เตือนการเมือง-ม็อบมวลชน เงื่อนไข‘ความรุนแรง’
https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_2408743
เตือนการเมือง-ม็อบมวลชน เงื่อนไข‘ความรุนแรง’
หมายเหตุ –
ความเห็นของนักการเมืองและนักวิชาการ แสดงความห่วงใยต่อการเผชิญหน้าของม็อบมวลชน 2 ฝ่าย อาจนำไปสู่เงื่อนไขการใช้ความรุนแรงและทางออกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในขณะนี้
ยุทธพร อิสรชัย
นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปัญหาบานปลายสามารถเกิดขึ้นได้ หากมีการปะทะของกลุ่มมวลชน เพราะการชุมนุมมีความเสี่ยง และเมื่อการเมืองแบบมวลชนขยายตัวมากขึ้น ก็จะนำไปสู่ภาวะมวลชนาธิปไตย การเมืองจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นภาวะอนาธิปัตย์ กฎหมาย หน่วยงานรัฐ ไม่สามารถควบคุมกำกับได้ หรือแม้กระทั่งแกนนำมวลชนต่างๆ ก็ไม่สามารถควบคุมได้ ถ้าเป็นแบบนี้โอกาสที่จะนำไปสู่ความรุนแรงก็มีความเป็นไปได้สูง
การป้องกันก็ควรคลี่คลายสถานการณ์ก่อนนำไปสู่การเมืองแบบมวลชนที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นการคลี่คลายจะต้องเร่งเจรจา หรือเปิดให้มีการพูดคุย หรือเวทีในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยใช้หลักการของประชาธิปไตยในรูปแบบปรึกษาหารือ สิ่งเหล่านี้จะทำให้โอกาสที่จะเกิดการเมืองแบบมวลชนลดน้อยลงไป เพราะทุกอย่างจะเข้าสู่การเมืองในระบบ แต่วันนี้ยังไม่มีกลไกเหล่านี้ในการแก้ปัญหา
สำหรับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นคงไม่มีใครได้ประโยชน์โดยตรง ทั้งความพยายามจากภาครัฐจะจัดตั้งมวลชน หรือกระบวนการที่ฝ่ายผู้ชุมนุมไม่ต้องการจะถอยจากจุดยืน ท้ายที่สุดทุกฝ่ายจะต้องได้รับผลกระทบทั้งหมด รวมไปถึงประชาชนทั่วไป แต่การแก้ปัญหาทุกฝ่ายต้องวางจุดยืนของตัวเองไว้ก่อน จากนั้นมาร่วมกันหาทางออก จะเป็นหนทางที่ดีกว่า
เพราะสุดท้าย หากฝ่ายใดจะใช้การเมืองแบบมวลชน ก็จะเป็นโดมิโนทางการเมืองที่วนกลับมาสร้างผลกระทบครั้งใหม่ เช่น หากรัฐต้องการให้เกิดการเมืองแบบมวลชนท้ายที่สุดแล้ว ก็อาจถูกตั้งคำถามต่อความชอบธรรม และการจัดการของรัฐในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือหากเป็นฝ่ายมวลชนที่ต้องการให้เกิดความรุนแรงก็จะถูกตั้งคำถามต่อการเคลื่อนไหวเรื่องความชอบธรรม ซึ่งไม่เป็นประโยชน์กับฝ่ายใด หลังการเผชิญหน้าและนำไปสู่ความรุนแรง
วันนี้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยต้องปรับมุมคิดในการปฏิบัติ หากใช้วิธีเดิมแนวคิดเดิมกระบวนการแก้ปัญหาก็อาจไม่สามารถทำได้ ดังนั้นการปรับปรุงมุมคิด จะต้องลดเงื่อนไข จะต้องทำอย่างไรให้การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐได้รับการยอมรับเรื่องความชอบธรรมหลักนิติธรรม ไม่เช่นนั้นโอกาสที่จะทำให้เกิดคำถามเรื่อง 2 มาตรฐานจะเกิดขึ้นได้
ขณะที่การประชุมสภาที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่าคณะราษฎรคงเห็นว่ากลไกนี้จะช่วยอะไรไม่ได้ และในสภาพความเป็นจริงก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะวันนี้เราอยู่ในภาวะการเมืองนอกสภาก้าวหน้า แต่การเมืองในสภาล้าหลัง ที่บอกแบบนี้ เพราะว่าในสภายังมีปัญหาประสิทธิผลของรัฐสภา ปัญหานี้เกิดจากการทำงานที่จะต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้อบังคับสภา และการเปิดสภาครั้งนี้ตามมาตรา 165 มีกรอบกฎหมายกำหนดไว้ และจบด้วยการไม่ลงมติ หรืออาจมีการตั้งคณะกรรมการ คณะกรรมาธิการ ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร และพรรคการเมืองก็ทำงานแบบล้าหลัง เพราะไม่ได้มีฐานจากมวลชน และคงไม่มีการนำความเห็นของประชาชนเข้าไปสะท้อนในการประชุมสภา
