ตอนที่ 3
รถ ๓ ล้อเครื่องวิ่งวนไปมา ดูขวักไขว่ อันที่จริง จะเรียก ๓ ล้อก็ไม่เต็มปากนัก แน่ละหากนับจำนวนล้อ ก็มีแค่ ๓ ทว่าตัวรถนั้นปรับมากจากรถถีบรับซื้อของเก่า ที่มักเรียกกันทั่วไป “ซาเล้ง” ผู้โดยสารขึ้นและนั่งหันหน้าออก
“คล้ายที่เวียดนามนะคะ แต่ที่นี่เป็นเครื่องแทน” จันนวลเอ่ย
“รถราที่สวรรคโลกนี่ ไม่สะดวกสบายเท่าไรค่ะ ไปไหนมาไหน ก็โทรตาม ๓ ล้อเครื่องนี่มา สะดวกดี เห็นแบบนี้ ไปถึงสนามบินได้นะคะ” แม่ลำพาเล่าเรื่อย
ยามสาย ตลาดสวรรคโลกยังคึกคัก ชาวบ้านจับจ่ายใช้สอย แลดูเพลินตา ทั้งของสดของแห้ง เรียงรายไป บ้างขายบนแผง บ้างขายตามทางเดิน นั่งกับพื้น ผักพื้นบ้านบางอย่าง ก็ไม่เคยเห็น คอยถามแม่ลำพา เรื่อยไป จันนวลไม่รู้ตัวว่า ตกเป็นเป้าสายตาคนในตลาด ร่างสูงโปร่ง ทะมัดทแมง ใส่เสื้อยืดสีขาวเรียบ กางเกงยีนส์สีซีด หยิบจับผลหมากรากไม้ จับจ่ายเพลิน
“มีอะโวคาโด ด้วย” จันนวลเลือกหยิบมาพอทำสลัด ไต่ถามได้ความว่า มาจากเมืองน่าน สับปะรดลูกย่อมๆ ไม่กี่สิบบาท ทั้งมีทุเรียนวางเรียงรายอยู่ตามพื้น ด้วยบ้านที่คลองชักพระเอง ก็เคยมีทุเรียน จึ่งพอดูเป็นอยู่บ้าง
“ทุเรียนป่า ใช่ไหมคะ” จันนวลถาม
“จ้า มาแต่เมืองลับแลโน่น เคยไปเที่ยวไหมจ๊ะ แม่คุณสวยอย่างกับนางฟ้า” แม่ค้าทุเรียนหยอกเย้า ยิ้มกว้าง ใจดี สบายอารมณ์
“ใครน่ะ ยายลำพา” จันนวล แว่วเสียงถามเบาๆ จากคนในตลาด ซึ่งดูจะอยากรู้ว่าเธอคือใคร
“ลูกท่านนายพล กับคุณหอมน่ะ เธอกลับมาธุระ มาเที่ยว” แม่ลำพา โอภาปราศรัย ตอบแทนจันนวลเสียสิ้น
ถัดจากแผงผลไม้ แผงปลาแห้งนานา เรียงรายให้เลือกซื้อ แต่ไม่รู้ว่าเป็นปลาอะไรบ้าง รู้ก็แต่ปลาสลิดเท่านั้น
“ปลาพวกนี้ เป็นปลาในน้ำยมนี่ล่ะค่ะ ส่วนมากก็มาจากบ้านกง เลยเมืองเก่าลงไปอีก แถวนั้นปลาชุกชุม จับขายกันเป็นล่ำเป็นสัน”
“เก่งนะคะ ล้างสะอาด คงใช้เกลือดีด้วย กลิ่นปลาไม่แรง”
“คุณหนูดูเป็นด้วย”
“คุณยายสอนมาบ้างค่ะ แถวบ้านในคลองชักพระ เองก็มีคนขายปลาตากแห้งอยู่มาก แต่ก็เป็น ปลาช่อน ส่วนใหญ่”
ฝั่งตรงข้ามแผงของสด มีตึกแถวร้านค้าชาวจีนเรียงรายกันไป ที่หัวมุมมีร้านข้าวสารหลายชนิด และดูน่าสนใจ เพราะคล้ายกับที่จันนวลเห็นเมื่อเด็ก
“เป็นลูกบ้านไหน ไม่เคยเห็นหน้า กลับมาเที่ยวบ้านเหรอ” เจ้าของร้านต่างๆ ที่จันนวลแวะชม มักจะมีคำถามเดียวกัน แม้น้ำเสียงจะฟังขึงขัง คล้ายถามเอาความ แต่สายตา คนสวรรคโลก อ่อนโยนเป็นมิตร
“มาเที่ยวค่ะ อยู่บ้านแม่ลำพา” จันนวล พยายามตอบให้ง่ายที่สุด แม่ลำพาเดินตามหลังมา ก็จะคอยตอบคำถามคนในตลาด
“คนที่นี่ ทักทายกันเสียงดัง พูดจา ออกจะแห้งไปสักหน่อย แต่ใจดีค่ะ คุณหนู เขาสนใจคุณหนู กันใหญ่ เพราะสะดุดตา หน้าเป็นไทย แต่สูงอย่างกับฝรั่ง”
เดินเรื่อยไป จนสังเกตุเห็นร้านเรือนแถวไม้อย่างโบราณ ทอดตัวยายไปตามแม่น้ำยม ‘คงจะเป็นร้านกาแฟกระมัง’ จันนวลคิด และตรงเข้าไป
สายตาหนุ่มใหญ่ที่นั่งดูแบบแปลนอะไรสักอย่างมอง จันนวล ไม่วางตา และส่งสัญญาณห้ามแม่ลำพาพูดใดๆ
