อย่างนี้ก็ได้หรอ? อุบเงียบอยู่ 3 อาทิตย์กว่าจะมีรายชื่อหลุด

เมื่อวันก่อนมีข่าวว่า เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือ EEC)  ยอมให้ “อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นเเนลฯ” จ้าง “นาริตะฯ” ช่วยบริหารสนามบินอู่ตะเภาได้


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสกพอ. กล่าวว่า
"บริษัทอู่ตะเภาฯ จะว่าจ้างบริษัท นาริตะ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาช่วยบริหารสนามบินอู่ตะเภา เนื่องจากสนามบินนาริตะ มีความคล้ายกับสนามบินอู่ตะเภาของไทย ซึ่งอยู่นอกเมืองและมีรถไฟฟ้าเป็นตัวเชื่อม"

นายอนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา กรรมการ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนลเอวิเอชั่น จำกัด (UTA) กล่าวว่า
“การจ้างบริษัทนาริตะฯ เข้ามาช่วยบริหารเป็นสัญญาจ้างเป็นช่วง อย่างการดึงเอาเทคโนโลยีสแกนใบหน้าเข้ามาใช้ในสนามบิน แทนการใช้พาสปอร์ตเพื่อเข้าหรือออกสนามบิน ซึ่งจะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ขึ้นมา เช่น ธุรกิจทำระบบสแกนใบหน้า เป็นต้น”


แล้วที่เคยลงข่าวบอกว่า
.. สำหรับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ประกอบด้วยบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ถือหุ้น 45% บริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ของนายคีรี กาญจนพาสน์ ถือหุ้น 35% และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูลชาญวีระกุล ถือหุ้น 20% โดยมีสนามบินนานาชาตินาริตะ ผู้บริหารสนามบินอันดับใหญ่ 1 ใน 3 ของโลก เป็นพันธมิตร ...

ตกลงว่า จะเป็นพันธมิตร หรือจะจ้างเป็นช่วงๆ กันแน่ ???

แต่ที่สำคัญ บริษัท นาริตะ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต คอร์ปอเรชั่น ไม่เคยมีชื่อในโผรายชื่อเอกชนที่มาร่วมซื้อซองประมูลเลยเนี่ยสิ

ที่มารูป : นสพ.แนวหน้า

วันที่ 21 มี.ค. 2563 มีรายชื่อ 3 กลุ่มผู้ร่วมประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

กลุ่มที่ 1 กลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด (บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด) และพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด และ Fraport AG Frankfurt Airport Services Worldwide จากเยอรมนี

กลุ่มที่ 2 กลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ประกอบไปด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS), บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น

กลุ่มที่ 3 กลุ่มแกรนด์ คอนซอร์เตียม ประกอบไปด้วย บมจ.แกรนด์ แอสเสท โอเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ (GRAND) อยู่ในกลุ่ม บมจ.พร็อพเพอร์ซี่ เพอร์เฟค (PF) สัดส่วน 80%, บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (บริษัทย่อยของ บมจ.เอเชียเอวิเอชั่น (AAV)) ถือ 10% และ บมจ.คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) (CNT) ถือ 10% โดยมี GMR Airport Limited จากอินเดีย มาบริหารสนามบิน และ China Harbour Engineering Company Limited

หลังจากวันยื่นซองฯ ก็ไม่มีสื่อไหนได้ข้อมูลเลยว่า พันธมิตรของกลุ่ม BBS จะเป็นใคร สื่อต่างๆ ก็คาดการณ์กันว่า ทางบริษัท การบินกรุงเทพ อาจจะเป็นผู้บริหารสนามบินเอง เพราะมีสนามบินของตัวเองอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวหลายจังหวัด แต่พอมีข่าวหลุดเกี่ยวกับเงื่อนไข TOR สุดหินว่า จะต้องเป็น "ผู้บริหารสนามบินจากต่างประเทศที่ต้องมีประสบการณ์บริหารจัดการสนามบินที่มีผู้โดยสารเกิน 10 ล้านคน" ที่ผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละรายต้องหาให้ทันก่อนช่วงเวลายื่นซอง เลยไม่รู้ว่าเป็นการอ่านรายละเอียดผิด หรือตกหล่นยังไงของทีมเข้าร่วมประมูลฯ

จนเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์หลังจากการพิจารณาซองคุณสมบัติ (ตามระยะเวลาที่กำหนดจะใช้เวลาพิจารณาเพียง 1 สัปดาห์ แต่เลื่อนมาเรื่อยๆ จนเป็น 3 สัปดาห์) ถึงมีวิชานินจาของบริษัทประเทศญี่ปุ่นมุดมาโผล่กลางโครงการฯ นี้ อย่างงงๆ จนชื่อของ สนามบินนาริตะ เริ่มปรากฎตามหน้าสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่องในที่สุด

และยิ่งเป็นที่น่าสนใจขึ้นไปอีก ที่อยู่ดีๆ ทางเลขาธิการสกพอ. ทำไมต้องออกมาพูดเรื่องการจ้างบริษัท นาริตะ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาช่วยบริหารสนามบินอู่ตะเภาอีก หรือเป็นการช่วยตอกย้ำให้เอกชนผู้ชนะการประมูลดังกล่าว

อีกจุดน่าสนใจของการประมูลโครงการฯ นี้ ก็คือ ทำไมองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน และดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันแห่งประเทศไทย ที่มักจะออกมามีส่วนร่วมวิพากษ์วิจารณ์โครงการใหญ่ๆ อยู่เสมอ แต่พอเป็นโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกนี้ กลับเงียบสงบ จนผิดสังเกต

จนต้องมาร้อง อ๋อ  เมื่อมีข่าว ... BTS ร้ององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ชี้พิรุธประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม จนถึงบางอ้อถึงความสัมพันธ์ และความพยายามที่จะกดดันเพื่อส่งเสียงให้รัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา  ได้รับรู้ด้วยหรือเปล่า ก็คงต้องติดตามกันต่อไป ...

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่