เดิมชื่อวัดพรหมมินทร์ สร้างโดยเจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ ครองเมืองน่าน พ.ศ. 2134-2146
ต่อมาเจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ได้พยายามแข็งเมืองกับพม่า แต่ไม่สำเร็จ
จึงถูกจับไปประหารชีวิตที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2146 (ตรงกับสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
อุโบสถและวิหารเป็นอาคารหลังเดียวกัน อาคารเป็นจตุรมุข
นาคสะดุ้งปั้นขนาดใหญ่แห่แท่นอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว มีช่องให้ลอดใต้พญานาค
พญานาคหันหน้าไปทางทิศเหนือ หางอยู่ททางทิศใต้ - บอกว่าวิหารนี้ หันหน้าไปทางทิศเหนือ -
ทั้งด้านทิศตะวันออก และตะวันตกเป็นบันไดเหงา บันไดสิงห์สิงห์
.
ปกติเราจะไม่ค่อยได้เห็นวิหารหันหน้าไปทางทิศเหนือ แต่จะหันสู่แม่น้ำหรือทิศตะวันออก
เพราะด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ได้หันพระพักตร์ไปยังแม่น้ำ ถ้าไม่มีแม่น้ำจึงจะหันไปทางตะวันออกอันถือเป็นทิศมงคล
ไปค้นมาจาก หออัตลักษณ์นครน่าน @Nanidentityhallnancc · พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
อาจารย์สมเจตน์ วิมลเกษม นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองน่าน ได้ให้ความเห็นว่า
พระอุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือ เพราะถือเป็นทิศเดียวกับที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าหันเศียรไปเมื่อครั้งเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
การสร้างวิหารจตุรมุขนี้ยึดเอา "ไตรภูมิพระร่วง" ที่เขียนโดยพระยาลิไทย พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัย
มาเป็นฐานความคิด คือ
ใช้โบสถ์และวิหารแทนเขาพระสุเมรุ
มีพญานาคลอยตัวดั่งอยู่บนมหาสมุทรที่ล้อมรอบ
ตรงมุมทั้งสี่ มีใบเสมาตั้งอยู่ และพญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำ
ถือเป็นขอบขันธสีมาของโบสถ์
ช่อฟ้าเป็นรูปหัวพญานาคกำลังเลื้อยลงมาเป็นชั้นๆ จนถึงชายคาด้านล่างสุด
แล้วมีทวยไม้สลักเป็นนาคค้ำยันไว้
เปรียบเสมือน สายน้ำที่กำลังไหลจากภูเขาที่เป็นจุดศูนย์กลางลงสู่เบื้องล่างถึงฐานโบสถ์
ซึ่งมีพญานาคใหญ่ 2 ตัวเป็นฐานอยู่
บานประตูของวิหารทั้ง 4 ด้าน ทำด้วยกระดานไม้สักกว้างใหญ่
กลางของอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ 4 องค์
แทนพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ ภัทรกัปป์ - กัปป์ที่ดี - คือพระกกุสันทะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระสมณโคดม
ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศ
เบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน เป็นเหมือนพรหมสี่หน้า
ตามชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์
มีองค์หนึ่งที่ยิ้ม - จำไม่ได้แล้วว่าทิศไหน เพิ่งเห็นเมื่อมาดูรูปใหม่
วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4)
ใช้เวลาซ่อม นานถึง 7 ปี
จิตรกรรมฝาผนัง หรือฮูปแต้ม ในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้
หลัก ๆ เป็นภาพ เรื่องคันธกุมาร และเนมิราชชาดก
คันธกุมาร
มีเจ้านางถูกขับให้ออกจากวัง มีอาชีพปลูกฝ้ายทอผ้า พระอินทร์สงสารจึงแปลงเป็นช้างมาเหยียบเรือกสวนไร่ฝ้าย
เจ้านางออกมาไล่ เหนื่อย ดื่มน้ำในรอยเท้าช้าง ก็ตั้งครรภ์ เกิดเป็นคัทธกุมาร - รูปกลางขวา เจ้านางชี้ให้คันธกุมารดูรอยเท้าช้าง
เมื่อเจ้าคัทธกุมารโตขึ้นเป็นมานพรูปงาม มีพลังดังช้างสารได้ออกเดินทางเพื่อเรียนวิชาและตามหาบิดาของตน
ได้บำเพ็ญบุญ ปราบสิ่งชั่วร้ายเป็นการสะสมบุญ
เดินทางมาถึงเมืองสิงห์ พบว่ามีแต่ซากศพคน เพราะว่ามียักษียักษาคู่หนึ่งมีอาวุธไม้เท้าหัวชี้ตายปลายชี้เป็น
ท่านเจ้าเมืองก็ได้ซ่อนเจ้าหญิงกองสีไว้ในหอกลอง
เมื่อคัทธกุมารปราบยักษ์ทั้งสองได้สำเร็จ ช่วยนางกองสีออกมาจากหอกลองและช่วยชุบชีวิตชาวเมืองให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง
เนมิราชชาดก
ภาพพระพุทธเจ้าแสดงธรรม
มองให้ลึกลงในภาพแล้วมีสิ่งที่น่าสนใจคือ
ภาพบนซ้าย ใส่เสื้อคลุมสีแดง เป็นภาพของ พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช หรือเจ้าอนันตยศ
และบนซ้ายสุดเจ้าหนานมหาพรหม บุตรคนแรก
ภาพบนขวาที่นั่งชันเข่า ตำหมาก เป็นภาพเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช
ภาพตอนปรินิพพาน พระภิกษุร้องไห้
ภาพสาวไทลื้อจะมีปอยขมวดบนมวยผม สูบขี้โย
ภาพสาวสูบขี้โยจากวัดหนองบัว
ภาพสาวสมัยนั้นเปลือยอก ถ้ายังไม่แต่งงานจะมีผ้าบาง ๆ คลุม
.
