๒. สัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์
[๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี.
ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า
" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ
- เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน...รูปแล
เป็นผู้ข้องใน...รูป
เป็นผู้เกี่ยวข้องใน...รูป...นั้น
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.
- พราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน...เวทนาแล
เป็นผู้ข้องใน...เวทนา
เป็นผู้เกี่ยวข้องใน...เวทนา...นั้น
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.
- พราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน...สัญญาแล
เป็นผู้ข้องใน...สัญญา
เป็นผู้เกี่ยวข้องใน...สัญญา...นั้น
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.
- พราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน...สังขารแล
เป็นผู้ข้องใน...สังขาร
เป็นผู้เกี่ยวข้องใน...สังขาร...นั้น
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.
- พราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน...วิญญาณแล
เป็นผู้ข้องใน...วิญญาณ
เป็นผู้เกี่ยวข้องใน...วิญญาณ...นั้น
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.
ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่น ทั้งหลาย
- เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
- ไม่ปราศจากความพอใจ
- ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก
ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น.
ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด
-.เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความ กำหนัด
- ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
- ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน กระวาย ปราศจากความทะยานอยาก
ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว
ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือ เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้ ด้วยมือและเท้า
ฉันใด ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็
- จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ..รูป..........ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
- จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ...เวทนา....ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
- จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ...สัญญา....ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
- จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ...สังขาร.....ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
- จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ...วิญญาณ...ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
ฉันนั้น นั่นเทียวแล.
ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.
จบ สูตรที่ ๒.
https://etipitaka.com/read/thai/17/191/
สรุป... <----อันนี้เป็นความเข้าใจของผม...หากมีคำแนะนำ-หรือ-เห็นต่าง..นำหลักฐานมาแสดง...ก็ยินดีเลยครับ
1. จากพระสูตร " สัตว์ "----ก็คือ การมีอุปาทาน..หรือ..ผู้ที่มีอุปาทาน..ในขันธ์๕
2. พระศาสดาท่านเทียบ " สัตว์ "...กับเด็กชายเด็กหญิงที่มีความกำหนัดในเนื่องฝุ่น
ดังนี้
เด็กชายเด็กหญิงที่กำหนัด <-------> สัตว์
เรื่องฝุ่น <------------------------------> อุปาทานขันธ์๕
เรื่องฝุ่นที่ถูกทำลาย <-----------------> ขันธ์๔...ที่ไม่มีอุปาทาน
ความรัก,กำหนัด,พอใจ <-------------> ฉันทะ-ราคา-นันทิ-ตัณหา
การทำเรื่อนฝุ่นให้เล่นไม่ได้ <--------> การปฏิบัติอริยมรรคอันมีองค์8
3. ในพุทธศาสนา... เป้าหมายคือการกำจัด...ตัณหา-อุปาทาน...ในอุปาทานขันธ์๕
เช่นเดียวกับการทำให้เรื่อนฝุ่นของเด็กน้อยนั้น..เป็นของที่เล่นไม่ได้อีกต่อไป..
ขันธ์๔...มันปรากฏ,
อุปาทาน...มันมีปรากฏ,
อุปาทานขันธ์๕...ก็มีปรากฏ,
ผู้ที่ยึดติด-ผู้ที่มีอุปาทาน...ที่เรียกว่า " สัตว์ "...มันจะไม่มีปรากฏได้อย่างไร???
4. พระศาสดนท่านเป็นผู้บัญญัติแสดง-เปิดเผย
ท่านพบว่า...ขันธ์๕..นี้มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และพบว่า...การไปมีอุปาทาน(ฉันทะ-ราคะ-นันทิ-ตัณหา)...ในขันธ์๕...นั่นหละเป็นตัวทุกข์
จากนั้น....ก็เรียกการไปมี-ผู้ไปมี " อุปาทานในขันธ์๕ "...ว่า..." สัตว์ "
สำหรับผูที่ยังมีอุปาทาน----อุปาทานขันธ์๕นั้น <----ยังมีอุปาทาน...ก็หมายความว่ายังมี " สัตว์ "
ส่วน ผู้ที่สิ้นอุปาทานแล้ว(พระอรหันต์)-----ขันธ์๕นั้น...เป็นขันธ์๕...ที่ปราศจากผู้ยึดติด คือ " ไม่มีสัตว์ "...นั้นเอง
ไม่ใช่เอะอะอะไร... ก็ไม่มีสัตว์
ถ้าไม่มีสัตว์ในขันธ์๕ใดๆ.....มันก็ไม่มีความจำเป็นที่จะมีศาสนาพุทธ...เพราะอะไร? ก็เพราะมันไม่มีทุกข์..ไง!
5. อีกอย่างนะ...ขันธ์๕เรานี้...มันเกิดมาจากสัตว์นะ...
นี่คือคำกล่าวของพระศาสดา...
.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ๖ (สัตว์) จึงลงสู่ครรภ์ เมื่อมีการลงสู่ครรภ์....จึงมีนามรูป
{ ฉนฺนํ ภิกฺขเว ธาตูนํ อุปาทาย คพฺภสฺสาวกฺกนฺติ โหติ โอกฺกนฺติยา สติ นามรูปํ }
- เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
- เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
- เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เราบัญญัติว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์แก่บุคคล ผู้เสวยเวทนาอยู่....
.....
https://etipitaka.com/read/thai/20/169/
" สัตว์ "---ตอนที่1 :...สัตว์..คืออะไร? อย่างไร...จึงเรียกว่า " สัตว์ "
๒. สัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์
[๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี.
ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า
" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ
- เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน...รูปแล
เป็นผู้ข้องใน...รูป
เป็นผู้เกี่ยวข้องใน...รูป...นั้น
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.
- พราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน...เวทนาแล
เป็นผู้ข้องใน...เวทนา
เป็นผู้เกี่ยวข้องใน...เวทนา...นั้น
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.
- พราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน...สัญญาแล
เป็นผู้ข้องใน...สัญญา
เป็นผู้เกี่ยวข้องใน...สัญญา...นั้น
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.
- พราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน...สังขารแล
เป็นผู้ข้องใน...สังขาร
เป็นผู้เกี่ยวข้องใน...สังขาร...นั้น
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.
- พราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน...วิญญาณแล
เป็นผู้ข้องใน...วิญญาณ
เป็นผู้เกี่ยวข้องใน...วิญญาณ...นั้น
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.
ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่น ทั้งหลาย
- เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
- ไม่ปราศจากความพอใจ
- ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก
ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น.
ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด
-.เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความ กำหนัด
- ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
- ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน กระวาย ปราศจากความทะยานอยาก
ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว
ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือ เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้ ด้วยมือและเท้า
ฉันใด ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็
- จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ..รูป..........ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
- จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ...เวทนา....ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
- จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ...สัญญา....ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
- จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ...สังขาร.....ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
- จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ...วิญญาณ...ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา
ฉันนั้น นั่นเทียวแล.
ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.
จบ สูตรที่ ๒.
https://etipitaka.com/read/thai/17/191/
สรุป... <----อันนี้เป็นความเข้าใจของผม...หากมีคำแนะนำ-หรือ-เห็นต่าง..นำหลักฐานมาแสดง...ก็ยินดีเลยครับ
1. จากพระสูตร " สัตว์ "----ก็คือ การมีอุปาทาน..หรือ..ผู้ที่มีอุปาทาน..ในขันธ์๕
2. พระศาสดาท่านเทียบ " สัตว์ "...กับเด็กชายเด็กหญิงที่มีความกำหนัดในเนื่องฝุ่น
ดังนี้
เด็กชายเด็กหญิงที่กำหนัด <-------> สัตว์
เรื่องฝุ่น <------------------------------> อุปาทานขันธ์๕
เรื่องฝุ่นที่ถูกทำลาย <-----------------> ขันธ์๔...ที่ไม่มีอุปาทาน
ความรัก,กำหนัด,พอใจ <-------------> ฉันทะ-ราคา-นันทิ-ตัณหา
การทำเรื่อนฝุ่นให้เล่นไม่ได้ <--------> การปฏิบัติอริยมรรคอันมีองค์8
3. ในพุทธศาสนา... เป้าหมายคือการกำจัด...ตัณหา-อุปาทาน...ในอุปาทานขันธ์๕
เช่นเดียวกับการทำให้เรื่อนฝุ่นของเด็กน้อยนั้น..เป็นของที่เล่นไม่ได้อีกต่อไป..
ขันธ์๔...มันปรากฏ,
อุปาทาน...มันมีปรากฏ,
อุปาทานขันธ์๕...ก็มีปรากฏ,
ผู้ที่ยึดติด-ผู้ที่มีอุปาทาน...ที่เรียกว่า " สัตว์ "...มันจะไม่มีปรากฏได้อย่างไร???
4. พระศาสดนท่านเป็นผู้บัญญัติแสดง-เปิดเผย
ท่านพบว่า...ขันธ์๕..นี้มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และพบว่า...การไปมีอุปาทาน(ฉันทะ-ราคะ-นันทิ-ตัณหา)...ในขันธ์๕...นั่นหละเป็นตัวทุกข์
จากนั้น....ก็เรียกการไปมี-ผู้ไปมี " อุปาทานในขันธ์๕ "...ว่า..." สัตว์ "
สำหรับผูที่ยังมีอุปาทาน----อุปาทานขันธ์๕นั้น <----ยังมีอุปาทาน...ก็หมายความว่ายังมี " สัตว์ "
ส่วน ผู้ที่สิ้นอุปาทานแล้ว(พระอรหันต์)-----ขันธ์๕นั้น...เป็นขันธ์๕...ที่ปราศจากผู้ยึดติด คือ " ไม่มีสัตว์ "...นั้นเอง
ไม่ใช่เอะอะอะไร... ก็ไม่มีสัตว์
ถ้าไม่มีสัตว์ในขันธ์๕ใดๆ.....มันก็ไม่มีความจำเป็นที่จะมีศาสนาพุทธ...เพราะอะไร? ก็เพราะมันไม่มีทุกข์..ไง!
5. อีกอย่างนะ...ขันธ์๕เรานี้...มันเกิดมาจากสัตว์นะ...
นี่คือคำกล่าวของพระศาสดา...
.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่นธาตุ๖ (สัตว์) จึงลงสู่ครรภ์ เมื่อมีการลงสู่ครรภ์....จึงมีนามรูป
{ ฉนฺนํ ภิกฺขเว ธาตูนํ อุปาทาย คพฺภสฺสาวกฺกนฺติ โหติ โอกฺกนฺติยา สติ นามรูปํ }
- เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
- เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
- เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เราบัญญัติว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์แก่บุคคล ผู้เสวยเวทนาอยู่....
.....
https://etipitaka.com/read/thai/20/169/