ผมติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้านในยุคนี้แล้ว บอกตามตรงว่า ขาดสีสันไปเยอะ เมื่อเทียบกับพรรคฝ่ายค้านในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งเรามักจะเห็นและคุ้นชินกับการอภิปรายของคนอย่างคุณสมัคร สุนทรเวช ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ท่านประธานชวน หลีกภัย คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือแม้แต่คุณวีระ มุสิกพงศ์ สมัยที่ยังอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์
ผมคนหนึ่งเมื่อเห็นนักการเมืองที่กล่าวมาข้างต้นลุกขึ้นอภิปราย ผมอยากฟังเขาพูด เรามักจะชอบฟังน้ำเสียง ลีลา บุคลิก ท่าทาง รวมถึงข้อมูลหลักฐานการพรีเซ็นต์ต่างๆ ซึ่งจะจริงหรือไม่จริงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเราๆท่านๆย่อมมีวิจารณญาณอยู่แล้วว่าสมควรเชื่อหรือไม่เชื่อหลักฐานหรือเอกสารใดหรือไม่ ?
แต่มันทำให้ประชาชนหันมาฟัง หันมาสนใจเวลาคนพวกนี้ลุกขึ้นพูดในสภาฯ รวมถึงสื่อมวลชนก็มักจะชอบเสนอข่าวของคนเหล่านี้
พอเปรียบเทียบกับพรรคฝ่ายค้านยุคนี้ คงเทียบไม่ได้กับลีลาการเมืองของบุคคลที่กล่าวข้างต้น ไล่เรียงมาตั้งแต่ผู้นำพรรคฝ่ายค้านอย่างคุณสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย รวมถึงพรรคก้าวไกลของคนรุ่นใหม่ที่แม้จะพยายามสร้างสีสันขึ้นมาบ้างก็ตาม
เมื่อสีสันน้อย ก็ต้องมาสนใจในข้อมูลการอภิปรายแทน มีคนๆหนึ่งที่อภิปรายแล้วตรงกับความเห็นของผมที่เคยเขียนแสดงความคิดเห็นไว้ในสื่อออนไลน์ต่างๆแล้วก็คือ คุณสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ถ้าจำไม่ผิดจะมีตำแหน่งประธานวิปฝ่ายค้านอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
ประเด็นการอภิปรายที่คุณสุทินเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพูดถึงในประเด็นที่ว่า....(ถอดความจากเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔) ...การเอื้อพวกพ้อง หากใครเป็นพวกท่าน ท่านก็เอื้อ เช่น การสร้างรถไฟจากรังสิต ที่สร้างเท่าไรก็ไม่เสร็จจนสนิมเกาะ พอมาปี ๖๓ ก็มีการทุบเสา โฮปเวลล์จึงฟ้องและต้องจ่ายค่าสัญญา สองหมื่นห้าพันกว่าล้านบาท เรียกว่า ค่าโง่โฮปเวลล์คล้ายกับเรื่องเหมืองทองอัครา เรื่องโฮปเวลล์ต้องดูว่าช่วยใคร ช่วยโฮปเวลล์ ช่วยรัฐบาล หรือช่วยใคร....เรื่องนี้รัฐบาลมีช่องทางออกสองทางคือ รัฐต้องจ่ายค่าเสียหายให้เอกชน หรือจะใช้วิธีการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิด และเรียกค่าเสียหายต่ออดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะผู้ยกเลิกสัญญาก่อสร้างโฮปเวลล์ในสมัยนั้น ซึ่งประเด็นคือ คดีดังกล่าวกำลังจะหมดอายุความในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งรัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณแผ่นดินจ่ายค่าเสียหายและปล่อยให้ผู้เกี่ยวข้องรอดพ้นการรับผิดชอบ....
ทางด้านอาจารย์วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ก็ยอมรับว่า การจ่ายค่าเสียหายช้า เพราะศาลและอนุญาโตตุลาการตัดสินแล้ว มีค่าดอกเบี้ยเดินวันละ ๒ ล้านบาท....
