เห็นข่าว ททท. จ่อเสนอศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ เพื่อของบจากรัฐบาลเพิ่ม 1,035.75 ล้าน มาทำโปรเจค “เราฟื้นด้วยกัน” ที่จะใช้ในการ “บูสเตอร์ช็อต” หรือวัคซีนเข็มกระตุ้น หวังช่วยฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบ
มานั่งฉุกคิดว่า จะฟื้นได้จริงหรือป่าว!?
และที่บอกว่า
“บูสเตอร์ช็อต” ฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบ จะทำได้จริงไหม แล้วต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหน
เพราะทุกวันนี้คนไทย ถึงจะออกจากบ้านเดินทางท่องเที่ยวในประเทศขยับเพิ่มมากขึ้น แต่ก็เที่ยวกันแบบตระหนี่ถี่เหนียว ยังต้องกั๊กเงินในกระเป๋าไว้ยามฉุกเฉิน
ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังเปิดประเทศ บวกกับยกเลิกระบบ Test & Go ระบบกักตัวทุกรูปแบบ และการลงทะเบียน Thailand Pass เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา เข้าไทยทะลุหลักล้านคน แม้จะไม่ใช่ทาร์เก็ทเดิมๆ อย่างจีน หรือ รัสเซีย ก็ยังดูเหมือนจะโกยรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศให้กระเตื้องขึ้นมาบ้าง
แม้นักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอย่างน่าดีใจ และรัฐบาลออกสารพัดมาตรการผลักดันฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว แต่ทำไมธุรกิจด้านการท่องเที่ยว หลายๆ ธุรกิจ กลับยังแย่อยู่ ทั้งสายการบิน ธุรกิจในสนามบิน ดิวตี้ฟรี โรงแรม และอื่นๆ ถึงยังไม่ฟื้น ยังต้องเดินโขยกเขยก บางรายต้องใช้ไม้ค้ำยันช่วยพยุงกันแทบไม่รอด?
หรือเพราะมีปัจจัยหลายๆ อย่าง ที่ยังเป็นปัญหา เช่น ธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่ ยังเผชิญกับปัญหา บางโรงแรมแม้จะดูใหญ่โตระดับ 4-5 ดาว ก็ใช่ว่าจะมีเงินทุนล้นเหลือ เพราะต้องหมดไปกับการดูแลพนักงาน ยังต้อง Take ตัวอย่างช้าๆ ส่วนโรงแรมต่ำกว่า 4 ดาว ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เงินทุนเกลี้ยงกระเป๋าช่วงโควิดระบาด ถ้าอยากจะโมดิฟายห้องพัก ให้ดูเก๋ไก๋ ดึงดูดนักท่องเที่ยว เพื่อเดินต่อไปได้ ก็คงต้องกู้เงินมาลงทุน และถึงเป็นโรงแรมที่มีแรงงานพร้อมก็ยังมีมากถึงเกือบ 70%ที่บอกเลยว่าจะยังไม่ขึ้นค่าจ้างงานไปอีกสักพัก
ธุรกิจในสนามบินก็ยังเปิดไม่เต็มพื้นที่ มีเพียงร้านใหญ่ๆ ที่ยังพอมีกำลังทรัพย์ ก็กัดฟันเปิดร้านสู้กันไปทั้งที่ไม่มียอดซื้อ ส่วนร้านเล็กๆ บางแห่งยังปิดประตู ลงกลอน ไม่รู้เมื่อไหร่จะได้เปิด แม้ ทอท.จะมีมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการภายในท่าอากาศยาน เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ในระยะวิกฤตไปบ้างแล้ว
ธุรกิจสายการบิน แม้กลับมาบินได้เต็มตารางบินอีกครั้ง แต่ยังมีภาวะความเสี่ยงทางการเงิน ต้นทุนค่าใช้จ่าย หนี้สินที่เร่งตัวขึ้น แถมถูกซ้ำเติมจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ดีดตัวสูงขึ้นทุกวัน และการจัดโปรโมชั่นแข่งขันระหว่างสายการบินด้วยกันเอง อย่างที่ EIC บอกว่าถึงธุรกิจสายการบินในไทยจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นขนาดที่ผลสำรวจบอกว่าภายใน 6 เดือนนี้นักท่องเที่ยวไทยมีแผนจะเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ก็ยังต้องใช้ระยะเวลากว่าจะกลับมาเหมือนเดิมอีกตั้งกว่า 3 ปี
จากสถานการณ์ต่างๆ เราคิดว่า...คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรกว่าที่จะกลับมาฟื้นได้เหมือนเดิมก่อนเกิดโควิด และยังคงเฝ้ารอการเยียวยาจากรัฐ มาเป็น “อัศวินม้าขาว” ช่วยประคับประคองกันมากกว่านี้ มาช่วยพยุงขึ้นเดินได้ตามปกติ
แต่ก็ต้องขอบคุณรัฐบาลที่ยังพยายามออกโปรเจคต่างๆ มาช่วย ถึงแม้บางโปรเจคอาจจะยังช่วยไม่ตรงจุด หรือกระจายไม่ทั่วถึงก็ตาม
(Cr.ข้อมูลบางส่วนจาก :
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1018706,
https://www.facebook.com/btimesch3 )
นทท.แห่เที่ยวไทย แต่ทำไมธุรกิจด้านการท่องเที่ยวถึงยังไม่ฟื้น!?
