กีดกันค้าโลกฟัดเดือด "ไทยอ่วม" 12 คู่ค้ารุมกีดกันนำเข้า
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/451623
กีดกันค้าโลกฟัดเดือด ไทยอ่วม 12 คู่ค้า เปิดไต่สวนทุ่มตลาด การอุดหนุน และเซฟการ์ด 35 รายการ ชี้แนวโน้มการใช้มาตรการยังรุนแรง หลังโควิดทำสินค้าล้นตลาดโลก ต้องเร่งหาที่ระบาย
สถานการณ์กีดกันการค้าระหว่างประเทศยังแรงไม่ตก ล่าสุดข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุ ณ ปัจจุบัน มีประเทศคู่ค้าใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด(AD) สินค้าไทยรวม 103 รายการ จาก 16 ประเทศ แบ่งเป็น 1.สินค้าที่อยู่ในระหว่างถูกเรียกเก็บอากรเอดี รวม 75 รายการ จาก 14 ประเทศ 2.สินค้าที่อยู่ระหว่างการไต่สวนเพื่อกำหนดมาตรการเอดี 14 รายการ จาก 4 ประเทศและ 3.สินค้าที่อยู่ระหว่างการเปิดทบทวนเพื่อต่ออายุมาตรการเอดี หรือทบทวนเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราอากรเอดี 15 รายการ จาก 9 ประเทศ
มาตรการตอบโต้การอุดหนุน(CVD) มีสินค้าที่อยู่ระหว่างการทบทวนเพื่อต่ออายุมาตรการซีวีดี 2 รายการ จาก 2 ประเทศ และสินค้าที่อยู่ระหว่างการไต่สวนเพื่อใช้มาตรการซีวีดี 2 รายการจาก 2 ประเทศ และมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นมาก(Safeguard : SG ) มีสินค้าไทยที่อยู่ระหว่างถูกเรียกเก็บอากรเซฟการ์ด รวม 11 รายการจาก 9 ประเทศ และมีสินค้าไทยที่อยู่ระหว่างถูกไต่สวนเพื่อกำหนดมาตรการเซฟการ์ด 19 รายการ จาก 8 ประเทศ รวมทั้ง 3 มาตรการ(AD / CVD / Safeguard) ขณะนี้มีคู่ค้าเปิดไต่ส่วนเพื่อใช้มาตรการกับไทยรวมสินค้า 35 รายการ จาก 12 กลุ่มประเทศ (อินเดีย สหรัฐฯ เวียดนาม อียิปต์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ยูเครน ตุรกี กลุ่ม GCC กลุ่ม States of the Gulf แอฟริกาใต้)
นาย
กีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.)กระทรวงพาณิชย์ เผยกับ
“ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การกีดกันการค้ามีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่วนหนึ่งผลจากโควิด-19 ทำให้การค้าโลกหดตัว สินค้าจากประเทศผู้ผลิต ต้องเร่งระบายเพื่อประคองธุรกิจ กลยุทธ์ที่สำคัญคือการขายราคาตํ่าเพื่อแย่งชิงลูกค้า ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการหรืออุตสาหกรรมภายในของแต่ละประเทศ ในส่วนของไทยกรณีมีสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาทุ่มตลาดโดยขายในราคาตํ่ากว่าราคาขายในประเทศต้นทาง หรือขายตํ่ากว่าต้นทุน ภาคเอกชนที่ได้รับกระทบสามารถยื่นเรื่องและข้อมูลต่อคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนที่มีรัฐมนตรีว่การกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานเพื่อขอให้เปิดไต่สวนได้
“ล่าสุดไทยถูกเวียดนามเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้านํ้าตาล(เปิดไต่สวน 21 ก.ย.63) ซึ่งจะได้เชิญผู้ส่งออก นํ้าตาลมาหารือ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง และอธิบายขั้นตอนการแก้ต่าง รวมถึงให้ทูตพาณิชย์ช่วยประสานงานต่อไป”
นาย
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า หลายฝ่ายมีความกังวลว่าสินค้าจีนที่มาผลิตในไทยจะส่งออกไปขายในราคาตํ่าและอาจถูกสหรัฐฯ หรือประเทศคู่ค้าเปิดไต่เพื่อใช้มาตรการเอดี/ซีวีดี หรือเซฟการ์ด ทำให้สินค้าของผู้ประกอบการไทยถูกใช้มาตรการไปด้วย ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในสินค้ายางรถยนต์ที่สหรัฐฯอยู่ระหว่างเปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการเอดีกับยางรถยนต์ที่นำเข้าจากประเทศไทย(ผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นจีน) กรณีที่อาจเกิดขึ้นกับหลายสินค้าในลักษณะเช่นนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา ไม่เช่นนั้นจะกระทบส่งออกไทยระยะยาว
ดร.
อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวว่ามาตรการกีดกันการค้าที่จะมาแรงในยุคโควิด คือมาตรการด้านสุขอนามัย (SPS) และมาตรการอุปสรรคทางเทคนิค(TBT)ของแต่ละประเทศที่จะมีความเข้มข้น ขึ้นเพราะประเทศคู่ค้าไม่มั่นใจว่าสินค้านำเข้าจะปลอดภัยจากโควิด
“ขอเสนอให้รัฐบาลไปตรวจสอบเพื่อรับรองโรงงานว่าในขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นนํ้าถึงปลายนํ้า ทั้งการคัดเลือกวัตถุดิบรถขนเข้าโรงงาน และการแปรรูป พนักงานและคนงานในทุกขั้นตอนมีการใส่หน้ากากอนามัย มีสเปรย์ฉีดพ่นฆ่าเชื้อ มีเจลล้างมือ มีการตรวจวัดอุณหภูมิ และอื่นๆโดยจัดทำเป็นคลิปให้ลูกค้า รวมถึงผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองรัฐบาลอาจออกเป็นสติ๊กเกอร์ติดที่ผลิตภัณฑ์สินค้าส่งออกว่าปลอดจากโควิด(COVID FREE) โดยมีหน่วยงานให้การรับรองเพื่อสร้างจุดขายใหม่ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า เป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส”
"ประเสริฐ" จี้รายวัน รัฐ "ชักฟืนออกจากกองไฟ" เร่งแก้รธน. หยุดขัดแย้ง
https://www.thairath.co.th/news/politic/1945180
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย จี้รายวัน รัฐบาล "ชักฟืนออกจากกองไฟ" เจรจากับกลุ่มม็อบนศ. แต่ที่ผ่านมาเลือก "ราดน้ำมันเข้ากองไฟ" ส่งผลให้ขัดแย้งขยายใหญ่ขึ้น ชี้ เร่งแก้รธน. คือคำตอบ หยุดความขัดแย้ง
วันที่ 5 ต.ค. นาย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา ในฐานะเป็นเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาอีก 30 วัน ก่อนที่จะมีการลงมตินั้น เป็นการรอสัญญาณจากผู้มีอำนาจว่าจะตัดสินใจอย่างไรมากกว่า ทั้งนี้เชื่อรัฐบาลประเมินสถานการณ์ทางการเมืองก่อนตัดสินใจ ทั้งนี้รัฐบาลต้องแสดงความจริงใจในการต้องการแก้ปัญหาประเทศมากกว่านี้
กรณีที่มีกระแสข่าวว่า พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ส่งสัญญาณให้พรรคร่วมรัฐบาลและสมาชิกวุฒิสภารับหลักการญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือเป็นสัญญาณทีดี เพราะหากรัฐบาลมีความชัดเจนและจริงใจที่ประเทศจะเดินไปข้างหน้า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้
นาย
ประเสริฐ กล่าวด้วยว่า ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาลที่ไม่ฟังเสียงประชาชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่ผ่านมารัฐบาลไม่พยายามพูดคุยหรือให้ความสนใจในข้อเรียกร้องว่ามีอะไรที่ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่รัฐบาลใช้การโจมตีการจัดกิจกรรมของเยาวชน ว่า ผิดกฎหมาย หรือไม่เคารพกฎหมาย หากรัฐเปลี่ยนแนวคิดจากโจมตีมาเป็นการเจรจา หรือพูดคุยกับกลุ่มเยาวชน จะเป็นการชักฟืนออกจากกองไฟ ด้วยการเจรจาเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่รัฐบาลกลับเลือกที่จะราดน้ำมันเข้ากองไฟ ส่งผลให้ความขัดแย้งขยายใหญ่ขึ้น.