สำหรับเสถียรภาพของรัฐบาลจะถูกตั้งคำถามโดยตลอดตั้งแต่เริ่มจัดตั้งทั้งเสียงปริ่มน้ำ ปัญหางูเห่า ปัญหาความชอบธรรม ทั้งหมดมาจากโครงสร้างของรัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้กระบวนการที่จะเดินหน้าทางการเมืองเกิดปัญหาจากรัฐบาลผสม และยิ่งเผชิญกับวิกฤตนอกสภา วิกฤตการเมือง เศรษฐกิจ ก็จะทำให้รัฐบาลเดินหน้าไปได้ยาก หรือไปได้ก็แบบลุ่มๆ ดอนๆ ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นและปัญหาทั้งหมดก็จะตกอยู่กับประชาชน
ส่วนการเคลื่อนไหวของคณะราษฎร และกลุ่มเสื้อเหลืองถือว่าไม่ปกติ โดยหลักทั่วไปการเมืองต้องมีกลไกป้องกันปัญหาความรุนแรง ทุกอย่างเดินหน้าเรียบร้อยไม่มีอะไรที่ไม่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย แต่การเมืองแบบมวลชนทำให้มีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง เพราะมีความเสี่ยงกับความรุนแรง การสูญเสีย มีผลกระทบในวงกว้างกับสังคม อาจรวมไปถึงความขัดแย้งซึ่งวันนี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคม หากไม่เร่งแก้ไขก็จะไม่เป็นผลดีอย่างแน่นอน
ธีรัจชัย พันธุมาศ
ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.)
สถานการณ์ขณะนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วงมาก เพราะเมื่อดูกลุ่มเสื้อเหลืองที่ปะทะกับผู้ชุมนุมที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม เป็นคนใกล้ชิดกับฝ่ายรัฐบาล เมื่อมีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อเหลืองก็มักจะมีเอกสารหลุดออกมาปรากฏตามสื่อว่า เป็นการจัดการของฝ่ายราชการ ดังนั้นกลุ่มเสื้อเหลือง จึงไม่ได้เกิดขึ้นอย่างอิสระ แต่คาดว่าเกิดจากการจัดตั้ง โดยมีแนวโน้มว่าจะใช้โมเดลการจัดกลุ่มที่คล้ายกับกลุ่มนวพล หรือกลุ่มกระทิงแดง ในช่วง 6 ตุลาคม 2519 เพื่อเข้ามาโจมตี และปะทะกับกลุ่มนักศึกษา อีกทั้งยังสร้างเงื่อนไขการปราบปราม การปิดสื่อ และสร้างความเกลียดชังระหว่างประชาชน
อยากให้ฝ่ายรัฐบาลรับฟังเยาวชนที่ออกมาเรียกร้องว่า ข้อเสนอนั้นอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือไม่ และรูปแบบการแสดงความจงรักภักดีอาจจะไม่ได้มีแค่รูปแบบเดียวก็ได้ อยากให้ลองฟังดูว่าเป็นอย่างไร ไม่ใช่นำมาบิดเบือนและทำลายล้างม็อบ เพื่อรักษาอำนาจตัวเอง ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องทบทวน การจะหวงอำนาจต่อไม่ใช่เรื่องที่ดี ท่าทีที่ผ่านมาของรัฐบาลไม่ได้แสดงถึงการพยายามรับฟัง และยังมีการประวิงเวลาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การเปิดประชุมรัฐสภา สมัยวิสามัญ เพื่อหาทางแก้ไขวิกฤตของประเทศ ก็คงจะเป็นการอภิปรายทั่วไป ที่ฝ่ายรัฐบาล และ ส.ว.ได้เวลาพูดเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่ใช่การเปิดโอกาสในการแก้ปัญหาได้จริง
ส่วนการใช้รัฐสภาหารือจะช่วยลดแรงปะทะระหว่างผู้ชุมนุมที่มีความเห็นที่แตกต่างกันหรือไม่นั้น ท่าทีของรัฐบาลที่ปรับเปลี่ยนอาจจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถยุติการปะทะได้ เพราะท่าทีของรัฐบาลขณะนี้ไม่มีการพยายามประนีประนอมหรือหาทางออก มีแต่แข็งกร้าว โดยพยายามสร้างและจัดตั้งอีกฝ่ายหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้ปะทะกับอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงอย่างชัดเจน
