หลังจากที่ผลการควบรวมค้าปลีกขนาดยักษ์อย่างซีพี-เทสโก้ โลตัส ในประเทศไทยเป็นผลสำเร็จ น่าติดตามว่าก้าวต่อไปของซีพี ในวงการธุรกิจค้าปลีกต่อจากนี้ จะเป็นไปในทิศทางใด ท่ามกลางกระแสวิจารณ์ว่าการควบรวมในครั้งนี้จะก่อให้เกิดการมีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่? มี แม็คโครแล้วจะเอาโลตัสไปทำไมอีก???
เป็นเรื่องที่น่าติดตามและชวนหาคำตอบ เพราะอย่างที่ทราบกันว่า มูลค่าการควบรวมครั้งนี้สูงถึง 338,445 ล้านบาท เจ้าสัวมองเห็นอะไรในอนาคตตลาดค้าปลีก ถึงยอมทุ่มเงินมหาศาลในขณะที่ค้าปลีกทั่วโลกเจอวิกฤติซัดกระหน่ำ
ย้อนหลับไปในช่วงแรกๆที่ดีลการเจรจาซื้อขายเกิดขึ้น เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เคยให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่ง โดยบอกว่า ‘เทสโก้ โลตัส’ เปรียบเสมือนลูกรัก ที่ต้องตัดใจขายไปในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง และเมื่อวันนึงมีโอกาสซื้อคืนกลับมาก็ย่อมไม่ปล่อยให้หลุดลอยไป
“ความจริงเทสโก้ โลตัสเป็นลูกของผม ตอนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ผมขายไป ฝากให้คนอื่นเลี้ยง ในครั้งนี้เจ้าของที่เคยเลี้ยงลูกผมจะขายลูกกลับคืนมา ผมก็ต้องซื้อ แต่ผมจะซื้อต่อเมื่อต้องเป็นประโยชน์ ถ้าซื้อแล้วไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่ซื้อ ผมตั้งใจให้เทสโก้ โลตัสเป็นที่กระจายสินค้าของสดของซีพี ทำให้ของดีราคาถูกกระจายไปทั่วประเทศไทยได้ดีขึ้น.. ผมเชื่อว่า ผมมีความสามารถซื้อกลับมาแล้วเลี้ยงลูกให้ดีกว่าเดิม เอาเทคนิคใหม่ๆ เข้ามา แล้วก็พัฒนาให้เข้ากับยุค 4.0”
มูลค่าดีลครั้งนี้สูงถึง 338,445 ล้านบาท ซี่งหลังจากการควบรวมเสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการจะทำให้กลุ่มซี.พี. จะได้เทสโก้โลตัส ที่มีสาขาในไทย 2,100 แห่ง และในมาเลเซียอีก 74 แห่ง มีพนักงานกว่า 60,000 คน
นักวิเคราะห์ชี้มาร์เก็ตแชร์รวมกันแล้วยังไม่ผูกขาด
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด บอกว่า ฝ่ายวิจัยเคยทำการศึกษาภาพรวมส่วนแบ่งตลาดกลุ่มค้าปลีก หากพิจารณากรณีเครือข่ายที่ CPALL มีปัจจุบัน (CPALL+MAKRO) ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดราว 31.9% หากรวมกับ Tesco อีกราว 11.6% จะมีส่วนแบ่งตลาดรวม 43.8% ทั้งนี้ระดับส่วนแบ่งตลาดดังกล่าว ไม่ถือเป็นการควบรวมที่อาจเข้าข่ายกรณีผูกขาดของกขค. ที่หลังควบรวมแล้วครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50%
แต่อย่างไรก็ตาม หากอิงตามเกณฑ์กรณีผู้มีส่วนแบ่งตลาดสูง 3 อันดับแรกสูงเกิน 75% ที่พิจารณาส่วนแบ่งตลาดของกลุ่ม CP + Big C (BJC) และ CRC จะสูงราว 59% ก็ยังถือว่าไม่เข้าข่ายการผูกขาดเช่นกัน ประเด็นนี้อาจค้านกับความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ในสังคม ที่คิดว่าเหตุใดจึงไม่เป็นการผูกขาดในเมื่อหันไปทางไหนก็เหมือนจะ หนีไม่พ้นเซเว่นอีเลฟเว่น แมคโคร โลตัส แต่หากอิงตามทฤษฏีการแบ่งประเภทตลาด Modern Marketing Concept จะพบว่าแต่ละประเภทก็มีส่วนแบ่งการตลาดที่ไม่เหมือนกัน และกลุ่มเป้าหมายลูกค้าต่างกัน
เจ้าสัวมองเห็นอะไรในอนาคตตลาดค้าปลีก?
