หลังจากที่เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 09.00 -15.00 น. มีเอกชน 3 กลุ่มที่มายื่นซองประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก วงเงิน 2.9 แสนล้านบาท ที่อาคารกองบัญชาการกองทัพเรือ ได้แก่
• เวลา 12.20 น. กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและกลุ่มพันธมิตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ซีพีถือฤกษ์มงคล 12.20 หวังประมูลฉลุย - โดยนายนพปฎล เดชอุดม รองประธานสำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข รองประธานสำนักพัฒนาโครงการพิเศษ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในนามบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD, บริษัท บี.กริม.จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด และ Fraport AG Frankfurt Airport Services Worldwide จากเยอรมนี
• เวลา 13.00 น. กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท BBS
R ประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ (BA), บมจ.บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้ง (BTS), บมจ.ซิโนไทยเอ็นจิเนียนิ่ง (STEC)
และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (Ratch)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้บางข่าวก็มีบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (Ratch) บางข่าวก็ระบุว่ามีเพียง 3 บริษัทเท่านั้น คือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS, บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC
• เวลา 13.30 น. บมจ.แกรนด์ แอสเสท โอเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ (GRAND), บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด และ GMR Airport Limited
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้กลุ่มแกรนด์ คอนโซเตียม (GRAND Consortium) ประกอบด้วย บริษัท แกรนด์ แอสเสท โอเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAND อยู่ในกลุ่ม บริษัท พร็อพเพอร์ซี่ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF สัดส่วน 80% บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (บ.ย่อยของ บริษัท เอเชียเอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV ) ถือ 10% และ บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น(ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CNT ถือ 10% โดยให้ GMR Airport Limited จากอินเดีย มาบริหารสนามบิน และ China Harbour Engineering Company Limited โดยมีนายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง นักธุรกิจชื่อดัง นำตัวแทนของกลุ่มเข้ายื่นเอกสาร
ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศร่วมซื้อซองเอกสารการประมูลมากถึง 42 ราย สำหรับการลงทุนในโครงการซึ่งจะเป็นการร่วมลงทุนแบบ PPP เหมือนการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยภาครัฐจะลงทุนในส่วนของงานโยธา, รันเวย์ที่ 2 และหอบังคับการบินหลังที่ 2 ขณะที่เอกชนลงทุนส่วนสำคัญ คือ อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3, ศูนย์การขนส่งภาคพื้นดิน (Ground Transportation Centre: GTC) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการจราจรสำหรับการให้บริการขนส่งสาธารณะไปสู่สนามบิน, ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Cargo Complex) พื้นที่เขตประกอบการค้าเสรีและเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่องในสนามบินอู่ตะเภา (Cargo Village or Free Trade Zone: FTZ), ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway) เป็นต้น โดยกำหนดระยะเวลาให้เอกชนดำเนินการและใช้ประโยชน์พื้นที่โครงการ 50 ปี
คาดว่าน่าจะต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์สำหรับการตรวจสอบซองที่ 1 (คุณสมบัติ) เสร็จสิ้นการตรวจสอบทุกซองภายในเดือนเมษายน และคาดว่าน่าจะสามารถเซ็นสัญญาได้ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายนนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สำหรับซองทั้ง 4 ซอง ประกอบด้วย
• ซองที่ 1 (คุณสมบัติทั่วไป)
• ซองที่ 2 (ข้อเสนอด้านเทคนิค)
• ซองที่ 3 (ข้อเสนอด้านราคา)
• ซองที่ 4 (ข้อเสนออื่น ๆ)
EEC - "ซีพี-บางกอกแอร์-แอร์เอเชีย" ร่วมประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
• เวลา 13.00 น. กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท BBS
Rประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ (BA), บมจ.บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้ง (BTS), บมจ.ซิโนไทยเอ็นจิเนียนิ่ง (STEC)และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (Ratch)[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
• เวลา 13.30 น. บมจ.แกรนด์ แอสเสท โอเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ (GRAND), บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด และ GMR Airport Limited
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศร่วมซื้อซองเอกสารการประมูลมากถึง 42 ราย สำหรับการลงทุนในโครงการซึ่งจะเป็นการร่วมลงทุนแบบ PPP เหมือนการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยภาครัฐจะลงทุนในส่วนของงานโยธา, รันเวย์ที่ 2 และหอบังคับการบินหลังที่ 2 ขณะที่เอกชนลงทุนส่วนสำคัญ คือ อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3, ศูนย์การขนส่งภาคพื้นดิน (Ground Transportation Centre: GTC) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการจราจรสำหรับการให้บริการขนส่งสาธารณะไปสู่สนามบิน, ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Cargo Complex) พื้นที่เขตประกอบการค้าเสรีและเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่องในสนามบินอู่ตะเภา (Cargo Village or Free Trade Zone: FTZ), ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway) เป็นต้น โดยกำหนดระยะเวลาให้เอกชนดำเนินการและใช้ประโยชน์พื้นที่โครงการ 50 ปี