ความจริงประเด็นนี้ เคยบอกแล้วว่า สิ่งที่รัฐบาลควรจะทำก่อนเลยก็คือ เจรจากับบริษัทโฮปเวลล์เสีย ขอลดค่าเสียหายลง แล้วก็ดำเนินการจ่ายเขาไป อาจตั้งงบประมาณจ่ายในแต่ละปีไป ไม่ต้องจ่ายเป็นก้อนเดียว เพื่อให้ดอกเบี้ยหยุดเดิน ส่วนเรื่องจะหาตัวผู้กระทำความผิด ก็หาไปเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อได้ตัวคนกระทำผิดแล้ว จะไปไล่เบี้ยให้เขามาจ่ายคืนให้กับรัฐบาลก็ว่ากันไป
แต่ถ้ามัวโอ้เอ้อย่างนี้ หนี้ก็จะท่วมหัวไปเรื่อยๆครับ
อภิปรายไม่ไว้วางใจ...ปลุกคดีโฮปเวลล์
ผมคนหนึ่งเมื่อเห็นนักการเมืองที่กล่าวมาข้างต้นลุกขึ้นอภิปราย ผมอยากฟังเขาพูด เรามักจะชอบฟังน้ำเสียง ลีลา บุคลิก ท่าทาง รวมถึงข้อมูลหลักฐานการพรีเซ็นต์ต่างๆ ซึ่งจะจริงหรือไม่จริงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเราๆท่านๆย่อมมีวิจารณญาณอยู่แล้วว่าสมควรเชื่อหรือไม่เชื่อหลักฐานหรือเอกสารใดหรือไม่ ?
แต่มันทำให้ประชาชนหันมาฟัง หันมาสนใจเวลาคนพวกนี้ลุกขึ้นพูดในสภาฯ รวมถึงสื่อมวลชนก็มักจะชอบเสนอข่าวของคนเหล่านี้
พอเปรียบเทียบกับพรรคฝ่ายค้านยุคนี้ คงเทียบไม่ได้กับลีลาการเมืองของบุคคลที่กล่าวข้างต้น ไล่เรียงมาตั้งแต่ผู้นำพรรคฝ่ายค้านอย่างคุณสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย รวมถึงพรรคก้าวไกลของคนรุ่นใหม่ที่แม้จะพยายามสร้างสีสันขึ้นมาบ้างก็ตาม
เมื่อสีสันน้อย ก็ต้องมาสนใจในข้อมูลการอภิปรายแทน มีคนๆหนึ่งที่อภิปรายแล้วตรงกับความเห็นของผมที่เคยเขียนแสดงความคิดเห็นไว้ในสื่อออนไลน์ต่างๆแล้วก็คือ คุณสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ถ้าจำไม่ผิดจะมีตำแหน่งประธานวิปฝ่ายค้านอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
ประเด็นการอภิปรายที่คุณสุทินเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพูดถึงในประเด็นที่ว่า....(ถอดความจากเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔) ...การเอื้อพวกพ้อง หากใครเป็นพวกท่าน ท่านก็เอื้อ เช่น การสร้างรถไฟจากรังสิต ที่สร้างเท่าไรก็ไม่เสร็จจนสนิมเกาะ พอมาปี ๖๓ ก็มีการทุบเสา โฮปเวลล์จึงฟ้องและต้องจ่ายค่าสัญญา สองหมื่นห้าพันกว่าล้านบาท เรียกว่า ค่าโง่โฮปเวลล์คล้ายกับเรื่องเหมืองทองอัครา เรื่องโฮปเวลล์ต้องดูว่าช่วยใคร ช่วยโฮปเวลล์ ช่วยรัฐบาล หรือช่วยใคร....เรื่องนี้รัฐบาลมีช่องทางออกสองทางคือ รัฐต้องจ่ายค่าเสียหายให้เอกชน หรือจะใช้วิธีการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิด และเรียกค่าเสียหายต่ออดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะผู้ยกเลิกสัญญาก่อสร้างโฮปเวลล์ในสมัยนั้น ซึ่งประเด็นคือ คดีดังกล่าวกำลังจะหมดอายุความในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งรัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณแผ่นดินจ่ายค่าเสียหายและปล่อยให้ผู้เกี่ยวข้องรอดพ้นการรับผิดชอบ....
ทางด้านอาจารย์วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ก็ยอมรับว่า การจ่ายค่าเสียหายช้า เพราะศาลและอนุญาโตตุลาการตัดสินแล้ว มีค่าดอกเบี้ยเดินวันละ ๒ ล้านบาท....
ความจริงประเด็นนี้ เคยบอกแล้วว่า สิ่งที่รัฐบาลควรจะทำก่อนเลยก็คือ เจรจากับบริษัทโฮปเวลล์เสีย ขอลดค่าเสียหายลง แล้วก็ดำเนินการจ่ายเขาไป อาจตั้งงบประมาณจ่ายในแต่ละปีไป ไม่ต้องจ่ายเป็นก้อนเดียว เพื่อให้ดอกเบี้ยหยุดเดิน ส่วนเรื่องจะหาตัวผู้กระทำความผิด ก็หาไปเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อได้ตัวคนกระทำผิดแล้ว จะไปไล่เบี้ยให้เขามาจ่ายคืนให้กับรัฐบาลก็ว่ากันไป
แต่ถ้ามัวโอ้เอ้อย่างนี้ หนี้ก็จะท่วมหัวไปเรื่อยๆครับ