพ ดังนั้น การที่นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติที่เคยปฏิบัติระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมาก่อนแล้ว ซึ่งเป็นสภาพการจ้างเดิมและปรากฎอยู่ในคำสั่ง/ระเบียบสายงานปฏิบัติการบินเดิม โดยนำมากำหนดเป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกลูกจ้าง เพื่อทำการเลิกจ้าง ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างแต่ฝ่ายนายจ้างฝ่ายเดียวอันไม่เป็นคุณยิ่งกว่า ซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
5. การกำหนดคุณสมบัติสำหรับพนักงานฝ่ายช่างในระดับปฏิบัติการ ระดับ 1-7 ให้ทำการทดสอบภาษาอังกฤษ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์รวมทั้งจะใช้คะแนนการทดสอบดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อประเมินคุณสมบัติสำหรับการคัดเลือกพนักงานฝ่ายช่าง จึงเป็นการที่นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ และข้อปฏิบัติที่เคยปฏิบัติระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมาก่อนแล้ว ซึ่งเป็นสภาพการจ้างเดิม โดยนำมากำหนดเป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกลูกจ้างเพื่อทำการเลิกจ้าง ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเพียงฝ่ายเดียวอันไม่เป็นคุณยิ่งกว่าซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
6. สหภาพแรงงานฯ (สร.พบท. )ได้รับเรื่องร้องเรียนถึงการพิจารณาตำแหน่งที่ไม่เป็นธรรมในการจัดการที่บริษัทฯ อ้างถึงโครงสร้างใหม่ขององค์กร ด้านการวางตัวบุคคลากรลงสู่ตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่ โดยมีการกล่าวอ้างว่าบริษัทฯ ดำเนินการโดยไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล การวางตัวบุคคลไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง
ดังนั้นสร.พบท.ขอให้ฝ่ายบริหารที่กระทำการดังกล่าว ได้ดำเนินการวางตัวบุคลากรให้ถูกต้อง และเป็นธรรมแก่พนักงานโดยด่วน เช่น พิจารณาถึงคุณลักษณะงานที่พนักงานปฏิบัติงานมาด้วยความชำนาญมาเป็นหลายสิบปี แต่กลับไม่ได้รับการถูกคัดเลือก มิฉะนั้น สร.พบท. จะดำเนินการในขั้นตอนตามกฎหมายต่อไปภายใน 7 วันนับแต่วันที่
7. การปรับโครงสร้างเงินเดือนพนักงานตามที่บริษัทได้แถลงต่อพนักงานในโอกาสต่างๆ สร.พบท. เห็นว่าการปรับเงินเดือน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ และข้อบังคับบริษัทฯ ใหม่ เป็นการละเมิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อย่างชัดเจน เป็นการกระทำที่ขัดแย้งต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายคุ้มครองแรงงานการที่บริษัทฯ เอาเปรียบพนักงานโดยไม่แจ้งข่าว โครงสร้างเงินเดือนใหม่เพื่อให้พนักงานตัดสินใจ และกล้าที่จะให้พนักงานสมัครงานใหม่ทั้งๆ ที่พนักงานยังคงปฏิบัติงานได้ด้วยดี และกล้าที่จะทำการเอาเปรียบ
ในระดับ 1-7 ซึ่งพนักงานให้ความร่วมมือกับบริษัทฯฟันฝ่าสถานการณ์วิกฤติด้วยดีมาโดยตลอด“บริษัทรอด พนักงานรอด” น่าจะเป็นแค่คำพูดที่สวยหรูของฝ่ายบริหารเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงพนักงานในระดับฝ่ายบริหารยังมีจำนวนมากเกินความจำเป็น เพราะอัตราเงินเดือนผู้บริหารเหล่านี้มีเงินเดือนสูง เพราะในวันนี้พวกท่านผู้บริหารระดับสูงเริ่มที่จะทำให้พนักงานเสียขวัญกำลังใจซึ่งนำไปสู่ปัญหากระทบด้านจิตใจของครอบครัวพนักงานอีกมากมาย ดังนั้น อยากถามฝ่ายบริหารว่า “บริษัทจะรอดหรือไม่ แต่พรรคพวกเพื่อนพ้องต้องรอด ต้องได้อยู่ต่อ” น่าจะเหมาะสมกว่า เพราะการคัดเลือกพนักงานที่จะได้ไปต่อก็ไม่มีหลักธรรมาภิบาลตั้งแต่แรก
“ขอให้เพื่อนพนักงาน และสมาชิก สร พบท.ทุกท่านตั้งสติ และพิจารณาให้ดีว่า ถึงแม้ท่านจะทำการสมัครงานใหม่กับนายจ้างเดิม ก็ไม่มีผู้ใดให้คำรับรองแก่ท่านว่า “จะไม่ถูกเลิกจ้าง” ในขณะที่ยอมรับในเงินเดือนสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน ดังนั้น ถ้าท่านเป็นสมาชิก สร.พบท. เราขอแนะนำท่านไม่ต้องเซ็นเอกสารใดๆ ทั้งสิ้นที่เกี่ยวข้องที่ผิดแปลก หรือริดรอนสภาพการจ้างเดิม หรือมีผลกับสภาพการจ้างปัจจุบัน”
โคราชพบหมูเป็นโรคระบาดตายอื้อ ปศุสัตว์สั่งล็อกดาวน์หวั่นระบาด
https://www.matichon.co.th/region/news_2609067