มานั่งฉุกคิดว่า จะฟื้นได้จริงหรือป่าว!?
และที่บอกว่า “บูสเตอร์ช็อต” ฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบ จะทำได้จริงไหม แล้วต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหน
เพราะทุกวันนี้คนไทย ถึงจะออกจากบ้านเดินทางท่องเที่ยวในประเทศขยับเพิ่มมากขึ้น แต่ก็เที่ยวกันแบบตระหนี่ถี่เหนียว ยังต้องกั๊กเงินในกระเป๋าไว้ยามฉุกเฉิน
ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังเปิดประเทศ บวกกับยกเลิกระบบ Test & Go ระบบกักตัวทุกรูปแบบ และการลงทะเบียน Thailand Pass เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา เข้าไทยทะลุหลักล้านคน แม้จะไม่ใช่ทาร์เก็ทเดิมๆ อย่างจีน หรือ รัสเซีย ก็ยังดูเหมือนจะโกยรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศให้กระเตื้องขึ้นมาบ้าง
แม้นักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอย่างน่าดีใจ และรัฐบาลออกสารพัดมาตรการผลักดันฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว แต่ทำไมธุรกิจด้านการท่องเที่ยว หลายๆ ธุรกิจ กลับยังแย่อยู่ ทั้งสายการบิน ธุรกิจในสนามบิน ดิวตี้ฟรี โรงแรม และอื่นๆ ถึงยังไม่ฟื้น ยังต้องเดินโขยกเขยก บางรายต้องใช้ไม้ค้ำยันช่วยพยุงกันแทบไม่รอด?
หรือเพราะมีปัจจัยหลายๆ อย่าง ที่ยังเป็นปัญหา เช่น ธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่ ยังเผชิญกับปัญหา บางโรงแรมแม้จะดูใหญ่โตระดับ 4-5 ดาว ก็ใช่ว่าจะมีเงินทุนล้นเหลือ เพราะต้องหมดไปกับการดูแลพนักงาน ยังต้อง Take ตัวอย่างช้าๆ ส่วนโรงแรมต่ำกว่า 4 ดาว ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เงินทุนเกลี้ยงกระเป๋าช่วงโควิดระบาด ถ้าอยากจะโมดิฟายห้องพัก ให้ดูเก๋ไก๋ ดึงดูดนักท่องเที่ยว เพื่อเดินต่อไปได้ ก็คงต้องกู้เงินมาลงทุน และถึงเป็นโรงแรมที่มีแรงงานพร้อมก็ยังมีมากถึงเกือบ 70%ที่บอกเลยว่าจะยังไม่ขึ้นค่าจ้างงานไปอีกสักพัก
ธุรกิจในสนามบินก็ยังเปิดไม่เต็มพื้นที่ มีเพียงร้านใหญ่ๆ ที่ยังพอมีกำลังทรัพย์ ก็กัดฟันเปิดร้านสู้กันไปทั้งที่ไม่มียอดซื้อ ส่วนร้านเล็กๆ บางแห่งยังปิดประตู ลงกลอน ไม่รู้เมื่อไหร่จะได้เปิด แม้ ทอท.จะมีมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการภายในท่าอากาศยาน เพื่อช่วยเหลือสภาพคล่องผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ในระยะวิกฤตไปบ้างแล้ว
ธุรกิจสายการบิน แม้กลับมาบินได้เต็มตารางบินอีกครั้ง แต่ยังมีภาวะความเสี่ยงทางการเงิน ต้นทุนค่าใช้จ่าย หนี้สินที่เร่งตัวขึ้น แถมถูกซ้ำเติมจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ดีดตัวสูงขึ้นทุกวัน และการจัดโปรโมชั่นแข่งขันระหว่างสายการบินด้วยกันเอง อย่างที่ EIC บอกว่าถึงธุรกิจสายการบินในไทยจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นขนาดที่ผลสำรวจบอกว่าภายใน 6 เดือนนี้นักท่องเที่ยวไทยมีแผนจะเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ก็ยังต้องใช้ระยะเวลากว่าจะกลับมาเหมือนเดิมอีกตั้งกว่า 3 ปี
จากสถานการณ์ต่างๆ เราคิดว่า...คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรกว่าที่จะกลับมาฟื้นได้เหมือนเดิมก่อนเกิดโควิด และยังคงเฝ้ารอการเยียวยาจากรัฐ มาเป็น “อัศวินม้าขาว” ช่วยประคับประคองกันมากกว่านี้ มาช่วยพยุงขึ้นเดินได้ตามปกติ
แต่ก็ต้องขอบคุณรัฐบาลที่ยังพยายามออกโปรเจคต่างๆ มาช่วย ถึงแม้บางโปรเจคอาจจะยังช่วยไม่ตรงจุด หรือกระจายไม่ทั่วถึงก็ตาม
(Cr.ข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1018706, https://www.facebook.com/btimesch3 )