ธุรกิจที่ล่มสลายส่วนใหญ่คือยอมให้คู่แข่งเอาชนะตัวเอง ทั้งๆ ที่รู้ว่าสักวันหนึ่งวันนี้ก็มาถึง แต่ธุรกิจที่ยังอยู่รอดได้คือธุรกิจยอมทำลายธุรกิจตัวเอง ด้วยการสร้างธุรกิจใหม่ นวัตกรรมใหม่ เพื่อเอาตัวรอด ไม่ยอมให้ใครต้องมาทำลายธุรกิจของตัวเอง เจ้าสัวมองเห็นอนาคตอะไรในธุรกิจค้าปลีกที่นับวันจะถูก Disruption ทั้งจากวิกฤติโควิดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันไปหาช่องทางออนไลน์มากขึ้น
ก่อนหน้านี้เจ้าสัวเคยวางทิศทางค้าปลีกที่จะมุ่งสู่ “Omni Channel” มากขึ้น การได้เทสโก้ โลตัส ที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ ทั้งสาขาและศูนย์กระจายสินค้าจะเข้ามาตอบโจทย์การทำธุรกิจออนไลน์ในแง่การเป็นจุดสั่งซื้อ รับส่งสินค้าได้อย่างดีทีเดียว รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ตามแบบที่ซีพีถนัด
“ผมจะทำให้รายได้มากกว่าเก่าเป็นเท่าตัว เราต้องทำตัวให้เบา บริหารจัดการให้ดีเยี่ยมกว่าเดิม ใช้เทคโนโลยีใหม่ ซอฟต์แวร์ใหม่เข้ามาให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น เร็วขึ้น พัฒนาระบบออนไลน์ส่งถึงบ้าน ซึ่งจะสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาทำงาน ไม่ใช่ทำแบบเก่า ต้องทำแบบใหม่ให้เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ โลกกำลังเปลี่ยน ต้องทำให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง”
ที่ผ่านมาเราก็พอจะมองเห็นภาพการปรับตัวจากห้างค้าปลีกชื่อดังระดับโลกต่างๆ ที่แข่งขันกันปรับตัวนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมลูกค้า เช่น
Amazon หนึ่งในยักษ์ใหญ่ E-Commerce และเริ่มพัฒนาร้านค้าของตัวเองที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น ร้านค้าที่ไม่มีแคชเชียร์ เพราะติดตั้งกล้อง และเซ็นเซอร์ต่างๆ ไว้บนเพดาน เพื่อตรวจจับว่าลูกค้าที่เข้ามาในร้านหยิบสินค้าอะไรใส่ตะกร้าบ้าง เมื่อพวกเข้าออกจากร้านจะถูกคิดเงินจากบัญชี Amazon ทันที การนำรถเข็นอัจฉริยะที่ติดตั้งเซ็นเซอร์, กล้อง และอุปกรณ์ชั่งน้ำหนัก เพื่อตรวจจับว่าลูกค้าหยิบอะไรใส่รถเข็นบ้าง
หรือ
เหอหม่า เฟรช (Hema Fresh) ของอาลีบาบาที่ผสมผสานประสบการณ์การชอปปิ้งทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์มาไว้ด้วยกัน สามารถขายกุ้งเป็น ๆ ปลาเป็น ๆ แล้วจ่ายเงินบนมือถือด้วยระบบ Cashless จะสั่งเป็นเมนูให้พ่อครัวทำให้กินที่ร้าน หรือจะให้แพ็คปลาเป็น ๆ ส่งถึงบ้านเลยก็ได้ รวมถึงสามารถสแกน QR Code เพื่อดูข้อมูลสินค้าที่วางขาย ว่ามีกระบวนการผลิตและที่มาที่ไปยังไง เมื่อเลือกซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเลือกให้จัดส่งมาที่บ้านและรับได้ภายใน 30 นาที
การที่เทสโก้ โลตัสได้กลับคืนสู่อ้อมอกของเครือซีพี ย่อมเป็นการเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจให้ซีพีมากยิ่งขึ้น เพิ่มอำนาจทางการตลาดให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ และอย่าลืมว่าการได้มาซึ่งสาขาของเทสโก้โลตัสในต่างประเทศอย่างมาเลเซีย ก็เป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่จะมีช่องทางส่งสินค้า SME ไปยังต่างประเทศ เป็นช่องทางกระจายสินค้าชั้นดี เช่นที่แมคโครเคยทำมาแล้ว
ซีพี เทคโอเวอร์ เทสโก้ โลตัส เจ้าสัวธนินท์ มองเห็นอะไรในอนาคตตลาดค้าปลีก?