หากเกิดการปะทะกันทุกครั้งที่มีการชุมนุม จะมีการออกกฎอัยการศึกเพื่อควบคุมสถานการณ์ และรัฐประหารหรือไม่ เหมือนโมเดล 6 ตุลาคม 2519 หรือไม่ รัฐบาลจะทำอย่างนั้นหรือ จะไม่พูดคุยกันหรือ เรื่องนี้อย่าลืมว่าบริบทสังคมได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะมีโซเชียลมีเดีย ดังนั้นจึงไม่สามารถควบคุมสื่อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ อีกทั้งความคิดของนักศึกษาเปลี่ยนแปลงไปแล้ว และพวกเขายังเห็นความล้มเหลวของรัฐบาล ถ้าจะใช้โมเดลแบบ 6 ตุลาคม 2519 คิดว่าอาจจะผิดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงในสังคมมาก
ชูศักดิ์ ศิรินิล
รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.)
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์กลุ่มคนเสื้อเหลืองบุกเข้าทำร้ายนักเรียนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ขณะที่กำลังมีการชุมนุมทางการเมืองเมื่อเย็นวันที่ 21 ตุลาคม กรณีที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควรปล่อยให้เกิดขึ้น เนื่องจากก่อนการชุมนุมของสองฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ทราบล่วงหน้าแล้วว่า จะมีการชุมนุมของทั้งสองกลุ่ม จึงควรมีมาตรการป้องกันที่ดีกว่านี้ เมื่อเกิดเหตุขึ้นจึงต้องดูว่าใครเป็นผู้ก่อเหตุและผู้ก่อเหตุเกี่ยวข้องกับใคร หรือมีใครอยู่เบื้องหลัง และใครต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ้าง
จากการตรวจสอบพบว่าแกนนำผู้ก่อเหตุมีความสัมพันธ์และใกล้ชิดกับรัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาล และมีการนำรถของพรรคการเมืองหนึ่งขนกลุ่มผู้ก่อเหตุเข้ามาในมหาวิทยาลัย แสดงให้เห็นพฤติการณ์ว่ามีการวางแผนไว้ล่วงหน้าในการก่อเหตุ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเพียงเพื่อขัดขวางมิให้นักศึกษาได้มีการชุมนุม หรือเพื่อต้องการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความวุ่นวาย เพื่อเป็นเงื่อนไขในการออกมาตรการทางกฎหมายที่เข้มข้นขึ้นก็ตาม แต่ก็ถือว่าการกระทำนั้นเป็นเรื่องไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวผู้ก่อเหตุจะต้องออกมารับผิดชอบและชี้แจงข้อเท็จจริง
ในส่วนของมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับสูงก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งที่รุนแรงและบานปลายยิ่งขึ้น เพราะผู้ก่อเหตุใส่เสื้ออันเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบัน จึงไม่ควรแสดงพฤติกรรมอะไรที่แสดงออกในการใช้ความรุนแรง อีกทั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงควรเป็นสถานที่ปลอดภัย
สำหรับนักศึกษาและประชาชนที่จะแสดง ซึ่งสิทธิเสรีภาพใดๆ ก็ตามที่อยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ไม่ควรปล่อยให้รามคำแหงกลายเป็นสถานที่อันตรายเหมือนเช่นที่เคยเกิดเหตุสังหารและทำร้ายผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช.ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาคม 2553
ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร
