เปิดฟ้าส่องโลก ไทยรัฐ
เลนิน (1) โดย : คุณ นิติ นวรัตน์
สงครามกลางเมืองในสหภาพโซเวียตไม่ใช่ว่าไม่มีนะครับ เกิดขึ้นมาระหว่าง ค.ศ.1918-1921 และตอนนั้นก็อยู่ในยุคที่รัฐบาลของโซเวียตสถาปนาขึ้นมาปกครองประเทศได้เรียบร้อยแล้ว แต่มีพวกต่อต้านการปฏิวัติก็เลยสู้รบกันอยู่ 3 ปี
ขอย้อนไปหน่อยครับ พอยึดอำนาจได้แล้ว รัฐบาลโซเวียตก็จัดการให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั่วประเทศระหว่าง 15-19 พฤศจิกายน ค.ศ.1917 ร้อยละ 70 ของคนในเมือง และร้อยละ 97 ของคนชนบท ไปคูหาเพื่อลงคะแนน คนส่วนใหญ่ของประเทศเห็นด้วยกับระบอบสังคมนิยม แต่ไม่เอาพรรคบอลเชวิคของเลนิน
พรรคบอลเชวิคของเลนินได้สมาชิกร่างรัฐธรรมนูญน้อยเพียง 175 คน จาก 707 คน เลนินจึงประวิงเวลาไม่ให้มีการเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าสมาชิกอาจจะมาไม่ครบองค์ประชุม อ้างโน่นอ้างนี่สารพัด ทั้งที่นำปฏิวัติสำเร็จ ประชาชนยินดีกับการล้มรัฐบาลที่แล้ว แต่ก็ไม่ชอบฝ่ายการเมืองบอลเชวิคของเลนิน เลนินจึงคิดว่า ถ้าดำเนินการตามระบอบรัฐสภาจะต้องแพ้ฝ่ายอื่นแน่นอน จึงใช้ระบบเลื่อนเปิดสภา เลื่อนไปเรื่อยๆ บั้นปลายท้ายที่สุด จนกำเนิดเปิดสภาไปถึงวันที่ 5 มกราคม ค.ศ.1918
ฝ่ายการเมืองอื่นๆ ที่ร่วมล้มรัฐบาลของพระเจ้าซาร์มาด้วยกัน จึงเริ่มไม่ยอมเลนิน และร่วมกันตั้งสหภาพเพื่อปกป้องสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนของสภาโซเวียตเปโตรกราด สหภาพแรงงาน และพรรคสังคมนิยมต่างๆ
เลนินก็สู้ด้วยการเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ปราฟดา ชี้ให้เห็นว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชน เพราะตั้งแต่การปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ.1917 มวลมหาประชาชนหนุนฝ่ายปฏิวัติจนล้มพระเจ้าซาร์ได้ แต่การเลือกตั้งพวกที่เป็นกลุ่มการเมืองฝ่ายขวากลับชนะ ดังนั้น การเลือกตั้งเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ.1917 จึงเป็นการเลือกตั้งจอมปลอม
พวกที่หลอกมวลชนก็เป็นเหมือนกันทั่วโลก ตอนแรกก็ขอร้องให้มวลมหาประชาชนล้มพระเจ้าซาร์ และจะจัดให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่พอฝ่ายตัวเองแพ้เลือกตั้ง ก็บอกว่านี่มันสภาจอมปลอม ข้าพเจ้าไม่เอาดีกว่า
พอเลือกตั้งแพ้ เลนินก็ประกาศว่า สาธารณรัฐโซเวียตเท่านั้นที่เป็นรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยที่สูงสุด เหนือกว่ารูปแบบสาธารณรัฐปกครองของผู้คนชนชั้นกระฎุมพี และเหนือกว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ข้าพเจ้าขอเปลี่ยนใจ ไม่ใช้วิธีการเลือกตั้งแล้ว แต่ข้าพเจ้าจะขอใช้วิธีอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งสภาโซเวียต มวลมหาประชาชนที่เคารพรักทั้งหลาย โปรดเชื่อข้าพเจ้าเถิด สภาโซเวียตมีความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์กว่าการที่ประชาชนคนทั้งประเทศมาหย่อนบัตรเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ใครอยากอ่านบทความชิ้นนี้ของเลนิน ก็ไปค้นได้ในหนังสือ พิมพ์ปราฟดา ฉบับ 13 ธันวาคม ค.ศ.1917 ชื่อบทความว่า Theses on the Constituent Assembly ไม่กี่วันต่อมา เลนินก็เขียนบท ความอีก ชื่อ The Proletarian Revolution and the Renegade Kautsky บอกว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นรูปแบบสูงสุดของประชาธิปไตยที่ใช้กันในโลกทั่วไปนั้น เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย การสนับสนุนสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อไปถือว่าเป็นการทรยศ และการจะยุบสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นความชอบธรรม