.
.
วัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ต่อมาเจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ได้พยายามแข็งเมืองกับพม่า แต่ไม่สำเร็จ
จึงถูกจับไปประหารชีวิตที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2146 (ตรงกับสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
อุโบสถและวิหารเป็นอาคารหลังเดียวกัน อาคารเป็นจตุรมุข
นาคสะดุ้งปั้นขนาดใหญ่แห่แท่นอุโบสถเทินไว้กลางลำตัว มีช่องให้ลอดใต้พญานาค
พญานาคหันหน้าไปทางทิศเหนือ หางอยู่ททางทิศใต้ - บอกว่าวิหารนี้ หันหน้าไปทางทิศเหนือ -
ทั้งด้านทิศตะวันออก และตะวันตกเป็นบันไดเหงา บันไดสิงห์สิงห์
.
ปกติเราจะไม่ค่อยได้เห็นวิหารหันหน้าไปทางทิศเหนือ แต่จะหันสู่แม่น้ำหรือทิศตะวันออก
เพราะด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ได้หันพระพักตร์ไปยังแม่น้ำ ถ้าไม่มีแม่น้ำจึงจะหันไปทางตะวันออกอันถือเป็นทิศมงคล
ไปค้นมาจาก หออัตลักษณ์นครน่าน @Nanidentityhallnancc · พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
อาจารย์สมเจตน์ วิมลเกษม นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองน่าน ได้ให้ความเห็นว่า
พระอุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือ เพราะถือเป็นทิศเดียวกับที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าหันเศียรไปเมื่อครั้งเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
มาเป็นฐานความคิด คือ
ใช้โบสถ์และวิหารแทนเขาพระสุเมรุ
มีพญานาคลอยตัวดั่งอยู่บนมหาสมุทรที่ล้อมรอบ
ตรงมุมทั้งสี่ มีใบเสมาตั้งอยู่ และพญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำ
ถือเป็นขอบขันธสีมาของโบสถ์
แล้วมีทวยไม้สลักเป็นนาคค้ำยันไว้
เปรียบเสมือน สายน้ำที่กำลังไหลจากภูเขาที่เป็นจุดศูนย์กลางลงสู่เบื้องล่างถึงฐานโบสถ์
ซึ่งมีพญานาคใหญ่ 2 ตัวเป็นฐานอยู่
บานประตูของวิหารทั้ง 4 ด้าน ทำด้วยกระดานไม้สักกว้างใหญ่
แทนพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ ภัทรกัปป์ - กัปป์ที่ดี - คือพระกกุสันทะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระสมณโคดม
ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศ
เบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน เป็นเหมือนพรหมสี่หน้า
ตามชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์
มีองค์หนึ่งที่ยิ้ม - จำไม่ได้แล้วว่าทิศไหน เพิ่งเห็นเมื่อมาดูรูปใหม่
ใช้เวลาซ่อม นานถึง 7 ปี
จิตรกรรมฝาผนัง หรือฮูปแต้ม ในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้
หลัก ๆ เป็นภาพ เรื่องคันธกุมาร และเนมิราชชาดก
คันธกุมาร
มีเจ้านางถูกขับให้ออกจากวัง มีอาชีพปลูกฝ้ายทอผ้า พระอินทร์สงสารจึงแปลงเป็นช้างมาเหยียบเรือกสวนไร่ฝ้าย
เจ้านางออกมาไล่ เหนื่อย ดื่มน้ำในรอยเท้าช้าง ก็ตั้งครรภ์ เกิดเป็นคัทธกุมาร - รูปกลางขวา เจ้านางชี้ให้คันธกุมารดูรอยเท้าช้าง
เมื่อเจ้าคัทธกุมารโตขึ้นเป็นมานพรูปงาม มีพลังดังช้างสารได้ออกเดินทางเพื่อเรียนวิชาและตามหาบิดาของตน
ได้บำเพ็ญบุญ ปราบสิ่งชั่วร้ายเป็นการสะสมบุญ
เดินทางมาถึงเมืองสิงห์ พบว่ามีแต่ซากศพคน เพราะว่ามียักษียักษาคู่หนึ่งมีอาวุธไม้เท้าหัวชี้ตายปลายชี้เป็น
ท่านเจ้าเมืองก็ได้ซ่อนเจ้าหญิงกองสีไว้ในหอกลอง
เมื่อคัทธกุมารปราบยักษ์ทั้งสองได้สำเร็จ ช่วยนางกองสีออกมาจากหอกลองและช่วยชุบชีวิตชาวเมืองให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง
เนมิราชชาดก
ภาพพระพุทธเจ้าแสดงธรรม
มองให้ลึกลงในภาพแล้วมีสิ่งที่น่าสนใจคือ
ภาพบนซ้าย ใส่เสื้อคลุมสีแดง เป็นภาพของ พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช หรือเจ้าอนันตยศ
และบนซ้ายสุดเจ้าหนานมหาพรหม บุตรคนแรก
ภาพบนขวาที่นั่งชันเข่า ตำหมาก เป็นภาพเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช
ภาพสาวสูบขี้โยจากวัดหนองบัว
ภาพสาวสมัยนั้นเปลือยอก ถ้ายังไม่แต่งงานจะมีผ้าบาง ๆ คลุม