ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดใหม่ 21,088 ราย ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.65 กว่า 1.5 ล้านราย เสียชีวิต 91 คน
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3271899
ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดใหม่ 21,088 ราย ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.65 กว่า 1.5 ล้านราย เสียชีวิต 91 คน
เมื่อวันที่ 5 เมษายน ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอังคารที่ 5 เมษายน 2565 รวม 21,088 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 20,995 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 93 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,534,140 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยติดเชื้อเข้าข่าย (ATK) 10,884 ราย สะสม 1,168,466 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 27,519 ราย หายป่วยสะสม 1,313,333 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 250,145 ราย เสียชีวิต 91 ราย
ขณะที่จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,862 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 24 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 28.3 ผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลสนาม 186,097 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 781 ราย
สำหรับ 11 จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อสูงสุด อันดับ 1 ยังคงเป็น กทม. 2.ชลบุรี 3.นนทบุรี 4.สมุทรปราการ 5.นครศรีธรรมราช 6.สมุทรสาคร 7.นครปฐม 8.บุรีรัมย์ 9.ระยอง 10.สงขลา 11.ฉะเชิงเทรา
อาหารกระป๋องจี้รัฐ 'ขยายเวลา' เก็บภาษีเหล็ก
https://www.nationtv.tv/news/378869032
สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป จะทำหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ขยายเวลาการชะลอการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด สินค้าเหล็กสำหรับผลิตกระป๋อง คือเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมที่นำเข้าจากจีน เกาหลี ไต้หวันและสหภาพยุโรปออกไปอีก 6 เดือน
รองประธานหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ระบุ สมาคมฯ จะทำหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ขยายเวลาการชะลอการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด หรือเอดี สินค้าเหล็กสำหรับผลิตกระป๋อง คือเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมที่นำเข้าจากจีน เกาหลี ไต้หวันและสหภาพยุโรปออกไปอีก 6 เดือน คือระหว่างเดือน มิถุนายน-พฤศจิกายน 2565 จากเดิมที่จะครบกำหนดเวลาผ่อนผันการชะลอเก็บในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้
สาเหตุที่ขอขยายเวลาการชะลอเก็บภาษี เพื่อบรรเทาปัญหาภาระต้นทุนวัตถุดิบเหล็กม้วนที่ทำกระป๋องให้กับภาคอุตสาหกรรมอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นมาก จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมทั้งผลกระทบช่วงก่อนหน้านี้ที่จีนลดกำลังการผลิต
หากคิดเฉพาะผลกระทบกรณีจีนลดกำลังการผลิตยังไม่รวมผลกระทบกรณีสงคราม พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ราคาเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกปรับเพิ่มขึ้น 88% โดยเพิ่มเป็น 51,015 บาทต่อตันในข่วงเดือนธันวาคม 2564 จาก 27,058 บาทต่อตันในช่วงเดือนมกราคม 2563
ส่วนราคาเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมปรับเพิ่มขึ้น 85% โดยเพิ่มเป็น 48,790 บาทต่อตัน จาก26,415 บาทต่อตัน
นอกจากราคาเหล็กแผ่นจะปรับตัวสูงขึ้นแล้ว ขณะนี้เริ่มขาดแคลนหนัก เพราะรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่หยุดส่งออก ทำให้ผู้ใช้จากประเทศอื่นเข้ามาแย่งซื้อเหล็กในตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทย ทำให้ราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง
สมาคมฯ เห็นว่ากระทรวงพาณิชย์ควรช่วยดูแลต้นทุนให้ผู้ประกอบการ โดยชะลอการเก็บภาษีเอดีออกไปก่อน ซึ่งถือเป็นการช่วยดูแลเรื่องต้นทุนราคาอาหารสำเร็จรูปให้กับผู้บริโภคด้วย เพราะปัจจุบันอาหารกระป๋องมีสัดส่วนสูงถึง 70-80% ของสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารทั้งหมด รวมทั้งยังช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมอาหารไทยด้วย
ล่าสุดผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมฯ เช่น ปลากระป๋อง ผักกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ได้ทยอยยื่นขอปรับขึ้นราคาไปยังกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์แล้ว
ด้านรองอธิบดีกรมการค้าภายใน ร.ต.