เป็นเรื่องที่น่าติดตามและชวนหาคำตอบ เพราะอย่างที่ทราบกันว่า มูลค่าการควบรวมครั้งนี้สูงถึง 338,445 ล้านบาท เจ้าสัวมองเห็นอะไรในอนาคตตลาดค้าปลีก ถึงยอมทุ่มเงินมหาศาลในขณะที่ค้าปลีกทั่วโลกเจอวิกฤติซัดกระหน่ำ
ย้อนหลับไปในช่วงแรกๆที่ดีลการเจรจาซื้อขายเกิดขึ้น เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เคยให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่ง โดยบอกว่า ‘เทสโก้ โลตัส’ เปรียบเสมือนลูกรัก ที่ต้องตัดใจขายไปในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง และเมื่อวันนึงมีโอกาสซื้อคืนกลับมาก็ย่อมไม่ปล่อยให้หลุดลอยไป
“ความจริงเทสโก้ โลตัสเป็นลูกของผม ตอนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ผมขายไป ฝากให้คนอื่นเลี้ยง ในครั้งนี้เจ้าของที่เคยเลี้ยงลูกผมจะขายลูกกลับคืนมา ผมก็ต้องซื้อ แต่ผมจะซื้อต่อเมื่อต้องเป็นประโยชน์ ถ้าซื้อแล้วไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่ซื้อ ผมตั้งใจให้เทสโก้ โลตัสเป็นที่กระจายสินค้าของสดของซีพี ทำให้ของดีราคาถูกกระจายไปทั่วประเทศไทยได้ดีขึ้น.. ผมเชื่อว่า ผมมีความสามารถซื้อกลับมาแล้วเลี้ยงลูกให้ดีกว่าเดิม เอาเทคนิคใหม่ๆ เข้ามา แล้วก็พัฒนาให้เข้ากับยุค 4.0”
มูลค่าดีลครั้งนี้สูงถึง 338,445 ล้านบาท ซี่งหลังจากการควบรวมเสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการจะทำให้กลุ่มซี.พี. จะได้เทสโก้โลตัส ที่มีสาขาในไทย 2,100 แห่ง และในมาเลเซียอีก 74 แห่ง มีพนักงานกว่า 60,000 คน
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด บอกว่า ฝ่ายวิจัยเคยทำการศึกษาภาพรวมส่วนแบ่งตลาดกลุ่มค้าปลีก หากพิจารณากรณีเครือข่ายที่ CPALL มีปัจจุบัน (CPALL+MAKRO) ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดราว 31.9% หากรวมกับ Tesco อีกราว 11.6% จะมีส่วนแบ่งตลาดรวม 43.8% ทั้งนี้ระดับส่วนแบ่งตลาดดังกล่าว ไม่ถือเป็นการควบรวมที่อาจเข้าข่ายกรณีผูกขาดของกขค. ที่หลังควบรวมแล้วครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50%
แต่อย่างไรก็ตาม หากอิงตามเกณฑ์กรณีผู้มีส่วนแบ่งตลาดสูง 3 อันดับแรกสูงเกิน 75% ที่พิจารณาส่วนแบ่งตลาดของกลุ่ม CP + Big C (BJC) และ CRC จะสูงราว 59% ก็ยังถือว่าไม่เข้าข่ายการผูกขาดเช่นกัน ประเด็นนี้อาจค้านกับความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ในสังคม ที่คิดว่าเหตุใดจึงไม่เป็นการผูกขาดในเมื่อหันไปทางไหนก็เหมือนจะ หนีไม่พ้นเซเว่นอีเลฟเว่น แมคโคร โลตัส แต่หากอิงตามทฤษฏีการแบ่งประเภทตลาด Modern Marketing Concept จะพบว่าแต่ละประเภทก็มีส่วนแบ่งการตลาดที่ไม่เหมือนกัน และกลุ่มเป้าหมายลูกค้าต่างกัน
เจ้าสัวมองเห็นอะไรในอนาคตตลาดค้าปลีก?