ร้านกาแฟทันสมัยตกแต่งเรียบง่าย เก็บโครงสร้างอาคารไม้เดิมไว้ มองเห็นขื่อบนเพดาน เรียงกันไปชัดเจน มีนักปั่นจักรยานชาวตะวันตก ๔-๕ คนในร้าน ยิ้มทักทายจันนวล จันนวลยิ้มทักทายกลับเป็นภาษาเยอรมัน สร้างความประทับใจให้ชาวตะวันตกกลุ่มนั้น พลางหันมาสบตาหนุ่มใหญ่ที่มองมา
จันนวลยิ้มทักทาย อีกฝ่ายจ้องไม่วางตา พลางนึก ‘เขาจำเราไม่ได้’
แม่ลำพามองอยู่จึงตัดสินใจ เข้ามาแนะนำ “คุณหนูคะ นี่คุณ กรัน เพื่อนบ้านเราค่ะ วันนั้นไอ้มั่นขอยืมรถไปรับคุณหนูที่สนามบินไงคะ”
ตามมารยาท จันนวลยกมือขึ้นไหว้ “ขอบคุณนะคะ บ้านเราคงรบกวนคุณหลายอย่าง รู้สึกเกรงใจคะ”
กรันเอง กลับเป็นฝ่ายที่ อ้ำอึ้งไป และพูดเพียง “ยินดีครับ”
จันนวลรอกาแฟดำ พลางเหลือบไปเห็น โถน้ำตาล เป็นก้อนเล็กก้อนน้อย แหลกไม่เท่ากัน
“แม่ลำพาคะ นี่ น้ำตาลอ้อยอย่างที่แม่เคยทำหรือเปล่าคะ”
“ใ่ช่ค่ะ เดี๋ยวนี้ ร้านกาแฟใหม่ เริ่มกลับมาใช้กันมากค่ะ ว่ากันว่า แนวสุขภาพ” แม่ลำพาตอบ
กรัน ยังคงลอบชำเลืองมอง บุคคลิกมั่นใจ หากไม่ใช้เรือนผมสีดำขลับและดวงหน้าแบบชาวตะวันออก ก็จะคิดว่า จันนวล เป็นฝรั่งเป็นแน่
จันนวลรับแก้วกาแฟร้อน พลางเดินออกมาที่ชานร้านกาแฟริม แม่น้ำยม ทอดสายตามองไปไกลสุดคุ้งน้ำ น้ำยมยามต้นฤดูฝนในวันนี้ ไม่เชี่ยวกรากอีกต่อไป ด้วยมีประตูกั้นน้ำอยู่เหนือขึ้นไป ทว่าไหลเอื่อย ทำให้ คิดถึงเพลงโปรดของแม่ที่มักเปิดแผ่นเสียง “Moon River”
Moon river, wider than a mile
I'm crossin' you in style some day
Old dream maker, you heartbreaker
Wherever you're goin', I'm goin' your way
Two drifters, off to see the world
There's such a lot of world to see
We're after the same rainbow's end, waitin' 'round the bend
My huckleberry friend, Moon River, and me
Two drifters, off to see the world
There's such a lot of world to see
We're after the same rainbow's end, waitin' 'round the bend
My huckleberry friend, Moon River, and me
‘คุ้งแม่ยมงาม อ่อนหวาน’
“คุณกรัน แกเป็นสถาปนิก ตระกูลฝ่ายพ่อของแกมีฝีมือมากทางไม้ เล่ากันว่ามีปางช้างอยู่แถบแม่สินเลยนะคะ ชั้นทวดนี่ เห็นว่าชักลากไม้ มีโรงเลื่อยเล็กๆ สมัยก่อน ใครจะสร้างเรือน ต้องมาขอให้ คุณปู่ คุณพ่อ คุณกรัน แกไปดู เสาะหาไม้ พอปิดป่า ที่เมืองแพร่ การค้าไม้ก็ซบ เรื่องผลประโยชน์ทั้งนั้น เสียเลือดเสียเนื้อ คุณกรันเอง มีเลือดพ่อแกเต็มๆ ฝีมือออกแบบ เข้าไม้นี่ ทั้งสุโขทัยไม่มีใครเทียม ป้าเองก็อยากให้คุณหนูทาบทามแกมาซ่อมเรือนเรา หากคุณหนูจะเก็บเรือนไว้”
จันนวลยิ้มรับ “ขอเวลานิดนะคะ ยังจับต้นชนปลายไม่ถูกเท่าไร”
แม่ลำพาเสเปลี่ยนเรื่อง “เราเดินไปธนาคารกันดีไหมคะ เดินผ่านช่วงตึกนี้ไปก็ถึงแล้ว มีร้านรวงเก่าๆ เยอะแยะ”
สวรรคโลก ไม่ได้หมุนไปตามกาลเวลา ทุกอย่างดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ร้านขายเครื่องจับปลา ทั้งข้อง สวิง แห มีชาวบ้านยืนเลือกซื้อ ตะกร้าหวาย ไม้ไผ่สาน แทบหาไม่ได้ที่ กรุงเทพ แม้แต่ แถวสวนบางกอกน้อย บางระมาด ว่าโบราณแล้ว ก็ยังไม่มี กลับเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันของที่นี่