พวกบ้าลุงเลนินอย่างหัวปักหัวปําอ่านบทความทั้งสองชิ้นนั้นแล้วก็ยึดถือเป็นสรณะ ออกโจมตีว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นพวกทรยศ ทั้งที่ตามความเป็นจริงแล้ว การเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีขึ้นหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม และในตอนแรก ลุงเลนินนี่แหละ เป็นตัวตั้งตัวตีที่สุดในการสนับสนุนการเลือกตั้ง แต่พอฝ่ายบอลเชวิคของตนเองได้ สสร. เพียง 175 คน ก็ไม่เอาสภาร่างรัฐธรรมนูญซะแล้ว
สหภาพเพื่อปกป้องสภาร่างรัฐธรรมนูญจึงออกมาเคลื่อนไหวโต้ตอบความเห็นของเลนิน และยืนยันว่า เมื่อประชาชนทั้งประเทศเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมาแล้ว ก็ควรเปิดสภาฯ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญที่จะเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองพวกเราทุกผู้ทุกนาม จากนั้น สหภาพเพื่อปกป้องฯ ก็จัดให้มีการเดินขบวนอย่างสันติในวันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ก่อนเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ 1 วัน รัฐบาลโซเวียตที่ได้มาจากการปฏิวัติโดยมวลมหาประชาชนก็ประกาศกฎอัยการศึก ห้ามจัดชุมนุม
ระวังเหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดกับในบางประเทศนะครับ
*****************************
หลายคนชอบอ้างว่าที่ออกไปชุมนุมนั้น ไม่ได้เชียร์ปชป. ไม่ได้ชอบสุเทพ แค่อยากจะใช้สุเทพ เป็นเครื่องมือ ไล่ระบอบทักษิณ อ่าน แล้วก็คิดซะใหม่นะครับ
พวกท่านคิดหรือว่าพรรคปชป ที่ลงทุนลงแรงสุดตัวไปกับการชุมนุมครั้งนี้ จะยอมให้พวกท่านหลอกใช้ได้ ตัวอย่างในรัสเซียมีให้เห็นแล้ว ถ้าจะยัง กินขรี้อี้นอน ออกไปอีกก็แล้วแต่นะครับ ถึงเวลาพวกท่านอาจเห็นได้ว่า สุเทพกับเลนินนั้น อาจจะมีอะไรเหมิอนๆกัน แต่ถ้าท่านอ่านบทความนี้แล้วเริ่มหงุดหงิด แสดงว่าท่านเริ่มตาสว่างแล้วครับ อิ๊อิ๊
ก่อนนอน เอาบทความดีๆมาให้อ่านครับ
เลนิน (1) โดย : คุณ นิติ นวรัตน์
สงครามกลางเมืองในสหภาพโซเวียตไม่ใช่ว่าไม่มีนะครับ เกิดขึ้นมาระหว่าง ค.ศ.1918-1921 และตอนนั้นก็อยู่ในยุคที่รัฐบาลของโซเวียตสถาปนาขึ้นมาปกครองประเทศได้เรียบร้อยแล้ว แต่มีพวกต่อต้านการปฏิวัติก็เลยสู้รบกันอยู่ 3 ปี
ขอย้อนไปหน่อยครับ พอยึดอำนาจได้แล้ว รัฐบาลโซเวียตก็จัดการให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั่วประเทศระหว่าง 15-19 พฤศจิกายน ค.ศ.1917 ร้อยละ 70 ของคนในเมือง และร้อยละ 97 ของคนชนบท ไปคูหาเพื่อลงคะแนน คนส่วนใหญ่ของประเทศเห็นด้วยกับระบอบสังคมนิยม แต่ไม่เอาพรรคบอลเชวิคของเลนิน
พรรคบอลเชวิคของเลนินได้สมาชิกร่างรัฐธรรมนูญน้อยเพียง 175 คน จาก 707 คน เลนินจึงประวิงเวลาไม่ให้มีการเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าสมาชิกอาจจะมาไม่ครบองค์ประชุม อ้างโน่นอ้างนี่สารพัด ทั้งที่นำปฏิวัติสำเร็จ ประชาชนยินดีกับการล้มรัฐบาลที่แล้ว แต่ก็ไม่ชอบฝ่ายการเมืองบอลเชวิคของเลนิน เลนินจึงคิดว่า ถ้าดำเนินการตามระบอบรัฐสภาจะต้องแพ้ฝ่ายอื่นแน่นอน จึงใช้ระบบเลื่อนเปิดสภา เลื่อนไปเรื่อยๆ บั้นปลายท้ายที่สุด จนกำเนิดเปิดสภาไปถึงวันที่ 5 มกราคม ค.ศ.1918
ฝ่ายการเมืองอื่นๆ ที่ร่วมล้มรัฐบาลของพระเจ้าซาร์มาด้วยกัน จึงเริ่มไม่ยอมเลนิน และร่วมกันตั้งสหภาพเพื่อปกป้องสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนของสภาโซเวียตเปโตรกราด สหภาพแรงงาน และพรรคสังคมนิยมต่างๆ
เลนินก็สู้ด้วยการเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ปราฟดา ชี้ให้เห็นว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชน เพราะตั้งแต่การปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ.1917 มวลมหาประชาชนหนุนฝ่ายปฏิวัติจนล้มพระเจ้าซาร์ได้ แต่การเลือกตั้งพวกที่เป็นกลุ่มการเมืองฝ่ายขวากลับชนะ ดังนั้น การเลือกตั้งเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ.1917 จึงเป็นการเลือกตั้งจอมปลอม
