กล่าวเกริ่น
หลังจากที่ประดิษฐ์จักรยานโซล่าเซลส์ “ข้าวโพด” ใช้งานได้ซักระยะหนึ่ง ผมได้นำ”ข้าวโพด” ออกท่องเที่ยวตามถนนในชนบทหลายครั้ง มีบางอย่างที่ผมยังไม่พอใจใน ข้าวโพด ข้าวโพดบรรทุกสัมภาระได้ไม่มากพอ ผมเลยคิดที่จะทำ “ข้าวกล้อง” E-Cargo bike ที่ตอบโจทย์ด้านการเดินทางค้างแรมท่องเที่ยวไปตามเส้นทางชนบท โดยที่ขนสัมภาระได้มากพอและสามารถมีไฟฟ้าได้เองโดยไม่ต้องพักตามโรงแรม
เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งหมด โปรเจ็กข้าวกล้องจึงได้เริ่มต้นเมื่อประมาณกลางปี
ข้าวกล้อง ออกทริป นครปฐม
ข้าวโพด ออกทริป บางตะบูน
เริ่มต้นออกแบบ
ผมเริ่มหาข้อมูลในเว็บ หาแบบที่ใกล้เคียงความต้องมากที่สุด ในที่สุดก็จบลงที่ จักรยานพ่วงหน้าที่เป็นที่นิยมในยุโรป แบบที่ได้ยังไม่ตรงกับความต้องการของผมทั้งหมด ต้องมาดัดแปลง ผมใช้โปรแกรม CAD ช่วยในการออกแบบ หามิติต่าง ๆ โปรแกรมนี้ช่วยผมได้มาก จักรยานคันเก่าถูกรื้อมาจากโรงเก็บของ ตะเกียบล้อ 20 นิ้ว ผมไปหาซื้อมาจากวัดสวนแก้ว เหล็กท่อ เหล็กกล่อง หาจากร้านเหล็กหน้าหมู่บ้าน
เริ่มออกแบบด้วยโปรแกรม CAD
ขั้นตอนประดิษฐ์
หลังจากออกแบบเป็นที่พอใจแล้วก็เริ่มขั้นตอนการประดิษฐ์ตามแบบ
ผมเริ่มจากการทำจิ๊ก ทำโต๊ะเลย์เอ้าท์ หาจุดอ้างอิงตามแบบ ขึ้นเฟรม ต่อโครงกระบะ ซื้อลูกปืนตาเหลือก ปัญหาหลายอย่างพบในขั้นตอนการประดิษฐ์ เช่นการเชื่อม การเจาะจุดต่าง ๆ เป็นเพราะว่าไม่มีทักษะในการเชื่อม จักรยานคันเก่าน๊อตบางตัวเป็นสนิมหมดแล้วต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะคลายน๊อตโดยที่ไม่ให้ขาด
ขึ้นโครงหลัก
ขึ้นโครง ที่ใส่สัมภาระ
ทดสอบเบื้องต้น
หลังจากประกอบทุกอย่างแล้วก็ถึงขั้นตอนการทดสอบ ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี มีจุดที่จะต้องแก้ไข สองสามจุด ผมพบว่าคันชักเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในเรื่องความปลอดภัย ต้องทำให้มั่นคงและมั่นใจว่ามันต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเราให้ได้ทุกสถานการณ์ หลังจากทดสอบเบื้องต้นผ่าแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการใส่ระบบไฟฟ้า และหลังคา ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริม ใช้เวลาทดสอบเต็มรูปแบบภายในหมู่บ้าน หรือจะเรียกว่า run-in ก็ว่าได้ เป็นระยะทาง 100 กิโล ใช้เวลาทั้งหมด 4 ชั่วโมงกว่า จนมั่นใจว่าทุกอย่างไม่มีปัญหา
การทดสอบครั้งแรก
ทดสอบใช้งานจริง
วันที่ 13 ธันวาคม 63 ผมทดสอบเดินทางไกล ระยะทางไปกลับ 50กิโลเมตร โดยมีอุปกรณ์เสริมเต็มพิกัด พร้อมทังสัมภาระเสมือนการใช้งานจริง
ข้อมูลจากการทสอบ
ความเร็วเฉลี่ย : 15 กม./ชม.
อัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน (ไม่ใช้ PAS): 8.6 Wh /Km.
อัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน (มีPAS): 3Wh/km.
สิ่งที่จะต้องแก้ไข
- ระบบเบรก (ควรจะเป็น ดิสเบรค)
- ส่วนใส่สำภาระ ควรต้องเบาขึ้น
การประยุกต์ใช้งาน
วัตถุประสงค์ ของ “ข้าวกล้อง” หลัก ๆ มี 2 อย่างคือ
1. เป็นจักรยานทัวร์ริ่งที่สามารถขนสัมภาระไปได้ครบ มีไฟฟ้าใช้ได้เอง และปั่นก็ได้ใช้ไฟฟ้าก็ได้
2.เป็นจักรยานขนส่ง Delivery สินค้าภายในหมู่บ้าน
แล้วไงต่อไป
วัตถุประสงค์ของรีวิวนี้
1.เป็นการนำเสนอ “ข้าวกล้อง” ออกสู่สาธารณะ เพื่อต้องการรับทราบความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงต้นแบบให้สมบูรณ์ต่อไป
2.หาผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน และมีศักยภาพในการผลักดัน ข้าวกล้อง จากต้นแบบ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
ผมเป็นเพียงแค่คนชอบประดิษฐ์ แต่สิ่งประดิษฐ์แต่ละชิ้นมันจะไม่เป็นนวัตกรรมเลย ถ้ามันขายไม่ออก หรือมันไม่มีประโยชน์กับคน ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับสำหรับท่านที่สนใจต่อยอด “ข้าวกล้อง”
ทดสอบต้นแบบ "ข้าวกล้อง" จักรยานไฟฟ้าสำหรับขนของ E-cargo bike
หลังจากที่ประดิษฐ์จักรยานโซล่าเซลส์ “ข้าวโพด” ใช้งานได้ซักระยะหนึ่ง ผมได้นำ”ข้าวโพด” ออกท่องเที่ยวตามถนนในชนบทหลายครั้ง มีบางอย่างที่ผมยังไม่พอใจใน ข้าวโพด ข้าวโพดบรรทุกสัมภาระได้ไม่มากพอ ผมเลยคิดที่จะทำ “ข้าวกล้อง” E-Cargo bike ที่ตอบโจทย์ด้านการเดินทางค้างแรมท่องเที่ยวไปตามเส้นทางชนบท โดยที่ขนสัมภาระได้มากพอและสามารถมีไฟฟ้าได้เองโดยไม่ต้องพักตามโรงแรม
เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งหมด โปรเจ็กข้าวกล้องจึงได้เริ่มต้นเมื่อประมาณกลางปี
ข้าวกล้อง ออกทริป นครปฐม
ข้าวโพด ออกทริป บางตะบูน
เริ่มต้นออกแบบ
ผมเริ่มหาข้อมูลในเว็บ หาแบบที่ใกล้เคียงความต้องมากที่สุด ในที่สุดก็จบลงที่ จักรยานพ่วงหน้าที่เป็นที่นิยมในยุโรป แบบที่ได้ยังไม่ตรงกับความต้องการของผมทั้งหมด ต้องมาดัดแปลง ผมใช้โปรแกรม CAD ช่วยในการออกแบบ หามิติต่าง ๆ โปรแกรมนี้ช่วยผมได้มาก จักรยานคันเก่าถูกรื้อมาจากโรงเก็บของ ตะเกียบล้อ 20 นิ้ว ผมไปหาซื้อมาจากวัดสวนแก้ว เหล็กท่อ เหล็กกล่อง หาจากร้านเหล็กหน้าหมู่บ้าน
เริ่มออกแบบด้วยโปรแกรม CAD
ขั้นตอนประดิษฐ์
หลังจากออกแบบเป็นที่พอใจแล้วก็เริ่มขั้นตอนการประดิษฐ์ตามแบบ
