ใกล้เข้ามาแล้วกับการเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวหลังจากต้องเผชิญวิกฤตจากโรค COVID-19 ซึ่งประเทศไทยเองต้องล็อคดาวน์งดรับนักท่องเที่ยวมาเป็นเวลาเกือบสองปี โดยต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยที่ผ่านมาเรามีรายได้จากการท่องเที่ยวถึง 21.60% ต่อ GDP ซึ่ง ทำให้การล็อคดาวน์ครั้งนี้กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับภาคการท่องเที่ยวโดยตรงไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ธุรกิจสายการบิน ห้างสรรพสินค้า ดิวตี้ฟรี ที่ล้วนต่างได้รับผลกระทบไปเต็มๆเกือบสองปีเลยทีเดียว
หลังจากเปิดประเทศได้ ไม่ใช่ว่านักท่องเที่ยวจะมากันอย่างครื้นเครงเหมือนตอนก่อนล็อคดาวน์ ก่อนหน้านี้เรามีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมช่วงเดือน มกราคม – ธันวาคม 2562 ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยกว่า 39 ล้านคน แต่หลังจากเปิดประเทศเดือนพฤศจิกายนนี้ คาดการณ์จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมา ราวๆ 1 ล้านคนเท่านั้น และกว่าจะกลับไปมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา “เท่ากับก่อนล็อคดาวน์” นักวิชาการหลายท่านบอกว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 – 5 ปีเลยทีเดียว
“แล้วระหว่างนี้ ธุรกิจที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยวในประเทศจะต้องทำอย่างไร”
ถือว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของธุรกิจที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยว เพราะระหว่างรอให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเท่ากับก่อนล็อคดาวน์ ต้องเอาตัวรอดให้ได้ เพราะช่วงล็อคดาวน์อาจมีการเยียวยาช่วยเหลือจากหลายๆฝ่าย แต่หลังจากเปิดประเทศ ธุรกิจสามารถกลับมาเปิดได้อย่างเดิม มาตรการ การเยียวยาหลายๆอย่างเริ่มหยุดและเลิกให้การเยียวยา แต่ธุรกิจยังไม่กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม จุดนี้เป็นจุดที่ “ยังคงมีความจำเป็น” ที่ต้องช่วยเหลือธุรกิจเหล่านี้ต่อไป
เพราะไม่อาจปฏิเสธได้ว่าธุรกิจเหล่านี้ก็เป็นธุรกิจสนับสนุนและเอื้อต่อการขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน
จากปัจจัยต่างๆที่กล่าวทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐฯยังควรต้องมีมาตรการช่วยเหลือต่างๆออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวอันได้แก่สายการบิน ห้างสรรพสินค้า ดิวตี้ฟรี สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้ยังคงต้องการความช่วยเหลืออยู่อย่างน้อยก็อีกเป็นปี
ถึงแม้ว่าจะมีการเปิดประเทศแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะกลับมาดีโดยฉับพลัน ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังคงสะบักสะบอมจากการต่อสู้เอาตัวรอด และยังคงต้องต่อสู้ต่อไป ต้องปรับตัวภายใต้มาตรการการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสิ่งเหล่านี้มันมาพร้อมกับต้นทุนที่ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องแบกไว้เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจของตัวเองได้มีโอกาสหายใจหายคอกับการเปิดประเทศในครั้งนี้
ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างเช่นประเทศไอซ์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวคล้ายประเทศไทย ภาครัฐฯได้ช่วยเหลือโดยวิธีการว่า
· กิจการใดที่ถูกสั่งล็อคดาวน์ด้วยเหตุป้องกันโควิด-19 มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุน ไม่เกิน 8 แสน ISK (โครนา)ต่อคน หรือไม่เกิน 2.4 ล้าน ISK ต่อหนึ่งนิติบุคคล (อัตราแลกเปลี่ยนเงินไอซ์แลนด์คือ 1 ISK = 1สลึงไทยโดยประมาณ จริงๆคืออัตรา 1 ISK =0.22บาทไทย) ส่วนระยะเวลาของสินเชื่อนี้ทางรัฐบาลอซ์แลนด์ได้ให้ระยะเวลาไปอีก 30 เดือน หรือสองปีครึ่ง ซึ่งคาดว่า โลกน่าจะผ่านโควิดได้สำเร็จแล้ว และ
· กิจการต่างๆ ยังสามารถขอกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อประคองกิจการโดยใช้กองเงินที่รัฐบาลตั้งเตรียมไว้ได้อีก