ธุรกิจที่ล่มสลายส่วนใหญ่คือยอมให้คู่แข่งเอาชนะตัวเอง ทั้งๆ ที่รู้ว่าสักวันหนึ่งวันนี้ก็มาถึง แต่ธุรกิจที่ยังอยู่รอดได้คือธุรกิจยอมทำลายธุรกิจตัวเอง ด้วยการสร้างธุรกิจใหม่ นวัตกรรมใหม่ เพื่อเอาตัวรอด ไม่ยอมให้ใครต้องมาทำลายธุรกิจของตัวเอง เจ้าสัวมองเห็นอนาคตอะไรในธุรกิจค้าปลีกที่นับวันจะถูก Disruption ทั้งจากวิกฤติโควิดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันไปหาช่องทางออนไลน์มากขึ้น
ก่อนหน้านี้เจ้าสัวเคยวางทิศทางค้าปลีกที่จะมุ่งสู่ “Omni Channel” มากขึ้น การได้เทสโก้ โลตัส ที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ ทั้งสาขาและศูนย์กระจายสินค้าจะเข้ามาตอบโจทย์การทำธุรกิจออนไลน์ในแง่การเป็นจุดสั่งซื้อ รับส่งสินค้าได้อย่างดีทีเดียว รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ตามแบบที่ซีพีถนัด
“ผมจะทำให้รายได้มากกว่าเก่าเป็นเท่าตัว เราต้องทำตัวให้เบา บริหารจัดการให้ดีเยี่ยมกว่าเดิม ใช้เทคโนโลยีใหม่ ซอฟต์แวร์ใหม่เข้ามาให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น เร็วขึ้น พัฒนาระบบออนไลน์ส่งถึงบ้าน ซึ่งจะสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาทำงาน ไม่ใช่ทำแบบเก่า ต้องทำแบบใหม่ให้เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ โลกกำลังเปลี่ยน ต้องทำให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง”
ที่ผ่านมาเราก็พอจะมองเห็นภาพการปรับตัวจากห้างค้าปลีกชื่อดังระดับโลกต่างๆ ที่แข่งขันกันปรับตัวนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมลูกค้า เช่น Amazon หนึ่งในยักษ์ใหญ่ E-Commerce และเริ่มพัฒนาร้านค้าของตัวเองที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น ร้านค้าที่ไม่มีแคชเชียร์ เพราะติดตั้งกล้อง และเซ็นเซอร์ต่างๆ ไว้บนเพดาน เพื่อตรวจจับว่าลูกค้าที่เข้ามาในร้านหยิบสินค้าอะไรใส่ตะกร้าบ้าง เมื่อพวกเข้าออกจากร้านจะถูกคิดเงินจากบัญชี Amazon ทันที การนำรถเข็นอัจฉริยะที่ติดตั้งเซ็นเซอร์, กล้อง และอุปกรณ์ชั่งน้ำหนัก เพื่อตรวจจับว่าลูกค้าหยิบอะไรใส่รถเข็นบ้าง
การที่เทสโก้ โลตัสได้กลับคืนสู่อ้อมอกของเครือซีพี ย่อมเป็นการเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจให้ซีพีมากยิ่งขึ้น เพิ่มอำนาจทางการตลาดให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ และอย่าลืมว่าการได้มาซึ่งสาขาของเทสโก้โลตัสในต่างประเทศอย่างมาเลเซีย ก็เป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่จะมีช่องทางส่งสินค้า SME ไปยังต่างประเทศ เป็นช่องทางกระจายสินค้าชั้นดี เช่นที่แมคโครเคยทำมาแล้ว