พวกที่หลอกมวลชนก็เป็นเหมือนกันทั่วโลก ตอนแรกก็ขอร้องให้มวลมหาประชาชนล้มพระเจ้าซาร์ และจะจัดให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่พอฝ่ายตัวเองแพ้เลือกตั้ง ก็บอกว่านี่มันสภาจอมปลอม ข้าพเจ้าไม่เอาดีกว่า
พอเลือกตั้งแพ้ เลนินก็ประกาศว่า สาธารณรัฐโซเวียตเท่านั้นที่เป็นรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยที่สูงสุด เหนือกว่ารูปแบบสาธารณรัฐปกครองของผู้คนชนชั้นกระฎุมพี และเหนือกว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ข้าพเจ้าขอเปลี่ยนใจ ไม่ใช้วิธีการเลือกตั้งแล้ว แต่ข้าพเจ้าจะขอใช้วิธีอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งสภาโซเวียต มวลมหาประชาชนที่เคารพรักทั้งหลาย โปรดเชื่อข้าพเจ้าเถิด สภาโซเวียตมีความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์กว่าการที่ประชาชนคนทั้งประเทศมาหย่อนบัตรเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ใครอยากอ่านบทความชิ้นนี้ของเลนิน ก็ไปค้นได้ในหนังสือ พิมพ์ปราฟดา ฉบับ 13 ธันวาคม ค.ศ.1917 ชื่อบทความว่า Theses on the Constituent Assembly ไม่กี่วันต่อมา เลนินก็เขียนบท ความอีก ชื่อ The Proletarian Revolution and the Renegade Kautsky บอกว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นรูปแบบสูงสุดของประชาธิปไตยที่ใช้กันในโลกทั่วไปนั้น เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย การสนับสนุนสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อไปถือว่าเป็นการทรยศ และการจะยุบสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นความชอบธรรม
พวกบ้าลุงเลนินอย่างหัวปักหัวปําอ่านบทความทั้งสองชิ้นนั้นแล้วก็ยึดถือเป็นสรณะ ออกโจมตีว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นพวกทรยศ ทั้งที่ตามความเป็นจริงแล้ว การเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีขึ้นหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม และในตอนแรก ลุงเลนินนี่แหละ เป็นตัวตั้งตัวตีที่สุดในการสนับสนุนการเลือกตั้ง แต่พอฝ่ายบอลเชวิคของตนเองได้ สสร. เพียง 175 คน ก็ไม่เอาสภาร่างรัฐธรรมนูญซะแล้ว
สหภาพเพื่อปกป้องสภาร่างรัฐธรรมนูญจึงออกมาเคลื่อนไหวโต้ตอบความเห็นของเลนิน และยืนยันว่า เมื่อประชาชนทั้งประเทศเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมาแล้ว ก็ควรเปิดสภาฯ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญที่จะเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองพวกเราทุกผู้ทุกนาม จากนั้น สหภาพเพื่อปกป้องฯ ก็จัดให้มีการเดินขบวนอย่างสันติในวันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ก่อนเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ 1 วัน รัฐบาลโซเวียตที่ได้มาจากการปฏิวัติโดยมวลมหาประชาชนก็ประกาศกฎอัยการศึก ห้ามจัดชุมนุม
ระวังเหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดกับในบางประเทศนะครับ
*****************************
หลายคนชอบอ้างว่าที่ออกไปชุมนุมนั้น ไม่ได้เชียร์ปชป. ไม่ได้ชอบสุเทพ แค่อยากจะใช้สุเทพ เป็นเครื่องมือ ไล่ระบอบทักษิณ อ่าน แล้วก็คิดซะใหม่นะครับ
พวกท่านคิดหรือว่าพรรคปชป ที่ลงทุนลงแรงสุดตัวไปกับการชุมนุมครั้งนี้ จะยอมให้พวกท่านหลอกใช้ได้ ตัวอย่างในรัสเซียมีให้เห็นแล้ว ถ้าจะยัง กินขรี้อี้นอน ออกไปอีกก็แล้วแต่นะครับ ถึงเวลาพวกท่านอาจเห็นได้ว่า สุเทพกับเลนินนั้น อาจจะมีอะไรเหมิอนๆกัน แต่ถ้าท่านอ่านบทความนี้แล้วเริ่มหงุดหงิด แสดงว่าท่านเริ่มตาสว่างแล้วครับ อิ๊อิ๊