2021 ปีทองของคนซื้อบ้าน ? จะซื้อบ้านปี 2021 ดีไหม??

(Live) 2021 ปีทองของคนซื้อบ้าน ? จะซื้อบ้านปี 2021 ดีไหม?? จะได้โปรเหมือนปี 2020 หรือเปล่า ? 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
สรุปภาพรวมอสังหาปี 2020
 - มาตรการ ltv ของธนาคารแห่งประเทศไทยส่งผลให้กลุ่มนักลงทุนหายไปจากตลาด 
- ผลของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19 ส่งผลกระทบทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินและลดค่าใช้จ่ายต่างๆรวมไปถึงด้านที่อยู่อาศัย 
- ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ชะลอการเปิดโครงการใหม่แต่เน้นระบายสต๊อกคงค้างโดยใช้กลยุทธ์ราคาและโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นการซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ทำให้ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯในภาพรวมปรับตัวลดลงอย่างมากจากรอบปี 2019 
- พฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปโดยหันมาให้ความสนใจกับความสำคัญมาตราการการเว้นระยะห่าง Social distancing รวมถึงการใช้ชีวิตที่ต้องอยู่ติดบ้านมากขึ้นจากการที่ต้องทำงาน work from home จึงต้องมีความต้องการพื้นที่ใช้สอยที่เพิ่มขึ้นและเป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้นส่งผลให้ตลาดแนวราบเช่นบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมเติบโตขึ้นทั้งในแง่อุปสงค์และอุปทาน 
- ทำเลจะไม่ได้กระจุกตัวอยู่เฉพาะในตัวเมืองเท่านั้นแต่กระจายสู่พื้นที่รอบกรุงเทพฯรอบนอกมากขึ้นโครงการแนวราบสามารถทำราคาที่คนส่วนใหญ่เอื้อมถึงได้ประกอบกับการขยายโครงขายรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วและส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสีต่างๆทำให้การเดินทางเข้าออกเมืองหรือเชื่อมต่อใจกลางเมืองสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
 - เศรษฐกิจไทยมี GDP ติดลบต่ำที่สุดเป็นประวัติศาสตร์และสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส covid นี้ยังต้องเฝ้าระวัง จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและกำลังซื้อแต่ด้วยปัจจัยด้านราคาที่ไม่สูงมากนักและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลงต่ำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ทำให้ปี 2020 นี้เป็นโอกาสทองของผู้ซื้อที่มีความพร้อม 

แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2021 

ภาพรวมเศรษฐกิจ 
แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะค่อย ๆ ฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทย และการทยอยฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่คึกคักเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่า ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19

ดย กนง. ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ซึ่งจะช่วยเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และทำให้อัตราดอกเบี้ยบ้านต่ำลงด้วย 

ทั้งนี้ ในปี 2564 ยังมีปัจจัยท้าทายที่ต้องเผชิญรอบด้าน อาทิ เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คิด ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ลดลง ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 รวมถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่