JJNY : ไทยอ่วม 12คู่ค้ารุมกีดกันนำเข้า/ประเสริฐจี้รัฐเร่งแก้รธน./75นักวิชาการแถลงจี้อปท.ลาออก/เครือข่ายสลัม4ภาคทวงถามรบ.
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/451623
กีดกันค้าโลกฟัดเดือด ไทยอ่วม 12 คู่ค้า เปิดไต่สวนทุ่มตลาด การอุดหนุน และเซฟการ์ด 35 รายการ ชี้แนวโน้มการใช้มาตรการยังรุนแรง หลังโควิดทำสินค้าล้นตลาดโลก ต้องเร่งหาที่ระบาย
สถานการณ์กีดกันการค้าระหว่างประเทศยังแรงไม่ตก ล่าสุดข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุ ณ ปัจจุบัน มีประเทศคู่ค้าใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด(AD) สินค้าไทยรวม 103 รายการ จาก 16 ประเทศ แบ่งเป็น 1.สินค้าที่อยู่ในระหว่างถูกเรียกเก็บอากรเอดี รวม 75 รายการ จาก 14 ประเทศ 2.สินค้าที่อยู่ระหว่างการไต่สวนเพื่อกำหนดมาตรการเอดี 14 รายการ จาก 4 ประเทศและ 3.สินค้าที่อยู่ระหว่างการเปิดทบทวนเพื่อต่ออายุมาตรการเอดี หรือทบทวนเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราอากรเอดี 15 รายการ จาก 9 ประเทศ
มาตรการตอบโต้การอุดหนุน(CVD) มีสินค้าที่อยู่ระหว่างการทบทวนเพื่อต่ออายุมาตรการซีวีดี 2 รายการ จาก 2 ประเทศ และสินค้าที่อยู่ระหว่างการไต่สวนเพื่อใช้มาตรการซีวีดี 2 รายการจาก 2 ประเทศ และมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นมาก(Safeguard : SG ) มีสินค้าไทยที่อยู่ระหว่างถูกเรียกเก็บอากรเซฟการ์ด รวม 11 รายการจาก 9 ประเทศ และมีสินค้าไทยที่อยู่ระหว่างถูกไต่สวนเพื่อกำหนดมาตรการเซฟการ์ด 19 รายการ จาก 8 ประเทศ รวมทั้ง 3 มาตรการ(AD / CVD / Safeguard) ขณะนี้มีคู่ค้าเปิดไต่ส่วนเพื่อใช้มาตรการกับไทยรวมสินค้า 35 รายการ จาก 12 กลุ่มประเทศ (อินเดีย สหรัฐฯ เวียดนาม อียิปต์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ยูเครน ตุรกี กลุ่ม GCC กลุ่ม States of the Gulf แอฟริกาใต้)
นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.)กระทรวงพาณิชย์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การกีดกันการค้ามีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่วนหนึ่งผลจากโควิด-19 ทำให้การค้าโลกหดตัว สินค้าจากประเทศผู้ผลิต ต้องเร่งระบายเพื่อประคองธุรกิจ กลยุทธ์ที่สำคัญคือการขายราคาตํ่าเพื่อแย่งชิงลูกค้า ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการหรืออุตสาหกรรมภายในของแต่ละประเทศ ในส่วนของไทยกรณีมีสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาทุ่มตลาดโดยขายในราคาตํ่ากว่าราคาขายในประเทศต้นทาง หรือขายตํ่ากว่าต้นทุน ภาคเอกชนที่ได้รับกระทบสามารถยื่นเรื่องและข้อมูลต่อคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนที่มีรัฐมนตรีว่การกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานเพื่อขอให้เปิดไต่สวนได้
“ล่าสุดไทยถูกเวียดนามเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้านํ้าตาล(เปิดไต่สวน 21 ก.ย.63) ซึ่งจะได้เชิญผู้ส่งออก นํ้าตาลมาหารือ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง และอธิบายขั้นตอนการแก้ต่าง รวมถึงให้ทูตพาณิชย์ช่วยประสานงานต่อไป”