ร้านของชำ มีธัญพืชสารพันตั้งขายอยู่หน้าร้าน ถั่วลิสง แมงลัก ลูกเดือย ข้าวฟ่าง มีทั้งแยกใส่ถุงพร้อมขาย และตั้งกระสอบพร้อมกระบอกตวง พลันสายตาเหลือบไปเห็น
“น้ำตาลอ้อยนี่คะ แม่ลำพา”
“ค่ะ เห็นแล้วคิดถึงคุณหอม ของบ้านเราก็แบบนี้ น้ำตาลอ้อยจากแถบบ้านเรา จะไม่เจือของอื่นเลย น้ำอ้อยล้วน สีจะออกเข้มกว่า ที่ผสมแบะแซ”
พลันคิดถึงข้าวตังทอด ที่แม่จะหยอดหน้าด้วย น้ำตาลเหนียว
“จัน แม่ฝากขนมโหลนี้มานะ ลูก แบ่งเพื่อนๆ ทานบ้างก็ได้ แล้วแม่จะลูกไปเยี่ยมลูกๆ ตอนปิดเทอมนะ คุณพ่อฝากความคิดถึงให้ลูกทุกคน เป็นเด็กดีนะลูก ไม่ดื้อกับคุณยาย แม่”
ความทรงจำวัยเด็กทำให้ น้ำตา เอ่อได้ทุกคราวไป ตามด้วย “ความรู้สึกผิด” หน้าที่การงานที่พาจันนวลก้าวสู่ วิชาชีพระดับสูง พลันหมดความหมาย เมื่อเสียงปลายสาย
‘แม่เสียแล้วนะ แกอยู่ไหน โทรตามเป็นวันๆ ยังไม่รับสาย’
จันนวลปาดนำ้ตา วางห่อน้ำตาลอ้อยลง กล่าวขอบคุณ เจ้าของร้าน ซึ่งดูจันนวลไม่วางตา
“ใครน่ะ ลำพา”
“ลูกสาวคนเล็ก คุณหอมกับท่านนายพล มาจากเมืองฝรั่งโน่น”
ดูเหมือนแม่ลำพาไม่เบื่อที่จะตอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า
“ไปค่ะ คุณหนู ข้ามถนนเดินเลียบถนนไปหน่อยเดียวก็ถึงธนาคารค่ะ ทนายทรงยศคงใกล้มาถึงแล้ว”
“แปลกนะคะ สวรรคโลกเป็นเมืองเล็ก แต่มีธนาคารหลายแห่ง ตั้งเรียงกันเลย” จันนวลเอ่ย
“สมัยก่อน บ้านเราเป็นคึกคักกว่านี้มาก ค้าขายกัน วันยันค่ำ เป็นแหล่งพืชไร่ ทั้งคุณหญิงพรรณ คุณหญิงวาด คุณหอม แม่คุณหนู หัวไม่ได้วาง หางไม่ได้เว้น สมุดบัญชีเป็นตั้งๆ ถั่วเขียว ถั่วยี่สง ฝ้ายนี่ อันดับหนึ่ง ส่งกันมานี่ จากทาง แม่สิน สารจิต ห้องแถวนั่น คุณท่านเช่าจากการรถไฟ เปิดเป็นหน้าร้าน เงินหมุนเข้าออกสะพัด สิ้นท่านเจ้าคุณน้อย คุณท่านก็อยากพัก แรงเดียวไม่ไหว ก็เลยกลับไปที่บ้านสวนคลองบางระมาด แล้วก็เสียที่นั่น แต่คุณหอมท่านไม่กลับ ท่านว่าท่านนายพลเป็นคนที่นี่ ท่านก็จะตายอยู่ที่นี่”
จากชั้นบนธนาคาร มองข้ามมา เห็นสถานีรถไฟ สวรรคโลก ดูเก่าแก่ น่ารัก ไม่ค่อยมีคนสักเท่าไร พลางคิด ‘ต้องเข้าไปดูเสียหน่อย’
“สวัสดีครับ ผมทรงยศ ทนายของท่านนายพล ขวัญสรวง”
จันนวลยกมือไหว้ สวัสดี พลางเดินตามทนายทรงยศไปพบพนักงานธนาคาร เพื่อดูทรัพย์สินที่ฝากไว้
โฉนดที่ดินแบบเก่า ประทับตราแผ่นดินสมัยรัชสมัย พระจุลจอมเกล้า แผ่นใหญ่ หลายฉบับ ห่อด้วยพลาสติกใสอย่างดี กันเปื่อยขาด ตรวจเทียบดูกับบัญชีที่จดไว้ ครบทุกผืน จันนวล ไม่เคยรู้มาก่อนว่า ตระกูลทางพ่อมีที่ดินในสววรคโลกมากเช่นนี้ ‘แล้วจะทำอย่างไรต่อไป เก็บไว้ก็เป็นภาระต้องดูแล’
“ที่ดินในสวรรคโลกส่วนใหญ่นี่ เป็นไร่อ้อย รวมกันแล้ว ประมาณ 500 ไร่ ทางแม่สิน ศรีสัชนาลัย อีกประมาณ 300 ไร่ เป็นนาข้าวให้เช่า ร้างบ้างก็มี ผมให้คนไปดูบ้างตามโอกาส เพราะกลัวคนบุกรุก ส่วนใหญ่ผู้เช่าก็ยากจนครับ ค้างค่าเช่าก็มาก สมัยก่อน ท่านนายพล และคุณหอมก็รับเป็น ข้าว ใช้หนี้มาบ้าง ส่วนที่ดินที่คลองมะพลับ มีทั้งไร่อ้อย ถั่ว ฝ้าย ซึ่งเลิกไปนานแล้วครับ ประมาณ อีก 500 ไร่ ทั้งหมด เสียภาษีถูกต้องครับ”