อาจารย์คณะรัฐศาสน์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กรณีคนเสื้อเหลืองปะทะกับนักศึกษารามคำแหงทำให้มีผู้บาดเจ็บ สิ่งที่ต้องคำนึงอย่างแรกสุดคือ เรื่องความมั่นคงปลอดภัยสำหรับพลเมืองไทยทุกคน หากย้อนกลับไปดูสิ่งที่นายกฯพูดถึงในโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ หรือประเด็นอื่นที่มีความสำคัญ อยากให้รัฐบาลแสดงท่าทีกระตือรือร้น หรือให้หลักประกันการแสดงออกในแง่ของการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยปราศจากการถูกกระทำจากความรุนแรง โดยเฉพาะเหตุความเห็นที่แตกต่าง
กรณีนายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้ถอยคนละก้าว มองได้ 2 แบบ แบบแรกคือ ในทางการเมือง สามารถเปิดประตูการเจรจาในแง่ของการใช้กลไกของรัฐสภา ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือ การเน้นความชอบธรรมของการเมืองในระบบรัฐสภาด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ ก่อนหน้านี้ระบบรัฐสภาเอง ไม่สามารถแก้ไขเรื่องของเงื่อนไขการแก้รัฐธรรมนูญให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นได้ จึงมีการถกเถียงกันในมาตรา 256 เมื่อมวลชนลงท้องถนน จึงมีความพยายามให้กลับเข้าสู่ระบบรัฐสภาใหม่
สิ่งที่น่าจับตาคือ จริงๆ แล้ว ระบบของรัฐสภา ก็ขาดความเชื่อมั่นในระบบหนึ่ง แต่สมมุติว่า ถ้าถอยคนละก้าวจริงๆ แล้วจะทำให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นระบบรัฐสภาได้เหมือนเดิมหรือเปล่า
ส่วนในแบบที่ 2 คือ กลไกการใช้อำนาจรัฐ แปลว่าจะมีการลดระดับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินลง ไม่ได้หมายความว่ากฎหมายอื่นจะไม่สามารถใช้งานได้ การลด พ.ร.ก.ฉุกเฉินคือ การลดดีกรีทางด้านความรุนแรง ที่อาจจะถูกตั้งคำถามเรื่องของความชอบธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่ากฎหมายมาตรา 7 จะถูกระงับใช้ไป
ความขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์ในสังคมไทย คือ ไม่ว่าคุณจะเรียกตัวเองว่าฝ่ายก้าวหน้า ฝ่ายรัฐธรรมนูญ หรือแม้กระทั่งในปัจจุบันที่อาจจะมีการแบ่งคนในช่วงวัย ช่วงเจเนอเรชั่น ล้วนเป็นความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ทั้งสิ้น ฉะนั้นถ้าจะแก้ก็ต้องแก้ให้ครบ คือมองภาพใหม่ที่จะมีโครงสร้างความขัดแย้งพรรคการเมืองเอง สถาบันการเมือง โครงสร้างการปกครอง หรืออุดมการณ์ให้ไปในระนาบเดียวกัน การตั้งต้นตั้งแต่การมองภาพการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องมีภาพหลายๆ ภาพรวมกันแล้วก็น่าจะเป็นทางออกหนึ่งของการเมืองไทย
JJNY : เตือนการเมือง-ม็อบมวลชน เงื่อนไข‘ความรุนแรง’/หญิงถูกฉีดน้ำแยกปทุมวัน มีสารพิษ/ปู ไปรยาโดนถล่มเละ/สมชัยซัด ปธ.วุฒิ
https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_2408743
เตือนการเมือง-ม็อบมวลชน เงื่อนไข‘ความรุนแรง’
หมายเหตุ – ความเห็นของนักการเมืองและนักวิชาการ แสดงความห่วงใยต่อการเผชิญหน้าของม็อบมวลชน 2 ฝ่าย อาจนำไปสู่เงื่อนไขการใช้ความรุนแรงและทางออกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในขณะนี้
นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การป้องกันก็ควรคลี่คลายสถานการณ์ก่อนนำไปสู่การเมืองแบบมวลชนที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นการคลี่คลายจะต้องเร่งเจรจา หรือเปิดให้มีการพูดคุย หรือเวทีในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยใช้หลักการของประชาธิปไตยในรูปแบบปรึกษาหารือ สิ่งเหล่านี้จะทำให้โอกาสที่จะเกิดการเมืองแบบมวลชนลดน้อยลงไป เพราะทุกอย่างจะเข้าสู่การเมืองในระบบ แต่วันนี้ยังไม่มีกลไกเหล่านี้ในการแก้ปัญหา
สำหรับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นคงไม่มีใครได้ประโยชน์โดยตรง ทั้งความพยายามจากภาครัฐจะจัดตั้งมวลชน หรือกระบวนการที่ฝ่ายผู้ชุมนุมไม่ต้องการจะถอยจากจุดยืน ท้ายที่สุดทุกฝ่ายจะต้องได้รับผลกระทบทั้งหมด รวมไปถึงประชาชนทั่วไป แต่การแก้ปัญหาทุกฝ่ายต้องวางจุดยืนของตัวเองไว้ก่อน จากนั้นมาร่วมกันหาทางออก จะเป็นหนทางที่ดีกว่า
เพราะสุดท้าย หากฝ่ายใดจะใช้การเมืองแบบมวลชน ก็จะเป็นโดมิโนทางการเมืองที่วนกลับมาสร้างผลกระทบครั้งใหม่ เช่น หากรัฐต้องการให้เกิดการเมืองแบบมวลชนท้ายที่สุดแล้ว ก็อาจถูกตั้งคำถามต่อความชอบธรรม และการจัดการของรัฐในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือหากเป็นฝ่ายมวลชนที่ต้องการให้เกิดความรุนแรงก็จะถูกตั้งคำถามต่อการเคลื่อนไหวเรื่องความชอบธรรม ซึ่งไม่เป็นประโยชน์กับฝ่ายใด หลังการเผชิญหน้าและนำไปสู่ความรุนแรง
วันนี้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยต้องปรับมุมคิดในการปฏิบัติ หากใช้วิธีเดิมแนวคิดเดิมกระบวนการแก้ปัญหาก็อาจไม่สามารถทำได้ ดังนั้นการปรับปรุงมุมคิด จะต้องลดเงื่อนไข จะต้องทำอย่างไรให้การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐได้รับการยอมรับเรื่องความชอบธรรมหลักนิติธรรม ไม่เช่นนั้นโอกาสที่จะทำให้เกิดคำถามเรื่อง 2 มาตรฐานจะเกิดขึ้นได้
ขณะที่การประชุมสภาที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่าคณะราษฎรคงเห็นว่ากลไกนี้จะช่วยอะไรไม่ได้ และในสภาพความเป็นจริงก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะวันนี้เราอยู่ในภาวะการเมืองนอกสภาก้าวหน้า แต่การเมืองในสภาล้าหลัง ที่บอกแบบนี้ เพราะว่าในสภายังมีปัญหาประสิทธิผลของรัฐสภา ปัญหานี้เกิดจากการทำงานที่จะต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้อบังคับสภา และการเปิดสภาครั้งนี้ตามมาตรา 165 มีกรอบกฎหมายกำหนดไว้ และจบด้วยการไม่ลงมติ หรืออาจมีการตั้งคณะกรรมการ คณะกรรมาธิการ ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร และพรรคการเมืองก็ทำงานแบบล้าหลัง เพราะไม่ได้มีฐานจากมวลชน และคงไม่มีการนำความเห็นของประชาชนเข้าไปสะท้อนในการประชุมสภา
สำหรับเสถียรภาพของรัฐบาลจะถูกตั้งคำถามโดยตลอดตั้งแต่เริ่มจัดตั้งทั้งเสียงปริ่มน้ำ ปัญหางูเห่า ปัญหาความชอบธรรม ทั้งหมดมาจากโครงสร้างของรัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้กระบวนการที่จะเดินหน้าทางการเมืองเกิดปัญหาจากรัฐบาลผสม และยิ่งเผชิญกับวิกฤตนอกสภา วิกฤตการเมือง เศรษฐกิจ ก็จะทำให้รัฐบาลเดินหน้าไปได้ยาก หรือไปได้ก็แบบลุ่มๆ ดอนๆ ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นและปัญหาทั้งหมดก็จะตกอยู่กับประชาชน
ส่วนการเคลื่อนไหวของคณะราษฎร และกลุ่มเสื้อเหลืองถือว่าไม่ปกติ โดยหลักทั่วไปการเมืองต้องมีกลไกป้องกันปัญหาความรุนแรง ทุกอย่างเดินหน้าเรียบร้อยไม่มีอะไรที่ไม่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย แต่การเมืองแบบมวลชนทำให้มีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง เพราะมีความเสี่ยงกับความรุนแรง การสูญเสีย มีผลกระทบในวงกว้างกับสังคม อาจรวมไปถึงความขัดแย้งซึ่งวันนี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคม หากไม่เร่งแก้ไขก็จะไม่เป็นผลดีอย่างแน่นอน
ธีรัจชัย พันธุมาศ
ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.)
