โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออก เป็นโครงการที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ด้วยระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี เพื่อพัฒนาสนามบินและกิจกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ เช่น อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ที่จะมีสถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ใต้อาคาร ศูนย์การขนส่งภาคพื้นดิน ศูนย์ธุรกิจการค้า เขตประกอบการค้าเสรี ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์
เป้าหมาย 5 ปีแรกของการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาจะให้เป็น “เมืองการบินภาคตะวันออก” ในระยะ 10 ปี จะพัฒนาเป็น “มหานครการบินภาคตะวันออก” รองรับการขยายตัวในขอบเขตประมาณ 30 กม.รอบสนามบิน คือ ประมาณเมืองพัทยาถึงระยอง
ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ามาบริหารสนามบินจึงต้องเป็นมืออาชีพระดับโลก ซึ่งเอกชนผู้เข้าร่วมประมูลโครงการทั้งสามราย ต่างก็ดึงพันธมิตรที่มีศักยภาพเข้ามาเป็นตัวช่วยให้บรรลุเป้าหมายการเป็นฮับภูมิภาค
โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ได้แก่ บริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ,บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA และบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เสนอสนามบินนาริตะมาเป็นผู้บริหารสนามบินอู่ตะเภา
กลุ่มธนโฮลดิ้งและพันธมิตร ที่ประกอบด้วย บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท บี.กริม จอยน์ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด และ Orient Success International Limited ได้เสนอบริษัท Fraport AG Frankfurt Airport Services Worldwide (ฟราพอร์ท) เข้ามาเป็นผู้บริหารสนามบินอู่ตะเภา
กลุ่มแกรนด์คอนซอร์เตี้ยม ประกอบด้วย บมจ.แกรนด์ แอสเสท โอเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ (GRAND) อยู่ในกลุ่ม บมจ.พร็อพเพอร์ซี่ เพอร์เฟค (PF), บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (บ.ย่อยของ บมจ.เอเชียเอวิเอชั่น (AAV)) และบมจ.คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) (CNT) โดยมี GMR Airport Limited จากอินเดีย มาบริหารสนามบิน
ในบรรดาพันธมิตรของผู้เข้าร่วมประมูลทั้งสามรายนี้ ดูเหมือนว่าฟราพอร์ทจะมาแรงและโดดเด่นที่สุด เนื่องจากเป็นผู้บริหารท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี และใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป และยังเข้าร่วมบริหารจัดการบริการภาคพื้นดินของท่าอากาศยานอีกหลายแห่งทั่วโลกผ่านทางบริษัทลูกอีกด้วย เรียกว่าถ้าได้มาบริหารสนามบินอู่ตะเภา โอกาสที่ไทยจะขึ้นแท่นสนามบินอันดับต้น ๆ ของโลกก็ไม่ไกลเกินฝัน ซึ่งเป้าหมายการเป็นฮับการบินของภูมิภาคก็ประสบความสำเร็จได้นั่นเอง
แต่ฟราพอร์ทกับประเทศไทยจะมีวาสนาได้ทำงานร่วมกันหรือไม่นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มธนโฮลดิ้งฯ จะฝ่าฟันสองด่านอุปสรรคใหญ่ไปได้หรือไม่ ด่านแรกก็คือคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดและอีกด่านคือการเสนอราคาที่จะให้ผลตอบแทนกับโครงการที่สามารถเฉือนคู่ต่อสู้รายอื่นได้หรือไม่ งานนี้ก็ต้องจับตารอกันต่อไป อีกไม่เกินหนึ่งเดือนจะได้รู้ผลกันแน่นอน
บริหารสนามบินอู่ตะเภาขึ้นชั้นฮับการบินภูมิภาคต้องอาศัยมืออาชีพ
เป้าหมาย 5 ปีแรกของการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาจะให้เป็น “เมืองการบินภาคตะวันออก” ในระยะ 10 ปี จะพัฒนาเป็น “มหานครการบินภาคตะวันออก” รองรับการขยายตัวในขอบเขตประมาณ 30 กม.รอบสนามบิน คือ ประมาณเมืองพัทยาถึงระยอง
ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ามาบริหารสนามบินจึงต้องเป็นมืออาชีพระดับโลก ซึ่งเอกชนผู้เข้าร่วมประมูลโครงการทั้งสามราย ต่างก็ดึงพันธมิตรที่มีศักยภาพเข้ามาเป็นตัวช่วยให้บรรลุเป้าหมายการเป็นฮับภูมิภาค
โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ได้แก่ บริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ,บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA และบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เสนอสนามบินนาริตะมาเป็นผู้บริหารสนามบินอู่ตะเภา
กลุ่มธนโฮลดิ้งและพันธมิตร ที่ประกอบด้วย บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท บี.กริม จอยน์ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด และ Orient Success International Limited ได้เสนอบริษัท Fraport AG Frankfurt Airport Services Worldwide (ฟราพอร์ท) เข้ามาเป็นผู้บริหารสนามบินอู่ตะเภา
กลุ่มแกรนด์คอนซอร์เตี้ยม ประกอบด้วย บมจ.แกรนด์ แอสเสท โอเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ (GRAND) อยู่ในกลุ่ม บมจ.พร็อพเพอร์ซี่ เพอร์เฟค (PF), บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (บ.ย่อยของ บมจ.เอเชียเอวิเอชั่น (AAV)) และบมจ.คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) (CNT) โดยมี GMR Airport Limited จากอินเดีย มาบริหารสนามบิน
ในบรรดาพันธมิตรของผู้เข้าร่วมประมูลทั้งสามรายนี้ ดูเหมือนว่าฟราพอร์ทจะมาแรงและโดดเด่นที่สุด เนื่องจากเป็นผู้บริหารท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี และใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป และยังเข้าร่วมบริหารจัดการบริการภาคพื้นดินของท่าอากาศยานอีกหลายแห่งทั่วโลกผ่านทางบริษัทลูกอีกด้วย เรียกว่าถ้าได้มาบริหารสนามบินอู่ตะเภา โอกาสที่ไทยจะขึ้นแท่นสนามบินอันดับต้น ๆ ของโลกก็ไม่ไกลเกินฝัน ซึ่งเป้าหมายการเป็นฮับการบินของภูมิภาคก็ประสบความสำเร็จได้นั่นเอง
แต่ฟราพอร์ทกับประเทศไทยจะมีวาสนาได้ทำงานร่วมกันหรือไม่นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มธนโฮลดิ้งฯ จะฝ่าฟันสองด่านอุปสรรคใหญ่ไปได้หรือไม่ ด่านแรกก็คือคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดและอีกด่านคือการเสนอราคาที่จะให้ผลตอบแทนกับโครงการที่สามารถเฉือนคู่ต่อสู้รายอื่นได้หรือไม่ งานนี้ก็ต้องจับตารอกันต่อไป อีกไม่เกินหนึ่งเดือนจะได้รู้ผลกันแน่นอน