ในดู้นิรภัย จันนวลแลเห็นหีบเหล็กใบย่อม “นี่ คุณท่านให้เก็บไว้ที่นี่ รู้สึกว่าจะเป็นเครื่องประดับเก่าของ คุณหญิงพรรณ คุณหญิงวาด และของคุณหอมเองบางส่วน” ทนายทรงยศบอกเล่าเรื่องราว
คุณท่านย้ำ “ของในตระกูล ไม่อยากให้ตกไปที่มือสะใภ้ รู้หน้าไม่รู้ใจ ฉวยมือเติบตกอับ ขายสมบัติกิน คุณหญิงท่าน จะตามมาฉีกอกฉัน” คำพูดที่ทนายทรงยศจำได้ขึ้นใจ
รับกุญแจมาแล้ว จันนวลจึงไล่เปิดกล่องต่างๆ ดู เครื่องถนิมพิมพาภรณ์ต่างๆ ยังคงดู งาม ข้ามเวลา ยิ่งพลอยต่างๆ ด้วยแล้ว ไม่ว่าเป็นสร้อยข้อมือ กำไล เข็มขัดทอง นาก เนื้อหนาแน่นหนัก แม้หมองไปบ้าง ทว่าลวดลายเครือเถาอย่างฝรั่ง art deco ไม่เคยเห็นที่ใดมาก่อน กำไลหัวบัว ‘คงเป็นกำไลข้อเท้า’ กำไลทองลายดอกรัก กำไลเพชรแซมไพลิน แหวนพลอยสีต่างๆ เข้าชุดกับกำไล ปิ่นปักผม และอื่นๆ สุดจะพรรณนา
“คุณท่าน รอบคอบมากครับ เขียนเป็นเงื่อนไขชัดเจน หากใครรับเอาที่ดินผืนนี้ไป ก็จะได้ทรัพย์สินส่วนนี้ไปด้วย เพราะรู้ดีว่ามูลค่าที่ดินสวรรคโลกนี่ คงสู้ที่ทางในกรุงเทพ นนทบุรี ไม่ได้” นายทรงยศเอ่ย
“แล้วนี่ พวกบรรดาพี่สะใภ้ไม่เต้นกันใหญ่หรือคะ” จันนวลถาม
“ไม่มีใครได้เห็นครับ คุณท่านเขียนไว้ว่าให้เปิดตู้นิรภัยหลังมีกรรมสิทธิที่ดินชัดเจนแล้ว”
“ดิฉันก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เครื่องประดับมากมาย ใส่ไปไหนมาไหน คนคงคิดว่า บ้า กันพอดี” พลางหัวเราะ
“ที่สุดคง มอบให้พิพิธภัณฑ์ ไป เพราะ คุณพ่อ เป็นคนที่นี่ ท่านพูดถึง สววรคโลก บ่อยๆ และอยากให้มา ดิฉันดื้อดึง รั้นจะอยู่ต่างประเทศ เลยไม่ได้มาเสียที”
จันนวลนั่งตรวจดูรายละเอียด โฉนดที่ดินแต่ละผืน พร้อมลงชื่อรับรองท่ามกลางพยานจากฝ่ายธนาคาร แม่ลำพา และทนายทรงยศ เสร็จสิ้นขั้นตอน ทนายทรงยศ ขอตัวกลับ
“ผมลาเลยครับ หากมีข้อสงสัย หรือคำถามอะไร โทรศัพท์ได้ทันทีเลยครับ อยู่แค่พิษณุโลกเอง”
จันนวลยกมือไหว้ลา
ขณะเดินออกจากธนาคาร มีคำถามมากมาย “ตรอน ฝาง นี่อยู่ที่ไหนคะ แม่ลำพา เห็นเขียนอยู่ในโฉนด”
“อ้อ อยู่อุตรดิตถ์ค่ะ คุณหนู เมืองตรอน ไม่ไกลนัก ออกศรีสัชนาลัยไปหน่อยเดียว เมืองฝางที่อยู่ตัวเมือง ไปทาง ลับแล” แม่ลำพายิ้ม
“คุณทวด คุณปู่ นี่ ช่างไปสรรหาซื้อที่ทางนะคะ”
“อย่างที่ป้าเคยบอกคุณหนูไงค่ะ เป็นธรรมเนียมบ้าน เห็นตั้งแต่สมัยท่านนายพล ทุกครั้งที่ท่านกลับมาสวรรคโลก นอกจากจะต้องไปไหว้พระธาตุที่ ศรีสัชนาลัย ทุ่งยั้ง และ ฝาง ท่านว่าทำกันมาเป็นประเพณีตั้งแต่ท่านเจ้าคุณใหญ่ ก่อนคุณหนูกลับเมืองฝรั่ง พอจะมีเวลาไหมคะ นี่ ขึ้นไป ไหว้พระธาตุกัน จะได้เลยไปดูที่ทาง แถบคลองมะพลับ เมืองตรอน ด้วยเลย”
จันนวลรับคำ
“หิวไหมคะ เมื่อเช้าทานกาแฟไปแก้วเดียวเอง เอ ทานก๋วยเตี๋ยว เม้ง แล้วกัน หน้าสถานีรถไฟนั่น”
จันนวลอยากไปดูสถานีรถไฟเก่านั่น มากกว่าจะกินก๋วยเตี๋ยว แต่เกรงใจแม่ลำพา กลัวว่าจะหิว “ค่ะ ดีเหมือนกัน ยังไม่ได้กินอะไรจริงจัง เสียที”
“สมัยก่