จักรา ยอดมณี ระบุ สัปดาห์นี้กรมฯจะเรียกผู้ผลิตสินค้ากลุ่มซอสปรุงรสและผงซักฟอก มาหารือเพื่อกำชับในเรื่องราคา และเตรียมประชุมร่วมกับห้างค้าส่งค้าปลีก เพื่อติดตามสถานการณ์ราคาและปริมาณสินค้า และให้มีการเตรียมสต็อกสินค้าให้เพียงพอต่อการจำหน่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่อนุมัติให้ผู้ประกอบการปรับขึ้นราคาขายปลีกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ 18 หมวด ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หมวดอาหารสด เช่น ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ อาหารกระป๋อง ข้าวสารถุง ซอสปรุงรส น้ำมันพืช น้ำอัดลม นมและผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ เหล็ก ปูนซีเมนต์ กระดาษ ยาเวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ บริการผ่านห้างค้าปลีก-ส่ง
หอการค้าฯจี้รัฐเปิดต่างชาติเข้าไทย 'เสรี'
https://www.nationtv.tv/news/378869041
หอการค้าไทยกระตุ้นรัฐเปิดประเทศเต็มรูปแบบเร่งประกาศโควิดเป็นโรคประจำถิ่น เดินหน้าฟื้นเศรษฐกิจ หนุนรัฐขยายมาตรการคนละครึ่งกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายประชาชนถึงสิ้นปีหลังเฟสที่ 4 จะสิ้นสุดเมษายนนี้
ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
สนั่น อังอุบลกุล ระบุ ประเทศไทยควรเปิดประเทศแบบเต็มรูปแบบ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวทางเศรษฐกิจ ไม่ให้เป็นภาระและเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักเดินทาง ซึ่งหลายประเทศก็ได้ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวแล้ว เชื่อว่าจะสร้างบรรยากาศในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศได้มากขึ้น
ทั้งนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันยังประสบปัญหาหลายอย่าง เช่นเรื่องโควิดที่ยังระบาดอยู่ และมีมาตรการหลายอย่างที่ทำให้เดินหน้าเศรษฐกิจได้ไม่เต็มที่ ควรเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทั่วประเทศให้เกิน 70% แล้วประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่นโดยเร็ว เพราะไทยต้องพึ่งพิงทั้งการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนกับต่างชาติ การประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่นได้เร็วจะช่วยเรียกความเชื่อมั่นกลับมา
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับผลกระทบทางอ้อมจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ส่งผลให้ต้องเผชิญกับสินค้าราคาแพงขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะมีแผนช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชนบ้างแล้วแต่คงยังไม่พอ และอาจไม่ทันต่อสถานการณ์
ภาคเอกชนประเมินว่าการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเป็นเรื่องสำคัญ อยากให้ภาครัฐพิจารณาต่อมาตรการคนละครึ่งในเฟสต่อไปจนถึงสิ้นปี 2565 หลังเฟสที่ 4 กำลังจะหมดในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งมีเม็ดเงินในระบบสะพัดแล้วกว่า 6.4 หมื่นล้านบาท เป็นมาตรการที่ได้ประโยชน์และบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย พร้อมเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชนได้จริง เชื่อว่าจะช่วยลดแรงกดดันที่ต้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จากภาวะสินค้าราคาแพงได้อีกด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลควรเร่งนำเรื่องขยายเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% เป็น 70% ผ่านสภาฯ เพื่อให้รัฐบาลสามารถกู้เงินมากระตุ้นและพยุงเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้เพดานหนี้ใกล้เต็ม 60% แล้วเงินกู้เดิมเหลือเพียง 7 หมื่นล้านบาท การกู้เงินเพิ่มมากระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยทั้งการสร้างงาน สร้างรายได้ ลดภาระหนี้ เพื่อรีบูทเศรษฐกิจ และดูแลกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้ฟื้นตัว
JJNY : ติดเชื้อ21,088 เสียชีวิต91│อาหารกระป๋องจี้'ขยายเวลา'เก็บภาษีเอดี│หอค้าฯจี้รัฐเปิดเข้าไทย'เสรี'│‘ปิยบุตร’เดือดจัด
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3271899
ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดใหม่ 21,088 ราย ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.65 กว่า 1.5 ล้านราย เสียชีวิต 91 คน
เมื่อวันที่ 5 เมษายน ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอังคารที่ 5 เมษายน 2565 รวม 21,088 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 20,995 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 93 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,534,140 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยติดเชื้อเข้าข่าย (ATK) 10,884 ราย สะสม 1,168,466 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 27,519 ราย หายป่วยสะสม 1,313,333 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 250,145 ราย เสียชีวิต 91 ราย
ขณะที่จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,862 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 24 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 28.3 ผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลสนาม 186,097 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 781 ราย
สำหรับ 11 จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อสูงสุด อันดับ 1 ยังคงเป็น กทม. 2.ชลบุรี 3.นนทบุรี 4.สมุทรปราการ 5.นครศรีธรรมราช 6.สมุทรสาคร 7.นครปฐม 8.บุรีรัมย์ 9.ระยอง 10.สงขลา 11.ฉะเชิงเทรา
อาหารกระป๋องจี้รัฐ 'ขยายเวลา' เก็บภาษีเหล็ก
https://www.nationtv.tv/news/378869032
สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป จะทำหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ขยายเวลาการชะลอการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด สินค้าเหล็กสำหรับผลิตกระป๋อง คือเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมที่นำเข้าจากจีน เกาหลี ไต้หวันและสหภาพยุโรปออกไปอีก 6 เดือน
รองประธานหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ระบุ สมาคมฯ จะทำหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ขยายเวลาการชะลอการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด หรือเอดี สินค้าเหล็กสำหรับผลิตกระป๋อง คือเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมที่นำเข้าจากจีน เกาหลี ไต้หวันและสหภาพยุโรปออกไปอีก 6 เดือน คือระหว่างเดือน มิถุนายน-พฤศจิกายน 2565 จากเดิมที่จะครบกำหนดเวลาผ่อนผันการชะลอเก็บในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้
สาเหตุที่ขอขยายเวลาการชะลอเก็บภาษี เพื่อบรรเทาปัญหาภาระต้นทุนวัตถุดิบเหล็กม้วนที่ทำกระป๋องให้กับภาคอุตสาหกรรมอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นมาก จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมทั้งผลกระทบช่วงก่อนหน้านี้ที่จีนลดกำลังการผลิต
หากคิดเฉพาะผลกระทบกรณีจีนลดกำลังการผลิตยังไม่รวมผลกระทบกรณีสงคราม พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ราคาเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกปรับเพิ่มขึ้น 88% โดยเพิ่มเป็น 51,015 บาทต่อตันในข่วงเดือนธันวาคม 2564 จาก 27,058 บาทต่อตันในช่วงเดือนมกราคม 2563
ส่วนราคาเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมปรับเพิ่มขึ้น 85% โดยเพิ่มเป็น 48,790 บาทต่อตัน จาก26,415 บาทต่อตัน
นอกจากราคาเหล็กแผ่นจะปรับตัวสูงขึ้นแล้ว ขณะนี้เริ่มขาดแคลนหนัก เพราะรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่หยุดส่งออก ทำให้ผู้ใช้จากประเทศอื่นเข้ามาแย่งซื้อเหล็กในตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทย ทำให้ราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง
สมาคมฯ เห็นว่ากระทรวงพาณิชย์ควรช่วยดูแลต้นทุนให้ผู้ประกอบการ โดยชะลอการเก็บภาษีเอดีออกไปก่อน ซึ่งถือเป็นการช่วยดูแลเรื่องต้นทุนราคาอาหารสำเร็จรูปให้กับผู้บริโภคด้วย เพราะปัจจุบันอาหารกระป๋องมีสัดส่วนสูงถึง 70-80% ของสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารทั้งหมด รวมทั้งยังช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมอาหารไทยด้วย