สถานการณ์ขณะนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วงมาก เพราะเมื่อดูกลุ่มเสื้อเหลืองที่ปะทะกับผู้ชุมนุมที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม เป็นคนใกล้ชิดกับฝ่ายรัฐบาล เมื่อมีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อเหลืองก็มักจะมีเอกสารหลุดออกมาปรากฏตามสื่อว่า เป็นการจัดการของฝ่ายราชการ ดังนั้นกลุ่มเสื้อเหลือง จึงไม่ได้เกิดขึ้นอย่างอิสระ แต่คาดว่าเกิดจากการจัดตั้ง โดยมีแนวโน้มว่าจะใช้โมเดลการจัดกลุ่มที่คล้ายกับกลุ่มนวพล หรือกลุ่มกระทิงแดง ในช่วง 6 ตุลาคม 2519 เพื่อเข้ามาโจมตี และปะทะกับกลุ่มนักศึกษา อีกทั้งยังสร้างเงื่อนไขการปราบปราม การปิดสื่อ และสร้างความเกลียดชังระหว่างประชาชน
อยากให้ฝ่ายรัฐบาลรับฟังเยาวชนที่ออกมาเรียกร้องว่า ข้อเสนอนั้นอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือไม่ และรูปแบบการแสดงความจงรักภักดีอาจจะไม่ได้มีแค่รูปแบบเดียวก็ได้ อยากให้ลองฟังดูว่าเป็นอย่างไร ไม่ใช่นำมาบิดเบือนและทำลายล้างม็อบ เพื่อรักษาอำนาจตัวเอง ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องทบทวน การจะหวงอำนาจต่อไม่ใช่เรื่องที่ดี ท่าทีที่ผ่านมาของรัฐบาลไม่ได้แสดงถึงการพยายามรับฟัง และยังมีการประวิงเวลาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การเปิดประชุมรัฐสภา สมัยวิสามัญ เพื่อหาทางแก้ไขวิกฤตของประเทศ ก็คงจะเป็นการอภิปรายทั่วไป ที่ฝ่ายรัฐบาล และ ส.ว.ได้เวลาพูดเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่ใช่การเปิดโอกาสในการแก้ปัญหาได้จริง
ส่วนการใช้รัฐสภาหารือจะช่วยลดแรงปะทะระหว่างผู้ชุมนุมที่มีความเห็นที่แตกต่างกันหรือไม่นั้น ท่าทีของรัฐบาลที่ปรับเปลี่ยนอาจจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถยุติการปะทะได้ เพราะท่าทีของรัฐบาลขณะนี้ไม่มีการพยายามประนีประนอมหรือหาทางออก มีแต่แข็งกร้าว โดยพยายามสร้างและจัดตั้งอีกฝ่ายหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้ปะทะกับอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงอย่างชัดเจน
หากเกิดการปะทะกันทุกครั้งที่มีการชุมนุม จะมีการออกกฎอัยการศึกเพื่อควบคุมสถานการณ์ และรัฐประหารหรือไม่ เหมือนโมเดล 6 ตุลาคม 2519 หรือไม่ รัฐบาลจะทำอย่างนั้นหรือ จะไม่พูดคุยกันหรือ เรื่องนี้อย่าลืมว่าบริบทสังคมได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะมีโซเชียลมีเดีย ดังนั้นจึงไม่สามารถควบคุมสื่อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ อีกทั้งความคิดของนักศึกษาเปลี่ยนแปลงไปแล้ว และพวกเขายังเห็นความล้มเหลวของรัฐบาล ถ้าจะใช้โมเดลแบบ 6 ตุลาคม 2519 คิดว่าอาจจะผิดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงในสังคมมาก
รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.)