แสงสรวงสัชชนาไลย ตอนที่ 3 : ชมเมืองสวรรคโลก
รถ ๓ ล้อเครื่องวิ่งวนไปมา ดูขวักไขว่ อันที่จริง จะเรียก ๓ ล้อก็ไม่เต็มปากนัก แน่ละหากนับจำนวนล้อ ก็มีแค่ ๓ ทว่าตัวรถนั้นปรับมากจากรถถีบรับซื้อของเก่า ที่มักเรียกกันทั่วไป “ซาเล้ง” ผู้โดยสารขึ้นและนั่งหันหน้าออก
“คล้ายที่เวียดนามนะคะ แต่ที่นี่เป็นเครื่องแทน” จันนวลเอ่ย
“รถราที่สวรรคโลกนี่ ไม่สะดวกสบายเท่าไรค่ะ ไปไหนมาไหน ก็โทรตาม ๓ ล้อเครื่องนี่มา สะดวกดี เห็นแบบนี้ ไปถึงสนามบินได้นะคะ” แม่ลำพาเล่าเรื่อย
ยามสาย ตลาดสวรรคโลกยังคึกคัก ชาวบ้านจับจ่ายใช้สอย แลดูเพลินตา ทั้งของสดของแห้ง เรียงรายไป บ้างขายบนแผง บ้างขายตามทางเดิน นั่งกับพื้น ผักพื้นบ้านบางอย่าง ก็ไม่เคยเห็น คอยถามแม่ลำพา เรื่อยไป จันนวลไม่รู้ตัวว่า ตกเป็นเป้าสายตาคนในตลาด ร่างสูงโปร่ง ทะมัดทแมง ใส่เสื้อยืดสีขาวเรียบ กางเกงยีนส์สีซีด หยิบจับผลหมากรากไม้ จับจ่ายเพลิน
“มีอะโวคาโด ด้วย” จันนวลเลือกหยิบมาพอทำสลัด ไต่ถามได้ความว่า มาจากเมืองน่าน สับปะรดลูกย่อมๆ ไม่กี่สิบบาท ทั้งมีทุเรียนวางเรียงรายอยู่ตามพื้น ด้วยบ้านที่คลองชักพระเอง ก็เคยมีทุเรียน จึ่งพอดูเป็นอยู่บ้าง
“ทุเรียนป่า ใช่ไหมคะ” จันนวลถาม
“จ้า มาแต่เมืองลับแลโน่น เคยไปเที่ยวไหมจ๊ะ แม่คุณสวยอย่างกับนางฟ้า” แม่ค้าทุเรียนหยอกเย้า ยิ้มกว้าง ใจดี สบายอารมณ์
“ใครน่ะ ยายลำพา” จันนวล แว่วเสียงถามเบาๆ จากคนในตลาด ซึ่งดูจะอยากรู้ว่าเธอคือใคร
“ลูกท่านนายพล กับคุณหอมน่ะ เธอกลับมาธุระ มาเที่ยว” แม่ลำพา โอภาปราศรัย ตอบแทนจันนวลเสียสิ้น
ถัดจากแผงผลไม้ แผงปลาแห้งนานา เรียงรายให้เลือกซื้อ แต่ไม่รู้ว่าเป็นปลาอะไรบ้าง รู้ก็แต่ปลาสลิดเท่านั้น
“ปลาพวกนี้ เป็นปลาในน้ำยมนี่ล่ะค่ะ ส่วนมากก็มาจากบ้านกง เลยเมืองเก่าลงไปอีก แถวนั้นปลาชุกชุม จับขายกันเป็นล่ำเป็นสัน”
“เก่งนะคะ ล้างสะอาด คงใช้เกลือดีด้วย กลิ่นปลาไม่แรง”
“คุณหนูดูเป็นด้วย”
“คุณยายสอนมาบ้างค่ะ แถวบ้านในคลองชักพระ เองก็มีคนขายปลาตากแห้งอยู่มาก แต่ก็เป็น ปลาช่อน ส่วนใหญ่”
ฝั่งตรงข้ามแผงของสด มีตึกแถวร้านค้าชาวจีนเรียงรายกันไป ที่หัวมุมมีร้านข้าวสารหลายชนิด และดูน่าสนใจ เพราะคล้ายกับที่จันนวลเห็นเมื่อเด็ก
“เป็นลูกบ้านไหน ไม่เคยเห็นหน้า กลับมาเที่ยวบ้านเหรอ” เจ้าของร้านต่างๆ ที่จันนวลแวะชม มักจะมีคำถามเดียวกัน แม้น้ำเสียงจะฟังขึงขัง คล้ายถามเอาความ แต่สายตา คนสวรรคโลก อ่อนโยนเป็นมิตร
“มาเที่ยวค่ะ อยู่บ้านแม่ลำพา” จันนวล พยายามตอบให้ง่ายที่สุด แม่ลำพาเดินตามหลังมา ก็จะคอยตอบคำถามคนในตลาด
“คนที่นี่ ทักทายกันเสียงดัง พูดจา ออกจะแห้งไปสักหน่อย แต่ใจดีค่ะ คุณหนู เขาสนใจคุณหนู กันใหญ่ เพราะสะดุดตา หน้าเป็นไทย แต่สูงอย่างกับฝรั่ง”
เดินเรื่อยไป จนสังเกตุเห็นร้านเรือนแถวไม้อย่างโบราณ ทอดตัวยายไปตามแม่น้ำยม ‘คงจะเป็นร้านกาแฟกระมัง’ จันนวลคิด และตรงเข้าไป
สายตาหนุ่มใหญ่ที่นั่งดูแบบแปลนอะไรสักอย่างมอง จันนวล ไม่วางตา และส่งสัญญาณห้ามแม่ลำพาพูดใดๆ
