วันนี้ถึงกำหนดวันยื่นซองประมูลโครงการพัฒนา
‘สนามบินอู่ตะเภา’ สู่
‘มหานครการบินภาคตะวันออก’ แม้ว่ามูลค่าการลงทุนของโครงการนี้จะสูงถึง 2.9 แสนล้านบาท แต่กลับมีเอกชนทั้งไทยและต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาซื้อซองประมูลกันมากถึง 42 ราย
โดยพื้นที่การบริหารของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้ถูกกำหนดให้เป็น
“เขตส่งเสริม เมืองการบินภาคตะวันออก” (พื้นที่เขตส่งเสริมเมืองการบินฯ) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการฯ ไปเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 และได้มีการเปิดขายเอกสารเชิญชวนให้เอกชนที่มีศักยภาพเข้าร่วมการคัดเลือกลงทุนในโครงการฯ ไปเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561 โดยเป็นการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ (Public Private Partnerships : PPP) คือการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐนั่นเอง
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าในการประมูลครั้งนี้จะมีผู้ประกอบการอย่างน้อย 3 กลุ่ม ที่จะเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ ได้แก่
1.กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งฯ ซึ่งคาดว่าจะจับมือกับพันธมิตรเดิมที่เข้าร่วมประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และเสริมทัพด้วยการดึงผู้บริหารจาก บริษัท Fraport AG Frankfurt Airport Services Worldwide (ฟราพอร์ท) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป
2.กลุ่มบีเอสอาร์ จับมือกับพันธมิตรเดิมที่ร่วมประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเช่นกัน และได้ดึง บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA รวมถึงผู้บริหารสนามบินจากยุโรปและเอเชียมาร่วมลงทุนด้วย
3.กลุ่ม Malaysia Airports Holding Berhad กลุ่มต่างชาติที่บริหารสนามบินกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งยังไม่เปิดเผยพันธมิตรคนไทยว่าจะจับมือร่วมกับใคร
โดยในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 62 นี้ จะเป็นวันที่กองทัพเรือเปิดให้เอกชนเข้ายื่นซองประกวดราคา และหลังจากนั้น จะใช้เวลาอีกราว 1 สัปดาห์ ในการตรวจสอบคุณสมบัติ และคาดว่าโครงการนี้จะได้ผู้ชนะประมูลประมาณสิ้นเดือน เม.ย. หรือต้นเดือน พ.ค.
สำหรับโครงการสนามบินอู่ตะเภา ที่เปิดทางให้เอกชนร่วมลงทุนในครั้งนี้ ถือเป็นการเสริมศักยภาพผลักดันให้สนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินระดับโลก อีกทั้งยังเป็นการยกระดับการพัฒนาพื้นที่ภายในสนามบินให้กลายเป็น
เมืองการบินภาคตะวันออก ยกระดับให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่การเป็น
ศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต
http://oknation.nationtv.tv/blog/sinesanddy2528/2019/03/19/entry-1
จับตาศึกประมูลโครงการอู่ตะเภา 3 กลุ่มชิงดำยื่นซองประมูล
วันนี้ถึงกำหนดวันยื่นซองประมูลโครงการพัฒนา ‘สนามบินอู่ตะเภา’ สู่ ‘มหานครการบินภาคตะวันออก’ แม้ว่ามูลค่าการลงทุนของโครงการนี้จะสูงถึง 2.9 แสนล้านบาท แต่กลับมีเอกชนทั้งไทยและต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาซื้อซองประมูลกันมากถึง 42 ราย
โดยพื้นที่การบริหารของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้ถูกกำหนดให้เป็น “เขตส่งเสริม เมืองการบินภาคตะวันออก” (พื้นที่เขตส่งเสริมเมืองการบินฯ) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการฯ ไปเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 และได้มีการเปิดขายเอกสารเชิญชวนให้เอกชนที่มีศักยภาพเข้าร่วมการคัดเลือกลงทุนในโครงการฯ ไปเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561 โดยเป็นการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ (Public Private Partnerships : PPP) คือการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐนั่นเอง
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าในการประมูลครั้งนี้จะมีผู้ประกอบการอย่างน้อย 3 กลุ่ม ที่จะเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ ได้แก่
1.กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งฯ ซึ่งคาดว่าจะจับมือกับพันธมิตรเดิมที่เข้าร่วมประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และเสริมทัพด้วยการดึงผู้บริหารจาก บริษัท Fraport AG Frankfurt Airport Services Worldwide (ฟราพอร์ท) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป
2.กลุ่มบีเอสอาร์ จับมือกับพันธมิตรเดิมที่ร่วมประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเช่นกัน และได้ดึง บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA รวมถึงผู้บริหารสนามบินจากยุโรปและเอเชียมาร่วมลงทุนด้วย
3.กลุ่ม Malaysia Airports Holding Berhad กลุ่มต่างชาติที่บริหารสนามบินกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งยังไม่เปิดเผยพันธมิตรคนไทยว่าจะจับมือร่วมกับใคร
โดยในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 62 นี้ จะเป็นวันที่กองทัพเรือเปิดให้เอกชนเข้ายื่นซองประกวดราคา และหลังจากนั้น จะใช้เวลาอีกราว 1 สัปดาห์ ในการตรวจสอบคุณสมบัติ และคาดว่าโครงการนี้จะได้ผู้ชนะประมูลประมาณสิ้นเดือน เม.ย. หรือต้นเดือน พ.ค.
สำหรับโครงการสนามบินอู่ตะเภา ที่เปิดทางให้เอกชนร่วมลงทุนในครั้งนี้ ถือเป็นการเสริมศักยภาพผลักดันให้สนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินระดับโลก อีกทั้งยังเป็นการยกระดับการพัฒนาพื้นที่ภายในสนามบินให้กลายเป็นเมืองการบินภาคตะวันออก ยกระดับให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต
http://oknation.nationtv.tv/blog/sinesanddy2528/2019/03/19/entry-1