ผมเริ่มจากการทำจิ๊ก ทำโต๊ะเลย์เอ้าท์ หาจุดอ้างอิงตามแบบ ขึ้นเฟรม ต่อโครงกระบะ ซื้อลูกปืนตาเหลือก ปัญหาหลายอย่างพบในขั้นตอนการประดิษฐ์ เช่นการเชื่อม การเจาะจุดต่าง ๆ เป็นเพราะว่าไม่มีทักษะในการเชื่อม จักรยานคันเก่าน๊อตบางตัวเป็นสนิมหมดแล้วต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะคลายน๊อตโดยที่ไม่ให้ขาด
ขึ้นโครงหลัก
ขึ้นโครง ที่ใส่สัมภาระ
ทดสอบเบื้องต้น
หลังจากประกอบทุกอย่างแล้วก็ถึงขั้นตอนการทดสอบ ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี มีจุดที่จะต้องแก้ไข สองสามจุด ผมพบว่าคันชักเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในเรื่องความปลอดภัย ต้องทำให้มั่นคงและมั่นใจว่ามันต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเราให้ได้ทุกสถานการณ์ หลังจากทดสอบเบื้องต้นผ่าแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการใส่ระบบไฟฟ้า และหลังคา ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริม ใช้เวลาทดสอบเต็มรูปแบบภายในหมู่บ้าน หรือจะเรียกว่า run-in ก็ว่าได้ เป็นระยะทาง 100 กิโล ใช้เวลาทั้งหมด 4 ชั่วโมงกว่า จนมั่นใจว่าทุกอย่างไม่มีปัญหา
การทดสอบครั้งแรก
ทดสอบใช้งานจริง
วันที่ 13 ธันวาคม 63 ผมทดสอบเดินทางไกล ระยะทางไปกลับ 50กิโลเมตร โดยมีอุปกรณ์เสริมเต็มพิกัด พร้อมทังสัมภาระเสมือนการใช้งานจริง
ข้อมูลจากการทสอบ
ความเร็วเฉลี่ย : 15 กม./ชม.
อัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน (ไม่ใช้ PAS): 8.6 Wh /Km.
อัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน (มีPAS): 3Wh/km.
สิ่งที่จะต้องแก้ไข
- ระบบเบรก (ควรจะเป็น ดิสเบรค)
- ส่วนใส่สำภาระ ควรต้องเบาขึ้น
การประยุกต์ใช้งาน
วัตถุประสงค์ ของ “ข้าวกล้อง” หลัก ๆ มี 2 อย่างคือ
1. เป็นจักรยานทัวร์ริ่งที่สามารถขนสัมภาระไปได้ครบ มีไฟฟ้าใช้ได้เอง และปั่นก็ได้ใช้ไฟฟ้าก็ได้
2.เป็นจักรยานขนส่ง Delivery สินค้าภายในหมู่บ้าน
แล้วไงต่อไป
วัตถุประสงค์ของรีวิวนี้
1.เป็นการนำเสนอ “ข้าวกล้อง” ออกสู่สาธารณะ เพื่อต้องการรับทราบความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงต้นแบบให้สมบูรณ์ต่อไป
2.หาผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน และมีศักยภาพในการผลักดัน ข้าวกล้อง จากต้นแบบ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
ผมเป็นเพียงแค่คนชอบประดิษฐ์ แต่สิ่งประดิษฐ์แต่ละชิ้นมันจะไม่เป็นนวัตกรรมเลย ถ้ามันขายไม่ออก หรือมันไม่มีประโยชน์กับคน ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับสำหรับท่านที่สนใจต่อยอด “ข้าวกล้อง”