วัดพระธาตุแช่แห้ง ... อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

ข้ามแม่น้ำน่านสู่ภูเพียง
ทบทวนประวัติเมืองน่านที่เราย่อมาได้ที่กระทู้นี้ วิหารไทลื้อ ... วัดพระธาตุเบ็งสกัด อำเภอปัว จังหวัดน่าน


เป็นวัดพระธาตุประจำเวียงภูเพียงแช่แห้ง เวียงน่านในอดีตแห่งที่ 2
พ.ศ.1899 พญาการเมือง (โอรสพญาผานอง) ได้รับเชิญจากพญาลิไท ให้ไปร่วมสร้างวัดอภัย
ได้รับพระบรมสารีริกธาตุมา จึงสร้างวัดพระธาตุแช่แห้ง - อิทธิพลสุโขทัย ลังกาวงศ์ ( นิยมพระธาตุ) เริ่มเข้ามาสู่เมืองน่าน
และสร้างเวียงภูเพียงแช่แห้งเป็นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน เป็นเวียงน่านยุคที่สอง


วิหารพระนอนพระพุทธไสยาสน์
อยู่ด้านหน้า นอกกำแพงแก้วขององค์พระธาตุ
วิหารก่อสร้างตามแนวยาวขององค์พระ
มีประตูทางเข้า ด้านหลัง คือทิศใต้
จารึกวิหารพระนอนพระพุทธไสยาสน์ วัดพระธาตุแช่แห้ง
นน. 5 จารึกนางแสนพลัวสร้างพระพุทธรูปไสยาสน์ จ.ศ. 948 ตรงกับ พ.ศ. 2129
ตรงกับสมัยพระเจ้าสาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ หรือ อโนรธาเมงสอ หรือ เจ้าฟ้าสารวตี พระโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง
ปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2122-2150)


วิหารหลวง
ขนาด 6 ห้อง ยกเก็ดผนังแบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วนคือ ด้านหน้า 2 ห้องกลาง 3 ด้านหลัง 1
หลังคา 4 ซด สามตับ เฟื้องเป็นรูปนาคพันสถูป ขึ้นไปสามชั้น เหมือนปูนปั้นเหนือประตู
เป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่าน


สิงห์เฝ้าประตูตัวทางทิศใต้คาบนาง
จากตำนานสีหพาหุ ใน มหาพงศาวดารลังกา ว่า
ราชสีห์ตัวหนึ่งลักพาเจ้าหญิงองค์หนึ่งไปไว้ในป่า
ขณะนั้นเจ้าหญิงมีพระโอรสและพระธิดาซึ่งยังเป็นทารก ราชสีห์ก็ดูแลเลี้ยงดูจนเติบใหญ่
เมื่อพระโอรสทราบความจริงจึงพาพระมารดาและพระขนิษฐาหนีกลับเข้าวัง
ด้วยความรัก ราชสีห์ได้พยายามตามหาเพื่อพาเจ้าหญิงกลับไปอยู่ด้วย
ระหว่างทางใครมาขัดขวางห้ามปรามก็จะถูกฆ่าตายหมดด้วยเสียงที่ก้องกัมปนาท
พระโอรสจึงยิงธนูกรอกปากราชสีห์ตาย
เมื่อพระโอรสได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ งานราชกาลไม่ราบรื่น
ปุโรหิตจึงทูลว่าเป็นเพราะบาปกรรมที่ฆ่าราชสีห์ผู้มีพระคุณ
พระองค์จึงปวารณาตนว่าจะสร้างรูปราชสีห์ไว้ที่ประตูวัด หรือที่มุมเจดีย์ เพื่อเป็นการไถ่บาป


ภายในวิหาร
ประดิษฐาน พระเจ้าล้านทอง
องค์พระประธานปางมารศรีวิชัยศิลปะล้านนา เปลวพระเกศแบบสุโขทัย
คำว่าล้านทองบางสถานที่ก็ว่าหมายถึงน้ำหนักทองเหลืองล้านหน่วย ราว 1-1.2 ตัน
แต่เราเข้าใจว่าคงเป็นพระทองเหลืององค์ใหญ่ที่สุกปลั่ง ทำด้วยทองสำริดเยอะมาก - เป็นล้าน
พระพุทธรูปปางประทับยืนและพระอุ่นเมือง
พระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปไข่ มีรัศมีรูปเปลว ชายสังฆาฏิยาวถึงพระนาภี


เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง
ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงิน และพระพิมพ์ทอง
ฐานเขียงสูงสี่เหลี่ยมจัตุรัสสามชั้น - อิทธิพลสุโขทัย ชั้นที่สามมีเจดีย์มุม
ถัดไปเป็นฐานปัทม์ยกเก็ด มีลูกแก้วอกไก่รัด 2 เส้น ด้านบนมีเจดีย์มุม
ถ้ดไปเป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น
(ตกแต่งกลีบบัว - อิทธิพลพม่า)
รับบัวถลาสามชั้น บัวปากระฆัง องค์ระฆัง
บัลลังก์ ก้านฉัตรไม่มีเสาหาน ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
เป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ตามคติการไว้พระธาตุตามปีนักษัตรของชาวล้านนา


อุโบสถมหาอุตม์


ประดิษฐานพระเจ้ามหาอุตม์ ปางมารวิชัย ประดับลายหม้อตอก ปูรณฆฏะ
ใช้ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกและเจริญพระพุทธมนต์พิธีมงคลที่สำคัญ

.
.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่