บอร์ดแข่งขันการค้าฯ แจงไม่ต้องขออนุญาตใหม่ กรณี ‘ซีพี’ โยกธุรกิจโลตัส ให้แม็คโคร ชี้เป็นการจัดการภายในไม่กระทบโครงสร้างตลาด
บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือ ซีพี ปรับโครงสร้างธุรกิจค้าปลีก โดยโอนกิจการทั้งหมดของ บริษัทซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (CPRH) ซึ่งเป็นผู้ถือ 99.99% ในบริษัท โลตัสส์ สโตร์ส (ประเทศไทย) และ Lotuss Stores (Malaysia) Sdn. Bhd. ให้กับบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO มูลค่า 217,949.07 ล้านบาท
นายสกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) กล่าวว่า ขณะนี้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของสำนักงานการแข่งขันทางการค้า พิจารณาดูว่า การโอนกิจการดังกล่าวเป็นอาจขัดเงื่อนไขที่คณะกรรมการฯ กำหนดให้ควบรวมกิจการหรือไม่ ซึ่งต้องสรุปให้เร็วที่สุด โดยการอนุญาตให้ควบรวมมี 7 เงื่อนไขที่กลุ่มซีพีต้องปฏิบัติตาม
นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ กรรมการการแข่งขันทางการค้า กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นธุรกรรมภายในบริษัทไม่จำเป็นต้องแจ้งคณะกรรมการฯ และไม่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดในภาพรวมไปจากเดิมที่เป็นอยู่ เพราะมีเจ้าของเดียวกัน
รายงานข่าวแจ้งว่า ธุรกรรมดังกล่าวเป็นไปตามที่กรรมการเสียงข้างน้อยของคณะกรรมการฯ ประเมินไว้ว่าการอนุญาตให้ซีพีซื้อโลตัสจะทำให้ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งอยู่ในมือผู้ประกอบการรายเดียว ทั้งค้าส่งอย่างแม็คโคร ค้าปลีกอย่างโลตัส และร้านสะดวกซื้อที่ก่อนหน้าแล้ว ซึ่งจะส่งผลอย่างมีนัยต่อการแข่งขันในตลาด
แต่เมื่อคณะกรรมการฯ โดยเสียงข้างมากมีมติอนุญาตให้ซื้อกิจการได้ถือว่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นผลที่ได้รับอนุมัติแล้วจึงไม่ต้องขออนุญาตอีก เพราะเป็นการดำเนินงานภายในบริษัทที่ไม่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด ซึ่งมีผู้ประกอบการรายใหญ่หนึ่งรายที่มีห่วงโซ่การค้าขนาดใหญ่และเชื่อมโยงตั้งแต่ค้าส่งและค้าปลีกในรูปแบบต่างๆ
ทั้งนี้ เงื่อนไข 7 ข้อ ในการควบรวมกิจการ มีข้อห้ามเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ เฉพาะกรณีการรวมธุรกิจกับผู้ประกอบการรายอื่นในตลาดค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่สินค้าอุปโภคบริโภค 3 ปี ทั้งนี้ไม่รวมถึงตลาดอีคอมเมิร์ซ
สำหรับการพิจารณาคำขอควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ซี.พี.รีเทล ดีเวลลอปเม้น จำกัดและบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ใช้เวลารวม 3 เดือนเศษ โดยคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ลงมติอนุญาตให้ควบรวมกิจการเมื่อวันที่ 2 พ.ย.2563
สำหรับ 7 เงื่อนไขที่กลุ่มซีพีต้องปฏิบัติ ประกอบด้วย
1. ห้ามธุรกิจในเครือควบรวมธุรกิจค้าปลีกค้าส่งรายอื่นนาน 3 ปี ไม่รวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
2. หลังควบรวมแล้วให้เพิ่มสัดส่วนสินค้าจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่น้อยกว่า 10% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี
3. หลังควบรวมแล้วห้ามมิให้ใช้หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาด
4. ให้คงสัญญาที่ทำไว้กับซัพพลายเออร์ 2 ปี
5. กำหนดระยะเวลาเครดิตเทอม กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นเวลา 30-45 วัน เป็นเวลา 3 ปี
6. ให้รายงานผลประกอบการต่อ กขค. เป็นเวลา 3 ปี
7. หลังควบรวมแล้วให้จัดทำ code of conduct เผยแพร่ต่อสาธารณะ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/957857
