JJNY : เที่ยวไทยทรุดหนัก/โรงแรมขอเยียวยาเพิ่ม/พท.เย้ยรัฐตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ/จันทบุรีติดเพิ่ม7/ประวิตรไม่รู้แอบเปิดบ่อน

เที่ยวไทยทรุดหนัก 11 เดือน ‘โควิด’ ทำชวดรายได้ 1.93 ล้านล้านบาท
https://www.matichon.co.th/economy/news_2505071

เที่ยวไทยทรุดหนัก 11 เดือน ‘โควิด’ ทำชวดรายได้ 1.93 ล้านล้านบาท
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ภาพรวมสถานการณ์ท่องเที่ยวประเทศไทย ในช่วงเดือนมกราคม -พฤศจิกายน 2563 การท่องเที่ยวของไทย มีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 7.60 แสนล้านบาท โดยรายได้ท่องเที่ยวทั้งหมด ลดลง 1.93 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 71.75% หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 แบ่งเป็นตลาดต่างประเทศ พบว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทย 6.69 ล้านคน ลดลง 29.27 ล้านคน หรือคิดเป็น 81.38% เทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562
 
โดยในเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีต่างชาติจํานวน 3,065 คน เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า จากเดือนตุลาคม และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเดือนธันวาคม 2563 เนื่องจากชาวต่างชาติ สามารถขอวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว ที่มีข้อจำกัดน้อยลง ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติสร้างรายได้เท่ากับ 3.32 แสนล้านบาท ลดลง 1.38 ล้านล้านบาท หรือ 80.59% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ซึ่งส่วนนี้ยังไม่รวมรายได้เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2563
 
สำหรับสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือตลาดไทยเที่ยวไทย ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2563 (มกราคม – พฤศจิกายน) เบื้องต้นมีจำนวนผู้เดินทางทั้งสิ้น 78.32 ล้านคน-ครั้ง ลดลง 75.78 ล้านคน-ครั้ง หรือ คิดเป็น 49.17% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีเม็ดเงินที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่าย เพื่อการท่องเที่ยว จำนวน 4.28 แสนล้านบาท ลดลง 5.52 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 56.33% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
 
ส่วนในเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา การเดินทางในประเทศ ลดลง ติดลบ 23.43% แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ติดลบกว่า 34.47% จากแรงกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดต่อเนื่องพิเศษ รวมถึงการฟื้นตัวของแหล่งท่องเที่ยวในภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง
  

 
อั้นไม่ไหวโควิดระลอกใหม่ โรงแรมขอเยียวยาเพิ่ม วอนรัฐช่วยจ่ายเงินเดือน50%
https://www.thansettakij.com/content/business/462184
 
โควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ ฉุดธุรกิจโรงแรมกระทบลากยาวไปถึงสิ้นปี 64 ทีเอชเอ ร้องรัฐชง 4 มาตรการเยียวยาเพิ่มเติม ทั้งชำระหนี้ ส่วนหนี้คงเหลือเดิมขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นคงที่ 2% ขอซอฟต์โลนไม่เกินรายละ 60 ล้านบาทต่อโรงแรมเพิ่มสภาพคล่อง สนับสนุนการจ่ายเงินเดือน 50% แบบ Co-payment วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท รักษาการจ้างแรงงาน 2 แสนคน
 
จากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้โรงแรมทยอยกลับมาเปิดให้บริการได้แล้วบางส่วน โดยโรงแรมในกรุงเทพฯ กลับมาเปิดได้ราว 75% แต่โรงแรมในเมืองท่องเที่ยวหลัก อย่าง เกาะสมุย ภูเก็ต มีโรงแรมกลับมาเปิดให้บริการได้ราว 20 % ขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 37% ซึ่งขยับขึ้นมาจากการสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยว โดยเฉพาะโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน
 
แต่การเดินทางเที่ยวในประเทศอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้ธุรกิจโรงแรมอยู่ได้ เพราะโรงแรมส่วนใหญ่พึ่งพิงลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก
 
ล่าสุดยังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการประเมินว่าจากเดิมคาดว่าธุรกิจจะกระทบต่อเนื่องไปถึงกลางปี 2564 แต่จะลากยาวไปถึงสิ้นปี 2564 ทำให้โรงแรมที่กลับมาทยอยเปิดแล้ว ก็อาจจะต้องกลับมาปิดให้บริการอีกครั้ง
 
เนื่องจากขณะนี้โรงแรมต่างๆ มีลูกค้า ทยอยยกเลิกการเข้าพัก โดยเฉพาะในพื้นที่หัวหิน-ชะอำ มีการยกเลิกจองห้องพักมากที่สุด รวมถึงภูเก็ตก็มีการยกเลิกเข้าบ้าง เนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งต้องเดินทางผ่านจ.สมุทรสาคร ซึ่งนักท่องเที่ยววิตกว่าจะเกิดการล็อกดาวน์ ทำให้กลัวเดินทางไปแล้วจะกลับมาไม่ได้                
 
ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น สมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) จึงได้เสนอ 4 มาตรการในการร้องขอให้รัฐบาลช่วยลดต้นทุน ภาคธุรกิจโรงแรม เพื่อให้ธุรกิจพอประคองตัว และรักษาการจ้างงานได้ต่อไป
  