ร้านกาแฟทันสมัยตกแต่งเรียบง่าย เก็บโครงสร้างอาคารไม้เดิมไว้ มองเห็นขื่อบนเพดาน เรียงกันไปชัดเจน มีนักปั่นจักรยานชาวตะวันตก ๔-๕ คนในร้าน ยิ้มทักทายจันนวล จันนวลยิ้มทักทายกลับเป็นภาษาเยอรมัน สร้างความประทับใจให้ชาวตะวันตกกลุ่มนั้น พลางหันมาสบตาหนุ่มใหญ่ที่มองมา
จันนวลยิ้มทักทาย อีกฝ่ายจ้องไม่วางตา พลางนึก ‘เขาจำเราไม่ได้’
แม่ลำพามองอยู่จึงตัดสินใจ เข้ามาแนะนำ “คุณหนูคะ นี่คุณ กรัน เพื่อนบ้านเราค่ะ วันนั้นไอ้มั่นขอยืมรถไปรับคุณหนูที่สนามบินไงคะ”
ตามมารยาท จันนวลยกมือขึ้นไหว้ “ขอบคุณนะคะ บ้านเราคงรบกวนคุณหลายอย่าง รู้สึกเกรงใจคะ”
กรันเอง กลับเป็นฝ่ายที่ อ้ำอึ้งไป และพูดเพียง “ยินดีครับ”
จันนวลรอกาแฟดำ พลางเหลือบไปเห็น โถน้ำตาล เป็นก้อนเล็กก้อนน้อย แหลกไม่เท่ากัน
“แม่ลำพาคะ นี่ น้ำตาลอ้อยอย่างที่แม่เคยทำหรือเปล่าคะ”
“ใ่ช่ค่ะ เดี๋ยวนี้ ร้านกาแฟใหม่ เริ่มกลับมาใช้กันมากค่ะ ว่ากันว่า แนวสุขภาพ” แม่ลำพาตอบ
กรัน ยังคงลอบชำเลืองมอง บุคคลิกมั่นใจ หากไม่ใช้เรือนผมสีดำขลับและดวงหน้าแบบชาวตะวันออก ก็จะคิดว่า จันนวล เป็นฝรั่งเป็นแน่
จันนวลรับแก้วกาแฟร้อน พลางเดินออกมาที่ชานร้านกาแฟริม แม่น้ำยม ทอดสายตามองไปไกลสุดคุ้งน้ำ น้ำยมยามต้นฤดูฝนในวันนี้ ไม่เชี่ยวกรากอีกต่อไป ด้วยมีประตูกั้นน้ำอยู่เหนือขึ้นไป ทว่าไหลเอื่อย ทำให้ คิดถึงเพลงโปรดของแม่ที่มักเปิดแผ่นเสียง “Moon River”
Moon river, wider than a mile
I'm crossin' you in style some day
Old dream maker, you heartbreaker
Wherever you're goin', I'm goin' your way
Two drifters, off to see the world
There's such a lot of world to see
We're after the same rainbow's end, waitin' 'round the bend
My huckleberry friend, Moon River, and me
Two drifters, off to see the world
There's such a lot of world to see
We're after the same rainbow's end, waitin' 'round the bend
My huckleberry friend, Moon River, and me
‘คุ้งแม่ยมงาม อ่อนหวาน’
“คุณกรัน แกเป็นสถาปนิก ตระกูลฝ่ายพ่อของแกมีฝีมือมากทางไม้ เล่ากันว่ามีปางช้างอยู่แถบแม่สินเลยนะคะ ชั้นทวดนี่ เห็นว่าชักลากไม้ มีโรงเลื่อยเล็กๆ สมัยก่อน ใครจะสร้างเรือน ต้องมาขอให้ คุณปู่ คุณพ่อ คุณกรัน แกไปดู เสาะหาไม้ พอปิดป่า ที่เมืองแพร่ การค้าไม้ก็ซบ เรื่องผลประโยชน์ทั้งนั้น เสียเลือดเสียเนื้อ คุณกรันเอง มีเลือดพ่อแกเต็มๆ ฝีมือออกแบบ เข้าไม้นี่ ทั้งสุโขทัยไม่มีใครเทียม ป้าเองก็อยากให้คุณหนูทาบทามแกมาซ่อมเรือนเรา หากคุณหนูจะเก็บเรือนไว้”
จันนวลยิ้มรับ “ขอเวลานิดนะคะ ยังจับต้นชนปลายไม่ถูกเท่าไร”
แม่ลำพาเสเปลี่ยนเรื่อง “เราเดินไปธนาคารกันดีไหมคะ เดินผ่านช่วงตึกนี้ไปก็ถึงแล้ว มีร้านรวงเก่าๆ เยอะแยะ”
สวรรคโลก ไม่ได้หมุนไปตามกาลเวลา ทุกอย่างดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ร้านขายเครื่องจับปลา ทั้งข้อง สวิง แห มีชาวบ้านยืนเลือกซื้อ ตะกร้าหวาย ไม้ไผ่สาน แทบหาไม่ได้ที่ กรุงเทพ แม้แต่ แถวสวนบางกอกน้อย บางระมาด ว่าโบราณแล้ว ก็ยังไม่มี กลับเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันของที่นี่