กขค.ชี้ไม่ต้องขออนุญาตใหม่ ‘ซีพี’ โยกโลตัสให้แม็คโคร
บอร์ดแข่งขันการค้าฯ แจงไม่ต้องขออนุญาตใหม่ กรณี ‘ซีพี’ โยกธุรกิจโลตัส ให้แม็คโคร ชี้เป็นการจัดการภายในไม่กระทบโครงสร้างตลาด
บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือ ซีพี ปรับโครงสร้างธุรกิจค้าปลีก โดยโอนกิจการทั้งหมดของ บริษัทซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (CPRH) ซึ่งเป็นผู้ถือ 99.99% ในบริษัท โลตัสส์ สโตร์ส (ประเทศไทย) และ Lotuss Stores (Malaysia) Sdn. Bhd. ให้กับบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO มูลค่า 217,949.07 ล้านบาท
นายสกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) กล่าวว่า ขณะนี้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของสำนักงานการแข่งขันทางการค้า พิจารณาดูว่า การโอนกิจการดังกล่าวเป็นอาจขัดเงื่อนไขที่คณะกรรมการฯ กำหนดให้ควบรวมกิจการหรือไม่ ซึ่งต้องสรุปให้เร็วที่สุด โดยการอนุญาตให้ควบรวมมี 7 เงื่อนไขที่กลุ่มซีพีต้องปฏิบัติตาม
นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ กรรมการการแข่งขันทางการค้า กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นธุรกรรมภายในบริษัทไม่จำเป็นต้องแจ้งคณะกรรมการฯ และไม่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดในภาพรวมไปจากเดิมที่เป็นอยู่ เพราะมีเจ้าของเดียวกัน
รายงานข่าวแจ้งว่า ธุรกรรมดังกล่าวเป็นไปตามที่กรรมการเสียงข้างน้อยของคณะกรรมการฯ ประเมินไว้ว่าการอนุญาตให้ซีพีซื้อโลตัสจะทำให้ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งอยู่ในมือผู้ประกอบการรายเดียว ทั้งค้าส่งอย่างแม็คโคร ค้าปลีกอย่างโลตัส และร้านสะดวกซื้อที่ก่อนหน้าแล้ว ซึ่งจะส่งผลอย่างมีนัยต่อการแข่งขันในตลาด
แต่เมื่อคณะกรรมการฯ โดยเสียงข้างมากมีมติอนุญาตให้ซื้อกิจการได้ถือว่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นผลที่ได้รับอนุมัติแล้วจึงไม่ต้องขออนุญาตอีก เพราะเป็นการดำเนินงานภายในบริษัทที่ไม่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด ซึ่งมีผู้ประกอบการรายใหญ่หนึ่งรายที่มีห่วงโซ่การค้าขนาดใหญ่และเชื่อมโยงตั้งแต่ค้าส่งและค้าปลีกในรูปแบบต่างๆ
ทั้งนี้ เงื่อนไข 7 ข้อ ในการควบรวมกิจการ มีข้อห้ามเกี่ยวกับการรวมธุรกิจ เฉพาะกรณีการรวมธุรกิจกับผู้ประกอบการรายอื่นในตลาดค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่สินค้าอุปโภคบริโภค 3 ปี ทั้งนี้ไม่รวมถึงตลาดอีคอมเมิร์ซ
สำหรับการพิจารณาคำขอควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ซี.พี.รีเทล ดีเวลลอปเม้น จำกัดและบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ใช้เวลารวม 3 เดือนเศษ โดยคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ลงมติอนุญาตให้ควบรวมกิจการเมื่อวันที่ 2 พ.ย.2563
สำหรับ 7 เงื่อนไขที่กลุ่มซีพีต้องปฏิบัติ ประกอบด้วย
1. ห้ามธุรกิจในเครือควบรวมธุรกิจค้าปลีกค้าส่งรายอื่นนาน 3 ปี ไม่รวมธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
2. หลังควบรวมแล้วให้เพิ่มสัดส่วนสินค้าจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่น้อยกว่า 10% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี
3. หลังควบรวมแล้วห้ามมิให้ใช้หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาด
4. ให้คงสัญญาที่ทำไว้กับซัพพลายเออร์ 2 ปี
5. กำหนดระยะเวลาเครดิตเทอม กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นเวลา 30-45 วัน เป็นเวลา 3 ปี
6. ให้รายงานผลประกอบการต่อ กขค. เป็นเวลา 3 ปี
7. หลังควบรวมแล้วให้จัดทำ code of conduct เผยแพร่ต่อสาธารณะ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/957857