นางมาริสา สุโกศล นายกสมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าทีเอชเอ ได้จัดทำมาตรการที่จะร้องขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากรัฐบาล ให้ช่วยเหลือเรื่องของการลดต้นทุนภาคธุรกิจโรงแรม เพื่อให้ธุรกิจโรงแรมสามารถดำเนินกิจการไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ได้แก่
 
1. มาตราการพักชำระหนี้ ที่จะขอพักชำระหนี้กรณีภาคธุรกิจโรงแรม มีหนี้คงเหลือเดิมกับสถาบันการเงิน ขอให้ภาครัฐพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นคงที่ 2% พร้อมทั้งพักการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 2 ปี
 
2. มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ขอสนับสนุนผลักดันมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แก่ภาคธุรกิจโรงแรมผ่านธนาคารพาณิชย์ ในการของวงเงินสนับสนุน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจ โดยให้อนุมัติปล่อยสินเชื่อได้ไม่เกินรายละ 60 ล้านบาทต่อโรงแรม ในอัตราดอกเบี้ย 2%
 
โดยปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 2 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วให้แปลงเป็นสินเชื่อระยะยาวดอกเบี้ยต่ำผ่อนชำระกับธนาคารพาณิชย์ หากลูกค้ามีหลักประกันไม่พอขอให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) หรือขอให้รัฐบาลเป็นผู้จัดตั้งกองทุนค้ำประกัน และไม่จำกัดสิทธิสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีวงเงินรวมเกิน 500 ล้านบาท
 
3. มาตรการสนับสนุนเงินเดือนค่าจ้าง 50% Co-payment เพื่อรักษาการจ้างงานเดิมของสถานประกอบกิจการโรงแรมทั่วประเทศ โดยขอการสนับสนุนผลักดัน โครงการ Co-payment ของภาครัฐ ให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมทุกแห่งทั่วประเทศสามารถรักษาพนักงานเดิม ที่มีศักยภาพ และมีประสบการณ์ในการทำงานในภาคธุรกิจโรงแรม ให้มีการจ้างงานเดิมต่อไปได้
 
โดยขอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินอุดหนุน เงินเดือนค่าจ้าง 50% ของอัตราเงินเดือนที่จ้าง สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม จะต้องดำเนินกิจการถูกต้องตามกฎหมาย และพนักงานจะต้องอยู่ในระบบประกันสังคม (สัญชาติไทย)
 
ทั้งนี้มาตรการนี้จะช่วยให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานสามารถจ้างพนักงานเดิมจำนวน 2 แสนคน หรือจำนวนไม่เกิน 30% ของจำนวนพนักงานปัจจุบัน โดยเราขอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินอุดหนุนเงินเดือนค่าจ้าง 50% ของเงินเดือนตามจริง และฐานเงินไม่เกิน 15,000 บาท สูงสุดจำนวนเงินไม่เกินจำนวน 7,500 บาทต่อคนต่อเดือน โดยขอให้รัฐโอนเงิน จ่ายโดยตรงเข้าบัญชีเงินเดือนลูกจ้างโดยตรง ผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี รวมวงเงินจะขอรัฐบาลสนับสนุนอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท
 
4. ขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาผลกระทบของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง (ธุรกิจโรงแรม และกิจการให้เช่าพักอาศัย) ยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุด (Minimum Charge) และจ่ายตามกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง โดยขอส่วนลดค่าไฟฟ้า 15% ตามใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง เป็นระยะเวลา 6 เดือน (เดือนมกราคม-ธันวาคม 2564) ขอแบ่งชำระเป็นงวด โดยไม่เรียกเก็บเงินดอกเบี้ย
 

 
รองโฆษกพท.เย้ยรัฐตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
https://www.innnews.co.th/politics/news_855327/
  
รองโฆษกพท.เย้ยรัฐ แจกเงินตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ไร้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
 
นางสาวจิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด ในฐานะรองโฆษก และคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงโครงการ “คนละครึ่ง” ของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการระยะสั้นที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในช่วงวิกฤตโควิด-19 ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ที่ผ่านมารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ แก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยการแจกเงินมาโดยตลอด รวมถึงโครงการ “คนละครึ่ง” ที่แม้จะปรับเปลี่ยนรูปแบบไปบ้างแต่ยังเป็นการแจกเงินที่ไม่แตกต่างกับนโยบายก่อนหน้านี้ของรัฐบาล
 
ซึ่งเมื่อรัฐบาลกู้เงินมาเพื่อเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 1.9 ล้านล้านบาท ขณะนี้ผ่านมาหลายเดือน ปรากฏว่าเงินสำหรับใช้ฟื้นฟูเยียวยาเศรษฐกิจและสังคม ขณะนี้มีการอนุมัติไปแค่ราว 120,000 ล้านบาท แสดงถึงความไร้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ที่กู้โดยไม่มีแผนรองรับอย่างเป็นระบบ ทำให้ออกมาตรการล่าช้าและแก้ปัญหาไม่ตรงจุด หากยังเน้นเพียงมาตรการเสริมแบบนี้ เมื่อมีโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่อีก รัฐบาลก็ต้องแจกไม่มีที่สิ้นสุด และหนี้จำนวน 1 ล้านล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยก็จะกลายเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่