ล่าสุดผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมฯ เช่น ปลากระป๋อง ผักกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ได้ทยอยยื่นขอปรับขึ้นราคาไปยังกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์แล้ว
ด้านรองอธิบดีกรมการค้าภายใน ร.ต.จักรา ยอดมณี ระบุ สัปดาห์นี้กรมฯจะเรียกผู้ผลิตสินค้ากลุ่มซอสปรุงรสและผงซักฟอก มาหารือเพื่อกำชับในเรื่องราคา และเตรียมประชุมร่วมกับห้างค้าส่งค้าปลีก เพื่อติดตามสถานการณ์ราคาและปริมาณสินค้า และให้มีการเตรียมสต็อกสินค้าให้เพียงพอต่อการจำหน่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่อนุมัติให้ผู้ประกอบการปรับขึ้นราคาขายปลีกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ 18 หมวด ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หมวดอาหารสด เช่น ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ อาหารกระป๋อง ข้าวสารถุง ซอสปรุงรส น้ำมันพืช น้ำอัดลม นมและผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ เหล็ก ปูนซีเมนต์ กระดาษ ยาเวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ บริการผ่านห้างค้าปลีก-ส่ง
หอการค้าฯจี้รัฐเปิดต่างชาติเข้าไทย 'เสรี'
https://www.nationtv.tv/news/378869041
หอการค้าไทยกระตุ้นรัฐเปิดประเทศเต็มรูปแบบเร่งประกาศโควิดเป็นโรคประจำถิ่น เดินหน้าฟื้นเศรษฐกิจ หนุนรัฐขยายมาตรการคนละครึ่งกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายประชาชนถึงสิ้นปีหลังเฟสที่ 4 จะสิ้นสุดเมษายนนี้
ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สนั่น อังอุบลกุล ระบุ ประเทศไทยควรเปิดประเทศแบบเต็มรูปแบบ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวทางเศรษฐกิจ ไม่ให้เป็นภาระและเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักเดินทาง ซึ่งหลายประเทศก็ได้ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวแล้ว เชื่อว่าจะสร้างบรรยากาศในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศได้มากขึ้น
ทั้งนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันยังประสบปัญหาหลายอย่าง เช่นเรื่องโควิดที่ยังระบาดอยู่ และมีมาตรการหลายอย่างที่ทำให้เดินหน้าเศรษฐกิจได้ไม่เต็มที่ ควรเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทั่วประเทศให้เกิน 70% แล้วประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่นโดยเร็ว เพราะไทยต้องพึ่งพิงทั้งการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนกับต่างชาติ การประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่นได้เร็วจะช่วยเรียกความเชื่อมั่นกลับมา
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับผลกระทบทางอ้อมจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ส่งผลให้ต้องเผชิญกับสินค้าราคาแพงขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะมีแผนช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชนบ้างแล้วแต่คงยังไม่พอ และอาจไม่ทันต่อสถานการณ์
ภาคเอกชนประเมินว่าการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเป็นเรื่องสำคัญ อยากให้ภาครัฐพิจารณาต่อมาตรการคนละครึ่งในเฟสต่อไปจนถึงสิ้นปี 2565 หลังเฟสที่ 4 กำลังจะหมดในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งมีเม็ดเงินในระบบสะพัดแล้วกว่า 6.4 หมื่นล้านบาท เป็นมาตรการที่ได้ประโยชน์และบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย พร้อมเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชนได้จริง เชื่อว่าจะช่วยลดแรงกดดันที่ต้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จากภาวะสินค้าราคาแพงได้อีกด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลควรเร่งนำเรื่องขยายเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% เป็น 70% ผ่านสภาฯ เพื่อให้รัฐบาลสามารถกู้เงินมากระตุ้นและพยุงเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้เพดานหนี้ใกล้เต็ม 60% แล้วเงินกู้เดิมเหลือเพียง 7 หมื่นล้านบาท การกู้เงินเพิ่มมากระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยทั้งการสร้างงาน สร้างรายได้ ลดภาระหนี้ เพื่อรีบูทเศรษฐกิจ และดูแลกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้ฟื้นตัว