ร้านของชำ มีธัญพืชสารพันตั้งขายอยู่หน้าร้าน ถั่วลิสง แมงลัก ลูกเดือย ข้าวฟ่าง มีทั้งแยกใส่ถุงพร้อมขาย และตั้งกระสอบพร้อมกระบอกตวง พลันสายตาเหลือบไปเห็น
“น้ำตาลอ้อยนี่คะ แม่ลำพา”
“ค่ะ เห็นแล้วคิดถึงคุณหอม ของบ้านเราก็แบบนี้ น้ำตาลอ้อยจากแถบบ้านเรา จะไม่เจือของอื่นเลย น้ำอ้อยล้วน สีจะออกเข้มกว่า ที่ผสมแบะแซ”
พลันคิดถึงข้าวตังทอด ที่แม่จะหยอดหน้าด้วย น้ำตาลเหนียว
“จัน แม่ฝากขนมโหลนี้มานะ ลูก แบ่งเพื่อนๆ ทานบ้างก็ได้ แล้วแม่จะลูกไปเยี่ยมลูกๆ ตอนปิดเทอมนะ คุณพ่อฝากความคิดถึงให้ลูกทุกคน เป็นเด็กดีนะลูก ไม่ดื้อกับคุณยาย แม่”
ความทรงจำวัยเด็กทำให้ น้ำตา เอ่อได้ทุกคราวไป ตามด้วย “ความรู้สึกผิด” หน้าที่การงานที่พาจันนวลก้าวสู่ วิชาชีพระดับสูง พลันหมดความหมาย เมื่อเสียงปลายสาย
‘แม่เสียแล้วนะ แกอยู่ไหน โทรตามเป็นวันๆ ยังไม่รับสาย’
จันนวลปาดนำ้ตา วางห่อน้ำตาลอ้อยลง กล่าวขอบคุณ เจ้าของร้าน ซึ่งดูจันนวลไม่วางตา
“ใครน่ะ ลำพา”
“ลูกสาวคนเล็ก คุณหอมกับท่านนายพล มาจากเมืองฝรั่งโน่น”
ดูเหมือนแม่ลำพาไม่เบื่อที่จะตอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า
“ไปค่ะ คุณหนู ข้ามถนนเดินเลียบถนนไปหน่อยเดียวก็ถึงธนาคารค่ะ ทนายทรงยศคงใกล้มาถึงแล้ว”
“แปลกนะคะ สวรรคโลกเป็นเมืองเล็ก แต่มีธนาคารหลายแห่ง ตั้งเรียงกันเลย” จันนวลเอ่ย
“สมัยก่อน บ้านเราเป็นคึกคักกว่านี้มาก ค้าขายกัน วันยันค่ำ เป็นแหล่งพืชไร่ ทั้งคุณหญิงพรรณ คุณหญิงวาด คุณหอม แม่คุณหนู หัวไม่ได้วาง หางไม่ได้เว้น สมุดบัญชีเป็นตั้งๆ ถั่วเขียว ถั่วยี่สง ฝ้ายนี่ อันดับหนึ่ง ส่งกันมานี่ จากทาง แม่สิน สารจิต ห้องแถวนั่น คุณท่านเช่าจากการรถไฟ เปิดเป็นหน้าร้าน เงินหมุนเข้าออกสะพัด สิ้นท่านเจ้าคุณน้อย คุณท่านก็อยากพัก แรงเดียวไม่ไหว ก็เลยกลับไปที่บ้านสวนคลองบางระมาด แล้วก็เสียที่นั่น แต่คุณหอมท่านไม่กลับ ท่านว่าท่านนายพลเป็นคนที่นี่ ท่านก็จะตายอยู่ที่นี่”
จากชั้นบนธนาคาร มองข้ามมา เห็นสถานีรถไฟ สวรรคโลก ดูเก่าแก่ น่ารัก ไม่ค่อยมีคนสักเท่าไร พลางคิด ‘ต้องเข้าไปดูเสียหน่อย’
“สวัสดีครับ ผมทรงยศ ทนายของท่านนายพล ขวัญสรวง”
จันนวลยกมือไหว้ สวัสดี พลางเดินตามทนายทรงยศไปพบพนักงานธนาคาร เพื่อดูทรัพย์สินที่ฝากไว้
โฉนดที่ดินแบบเก่า ประทับตราแผ่นดินสมัยรัชสมัย พระจุลจอมเกล้า แผ่นใหญ่ หลายฉบับ ห่อด้วยพลาสติกใสอย่างดี กันเปื่อยขาด ตรวจเทียบดูกับบัญชีที่จดไว้ ครบทุกผืน จันนวล ไม่เคยรู้มาก่อนว่า ตระกูลทางพ่อมีที่ดินในสววรคโลกมากเช่นนี้ ‘แล้วจะทำอย่างไรต่อไป เก็บไว้ก็เป็นภาระต้องดูแล’
“ที่ดินในสวรรคโลกส่วนใหญ่นี่ เป็นไร่อ้อย รวมกันแล้ว ประมาณ 500 ไร่ ทางแม่สิน ศรีสัชนาลัย อีกประมาณ 300 ไร่ เป็นนาข้าวให้เช่า ร้างบ้างก็มี ผมให้คนไปดูบ้างตามโอกาส เพราะกลัวคนบุกรุก ส่วนใหญ่ผู้เช่าก็ยากจนครับ ค้างค่าเช่าก็มาก สมัยก่อน ท่านนายพล และคุณหอมก็รับเป็น ข้าว ใช้หนี้มาบ้าง ส่วนที่ดินที่คลองมะพลับ มีทั้งไร่อ้อย ถั่ว ฝ้าย ซึ่งเลิกไปนานแล้วครับ ประมาณ อีก 500 ไร่ ทั้งหมด เสียภาษีถูกต้องครับ”