จากการตรวจสอบพบว่าแกนนำผู้ก่อเหตุมีความสัมพันธ์และใกล้ชิดกับรัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาล และมีการนำรถของพรรคการเมืองหนึ่งขนกลุ่มผู้ก่อเหตุเข้ามาในมหาวิทยาลัย แสดงให้เห็นพฤติการณ์ว่ามีการวางแผนไว้ล่วงหน้าในการก่อเหตุ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเพียงเพื่อขัดขวางมิให้นักศึกษาได้มีการชุมนุม หรือเพื่อต้องการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความวุ่นวาย เพื่อเป็นเงื่อนไขในการออกมาตรการทางกฎหมายที่เข้มข้นขึ้นก็ตาม แต่ก็ถือว่าการกระทำนั้นเป็นเรื่องไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวผู้ก่อเหตุจะต้องออกมารับผิดชอบและชี้แจงข้อเท็จจริง
ในส่วนของมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับสูงก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งที่รุนแรงและบานปลายยิ่งขึ้น เพราะผู้ก่อเหตุใส่เสื้ออันเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบัน จึงไม่ควรแสดงพฤติกรรมอะไรที่แสดงออกในการใช้ความรุนแรง อีกทั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงควรเป็นสถานที่ปลอดภัย
สำหรับนักศึกษาและประชาชนที่จะแสดง ซึ่งสิทธิเสรีภาพใดๆ ก็ตามที่อยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ไม่ควรปล่อยให้รามคำแหงกลายเป็นสถานที่อันตรายเหมือนเช่นที่เคยเกิดเหตุสังหารและทำร้ายผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช.ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาคม 2553
อาจารย์คณะรัฐศาสน์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กรณีนายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้ถอยคนละก้าว มองได้ 2 แบบ แบบแรกคือ ในทางการเมือง สามารถเปิดประตูการเจรจาในแง่ของการใช้กลไกของรัฐสภา ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือ การเน้นความชอบธรรมของการเมืองในระบบรัฐสภาด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ ก่อนหน้านี้ระบบรัฐสภาเอง ไม่สามารถแก้ไขเรื่องของเงื่อนไขการแก้รัฐธรรมนูญให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นได้ จึงมีการถกเถียงกันในมาตรา 256 เมื่อมวลชนลงท้องถนน จึงมีความพยายามให้กลับเข้าสู่ระบบรัฐสภาใหม่
สิ่งที่น่าจับตาคือ จริงๆ แล้ว ระบบของรัฐสภา ก็ขาดความเชื่อมั่นในระบบหนึ่ง แต่สมมุติว่า ถ้าถอยคนละก้าวจริงๆ แล้วจะทำให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่นระบบรัฐสภาได้เหมือนเดิมหรือเปล่า
ส่วนในแบบที่ 2 คือ กลไกการใช้อำนาจรัฐ แปลว่าจะมีการลดระดับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินลง ไม่ได้หมายความว่ากฎหมายอื่นจะไม่สามารถใช้งานได้ การลด พ.ร.ก.ฉุกเฉินคือ การลดดีกรีทางด้านความรุนแรง ที่อาจจะถูกตั้งคำถามเรื่องของความชอบธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่ากฎหมายมาตรา 7 จะถูกระงับใช้ไป
ความขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์ในสังคมไทย คือ ไม่ว่าคุณจะเรียกตัวเองว่าฝ่ายก้าวหน้า ฝ่ายรัฐธรรมนูญ หรือแม้กระทั่งในปัจจุบันที่อาจจะมีการแบ่งคนในช่วงวัย ช่วงเจเนอเรชั่น ล้วนเป็นความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ทั้งสิ้น ฉะนั้นถ้าจะแก้ก็ต้องแก้ให้ครบ คือมองภาพใหม่ที่จะมีโครงสร้างความขัดแย้งพรรคการเมืองเอง สถาบันการเมือง โครงสร้างการปกครอง หรืออุดมการณ์ให้ไปในระนาบเดียวกัน การตั้งต้นตั้งแต่การมองภาพการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องมีภาพหลายๆ ภาพรวมกันแล้วก็น่าจะเป็นทางออกหนึ่งของการเมืองไทย