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า หลายฝ่ายมีความกังวลว่าสินค้าจีนที่มาผลิตในไทยจะส่งออกไปขายในราคาตํ่าและอาจถูกสหรัฐฯ หรือประเทศคู่ค้าเปิดไต่เพื่อใช้มาตรการเอดี/ซีวีดี หรือเซฟการ์ด ทำให้สินค้าของผู้ประกอบการไทยถูกใช้มาตรการไปด้วย ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในสินค้ายางรถยนต์ที่สหรัฐฯอยู่ระหว่างเปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการเอดีกับยางรถยนต์ที่นำเข้าจากประเทศไทย(ผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นจีน) กรณีที่อาจเกิดขึ้นกับหลายสินค้าในลักษณะเช่นนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา ไม่เช่นนั้นจะกระทบส่งออกไทยระยะยาว
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวว่ามาตรการกีดกันการค้าที่จะมาแรงในยุคโควิด คือมาตรการด้านสุขอนามัย (SPS) และมาตรการอุปสรรคทางเทคนิค(TBT)ของแต่ละประเทศที่จะมีความเข้มข้น ขึ้นเพราะประเทศคู่ค้าไม่มั่นใจว่าสินค้านำเข้าจะปลอดภัยจากโควิด
“ขอเสนอให้รัฐบาลไปตรวจสอบเพื่อรับรองโรงงานว่าในขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นนํ้าถึงปลายนํ้า ทั้งการคัดเลือกวัตถุดิบรถขนเข้าโรงงาน และการแปรรูป พนักงานและคนงานในทุกขั้นตอนมีการใส่หน้ากากอนามัย มีสเปรย์ฉีดพ่นฆ่าเชื้อ มีเจลล้างมือ มีการตรวจวัดอุณหภูมิ และอื่นๆโดยจัดทำเป็นคลิปให้ลูกค้า รวมถึงผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองรัฐบาลอาจออกเป็นสติ๊กเกอร์ติดที่ผลิตภัณฑ์สินค้าส่งออกว่าปลอดจากโควิด(COVID FREE) โดยมีหน่วยงานให้การรับรองเพื่อสร้างจุดขายใหม่ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า เป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส”
"ประเสริฐ" จี้รายวัน รัฐ "ชักฟืนออกจากกองไฟ" เร่งแก้รธน. หยุดขัดแย้ง
https://www.thairath.co.th/news/politic/1945180
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย จี้รายวัน รัฐบาล "ชักฟืนออกจากกองไฟ" เจรจากับกลุ่มม็อบนศ. แต่ที่ผ่านมาเลือก "ราดน้ำมันเข้ากองไฟ" ส่งผลให้ขัดแย้งขยายใหญ่ขึ้น ชี้ เร่งแก้รธน. คือคำตอบ หยุดความขัดแย้ง
วันที่ 5 ต.ค. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา ในฐานะเป็นเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาอีก 30 วัน ก่อนที่จะมีการลงมตินั้น เป็นการรอสัญญาณจากผู้มีอำนาจว่าจะตัดสินใจอย่างไรมากกว่า ทั้งนี้เชื่อรัฐบาลประเมินสถานการณ์ทางการเมืองก่อนตัดสินใจ ทั้งนี้รัฐบาลต้องแสดงความจริงใจในการต้องการแก้ปัญหาประเทศมากกว่านี้
กรณีที่มีกระแสข่าวว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ส่งสัญญาณให้พรรคร่วมรัฐบาลและสมาชิกวุฒิสภารับหลักการญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือเป็นสัญญาณทีดี เพราะหากรัฐบาลมีความชัดเจนและจริงใจที่ประเทศจะเดินไปข้างหน้า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้
นายประเสริฐ กล่าวด้วยว่า ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาลที่ไม่ฟังเสียงประชาชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่ผ่านมารัฐบาลไม่พยายามพูดคุยหรือให้ความสนใจในข้อเรียกร้องว่ามีอะไรที่ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่รัฐบาลใช้การโจมตีการจัดกิจกรรมของเยาวชน ว่า ผิดกฎหมาย หรือไม่เคารพกฎหมาย หากรัฐเปลี่ยนแนวคิดจากโจมตีมาเป็นการเจรจา หรือพูดคุยกับกลุ่มเยาวชน จะเป็นการชักฟืนออกจากกองไฟ ด้วยการเจรจาเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่รัฐบาลกลับเลือกที่จะราดน้ำมันเข้ากองไฟ ส่งผลให้ความขัดแย้งขยายใหญ่ขึ้น.