ในดู้นิรภัย จันนวลแลเห็นหีบเหล็กใบย่อม “นี่ คุณท่านให้เก็บไว้ที่นี่ รู้สึกว่าจะเป็นเครื่องประดับเก่าของ คุณหญิงพรรณ คุณหญิงวาด และของคุณหอมเองบางส่วน” ทนายทรงยศบอกเล่าเรื่องราว
คุณท่านย้ำ “ของในตระกูล ไม่อยากให้ตกไปที่มือสะใภ้ รู้หน้าไม่รู้ใจ ฉวยมือเติบตกอับ ขายสมบัติกิน คุณหญิงท่าน จะตามมาฉีกอกฉัน” คำพูดที่ทนายทรงยศจำได้ขึ้นใจ
รับกุญแจมาแล้ว จันนวลจึงไล่เปิดกล่องต่างๆ ดู เครื่องถนิมพิมพาภรณ์ต่างๆ ยังคงดู งาม ข้ามเวลา ยิ่งพลอยต่างๆ ด้วยแล้ว ไม่ว่าเป็นสร้อยข้อมือ กำไล เข็มขัดทอง นาก เนื้อหนาแน่นหนัก แม้หมองไปบ้าง ทว่าลวดลายเครือเถาอย่างฝรั่ง art deco ไม่เคยเห็นที่ใดมาก่อน กำไลหัวบัว ‘คงเป็นกำไลข้อเท้า’ กำไลทองลายดอกรัก กำไลเพชรแซมไพลิน แหวนพลอยสีต่างๆ เข้าชุดกับกำไล ปิ่นปักผม และอื่นๆ สุดจะพรรณนา
“คุณท่าน รอบคอบมากครับ เขียนเป็นเงื่อนไขชัดเจน หากใครรับเอาที่ดินผืนนี้ไป ก็จะได้ทรัพย์สินส่วนนี้ไปด้วย เพราะรู้ดีว่ามูลค่าที่ดินสวรรคโลกนี่ คงสู้ที่ทางในกรุงเทพ นนทบุรี ไม่ได้” นายทรงยศเอ่ย
“แล้วนี่ พวกบรรดาพี่สะใภ้ไม่เต้นกันใหญ่หรือคะ” จันนวลถาม
“ไม่มีใครได้เห็นครับ คุณท่านเขียนไว้ว่าให้เปิดตู้นิรภัยหลังมีกรรมสิทธิที่ดินชัดเจนแล้ว”
“ดิฉันก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เครื่องประดับมากมาย ใส่ไปไหนมาไหน คนคงคิดว่า บ้า กันพอดี” พลางหัวเราะ
“ที่สุดคง มอบให้พิพิธภัณฑ์ ไป เพราะ คุณพ่อ เป็นคนที่นี่ ท่านพูดถึง สววรคโลก บ่อยๆ และอยากให้มา ดิฉันดื้อดึง รั้นจะอยู่ต่างประเทศ เลยไม่ได้มาเสียที”
จันนวลนั่งตรวจดูรายละเอียด โฉนดที่ดินแต่ละผืน พร้อมลงชื่อรับรองท่ามกลางพยานจากฝ่ายธนาคาร แม่ลำพา และทนายทรงยศ เสร็จสิ้นขั้นตอน ทนายทรงยศ ขอตัวกลับ
“ผมลาเลยครับ หากมีข้อสงสัย หรือคำถามอะไร โทรศัพท์ได้ทันทีเลยครับ อยู่แค่พิษณุโลกเอง”
จันนวลยกมือไหว้ลา
ขณะเดินออกจากธนาคาร มีคำถามมากมาย “ตรอน ฝาง นี่อยู่ที่ไหนคะ แม่ลำพา เห็นเขียนอยู่ในโฉนด”
“อ้อ อยู่อุตรดิตถ์ค่ะ คุณหนู เมืองตรอน ไม่ไกลนัก ออกศรีสัชนาลัยไปหน่อยเดียว เมืองฝางที่อยู่ตัวเมือง ไปทาง ลับแล” แม่ลำพายิ้ม
“คุณทวด คุณปู่ นี่ ช่างไปสรรหาซื้อที่ทางนะคะ”
“อย่างที่ป้าเคยบอกคุณหนูไงค่ะ เป็นธรรมเนียมบ้าน เห็นตั้งแต่สมัยท่านนายพล ทุกครั้งที่ท่านกลับมาสวรรคโลก นอกจากจะต้องไปไหว้พระธาตุที่ ศรีสัชนาลัย ทุ่งยั้ง และ ฝาง ท่านว่าทำกันมาเป็นประเพณีตั้งแต่ท่านเจ้าคุณใหญ่ ก่อนคุณหนูกลับเมืองฝรั่ง พอจะมีเวลาไหมคะ นี่ ขึ้นไป ไหว้พระธาตุกัน จะได้เลยไปดูที่ทาง แถบคลองมะพลับ เมืองตรอน ด้วยเลย”
จันนวลรับคำ
“หิวไหมคะ เมื่อเช้าทานกาแฟไปแก้วเดียวเอง เอ ทานก๋วยเตี๋ยว เม้ง แล้วกัน หน้าสถานีรถไฟนั่น”
จันนวลอยากไปดูสถานีรถไฟเก่านั่น มากกว่าจะกินก๋วยเตี๋ยว แต่เกรงใจแม่ลำพา กลัวว่าจะหิว “ค่ะ ดีเหมือนกัน ยังไม่ได้กินอะไรจริงจัง เสียที”
“สมัยก่