ซึ่ง ทั้ง 2 วิธีที่กล่าวมานั้นเป็นตัวอย่างประเทศที่สนับสนุนการช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยวอย่างเต็มกำลัง โดยควรเริ่มที่ผู้ประกอบการตามจังหวัดนำร่องการท่องเที่ยว ในพื้นที่นำร่อง เพื่อให้ธุรกิจกลับมาเริ่มใหม่ได้อย่างมั่นคง
ซึ่งก็คาดหวังว่ารัฐบาลไทยจะช่วยอย่างเต็มกำลังเช่นกัน เพราะรัฐบาลคือฝ่ายที่สามารถช่วยเหลือผ่านนโยบายต่างๆได้ หากภาครัฐไม่โดดลงมาช่วยเหลือแล้วละก็ เราคงได้เห็นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวค่อยๆล้มหายตายจากไปเป็นแน่แท้ และเมื่อภาคนี้หมดกำลังลง ใครละจะอยากเดินทางมาเที่ยวที่ประเทศไทย
Ref : ewt_dl_link.php (parliament.go.th)
'สินเชื่อ' ของไอซ์แลนด์ เพื่อประคองเศรษฐกิจจาก 'โควิด19' (bangkokbiznews.com)
มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยว ที่ควรมาพร้อมกับแผนเปิดประเทศ
“แล้วระหว่างนี้ ธุรกิจที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยวในประเทศจะต้องทำอย่างไร”
ถือว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของธุรกิจที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยว เพราะระหว่างรอให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเท่ากับก่อนล็อคดาวน์ ต้องเอาตัวรอดให้ได้ เพราะช่วงล็อคดาวน์อาจมีการเยียวยาช่วยเหลือจากหลายๆฝ่าย แต่หลังจากเปิดประเทศ ธุรกิจสามารถกลับมาเปิดได้อย่างเดิม มาตรการ การเยียวยาหลายๆอย่างเริ่มหยุดและเลิกให้การเยียวยา แต่ธุรกิจยังไม่กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม จุดนี้เป็นจุดที่ “ยังคงมีความจำเป็น” ที่ต้องช่วยเหลือธุรกิจเหล่านี้ต่อไป
เพราะไม่อาจปฏิเสธได้ว่าธุรกิจเหล่านี้ก็เป็นธุรกิจสนับสนุนและเอื้อต่อการขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน
จากปัจจัยต่างๆที่กล่าวทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐฯยังควรต้องมีมาตรการช่วยเหลือต่างๆออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวอันได้แก่สายการบิน ห้างสรรพสินค้า ดิวตี้ฟรี สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้ยังคงต้องการความช่วยเหลืออยู่อย่างน้อยก็อีกเป็นปี
ถึงแม้ว่าจะมีการเปิดประเทศแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะกลับมาดีโดยฉับพลัน ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังคงสะบักสะบอมจากการต่อสู้เอาตัวรอด และยังคงต้องต่อสู้ต่อไป ต้องปรับตัวภายใต้มาตรการการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสิ่งเหล่านี้มันมาพร้อมกับต้นทุนที่ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องแบกไว้เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจของตัวเองได้มีโอกาสหายใจหายคอกับการเปิดประเทศในครั้งนี้
ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างเช่นประเทศไอซ์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวคล้ายประเทศไทย ภาครัฐฯได้ช่วยเหลือโดยวิธีการว่า
· กิจการใดที่ถูกสั่งล็อคดาวน์ด้วยเหตุป้องกันโควิด-19 มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุน ไม่เกิน 8 แสน ISK (โครนา)ต่อคน หรือไม่เกิน 2.4 ล้าน ISK ต่อหนึ่งนิติบุคคล (อัตราแลกเปลี่ยนเงินไอซ์แลนด์คือ 1 ISK = 1สลึงไทยโดยประมาณ จริงๆคืออัตรา 1 ISK =0.22บาทไทย) ส่วนระยะเวลาของสินเชื่อนี้ทางรัฐบาลอซ์แลนด์ได้ให้ระยะเวลาไปอีก 30 เดือน หรือสองปีครึ่ง ซึ่งคาดว่า โลกน่าจะผ่านโควิดได้สำเร็จแล้ว และ
· กิจการต่างๆ ยังสามารถขอกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อประคองกิจการโดยใช้กองเงินที่รัฐบาลตั้งเตรียมไว้ได้อีก
ซึ่ง ทั้ง 2 วิธีที่กล่าวมานั้นเป็นตัวอย่างประเทศที่สนับสนุนการช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยวอย่างเต็มกำลัง โดยควรเริ่มที่ผู้ประกอบการตามจังหวัดนำร่องการท่องเที่ยว ในพื้นที่นำร่อง เพื่อให้ธุรกิจกลับมาเริ่มใหม่ได้อย่างมั่นคง
Ref : ewt_dl_link.php (parliament.go.th)
'สินเชื่อ' ของไอซ์แลนด์ เพื่อประคองเศรษฐกิจจาก 'โควิด19' (bangkokbiznews.com)