โคราชพบหมูเป็นโรคระบาดตายอื้อ ปศุสัตว์สั่งล็อกดาวน์หวั่นระบาด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชายเขต มีประเทศ ปศุสัตว์อำเภอเมืองนครราชสีมา ได้มีการออกหนังสือประกาศให้เขตพื้นที่ หมู่บ้านหัวถนน หมู่ 7 ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นเขตโรคระบาดชั่วคราว ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ภายหลังจากที่ตรวจพบมีหมูตายด้วยโรคพีอาร์อาร์เอส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) เป็นจำนวนมากกว่า 30 ตัว ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา โดยทางปศุสัตว์อำเภอ ได้ออกประกาศห้ามไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายสุกร หมู่ป่า หรือซากสัตว์ทุกชนิด เข้า ออก หรือผ่านเขตพื้นที่หมู่บ้านหัวถนน หมู่ 7 ต.หัวทะเล เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2564 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดออกไปยังพื้นที่ข้างเคียง หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558
ล่าสุด วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2564) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปที่หมู่บ้านหัวถนน หมู่ 7 ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบกับนายศรีทอน โคทวี อายุ 59 ปี ผู้ใหญ่บ้านหัวถนน ซึ่งได้พาไปดูเล้าหมู่ที่ชาวบ้านเลี้ยงอยู่ ภายในหมู่บ้าน ที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่กี่ตัว โดยนายศรีทอนเล่าว่า ในหมู่บ้านหัวถนนจะมีเกษตรกรเลี้ยงหมูอยู่หลายครอบครัว ส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบทำเป็นเล้าทั่วไป ไม่ได้ทำเป็นฟาร์ม บางรายเลี้ยงไว้ 10-20 ตัว เพื่อส่งขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่จะมารับซื้อถึงที่
ก่อนหน้านั้นช่วงเดือนมกราคม 2564 ได้มีชาวบ้านแจ้งว่า หมูที่เลี้ยงในเล้าตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วงแรกๆ ก็คิดว่าคงจะไม่เกี่ยวกับโรคระบาด แต่ต่อมาได้มีหมูตายเพิ่มอีกอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีมากกว่า 60 ตัว จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีหมูที่ชาวเลี้ยงไว้ตายเพิ่มอีกเกือบทั้งหมู่บ้าน ทำให้ตนเองต้องแจ้งไปที่ปศุสัตว์อำเภอเพื่อมาตรวจ และพบว่าหมูเป็นโรคระบาด จึงได้มีการประกาศห้ามเคลื่อนย้ายหมู และซากหมู เข้า ออก และผ่านเขตหมู่บ้านเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปยังเขตพื้นที่อื่น ตอนนี้ในหมู่บ้านเหลือหมูที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 10 กว่าตัวเท่านั้น โดยตนเองได้ให้เกษตรกรที่เลี้ยงหมูแจ้งทันทีหากมีหมูตายเพิ่ม ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหมูตายเพิ่ม ทั้งนี้ในหมู่บ้านไม่เคยเป็นโรคระบาดนี้มาก่อนเลย จึงทำให้เกษตรกรรู้สึกตกใจเป็นอย่างมาก ยังไม่กล้าขายหมูที่เหลือออกไป เพราะต้องรอให้ผ่านช่วงประกาศไปก่อน นายศรีทอนกล่าว
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ โรคพีอาร์อาร์เอส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) ถือว่าเป็นโรคที่มีอาการกับระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจของหมู ซึ่งจะทำให้แม่หมูแท้งในระยะตั้งท้อง ส่วนลูกหมูที่ติดเชื้อ จะมีอาการแคระแกร็น โตช้า และป่วยเรื้อรังจนตายลงในที่สุด พบมีการระบาดครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2530 ก่อนที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลกในเวลาต่อมา ซึ่งในประเทศไทยตรวจพบการแพร่ระบาดเมื่อปี 2532 โดยหมูที่ตายด้วยโรคนี้ ส่วนใหญ่จะมีอายุไม่เกิน 1 เดือน เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันน้อย ปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีวัคซีนป้องกันหลายชนิด แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังไม่ให้มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง เนื่องจากจะทำให้เกิดความเสียหายกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูได้ ถึงอย่างไรก็ตามโรคนี้ไม่มีการระบาดมาสู่มนุษย์แต่อย่างใด